Home > Cover Story (Page 114)

กุลวดี จินตวร 27 ปี สร้าง “เมืองทองธานี”

“เมืองทองธานีมาไกลมาก ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเมืองทองธานี ไม่มีอะไรเลย เป็นคนแรกๆ ที่มีโอกาสสร้างเมืองทองธานี ทำงานร่วมกับคุณอนันต์ (กาญจพาสน์) ยากลำบากมาก การสร้างเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย เราเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเจริญอย่างรวดเร็ว แม้มีสะดุดช่วงหนึ่งถูกหาว่าเป็นเมืองร้างและใช้เวลารีเทิร์นกลับมา มาวันนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามมาสเตอร์แพลน 100%” กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ถึงอภิมหาโครงการ “เมืองทองธานี” บนที่ดินมากกว่า 4,500 ไร่ ที่ใช้เวลายาวนานถึง 27 ปี โดยเริ่มต้นทำงานกับอนันต์ตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูจนเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งถือเป็นช่วงพีเรียดหนักหนาสาหัสที่สุด กุลวดี หรือ “คุณตุ้ม” รู้จักอนันต์ กาญจนพาสน์ เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่บริษัทสถาปนิกแห่งหนึ่งในฮ่องกง ขณะนั้นอนันต์กำลังมองหามืออาชีพด้านสถาปนิกเพื่อมาช่วยทำงานในโครงการเมืองทองธานี เวลานั้นกุลวดีมีทั้งประสบการณ์และความรู้ หลังจบปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัดสินใจไปเรียนโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่ฝรั่งเศส

Read More

พะเยา: ฝันใหญ่ของเมืองเล็ก ตั้งเป้าท่องเที่ยว-ค้าชายแดนโต

หากจะเอ่ยถึงจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่มักถูกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจและเลือกเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยว คงจะหนีไม่พ้นจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย หรือน่าน พะเยา จังหวัดที่น้อยคนนักจะเลือกเดินทางเข้าไปสัมผัสเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ แม้ว่าจะมีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ความร่มรื่นที่มีผลมาจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่า ยังคงความเขียวขจีอยู่มากกว่าบางจังหวัด ประกอบกับความเงียบสงบของเมืองซึ่งเหมาะแก่การหลบร้อนและพักผ่อน อาจเป็นเพราะด้วยความที่จังหวัดพะเยาถูกขนาบข้างด้วยเชียงรายและน่าน ที่ดูจะมีภาษีเหนือกว่าในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ที่เมื่อได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจนทำให้เกิดกระแส ผู้คนแห่แหนกันไปเพื่อเช็กอิน เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแชร์การมาเยี่ยมเยือนลงบนโลกโซเชียล นั่นทำให้พะเยาเป็นเพียงทางผ่านในหลายๆ ครั้ง กระทั่งเมื่อมีการเปิดเผยแผนพัฒนาด่านบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้เปิดด่านถาวร จึงเป็นเสมือนการเปิดสวิตช์เครื่องจักร ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาและปลุกศักยภาพของจังหวัดให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการค้าชายแดน เมื่อด่านบ้านฮวกมีเขตที่สามารถเชื่อมต่อกับแขวงไซยะบุรี ของ สปป.ลาว ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่งหากด่านบ้านฮวกถูกอนุมัติให้เป็นด่านถาวร อ. ภูซาง จ.พะเยา จะกลายเป็นอีกหนึ่งประตูและเส้นทางการค้าของภูมิภาคนี้ ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ปานทอง สระคูพันธ์ เปิดเผยว่า “จังหวัดได้งบประมาณจากรัฐบาลมา 500 ล้านบาท โดยจะนำงบประมาณดังกล่าวมาพัฒนากว๊านพะเยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยว เมื่อถนนที่เชื่อมไทย-ลาว แล้วเสร็จจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง” ทั้งนี้ด่านบ้านฮวกจะเป็นด่านชายแดนถาวรได้ภายในปีนี้ ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ของปานทอง สระคูพันธ์ นั่นหมายความว่า จังหวัดพะเยาคงต้องเร่งดำเนินการพัฒนาทั้งระบบเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง เส้นทางโลจิสติกส์ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับการค้าการลงทุนระหว่าง

