Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 22)

พิษโควิด-19 ท่องเที่ยวไทยล้มทั้งยืน

การท่องเที่ยวไทยเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญของไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและเอกชนจึงให้ความสำคัญกับตลาดท่องเที่ยว และมักจะมีแคมเปญที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตลอด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์ การตลาดที่มีเป้าประสงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทย นอกจากนี้อีกหนึ่งประจักษ์พยานสำคัญ คือการที่หลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงการดูแลทรัพยากรทางธรรมชาติให้อยู่ในสมดุลที่ดี รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้พร้อมสำหรับภาคการบริการ ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 การท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้รวมสูงถึง 3.01 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้เป็นการขยายตัวร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.93 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สร้างรายได้ในไทยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สร้างรายได้ 1.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยเป็นจำนวนสูงถึง 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสูงสุด 5 อันดับ

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More

สัญญาณบวกส่งออกข้าวไทยพุ่ง อานิสงส์เวียดนามจำกัดส่งออก

ท่ามกลางความร้อนระอุของวิกฤตโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเร่งมือหาทางจำกัดวงของผู้ติดเชื้อ และระดมสรรพกำลังคิดค้นที่จะผลิตวัคซีนเพื่อเอาชนะโรคระบาดนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ หลายแวดวงธุรกิจต้องชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก และไม่สามารถเดินเครื่องต่อไปได้ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การค้า การลงทุน แม้ทั่วโลกจะเห็นสัญญาณลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งจากสงครามการค้า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน หรือกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แต่การต้องเผชิญกับวิกฤตเชื้อไวรัสเป็นสิ่งที่นอกเหนือการคาดการณ์ ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสที่ดีเสมอ และมีความเป็นไปได้ว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นกับภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่ทำรายได้มหาศาล “ข้าวไทย” เมื่อปลายเดือนมีนาคมคณะรัฐมนตรีเวียดนามมีมติระงับการออกใบอนุญาตเพื่อการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว มติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามจึงจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพ ความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติทดลองให้ส่งออกข้าวได้ไม่เกิน 4 แสนตันต่อเดือน แน่นอนว่า หากเวียดนามลดปริมาณการส่งออกข้าวลง มีความเป็นไปได้ว่าความต้องการข้าวอาจจะหมุนมายังประเทศไทย ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าทั่วโลกจะมีความต้องการข้าวในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้ไทยสามารถเบียดผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งอย่างอินเดียได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สัญญาณบวกของการส่งออกข้าวไทยยังต้องรอดูสถานการณ์ของโรคโควิด-19 รวมไปถึงมติคณะรัฐมนตรีของเวียดนามที่หากพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเวียดนามยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลเวียดนามอาจผ่อนปรนหรือพิจารณามติดังกล่าวใหม่อีกครั้ง รวมไปถึงปริมาณผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของไทยจะมีมากน้อยเพียงใด เมื่อยังมีปัจจัยอีกรอบด้านที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งปัญหาภัยแล้งที่ดูจะผูกขาดอยู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน และส่งผลต่อผลผลิตให้มีปริมาณลดลงแทบทุกปี รวมไปถึงสายพันธุ์ข้าวที่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลให้การส่งออกข้าวไทยในปี 2562 ไทยทำได้เพียง 7.58 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี และแม้ว่าปีนี้กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศจะตั้งเป้าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน แต่ยังต้องรอดูว่าปัจจัยที่รุมเร้าอยู่รอบด้านจะมีผลต่อเป้าประมาณการในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด นอกเหนือจากปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตที่ลดลง และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นแล้ว ข้าวไทยยังประสบกับปัญหาผลผลิตต่อไร่ที่ข้าวหอมมะลิทำได้เพียง 350

