Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 21)

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ-บรรจุภัณฑ์โต ไวรัสโควิดสยบไม่ลง

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ ภาวะชะงักงันที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญ เนื่องจากต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐประกาศใช้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะขยายวงกว้าง แม้ว่าเชื้อไวรัสจะมีความร้ายกาจและน่ากลัวขนาดไหน แต่มักจะมีช่องโหว่ที่กลายเป็นจุดอ่อน ที่นักวิจัยและพัฒนาวัคซีนสามารถเอาชนะได้เสมอ ในวงการธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เพราะในวิกฤตแต่ละครั้งมักจะมีธุรกิจบางประเภทที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าสถานการณ์โดยรอบจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะความแข็งแกร่งของตัวผู้ประกอบการที่มีสายป่านยาว หรือเหตุผลอื่นใดที่ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธุรกิจ จากหลายสถาบันออกมาประเมินและพินิจต่อเหตุการณ์นี้ว่า จะมีธุรกิจใดบ้างที่อยู่รอดเงื้อมมือของไวรัสนี้และกลายเป็นดาวเด่นในช่วงที่ไวรัสระบาด ธุรกิจ E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นธุรกิจที่ถูกประเมินว่านอกจากจะอยู่รอดในภาวะยากลำบากครั้งนี้แล้ว ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิถีชีวิตผู้คนในยามที่โรคไวรัสระบาด และกลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องแก้และหาคำตอบ อันนำไปสู่การค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ แม้ว่าเดิมที การค้าออนไลน์ในประเทศไทยจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการเข้าถึงผู้บริโภคมานานแล้ว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจทั้ง Offline และ Online ควบคู่กันไป หรือบางเจ้าใช้รูปแบบ Online อย่างเดียวเพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับพื้นที่หน้าร้าน ทว่า สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการแทบจะทั้งหมดต้องหันมาลงแข่งขันกันในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งการเสนอขายสินค้า การบริการ และทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้มูลค่าธุรกิจของตลาด E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขยายตัวแบบก้าวกระโดด เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา เปิดเผยข้อมูลตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยปี 2019 ว่า มีมูลค่า

Read More

เผาจริงแรงงานไทย โควิด-19 ก่อวิกฤตในวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยเผชิญวิกฤตมาหลายระลอก เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนต่อสถานการณ์ความมั่นคงของตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน ในระยะหลัง ข่าวการประกาศหยุดดำเนินกิจการ การประกาศปิดโรงงานของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กมีให้เห็นในหน้าข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลของการปิดกิจการมีทั้งปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค ส่งผลกระทบต่อรายได้หลักของโรงงาน และการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อหวังลดต้นทุนด้านค่าแรงของเจ้าของกิจการ แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า แรงงานมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งภาคการผลิต ภาคบริการในทุกอุตสาหกรรม ทว่า เมื่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคได้รับแรงกระทบไม่ว่าจะในระดับใด แรงงานกลับเป็นด่านหน้าที่ต้องถูกนำมาประเมินความอยู่รอดในธุรกิจนั้นๆ และไวรัสโควิด-19 เป็นต้นเหตุสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ซึ่งกำลังเผชิญกับวิกฤตที่ยากเข็ญอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและทั่วโลก แรงงานไทยเผชิญกับสถานการณ์การว่างงานมาหลายต่อหลายปี ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ผลสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรในเดือนธันวาคม 2562 พบว่า มีจำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.66 ล้านคน ลดลง 2.1 แสนคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีจำนวนผู้มีงานทำ 37.87 ล้านคน หรือลดลง 0.56% ส่วนจำนวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 3.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1% เพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีผู้ว่างงาน 3.49 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น

