Home > Cover Story (Page 115)

ซีพี เปิดศึกอาหารสุขภาพ รุกตลาดเรดดี้มีลหมื่นล้าน

การเปิดตัวอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ล่าสุด “สมาร์ทมีล (Smart Meal)” ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” สะท้อนเกมรุกธุรกิจอาหารขั้นต่อไปของเครือซีพีและย้ำชัดถึงวิสัยทัศน์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งกำลังต่อยอดผนึกแผนสร้าง “ครัวโลก” และ “ธุรกิจอาหารยุค 4.0” ภายใต้แนวคิด 3 สูง 1 ต่ำ คือเทคโนโลยีสูง ประสิทธิภาพสูง และการลงทุนสูง เพื่อนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เทคโนโลยีสูง คือ มีผู้ช่วยหลัก “หุ่นยนต์” ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพสูง คือ การเร่งยกระดับทรัพยากรบุคคลในองค์กรทดแทนการใช้แรงงานและภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นจะทำให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารดีมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนสูง ธนินท์ยังระบุผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “สิ่งที่ซีพีมองหลังจากนี้ คืออาหารในอนาคตที่มีความหลากหลาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมากขึ้น เป็นการผลิตอาหารสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง เน้นการป้องกันตัวเองมากกว่าการรักษา อาหารสุขภาพจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ คนเราอาจอยู่ได้ยืนยาวกว่า 100 ปี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซีพีกำลังเตรียมผลิตอาหารเพื่อคนสูงอายุและก้าวเข้าสู่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร” ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า

Read More

ศรีลังกา: จากจินตภาพสู่ความเป็นจริง??

จังหวะก้าวของการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมืองดูจะดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง ซึ่งแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะชะงักงันอยู่บ้างในช่วงของการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง แต่ต้องยอมรับว่ากรอบโครงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกายังดำเนินต่อไปอย่างมีเป้าหมายและน่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง ความสามารถของ Mahinda Rajapaksa ในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 ควบคู่กับการประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า “Mahinda Chintana: Vision for the Future” ประกอบกับการดำรงอำนาจทางการเมืองที่ยาวนานนับสิบปีของเขา ในด้านหนึ่งได้กลายเป็นความท้าทายการดำรงอยู่ของกลุ่มการเมืองดั้งเดิมของสังคมศรีลังกา และทำให้ Mahinda Rajapaksa ต้องถูกผลักให้พ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยายจากผลของการเลือกตั้งเมื่อต้นปี 2015 หากแต่มรดกทางความคิดและนโยบายว่าด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคต หรือ “จินตภาพแห่งมหินทะ” ที่ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน และศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม (Maritime, Aviation, Knowledge, Energy and Commerce) ไม่ได้ถูกทิ้งร้าง หากยังเป็นต้นทางของกรอบโครงแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมาด้วย การเบียดแทรกเพื่อขยายบทบาทเข้ามาของมหาอำนาจทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และนานาประเทศในการช่วยสนับสนุนความจำเริญครั้งใหม่ของศรีลังกา

Read More

วิบากกรรมเศรษฐกิจไทย ค่าเงินผันผวนท่ามกลางปัจจัยลบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะไม่สดใสอย่างที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้มากนัก หลังจากที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ตามการคาดหมายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายสำนักต่างประเมินว่า การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและค่าเงินบาทมากขึ้นไปอีก และการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดหมายว่า เฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในรอบปีนี้ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยขยับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25-1.50 ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.50 และมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในรอบปีหน้า ซึ่งเป็นประหนึ่งแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการหรืออาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับท่าทีของเฟดไปโดยปริยาย ข้อกังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เบียดใกล้กันเข้ามานี้ ในด้านหนึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศ โดยผู้ประกอบการส่งออกดูจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากกรณีดังกล่าวอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะที่รายงานของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนความกังวลใจของผู้ประกอบการ และเรียกร้องให้กลไกภาครัฐเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพด้วย ขณะเดียวกันโอกาสที่เงินทุนจากภายนอกจะไหลเข้าประเทศไทย จากผลของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงขยายตัวในระดับเพียงร้อยละ 3-4 น้อยกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความชัดเจนมากขึ้น

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More

ส่งออกตัวแปรสำคัญ ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้น?

สัญญาณการขยายตัวการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ที่กลับมาเป็นบวก โดยเพิ่มขึ้นทั้งด้านของราคาและปริมาณ นับเป็นอานิสงส์ที่ส่งต่อมายังไตรมาสแรกของปี 2560 ที่ทำให้ผู้ประกอบการหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระบุว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวดี เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และประเทศในกลุ่ม CLMV ขณะที่การส่งออกไปอาเซียนกลับหดหัวลง ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาส 1 ปี 2560 จึงมีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และ CLMV ที่ขยายตัว การส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้น การเติบโตของตัวเลขส่งออกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสแรก ปี

Read More

รัฐมุ่งหน้าเร่ขายฝัน หวังฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้น

ข่าวการเดินทางเพื่อเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของไทยในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่ง ถือเป็นความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันโครงการลงทุนและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยให้ดำเนินไปตามถ้อยแถลงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะไม่สอดรับกับคำเอ่ยอ้างและวาทกรรมว่าด้วยความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ และในบางกรณีอาจดำเนินสวนทางไปในทิศทางตรงข้ามก็ตาม ความพยายามที่จะสถาปนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่านปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand towards Asian Hub” ถือเป็นข้อเน้นย้ำถึงมายาคติที่บีบอัดเป็นมิติมุมมองของทั้งผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จ่อมจมอยู่กับวาทกรรมและความเชื่อว่าด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยแบบดั้งเดิม โดยละเลยบริบทของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ขณะที่การเน้นย้ำประเด็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดูจะเป็นการเน้นย้ำที่ไม่ต่างจากแผ่นเสียงที่ตกร่อง เพราะนอกจากจะยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใหม่ๆ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของพัฒนาการเชิงนโยบายในสองเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย ประเด็นว่าด้วย EEC หรือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ดำเนินไปภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตของไทย และเป็นโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้ว่าจะแสวงหาเม็ดเงินและนักลงทุนจากที่ใดเข้ามาเติมเต็มความฝันครั้งใหม่ของรัฐบาลไทยนี้ “หากขาดนักลงทุนจากญี่ปุ่น EEC คงพัฒนาไม่สำเร็จ จึงได้เชิญประธาน JETRO มาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดต่อกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งหวังว่าไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือทางการค้าและลงทุนได้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการนำแนวคิดร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วย” สมคิดระบุในตอนหนึ่งของปาฐกถา การอ้างถึงความพยายามเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากเป็นในอดีตก็คงดำเนินไปในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางที่จะหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไปสู่มิตรประเทศเหล่านี้ หากแต่ในปัจจุบันความพยายามผนวกรวมยุทธศาสตร์ CLMVT กลับกลายเป็นเพียงการขอมีส่วนร่วมให้เกิดความน่าสนใจในมิติของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเท่านั้น ก่อนหน้านี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้พยายามที่จะนำเสนอ หรือหากกล่าวอย่างชัดเจน

Read More

สัญญาณเตือนธุรกิจอสังหาฯ ระวัง!! ฟองสบู่แตก

การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ราวกับดอกเห็ดที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝน การปักหมุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กับโครงการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่เรามักจะได้เห็นจนชินตาเสมือนทิวทัศน์ที่ประกอบส่วนไปตลอดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ชนิดที่เรียกได้ว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นขนาบสองข้างของถนน เกิดคำถามที่ตามมาเพื่อให้บรรดานักวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ได้ขบคิดกันต่อว่า ดีมานด์กับซัปพลายของที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสมดุลกันจริงหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยบนรากฐานความเป็นจริงที่ว่า ยังอยู่ในช่วงของความไม่คงเส้นคงวานัก แต่หลายฝ่ายกำลังโหมกระพือบทวิเคราะห์และการคาดการณ์ในอนาคตว่า สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังดีขึ้นนั้นก็เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี โดยหวังจะสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่มนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาตัดสินใจที่จะตบเท้าเข้ามาลงทุนธุรกิจในประเทศไทย กระนั้นตัวเลขที่น่าจะสร้างเสริมให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความอึมครึมนี้ กลับเป็นตัวเลขของการส่งออกที่ดูท่าว่าตัวเลขนี้จะทำให้ผู้ประกอบการพอจะยิ้มออกได้บ้าง เมื่อสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ล่าสุดว่า มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมองสถานการณ์ตลาดโดยรวมถือได้ว่าเติบโตร้อยละ 10-15 ทั้งนี้หลายหน่วยงานที่รับหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ตลาด แสดงการคาดการณ์ไม่แตกต่างกันมากนักว่า ในครึ่งปีหลังภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ น่าจะยังมีช่องทางการเติบโตได้อยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าทุกสถานการณ์ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านลบ ปัจจัยด้านบวก ที่จะเป็นตัวบอกหรือกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ กระนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ ด้วยความไม่ประมาท โดยปัจจัยที่น่าจะหนุนนำส่งเสริมให้แวดวงของอสังหาฯ ไทย มีทิศทางที่น่าจะมองหาความสดใสเจอนั้น น่าจะมาจากโครงการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในปี 2560 ที่มีมากถึง 43 โครงการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในแผนการลงทุนเดิมปี 2560 จำนวน 36 โครงการ