Read More

มาตรการปิดด่านป้องกันโควิด-19 ค้าชายแดนกระทบหนัก

สถานการณ์ค้าชายแดนแม้ตัวเลขและสถานการณ์จะไม่สวยหรูมากนัก จากผลกระทบของการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจในประเทศที่ถดถอยเป็นทุนเดิม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนากลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสไม่ได้กัดกินและทำลายอวัยวะภายในที่สำคัญอย่างปอดของมนุษย์เท่านั้น แต่เชื้อร้ายกลับเจาะลึกเข้ากัดกร่อนกลไกการทำงานของเครื่องจักรทางเศรษฐกิจเกือบทุกระบบ การท่องเที่ยวดูจะเป็นเครื่องจักรตัวแรกในระบบที่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดเริ่มต้นของเชื้อไวรัสโคโรนาคือประเทศจีน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีเงินสะพัดในระบบ และหลังจากจีนประกาศปิดประเทศในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบตามมา เพราะในฐานะที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ แม้ว่าการส่งออกของไทยจะซบเซาในช่วงก่อนหน้า ทั้งสาเหตุจากสงครามการค้า การแข็งค่าของเงินบาทไทย และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถดถอย เมื่อการแพร่ระบาดเริ่มขยายวงกว้างในประเทศไทย เศรษฐกิจในระดับครัวเรือนได้รับผลกระทบในลำดับถัดมา เมื่อรัฐบาลประกาศใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดที่จะขยายวงกว้างขึ้น การสั่งปิดห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด ร้านอาหารที่อนุญาตให้เฉพาะซื้อนำกลับเท่านั้น ทำให้เศรษฐกิจไทยคล้ายถูกเชื้อไวรัสฟรีซไว้ และเมื่อเชื้อไวรัสแพร่ระบาดไปทั่วโลก หลายประเทศจึงมีมาตรการสั่งปิดด่านชายแดนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะลุกลามจนยากที่จะควบคุม คำสั่งปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้านยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์การส่งออกของไทยที่บอบช้ำอยู่แล้ว ให้วิกฤตหนักขึ้น “เจ็บแต่จบ” จึงกลายเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม และจะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ หากย้อนกลับไปดูตัวเลขมูลค่าค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เมียนมา สปป. ลาว และกัมพูชา ในช่วงปี 2559-2561 มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากความคล่องตัวในเรื่องโลจิสติกส์บริเวณด่านชายแดนของไทย ที่มีจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมโยงผ่านจังหวัดทั่วประเทศ 21 จังหวัด แต่ถ้ามองตัวเลขมูลค่าการส่งออกเพียงด้านเดียว ในปี 2561 จะพบว่า ไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านลดลง -1.19 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2562 มีมูลค่ารวม

Read More

ส่องมาตรการรัฐ เยียวยาผลกระทบโควิด-19

นับเป็นอีกปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญวิบากกรรมจากเชื้อไวรัสโคโรนาที่อุบัติขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ความร้ายกาจของเชื้อร้ายนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ประชากรโลกต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดวิตก แม้บางส่วนจะกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัย และเชื้อร้ายยังไม่ถูกยืนยันว่าสามารถแพร่กระจายไปในอากาศได้หรือไม่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยจากหลายประเทศกำลังทำงานอย่างหนักที่จะพัฒนาวัคซีนเพื่อหยุดยั้งเชื้อไวรัสโคโรนา แต่ยังไม่มีใครที่จะสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ว่า ความพยายามนี้จะสัมฤทธิ์ผลเมื่อใด ขณะที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกอย่างจีน ที่เผชิญวิกฤตเชื้อไวรัสนี้ก่อนใคร แม้จะพบกับความยากลำบากในการทำงาน ทว่า ท้ายที่สุดประเทศจีนสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อไม่ให้เพิ่มจำนวนได้ และปัจจุบันเหลือผู้ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการรักษาไม่กี่ร้อยรายเท่านั้น อีกฟากฝั่งของซีกโลกและประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศมหาอำนาจซีกโลกตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่กำลังถูกเชื้อไวรัสโจมตีอย่างหนักในขณะนี้ จนทำให้มีผู้ติดเชื้อรวมทั้งประเทศกว่า 2 แสนราย ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศรับความช่วยเหลือจากประเทศในเอเชีย ทั้งจากจีนและเกาหลีใต้ในการที่จะหาหนทางยับยั้งไม่ให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความพยายามที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาด้วยเช่นกัน ย้อนกลับมาดูจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 พบผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 1,875 ราย และมีผู้เสียชีวิต 15 ราย การระบาดของเชื้อไวรัสไม่ใช่แค่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของประชาชนในประเทศเท่านั้น หากแต่มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่รัฐบาลประกาศใช้ ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนต้องถูกปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ทั้งการปิดสถานบริการ ห้ามสรรพสินค้า ตลาด แหล่งบันเทิง รวมไปถึงพื้นที่สาธารณะอีกจำนวนหนึ่ง สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในทุกระดับ แต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือฟันเฟืองตัวเล็กในระบบเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องขาดรายได้เป็นเวลานาน แน่นอนว่า หากจะมองถึงประโยชน์ส่วนรวมการสั่งปิดสถานบริการ ห้างร้านต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อร้าย ย่อมเป็นเหตุผลที่ประชาชนยอมรับได้ แต่หากมองในเรื่องของรายได้ที่หดหายไปของประชาชนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ เป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องมีมาตรการออกมาช่วยเหลือเยียวยา ประเทศไทยเผชิญกับความถดถอยทางเศรษฐกิจมาหลายปีติดต่อกัน การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในห้วงยามนี้ ซ้ำเติมให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่แล้วให้ย่ำแย่ลง มาตรการที่ภาครัฐประกาศออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน แม้จะไม่สามารถเบรรเทาได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

