Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 20)

หนทางเยียวยาจิตใจตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกแย่

ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายสับสน ระคนไปด้วยปัญหาสารพันอย่าง และดูจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วที่มนุษย์เรามักจะมีปัญหาติดตัวอยู่เสมอ แม้ว่าปัญหาแรกจะถูกคลี่คลายไปได้ในเวลาไม่นาน แต่ปัญหาอื่นๆ มักจะทยอยเดินทางมาถึงไม่วันใดก็วันหนึ่ง แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีจิตใจเข้มแข็งพร้อมรับมือกับทุกสภาพปัญหา หรือทุกอุปสรรคที่ต้องเผชิญ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความรู้สึกอุ่นใจ มีคนคอยซัปพอร์ต ให้กำลังใจ หรือเป็นมือที่คอยมาฉุดให้ลุกขึ้นในทุกยามที่ล้มลง หลายคนเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาและความกดดันรอบตัว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่รู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ สิ้นหวัง ความรู้สึกเหงา เคว้งคว้าง เมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมาเกาะกินหัวใจของเรามากเกินไป ส่งผลให้ความรู้สึกแย่ลง บางครั้งเสียงร้องเรียกขอความช่วยเหลืออาจดังไม่พอที่ใครจะได้ยิน ทว่า การปลอบประโลมจิตใจตัวเองเพื่อให้มีแรงฮึดที่จะฝ่าฟันกับอุปสรรคที่กำลังดาหน้าเข้ามา น่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก การเยียวยาจิตใจตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้จัดการ 360 องศา คัดสรรวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและอาจช่วยให้คุณเข้มแข็งจนผ่านช่วงเวลาแย่ๆ นี้ไปให้ได้ ฟังเสียงดนตรีธรรมชาติ เริ่มจากให้ธรรมชาติบำบัด หากคุณมีเวลา การปลีกวิเวกหาสถานที่เงียบๆ ที่ทำให้เราได้ฟังเสียงหัวใจและความต้องการของตนเองได้ก็คงช่วยให้จิตใจได้สงบลงบ้าง แต่หากไม่สามารถจัดสรรเวลาที่เหมาะสมและลงตัวได้ การเปิดฟังธรรมชาติจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีทั้งเสียงน้ำไหลในลำธาร เสียงน้ำตก เสียงฝนตก เสียงนกร้องก็ช่วยให้อารมณ์เย็นลง สงบ ผ่อนคลายความตึงเครียดได้มากทีเดียว หนังสือ เพื่อนที่ดีที่สุดเสมอ ลงทุนสักหน่อยกับหนังสือดีๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจ เพียงเล่มละร้อยกว่าบาท ก็ช่วยพาคุณออกจากโลกที่หม่นหมองอยู่ได้มากเดียว และไม่แน่ว่า คุณอาจมีแรงใจเพิ่มขึ้นมากพอที่จะลุกขึ้นก้าวต่อไปข้างหน้าได้เลย เพื่อนรักสัตว์เลี้ยง มีข้อมูลมากมายที่แนะนำให้บุคคลที่มีภาวะจิตใจอ่อนแอ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หาสัตว์มาเลี้ยงสักตัว เพราะการเลี้ยงสัตว์สักตัวแม้จะไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายนัก เมื่อคุณต้องศึกษาเรื่องพื้นฐานของสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิด

Read More

เศรษฐกิจไทยยังมีหวังอยู่ไหม? ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรายวัน

ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตที่สร้างบาดแผลสาหัสสากรรจ์ และอยู่ในช่วงกำลังพักฟื้นเพื่อเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความหวังอันริบหรี่ นั่นเพราะเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องพึ่งพิงตลาดต่างชาติอยู่ไม่น้อย แม้ภาครัฐจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม และอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนคือ การผลัดเปลี่ยนตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจหลัก ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติและภาคเอกชนไทย เป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย ว่าภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะสรรหามือดีคนต่อไปจากไหนเข้ามารับตำแหน่งสำคัญนี้ กระทั่งการตอบตกลงรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ นายปรีดี ดาวฉาย ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกสิกรไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย คล้ายปลุกความหวังให้เกิดขึ้นอีกครั้งแก่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ แต่ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ข่าวที่เรียกว่า “ช็อก” คนไทย ผู้ซึ่งกำลังกอบความหวังที่เคยร่วงหล่นไปกลับขึ้นมา นั่นคือ ข่าวการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของนายปรีดี ดาวฉาย หลังจากเข้ารับตำแหน่งไม่ถึงเดือน แม้กระทรวงการคลังจะไม่ใช่คีย์แมนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจของเจ้าตัวนั้น คล้ายกับเป็นการบอกใบ้ว่า คนดีที่มีฝีมือที่เป็นเหมือนผู้จุดไฟแห่งความหวัง ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสถูกนำพาไปข้างหน้าภายใต้บุคคลที่มีความสามารถจริงๆ ไม่อาจนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ ไม่ว่าเบื้องหลังจะมีเหตุผลใดๆ ก็ตาม โดยเจ้าตัวให้เหตุผลที่ตัดสินใจลาออกว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบรายวัน ทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทุกระดับชั้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้สร้างความมั่นคงหรือความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้เลย นอกเหนือไปจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่ยังเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ทว่าประเทศอื่นๆ ในโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และสะสมอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำคัญในระบบแรงงานไทยกลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นจนน่ากังวล เพราะการลักลอบเข้ามาค้าแรงงานในประเทศไทยโดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเร่งกวดขันกันอย่างเต็มกำลัง เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อเข้ามาภายในประเทศไทยได้ ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของนักลงทุนไทย ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปที่ยังระวังการใช้จ่ายมากกว่าเดิม ในช่วงเดือนสิงหาคมที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบางประเทศเริ่มเข้าสู่สถานการณ์ที่พอจะคลายความกังวลลงได้บ้าง นั่นทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการ มีความหวังว่าไทยและอีกหลายประเทศอาจเปิดประเทศในลักษณะทราเวลบับเบิล เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