Read More

20 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง บทเรียนสู่อนาคตยุค 4.0

นอกเหนือจากข่าวที่ไหลบ่าท่วมกระแสการรับรู้ของผู้คนไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 44 อำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางในเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีจีนเป็นผู้ดำเนินการ หรือการอนุมัติและเร่งรัดให้มีการสร้างหอชมเมืองด้วยวิธีที่ไม่ต้องประมูลเพื่อเร่งรัดให้โครงการสำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วแล้ว บทวิเคราะห์ย้อนอดีตว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจไทยที่ลุกลามไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ดูจะเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะบทเรียนแห่งวิกฤตในครั้งนั้นยังคงส่งผลกระทบสืบเนื่องและส่วนหนึ่งฝังรากเป็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ดูเหมือนว่า กลไกรัฐไทยและภาคธุรกิจเอกชนไทยกำลังอยู่ในห้วงเวลาที่พร้อมจะผลิตซ้ำความผิดพลาดครั้งเก่าจากความพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในภาวะซึมเซายาวนานให้กลับมีสีสัน บนความคาดหวังครั้งใหม่ว่าจะช่วยฉุดกระชากเศรษฐกิจสังคมไทยออกจากหล่มโคลนให้ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้ หลักไมล์แห่งการวิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ส่วนใหญ่ได้ยึดเอาวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ด้วยการยกเลิกการผูกติดกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากถูกโจมตีค่าเงินอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านั้น ซึ่งการประกาศดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก และส่งผลให้ปริมาณหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยทันที และกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลกระทบทางการเงินและเศรษฐกิจไทย ก่อนที่จะลุกลามและขยายตัวจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หากแต่ในความเป็นจริงการประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งที่หักโค่นลงโดยที่ภูเขาน้ำแข็งแห่งปัญหาที่สั่งสมอยู่ใต้ผิวน้ำกำลังละลายและพังครืนจากความอ่อนแอที่เกิดขึ้นอยู่ภายในโครงสร้างที่เปราะบาง โดย AMRO หรือสถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN +3 Macroeconomic Research Office) ได้เสนอบทวิเคราะห์ย้อนอดีตวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นว่าแม้จะดูเหมือนว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง แต่ในความเป็นจริงความเสี่ยงต่างๆ ในภูมิภาคได้ก่อตัวมาสักระยะก่อนหน้านั้นแล้ว โดยเฉพาะความไม่สมดุลของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค พัฒนาการจากเศรษฐกิจต่างประเทศ และความอ่อนแอของภาคการเงินและบรรษัทเอกชน ความไม่สมดุลของภาคต่างประเทศถูกสะท้อนจากเงินทุนเอกชนที่ไหลเข้ามาอย่างมากและการลงทุนของเอกชนภายในประเทศที่สูง ซึ่งถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นไปอีกจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทกลับถูกตรึงเอาไว้ตามนโยบายขณะนั้น เงินทุนที่ไหลเข้ามาป็นชนวนขับเคลื่อนการขยายสินเชื่อและการลงทุนในเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์

Read More

หนทางการพัฒนาของเนด้าใน CLMV เมื่อจีน-ญี่ปุ่น แผ่ขยายอิทธิพล

หลังการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดูเหมือนว่ายิ่งจะเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่หมายถึง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม การมาถึงของนักลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการมาแบบฉายเดี่ยวของนักลงทุน แต่เป็นนโยบายภาครัฐของประเทศนั้นๆ ที่ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้าเข้ามาในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น หากพิจารณาจากชั้นเชิงของทั้งสองประเทศมหาอำนาจของเอเชีย ดูจะอุดมไปด้วยยุทธศาสตร์ เสมือนว่ากำลังประลองสรรพกำลังกันบนกระดานหมากรุก และเป็นเกมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 ปี ขณะที่ชายแดนไทยเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มนี้กลับมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยกว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทั้งที่ในช่วงหนึ่งญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่ยังมีการลงทุนนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 ในบรรดานักลงทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามา สิ่งที่น่าสนใจคือการมาของญี่ปุ่น ดูจะเป็นการเข้ามาคานอำนาจของจีนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แต่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ต้องเรียกว่าน่าสนใจ คือมาพร้อมกับการให้ความสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างถนนที่เชื่อมต่อและเสริมสร้างศักยภาพของเส้นทางโลจิสติกส์ โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญให้การสนับสนุน คือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB พื้นที่เขตเศรษฐกิจทวายดูจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกว่าญี่ปุ่นเดินหมากด้วยความแยบยลเพียงใด เพราะนอกจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายในประเทศเมียนมาแล้ว ญี่ปุ่นยังสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างถนนจากบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อมายังทวายได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ว่าถึงปัจจุบันเขตเศรษฐกิจทวายจะยังมองหาความคืบหน้าที่ชัดเจนได้ยากนักก็ตาม ขณะที่นโยบายรัฐบาลกลางของจีนดูจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเจริญที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง ด้วยความต้องการที่จะยกระดับ “คุนหมิง” ให้เป็นเมืองหน้าด่านในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ และยังวางตำแหน่งของคุนหมิงให้เป็นศูนย์กลางการเงินเพื่อนำเงินสกุลหยวนออกสู่อาเซียน และการลงทุนของจีนกับลาวดูจะเป็นโครงการที่เป็นการตกลงกันระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” โดยสร้างถนน หรือการสร้างโรงแรมซึ่งชนกับทุนไทย แต่ประเด็นที่น่าจับตามองคือการเข้ามามีบทบาทในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง ที่หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่า