Read More

ความหวาดกลัวโควิด-19 ธุรกิจประกันภัยโตสวนทาง

นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 โรคใหม่ที่อุบัติทั่วโลกในขณะนี้ สร้างความหวั่นวิตกต่อผู้คนไปทุกหย่อมหญ้าและทุกระดับชนชั้น การมองหาต้นสายปลายเหตุของโรคยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทว่า ความหวาดกลัวต่อโรคระบาดที่ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 40,000 คน ส่งผลให้ผู้คนมองหาที่พึ่งแม้จะไม่ใช่ปราการปกป้องหรือสกัดกั้นการมองเห็นตัวตนจากเชื้อไวรัส หากแต่เป็นความรู้สึกอุ่นใจทั้งต่อตัวเอง และคนในครอบครัว ธุรกิจประกันภัยเล็งเห็นช่องทางที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จึงผุดไอเดียที่สร้างความสนใจแก่ผู้คนให้หันมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ไม่น้อย สถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตในปี 2562 เข้าสู่สภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งปัจจัยด้านการเงิน การลงทุน รวมไปถึงกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะเริ่มใช้ในปีนี้ หากแต่การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้ธุรกิจประกันภัยใช้วิกฤตนี้กอบกู้สถานการณ์ แม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา มียอดขายประกันภัยโควิด-19 ทั้งระบบประมาณ 2 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท และมีบริษัทประกันที่ได้รับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์จำนวน 25 บริษัท ขณะสิ่งที่สังคมกังวลคือ หลังจากมีกรมธรรม์โควิด-19 ออกมาคุ้มครองผู้เอาประกัน อาจจะมีผู้ที่จงใจนำตัวเองไปรับเชื้อหรือเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่น่าจะติดเชื้อ เพื่อหวังจะได้รับเงินประกัน เมื่อซื้อประกันในรูปแบบ “เจอจ่ายจบ” ซึ่ง คปภ. อธิบายว่า การใช้สิทธิ์ต้องใช้ด้วยความสุจริต