Read More

3 อุตสาหกรรมฟื้นตัวช้า พิษโควิด-19 ทำซึมนาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อธุรกิจในหลายกลุ่มด้วยกัน มาตรการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ด้วยการสั่งหยุดดำเนินกิจการและกิจกรรมหลายด้าน ตั้งแต่ระดับที่ต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว การจำกัดพื้นที่ให้บริการ หรือบางธุรกิจที่ยังพอจะสามารถดำเนินกิจการได้ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น ถึงกระนั้น การที่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นอาจเป็นทางออกที่ดีกว่า เมื่อยังสามารถดำเนินกิจการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับบางกลุ่มธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า หากในอนาคตอันใกล้นี้ รัฐบาลประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 แล้ว จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านธุรกิจให้กลับมาดีดังเช่นก่อนโควิดจะแพร่ระบาดได้หรือไม่ และ 3 กลุ่มธุรกิจที่อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยาวนานต่อเนื่อง คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นั่นเพราะเงื่อนไขที่จะส่งผลให้ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มนี้กลับมาเดินเครื่องได้เฉกเช่นเดิม ไม่ใช่เพียงมาตรการปลดล็อกมาตรการในระยะ 4 หรือ 5 เท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยจากประเทศอื่นร่วมด้วย ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในประเทศอื่นๆ จะจบลงเมื่อใด จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก รวมไปถึงมาตรการดูแลรักษาและการจำกัดวงของการแพร่ระบาด สามารถทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ขณะที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า “วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19” อาจเป็นข้อสรุปของทุกปัญหา อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ด้วยรายได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ที่มีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วน 17-20% ของจีดีพี แม้ว่าปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) ไทยต้องเผชิญกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรอบด้าน ทั้งสงครามการค้า

Read More

ส่งออกไทยติดลบหนัก ผลจากทั่วโลก Lockdown หนีโควิด-19

นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ภาคการส่งออกก็เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ไทยหวังพึ่งพิงตลอดมา การมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เป็นเสมือนการดับฝันที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ จากสถานการณ์การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขที่เป็นการติดลบในรอบ 4 ปี และปัจจัยที่ส่งผลลบโดยตรงคือภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาน้ำมัน รวมไปถึงการแข่งขันกันเองของผู้ประกอบการส่งออก หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง เมื่อตลาดส่งออกสินค้าไทยน่าจะผ่านพ้นจุดตกต่ำไปแล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าส่งออกของไทยลดลงในทุกตลาด ตั้งแต่ตลาดญี่ปุ่นติดลบ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ จีนลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ เอเชียใต้ลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงลดลง 6.8 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ตะวันออกกลางลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาลดลง 10.9 เปอร์เซ็นต์ ทว่า โรคอุบัติใหม่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน 2563 ติดลบอย่างหนัก แม้ว่าภาพรวมมูลค่าการส่งออกรวมในเดือนเมษายนจะมีการขยายตัวที่

Read More

คลายล็อกระยะสอง โอกาสฟื้นตัวของธุรกิจ

ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจมีต้นเหตุปัจจัยมาจากหลายด้าน ทั้งสงครามการค้า ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า ความขัดแย้งระหว่างประเทศ Digital Disruption และการแพร่ระบาดของโรคร้าย ทั้งหมดทั้งมวลกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความพร้อมที่ไม่ใช่แค่เพียงการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เป็นความพร้อมในการที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่จะส่งผลกระทบและอาจสร้างความเสียหายต่อธุรกิจด้วย สงครามการค้า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หรือ Digital Disruption เสมือนด่านหน้าที่เข้ามาปะทะกับผู้ประกอบการธุรกิจ และเหมือนเป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง รวมไปถึงศักยภาพที่จะต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทว่า การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คล้ายจะเป็นตัวร้ายในด่านสุดท้ายของการประลองสรรพกำลังของผู้ประกอบการธุรกิจ ว่าจะสามารถยืนหยัดต่อสู้และผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เมื่อความแตกต่างของอุปสรรคในครั้งนี้ส่งผลให้ธุรกิจจำต้องหยุดดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาด ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทยอยู่ในหลักหน่วยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้ภาครัฐตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการหลายด้านเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ได้ รวมไปถึงเศรษฐกิจในระดับฐานรากค่อยๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วย รัฐบาลประกาศคลายล็อกในระยะที่สอง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผลให้ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หลายกิจการและกิจกรรมสามารถเปิดดำเนินการได้ ภายใต้กรอบความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นที่ตั้ง นักวิเคราะห์เศรษฐกิจจากหลายสถาบันเริ่มประเมินสถานการณ์ว่า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลงแล้ว ธุรกิจที่ถูกฟรีซไว้ในช่วงล็อกดาวน์ จะใช้เวลานานแค่ไหนในการฟื้นตัว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ประเมินการฟื้นของธุรกิจหลังปลดล็อกโควิด-19 ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ฟื้นแบบ V-Shape กลุ่มสินค้าจำเป็นและพึ่งพิงตลาดในประเทศ กลุ่มสอง ฟื้นแบบ U-Shape กลุ่มที่ได้รับผลดีจากการทยอยปลดล็อกดาวน์ตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งธุรกิจที่ฟื้นตัวแบบ V และ U