Read More

สหพัฒน์ปลุก 20 ปี BSC พลิกบทเรียน “ต้มยำกุ้ง”

“เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเหมือนกำลังขับรถเกียร์ 3 เข้าสู่ขาขึ้นและใกล้เจอทางเรียบ ปีหน้าคาดว่าจะเป็นเกียร์ 4 คือเศรษฐกิจดี หากไม่มีอะไรมาสะดุดขาตัวเอง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยถือว่าดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กำลังซื้อจากนี้ไปจะดีขึ้น เพราะสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งที่ผ่านมาคนไทยอยู่ในสถานการณ์โศกเศร้าเลยทำให้ไม่ค่อยซื้อสินค้า แต่สถานการณ์ซบเซามาปีกว่าแล้ว ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้" บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยด้วยความหวังและความมั่นใจ แม้ดูจะสวนทางกับบรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการที่ยังประเมินสถานการณ์ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและต้องเผชิญกับปัจจัยลบอีกหลายตัว หลายคนหวาดกลัวกับภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาการส่งออก ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญ คือปัจจัยด้านการเมืองและความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง แน่นอนว่า เครือสหพัฒน์ผ่านวิกฤตหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตค่าเงินครั้งใหญ่ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 ซึ่งบุณยสิทธิ์ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ แม้สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากเหมือนอดีต แต่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะปัญหากำลังซื้อหดตัว หากเปรียบเทียบปี 2540 มีปมใหญ่อยู่ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจนแตะ 50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโชคดีที่ธุรกิจของกลุ่มตระกูลโชควัฒนามีสัดส่วนการกู้เงินต่างประเทศจำนวนไม่มาก เพราะบริษัทในเครือเน้นนโยบายการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง จึงไม่เกิดภาวะหนี้ท่วมเหมือนหลายๆ บริษัท แต่ผลกระทบในเวลานั้น คือกำลังซื้อของชาวบ้านลดลงอย่างหนัก เพราะสถานประกอบการหลายแห่งแบกรับหนี้ไม่ไหว ต้องปิดตัว เลิกจ้าง คนจำนวนมากไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน ในฐานะยักษ์ใหญ่สินค้าคอนซูเมอร์ บุณยสิทธิ์งัดกลยุทธ์จัดงาน “สหกรุ๊ป

Read More

พีเฟรชมาร์ท บุกจีสโตร์ สงคราม “มินิซูเปอร์” เดือด

“ซีพีเฟรชมาร์ท” เปิดฉากเดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากปรับโฉมงัดโมเดลล่าสุด “คอมแพ็กต์ซูเปอร์ (Compact Super)” ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อมในชุมชนเข้ามาบุกตลาดและล่าสุดกระโดดเข้าสู่สมรภูมิ “จีสโตร์” ในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งถือเป็นแนวรบที่มีคู่แข่งจับจองพื้นที่และต่อสู้อย่างดุเดือด ที่สำคัญ เมื่อค่ายยักษ์ใหญ่ คือ ซีพีเฟรชมาร์ทของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสของเทสโก้โลตัส มินิบิ๊กซีของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และน้องใหม่ “สพาร์ (SPAR)” ของบางจาก ประกาศอัดงบลงทุนปูพรมสาขาและสร้างจุดขายอย่างเข้มข้น เพื่อยึดส่วนแบ่งในช่องทางจีสโตร์ทำให้สงครามมินิซูเปอร์มาร์เก็ตร้อนฉ่าขึ้นทันที ทั้งนี้ แผนเบื้องต้นในปี 2560 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ตั้งเป้าขยายร้านซีพีเฟรชมาร์ทโมเดลใหม่ 100 สาขา และทยอยรีโนเวตสาขาเดิมจากปัจจุบันมีสาขารวมทั้งสิ้น 420 แห่ง ปรับโฉมเป็นสาขารูปแบบคอมแพ็กต์ซูเปอร์แล้ว 100 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในสถานีบริการน้ำมันแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ สาขาปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ นครอินทร์ ซึ่งปรับโฉมใหม่เพิ่ม Coffee Counter และโซน TO