Read More

การคืนชีพของกล้องฟิล์ม แค่แฟชั่น หรือมนต์เสน่ห์

ภาพยนตร์เรื่อง “Walter Mitty ชีวิตพิศวงของวอลเตอร์มิตตี้” ที่เข้าฉายในประเทศไทยช่วงปลายปี 2013 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้จัดการแผนกฟิล์มเนกาทีฟในสำนักงานนิตยสาร Life ที่มักจะหลุดเข้าไปอยู่ในจินตนาการของตัวเองบ่อยๆ ประกอบกับในห้วงยามนั้น สถานการณ์วงการสิ่งพิมพ์ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง การตีพิมพ์นิตยสาร Life ฉบับสุดท้ายและฟิล์มภาพสำคัญ ทำให้เขาต้องออกเดินทาง เรื่องราวของวอลเตอร์ มิตตี้ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” มองรอบตัวที่ถูกล้อมรอบไปด้วยตู้เก็บฟิล์มภาพถ่ายสำคัญๆ ที่ถูกใช้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สำหรับบางคนอาจมองว่า สิ่งเหล่านี้มันก็แค่ขยะเก่าๆ เท่านั้น ทว่า เรื่องราว เหตุการณ์ที่ถูกบันทึกอยู่ในม้วนฟิล์มเหล่านี้ ยังคงทรงคุณค่าอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงของโลกโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คน โลกทั้งใบแทบจะถูกย่อส่วนลงมาบรรจุอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เราได้สืบค้นและเปิดโลกทัศน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี่เองที่ทำให้อะไรหลายอย่างที่เคย “เฟี้ยวฟ้าว” หรือ “เจ๋งโคตร” ในอดีตถูกกลบไปด้วยฝุ่นแห่งกาลเวลา แต่แน่นอนว่า แท้จริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้จางหายไปอย่างไร้ร่องรอย เพราะลึกๆ ในก้นบึ้งหัวใจของทุกคนล้วนแล้วแต่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้บันทึกความทรงจำที่ชวนประทับใจในวัยหวาน วัยเยาว์ ให้เราได้ระลึกถึงได้เสมอ เหมือนลิ้นชักที่เราเก็บซ่อนความทรงจำที่งดงามและมีค่าเอาไว้ ขณะที่ความทรงจำเหล่านั้นกลับนอนอย่างสงบนิ่ง อดทน ซื่อสัตย์ เพียงเพื่อรอให้เจ้าของความทรงจำเปิดออกมาทบทวนห้วงเวลานั้นอีกสักครั้ง ในยุคหนึ่ง กล้อง ฟิล์มและภาพถ่ายคืออีกหนึ่งในเครื่องบันทึกความทรงจำ เชื่อว่าหลายครอบครัวต้องมีกล้องฟิล์มไว้ในครอบครองอย่างน้อยๆ หนึ่งตัว

Read More

พาย ดาต้าเมทริกซ์ ปั้นเทคโนโลยีใหม่ จับมือกีคคอน วัลเล่ย์ ลุยตลาด Search Engines

ตลาดออนไลน์นับว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงนับล้านล้านบาท และมีบทบาทสำคัญที่จะสามารถวัดผลของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้ เทียบเท่าหรือเกือบเทียบเท่าตลาดออฟไลน์ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ Google เป็นหนึ่งทางเลือกในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะ Google เป็นเสมือนช่องทางแรกในการทำความรู้จักผู้ประกอบการผ่านสายตาและการค้นข้อมูลจากผู้บริโภค และการหาหนทางให้ชื่อแบรนด์ของผู้ประกอบการขึ้นมาอยู่ในหน้าแรกของ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google จึงเป็นเสมือนปราการด่านแรกที่จะเจาะและเข้าให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ทว่าการทำให้เว็บไซต์ของแบรนด์ขึ้นมาอยู่หน้าแรกของ google ได้นั้น นอกจากการออกแบบเว็บไซต์ให้อยู่ภายในกฎเกณฑ์ของ google แล้ว ยังต้องเขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่ Keywords สำคัญ แต่นั่นอาจจะไม่เพียงพอ ในยุคที่ AI มีบทบาทในโลกดิจิทัลมากขึ้น และ Google Algorithm มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และหลักการแสดงผลจัดอันดับในแต่ละหน้าของ Google หรือ Search Engine Result Page เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดย Google ยุคใหม่จะเลือกหน้ามาแสดงผลจัดอันดับจากการวิเคราะห์เรียนรู้ ความตั้งใจในการค้นหาของลูกค้าอย่างรอบด้าน Pi Datametrics เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ท้าทายตัวเองด้วยการตั้งโจทย์จากการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมของ Google และพัฒนาโปรแกรมที่จะทำให้แบรนด์รู้เท่าทัน Google ซึ่ง Jon Earnshaw