Read More

โควิด-19 พิษร้ายซึมลึก เศรษฐกิจไทยอ่วมถึงฐานราก

นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 ได้อุบัติขึ้นในช่วงปลายปี 2562 เป็นต้นมา มนุษยชาติได้ตระหนักแล้วว่า พิษสงของเชื้อร้ายชนิดนี้ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการทำลายอวัยวะภายในที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ทว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้กลับแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ถึงฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส แม้ว่าประเทศไทยและคนไทยจะเคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจมานักต่อนัก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของไทย ที่เกิดจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย ต้องลดค่าเงินบาท ทางการต้องเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์ และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มลง เกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงานมาก เงินเฟ้อสูงและต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก และวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทย เกิดจากการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ Hedge Fund ลากตลาดหุ้นไทยขึ้นไปทิ้งในต้นปี 2537 ที่ 1,750 จุด

Read More

ปัจจัยลบรุมเร้า ธุรกิจค้าปลีก’63 หดตัว

นับเป็นอีกศักราชหนึ่งที่ธุรกิจค้าปลีกของไทยต้องเผชิญกับความวิกฤตรอบด้าน นับตั้งแต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับอิทธิพลจากการฟาดฟันกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา การงัดข้อกันในเชิงกลยุทธ์ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกเริ่มระส่ำระสาย และค้าปลีกไทยยิ่งต้องเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดกระหน่ำอีกครั้ง ด้วยการบุกเชิงรุกของธุรกิจ E-Commerce ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และด้วยฐาน Big Data ทำให้บรรดาธุรกิจ E-Commerce สามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ปัจจัยข้างต้นคล้ายเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กับธุรกิจค้าปลีกไทยไปโดยปริยาย ที่นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์แล้ว โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะทำให้ค้าปลีกไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทั้งในรูปแบบ offline และ online นอกจากการจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีเทคโนโลยีนำหน้าแล้ว สถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเผชิญ เมื่อกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มอ่อนแรงลง โดยมุ่งเน้นไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และงดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย นักวิเคราะห์หลายสถาบันเห็นไปในทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยจะฝ่าฟันมรสุมนี้ไปได้ก็ต่อเมื่อรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง รู้จักผู้บริโภค และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปสรรคข้างต้นสร้างความลำบากให้แก่ธุรกิจค้าปลีกไม่น้อย เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือการสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยการลงมาเล่นธุรกิจ E-Commerce ด้วย ทว่า สิ่งที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คล้ายเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความยากลำบากให้เกิดขึ้นทั่วโลก กระทั่งรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมไปถึงการประกาศปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัส เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ สถานบันเทิง เป็นต้น การประกาศปิดห้างสรรพสินค้าส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกถูกแช่แข็งไปครึ่งหนึ่ง แม้จะมีการอนุโลมให้พื้นที่ในส่วนของซูเปอร์มาร์เกตยังสามารถเปิดได้ก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์เอาไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกสูญเสียรายได้ประมาณ

Read More

พิษโควิด-19 ท่องเที่ยวไทยล้มทั้งยืน

การท่องเที่ยวไทยเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญของไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและเอกชนจึงให้ความสำคัญกับตลาดท่องเที่ยว และมักจะมีแคมเปญที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตลอด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์ การตลาดที่มีเป้าประสงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทย นอกจากนี้อีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญ คือการที่หลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงการดูแลทรัพยากรทางธรรมชาติให้อยู่ในสมดุลที่ดี รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้พร้อมสำหรับภาคการบริการ ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 การท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้รวมสูงถึง 3.01 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้เป็นการขยายตัวร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.93 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สร้างรายได้ในไทยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สร้างรายได้ 1.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยเป็นจำนวนสูงถึง 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสูงสุด 5 อันดับ

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More