Home > BRICS

BRICS ขั้วอำนาจใหม่ของเศรษฐกิจโลก และบทบาทที่ส่งผลต่อไทย

BRICS เป็นอักษรย่อของประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และ แอฟริกาใต้ (South Africa) การรวมตัวของทั้ง 5 ประเทศนี้หากจะมองว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างขั้วอำนาจใหม่ของเศรษฐกิจโลกก็คงไม่ผิดนัก หากพิจารณาจากหัวข้อการประชุมตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกลุ่มนี้ ต้องนับว่าเป็นการท้าทายและมีความพยายามที่จะสร้างอิทธิพลเพื่อถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยหัวข้อการประชุมครั้งแรกๆ นั้นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปสถาบันการเงิน การเรียกร้องให้มีการใช้สกุลเงินสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่แทนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดท่าทีร่วมกันที่จะปฏิรูป IMF และ World Bank ศักยภาพของทั้ง 5 ประเทศนั้นไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเลย จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ เท่านั้น และยังเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก รวมไปถึงการเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในขณะที่อิทธิพลบนเวทีโลกของจีนมีให้ประจักษ์มานักต่อนัก โดยเฉพาะปัจจุบันที่แม้สถานการณ์โรคระบาดยังไม่สิ้นสุด หลายประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่จีนกลับคงนโยบาย Zero Covid-19 กระนั้นเศรษฐกิจจีนก็ยังคงมีเสถียรภาพมากกว่าอีกหลายประเทศ ขณะที่อินเดียนั้นมีข้อได้เปรียบในเรื่องพื้นที่ขนาดใหญ่ และอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีพัฒนาด้านการแพทย์ในระดับสูง ยังไม่นับเรื่องการมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยีอีกเป็นจำนวนมาก รัสเซีย ประเทศที่กำลังตกเป็นเป้าสายตาจากประชาคมโลก จากการทำสงครามกับยูเครนในขณะนี้ เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ปัจจุบันมาตรการต่อต้านการคว่ำบาตรจาก

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

NDB และ AIIB สองพลังขับเคลื่อน “พญามังกร”?

 ข่าวสารว่าด้วยความเป็นไปของสังคมไทยในช่วงเดือนกรกฎาคมดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับปัจจัยทางเศรษฐกิจมากขึ้นทุกขณะ และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะ ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่ในระดับนานาชาติ ความเป็นไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่กำลังจะผ่านไปนี้ กลับปรากฏแรงกระเพื่อมที่ส่งผลต่อดุลยอำนาจของโลกมากพอสมควร และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ต้องยอมรับว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 7 (7th BRICS Summit) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม อาจจะถูกบดบังด้วยข่าวการทรุดตัวลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จีน จนทำให้นักวิเคราะห์และผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยต่างหวั่นวิตกว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่แตก หากแต่ผลของการประชุมและการผสานเสียงของกลุ่มผู้นำประเทศทั้ง 5 ในกรอบความร่วมมือของ BRICS กลับดังกังวานและเริ่มปรากฏรูปธรรมชัดเจนด้วยการเปิดสำนักงานของ NDB (New Development Bank) ในนครเซี่ยงไฮ้ ของจีนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นจักรกลในการท้าทายขั้วอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินของโลกรายเดิม ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  แม้สถาบันการเงินแห่งใหม่นี้ จะมีโครงสร้างการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงระหว่าง 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง ที่ร้อยละ 20 อย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ภายใต้การจัดตั้งกองทุนเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน

Read More