Read More

กักตัว 14 วัน หากิจกรรมอะไรทำดี

ขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่ช่วงวิกฤต ภายใต้สถานการณ์วิกฤตนี้เองที่เป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพการรับมือของภาครัฐและประชาชนในประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ ยังเป็นบททดสอบว่าประชาชนที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในกรณี “ผีน้อย” คำเรียกกลุ่มผู้หลบหนีเข้าประเทศเกาหลีเพื่อไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย และกำลังถูกส่งตัวกลับมายังประเทศบ้านเกิด แต่กลับเพิกเฉยต่อสำนึกที่ควรมีต่อผู้คนในสังคม ช่วงเวลากว่าผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส Covid-19 จะแสดงอาการคือ 14 วัน เป็นเหตุให้สาธารณสุขของไทยแนะนำว่า ผู้ที่กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในกรณีที่ยังไม่แสดงอาการ หลายคนอาจรู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อเห็นจำนวนวันที่ต้องขังตัวเองอยู่แต่ในบ้านตลอดระยะเวลา 14 วัน ว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะหากิจกรรมอะไรดี นอกจากกินและนอน ผู้จัดการ 360 องศา ขอแนะนำกิจกรรมสร้างสรรค์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจในช่วงเวลาวิกฤตนี้ 14 วันของผู้รับผิดชอบต่อสังคม 1. อ่านหนังสือ เริ่มด้วยกิจกรรมที่ง่ายที่สุดและไม่ต้องเหนื่อยแรง แต่ยังได้ทั้งความสนุก เพลิดเพลิน สาระ ความรู้ หาหนังสือสักกอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่า หนังสือใหม่ กองดองที่ซื้อสะสมไว้จากงานสัปดาห์หนังสือ งานมหกรรมหนังสือ ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ให้เวลากับตัวเองจัดการกับหนังสือเหล่านี้ ไม่แน่ว่า ช่วงเวลาที่กักตัวเองและอ่านหนังสือทั้งหมดที่มี คุณอาจจะกลายเป็นนักรีวิวหนังสือหน้าใหม่เลยก็ได้ 2. ทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้าน หลายคนมักมีข้ออ้างในการปล่อยปละละเลยให้บ้านรกว่า “ไม่มีเวลา” “กลับมาจากทำงานอยากพัก” โอกาสมาแล้วค่ะ เวลา 14 วันเหลือเฟือ ใช้เวลานี้เคลียร์ทีละห้อง

Read More

ตลาดยานยนต์ถึงแรงงานไทย กระทบแค่ไหนเมื่อจีเอ็มถอนทัพ

การประกาศยุติการผลิตรถยนต์เชฟโรเลต ของค่ายจีเอ็ม หรือ บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด สร้างความสั่นสะเทือนแก่วงการยานยนต์ไทยไม่น้อย หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า อะไรเป็นสาเหตุให้ค่ายรถสัญชาติอเมริกันตัดสินใจแบบนี้ หากติดตามข่าวสารของรถยนต์ค่ายนี้อาจจะพอทราบทิศทางแนวนโยบายของ Marry Barra ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจีเอ็ม ว่า ได้มีการวางแผนปรับโครงสร้างของบริษัทมาตั้งแต่ปี 2558 โดยจะทยอยถอนตัวจากกลุ่มตลาดที่ทำกำไรได้น้อย และให้ความสำคัญกับกลุ่มตลาดหลัก นอกจากนี้ ยังจะเน้นการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับอนาคตเป็นหลัก รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากการประกาศถอนทัพออกจากไทยภายในสิ้นปี 2563 จีเอ็มยังทิ้งทวนด้วยการหั่นราคารถยนต์ลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากผู้มีกำลังซื้อได้ไม่น้อย อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลหลังจากหยุดการผลิตรถยนต์ของเชฟโรเลตคือ ความวิตกของพนักงานจำนวนนับพันคน กลุ่ม Supplier สายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ตัวแทนจำหน่าย รวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย โดย บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบกิจการรถยนต์เชฟโรเลต ปัจจุบันมีลูกจ้างประมาณ 1,100 คน และบริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) ที่ประกอบกิจการผลิตเครื่องยนต์ ปัจจุบันมีลูกจ้างประมาณ 400 คน รวมทั้งสองบริษัทมีลูกจ้างประมาณ 1,500

Read More