Read More

ปิดฉากยกแรก มหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์”

ในที่สุด ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องกรณีบริษัทเงินติดล้อ จำกัด หรือชื่อเดิม “บริษัทซีเอฟจี จำกัด” เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหา บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ เลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการคำว่า “ศรีสวัสดิ์” แต่ใช่ว่า มหากาพย์การช่วงชิงแบรนด์ที่กินเวลายาวนานหลายปีจะจบลงง่ายๆ เนื่องจากฝ่ายบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด เตรียมหาแนวทางฟ้องกลับบริษัท เงินติดล้อ จำกัด เปิดสงครามรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดวงใจ แก้วบุตตา ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามนำเสนอข่าวมาตลอดว่า บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ มีพฤติกรรมลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการ รวมทั้งมีข่าวออกมาเป็นระยะๆ จะรื้อถอน ปลดป้าย ของบริษัท ทำให้ลูกค้าและคนทั่วไปสับสน และบริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง “จากคำตัดสินของศาลพิสูจน์แล้ว เราไม่ผิด ไม่ได้มีพฤติกรรมที่สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เราสามารถใช้คำว่า ศรีสวัสดิ์ ได้ ซึ่งการถูกฟ้องและให้ข่าวฝ่ายเดียวของบริษัทเงินติดล้อ จำกัด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งบริษัทและรายบุคคลที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเตรียมจะฟ้องกลับด้วย” ทั้งนี้ บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ

Read More

เร่งเครื่อง Debt Clinic ภารกิจล้างหนี้แสนล้าน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา งัดปฏิบัติการล้างหนี้นอกระบบและลดหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) จนล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจกดปุ่มเริ่มงาน “คลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic)” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้ส่วนบุคคลของลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางและค้างชำระเกิน 3 เดือน หวังล้างหนี้ครั้งใหญ่ของลูกหนี้จำนวน 5 แสนราย มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามแผนของ ธปท. “คลินิกแก้หนี้” มีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) หรือ บสส.ทำหน้าที่บริหารจัดการทั้งหมด หรือ “One Stop Service” เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ เจรจาหารือ พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ

Read More

“SAWAD” พลิกสินเชื่อห้องแถว ลุย “สถาบันการเงินทางเลือก”

การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ “กลุ่มศรีสวัสดิ์” ในรูปแบบโฮลดิ้งคอมปะนีและจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกระดับจากสินเชื่อห้องแถวหรือ “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เป็น “สถาบันการเงินทางเลือก” แบบครบวงจร สะท้อนการแข่งขันที่ร้อนแรงในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ธิดา แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบว่า ถ้าดูตัวเลขจำนวนรถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดกว่า 36 ล้านคัน แต่มีรถยนต์ที่ทำสัญญาเงินกู้กับเราแค่ 4 แสนกว่าคัน นั่นหมายถึงโอกาสการขยายตลาดอีกหลายเท่าตัว ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 38 ปี นับตั้งแต่ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน เริ่มจาก “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” ให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ ตั้งสำนักงานห้องแถวเจาะถึงกลุ่มลูกค้า อาศัยจุดขายเรื่องการจัดระบบการให้สินเชื่อ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และกลยุทธ์สำคัญ คือ เจรจาผ่อนผันการชำระได้ เพียงไม่กี่ปี ศรีสวัสดิ์เติบโตอย่างรวดเร็วและปูพรมสาขาทั่วประเทศ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่ผู้เล่นรายใหญ่และกลุ่มแบงก์พาณิชย์แห่เข้ามาช่วงชิงตลาด “สินเชื่อรถแลกเงิน” บวกกับเจอวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายครั้ง ทำให้ฉัตรชัยต้องปรับโครงสร้างธุรกิจหลายรอบ พร้อมๆ

Read More