ระบายสี ละลายความเครียดสะสม

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่กำลังซื้ออ่อนแรงลงเป็นทุนเดิม และยังถูกกระหน่ำซ้ำเติมจากระลอกคลื่นแห่งความโชคร้ายที่พัดพาเอาเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามาสร้างรอยแผลให้ลึกลงไปจากจุดเดิม นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอื่นๆ ที่รายล้อมเข้ามาดั่งพายุลูกแล้วลูกเล่า ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ ปัญหาความอยุติธรรมในสังคม การประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในกลุ่มต่างๆ ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนนำมาซึ่งความเครียดที่ค่อยๆ แทรกซึมและหยั่งรากลึกลงไปในระบบความนึกคิด ความรู้สึก และแปรสภาพเป็นอาการที่แสดงออกมาทางกายภาพ ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ เราได้ถ่ายทอดความตึงเครียดไปสู่ผู้คนในครอบครัวโดยที่เราไม่อาจรู้ตัว อาการที่บ่งชี้ว่า เราอยู่ในภาวะความเครียด ได้แก่ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ยังมีอาการที่แสดงออกทางด้านจิตใจ เช่น สมาธิสั้น ความจำไม่ดี การตัดสินใจช้าลง วิตกกังวล อาการที่แสดงออกทางด้านอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่ายขึ้น ร้องไห้ มองโลกในแง่ร้าย ซึมเศร้า อาการที่แสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารจุบจิบ หรือรับประทานอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ เมื่อเรามีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นหวัด หรือมีไข้ เราสามารถดูแลรักษาสุขภาพให้หายจากไข้หวัดได้ ด้วยการใช้ยาบรรเทาอาการ ออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ความเครียดที่เกิดขึ้น

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง สัญญาณความอ่อนแอเศรษฐกิจไทย

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวจนไปถึงขั้นชะงักงัน ทั้งปัจจัยภายในที่ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อความไม่มั่นใจด้านการลงทุน หรือปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่สร้างคลื่นระลอกใหญ่ส่งผลกระทบไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะวิกฤตมาได้ระยะหนึ่ง กำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ที่ทำลายระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากเป็นวงกว้างขึ้น นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินต่างๆ วิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยค่อยๆ ไต่อันดับลงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส บทวิเคราะห์เศรษฐกิจจึงเป็นไปในทิศทางที่ว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะพ้นจากวิกฤตและสามารถฟื้นฟูไปถึงขั้นเติบโตได้อีกครั้ง ความง่อนแง่นของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศไทย เห็นได้จากความสามารถในการจับจ่ายซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลง และใช้จ่ายแต่เฉพาะที่จำเป็น รวมไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ค่อยๆ สูงขึ้น ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้านสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยต่อจีดีพีใน 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยในปี 2560 หนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ 78.1 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 78.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 ในปีถัดมา 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 79.8 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งมาถึงปี 2563 ในไตรมาสแรกที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 80.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า ภาคครัวเรือนของไทยกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ทั้งนี้ แม้ภาพดังกล่าวจะตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ แต่ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1.2 ปีข้างหน้านี้

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ-บรรจุภัณฑ์โต ไวรัสโควิดสยบไม่ลง

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ ภาวะชะงักงันที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญ เนื่องจากต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐประกาศใช้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะขยายวงกว้าง แม้ว่าเชื้อไวรัสจะมีความร้ายกาจและน่ากลัวขนาดไหน แต่มักจะมีช่องโหว่ที่กลายเป็นจุดอ่อน ที่นักวิจัยและพัฒนาวัคซีนสามารถเอาชนะได้เสมอ ในวงการธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เพราะในวิกฤตแต่ละครั้งมักจะมีธุรกิจบางประเภทที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าสถานการณ์โดยรอบจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะความแข็งแกร่งของตัวผู้ประกอบการที่มีสายป่านยาว หรือเหตุผลอื่นใดที่ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธุรกิจ จากหลายสถาบันออกมาประเมินและพินิจต่อเหตุการณ์นี้ว่า จะมีธุรกิจใดบ้างที่อยู่รอดเงื้อมมือของไวรัสนี้และกลายเป็นดาวเด่นในช่วงที่ไวรัสระบาด ธุรกิจ E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นธุรกิจที่ถูกประเมินว่านอกจากจะอยู่รอดในภาวะยากลำบากครั้งนี้แล้ว ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิถีชีวิตผู้คนในยามที่โรคไวรัสระบาด และกลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องแก้และหาคำตอบ อันนำไปสู่การค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ แม้ว่าเดิมที การค้าออนไลน์ในประเทศไทยจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการเข้าถึงผู้บริโภคมานานแล้ว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจทั้ง Offline และ Online ควบคู่กันไป หรือบางเจ้าใช้รูปแบบ Online อย่างเดียวเพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับพื้นที่หน้าร้าน ทว่า สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการแทบจะทั้งหมดต้องหันมาลงแข่งขันกันในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งการเสนอขายสินค้า การบริการ และทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้มูลค่าธุรกิจของตลาด E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขยายตัวแบบก้าวกระโดด เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา เปิดเผยข้อมูลตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยปี 2019 ว่า มีมูลค่า

Read More