Read More

ซีพี เปิดศึกอาหารสุขภาพ รุกตลาดเรดดี้มีลหมื่นล้าน

การเปิดตัวอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ล่าสุด “สมาร์ทมีล (Smart Meal)” ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” สะท้อนเกมรุกธุรกิจอาหารขั้นต่อไปของเครือซีพีและย้ำชัดถึงวิสัยทัศน์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งกำลังต่อยอดผนึกแผนสร้าง “ครัวโลก” และ “ธุรกิจอาหารยุค 4.0” ภายใต้แนวคิด 3 สูง 1 ต่ำ คือเทคโนโลยีสูง ประสิทธิภาพสูง และการลงทุนสูง เพื่อนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เทคโนโลยีสูง คือ มีผู้ช่วยหลัก “หุ่นยนต์” ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพสูง คือ การเร่งยกระดับทรัพยากรบุคคลในองค์กรทดแทนการใช้แรงงานและภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นจะทำให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารดีมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนสูง ธนินท์ยังระบุผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “สิ่งที่ซีพีมองหลังจากนี้ คืออาหารในอนาคตที่มีความหลากหลาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมากขึ้น เป็นการผลิตอาหารสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง เน้นการป้องกันตัวเองมากกว่าการรักษา อาหารสุขภาพจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ คนเราอาจอยู่ได้ยืนยาวกว่า 100 ปี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซีพีกำลังเตรียมผลิตอาหารเพื่อคนสูงอายุและก้าวเข้าสู่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร” ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า

Read More

ศรีลังกา: จากจินตภาพสู่ความเป็นจริง??

จังหวะก้าวของการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมืองดูจะดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง ซึ่งแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะชะงักงันอยู่บ้างในช่วงของการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง แต่ต้องยอมรับว่ากรอบโครงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกายังดำเนินต่อไปอย่างมีเป้าหมายและน่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง ความสามารถของ Mahinda Rajapaksa ในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 ควบคู่กับการประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า “Mahinda Chintana: Vision for the Future” ประกอบกับการดำรงอำนาจทางการเมืองที่ยาวนานนับสิบปีของเขา ในด้านหนึ่งได้กลายเป็นความท้าทายการดำรงอยู่ของกลุ่มการเมืองดั้งเดิมของสังคมศรีลังกา และทำให้ Mahinda Rajapaksa ต้องถูกผลักให้พ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยายจากผลของการเลือกตั้งเมื่อต้นปี 2015 หากแต่มรดกทางความคิดและนโยบายว่าด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคต หรือ “จินตภาพแห่งมหินทะ” ที่ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน และศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม (Maritime, Aviation, Knowledge, Energy and Commerce) ไม่ได้ถูกทิ้งร้าง หากยังเป็นต้นทางของกรอบโครงแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมาด้วย การเบียดแทรกเพื่อขยายบทบาทเข้ามาของมหาอำนาจทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และนานาประเทศในการช่วยสนับสนุนความจำเริญครั้งใหม่ของศรีลังกา

Read More

วิบากกรรมเศรษฐกิจไทย ค่าเงินผันผวนท่ามกลางปัจจัยลบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะไม่สดใสอย่างที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้มากนัก หลังจากที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ตามการคาดหมายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายสำนักต่างประเมินว่า การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและค่าเงินบาทมากขึ้นไปอีก และการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดหมายว่า เฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในรอบปีนี้ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยขยับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25-1.50 ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.50 และมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในรอบปีหน้า ซึ่งเป็นประหนึ่งแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการหรืออาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับท่าทีของเฟดไปโดยปริยาย ข้อกังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เบียดใกล้กันเข้ามานี้ ในด้านหนึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศ โดยผู้ประกอบการส่งออกดูจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากกรณีดังกล่าวอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะที่รายงานของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนความกังวลใจของผู้ประกอบการ และเรียกร้องให้กลไกภาครัฐเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพด้วย ขณะเดียวกันโอกาสที่เงินทุนจากภายนอกจะไหลเข้าประเทศไทย จากผลของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงขยายตัวในระดับเพียงร้อยละ 3-4 น้อยกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความชัดเจนมากขึ้น

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More