Home > Property

คุยกับ “ชูรัชฏ์ ชาครกุล” แม่ทัพแห่งลลิล พร็อพเพอร์ตี้ กับปีแห่งความท้าทายของตลาดบ้านแนวราบ

ในโอกาสครบรอบ 37 ปี และย่างเข้าปีที่ 38 ของบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่โลดแล่นในตลาดบ้านแนวราบในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาอย่างยาวนาน “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงขอถือโอกาสนี้ชวนคุยกับ “ชูรัชฏ์ ชาครกุล” ผู้บริหารแห่ง ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงภาพรวมของตลาดบ้านแนวราบ ความท้าทายที่ต้องเผชิญ และกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดที่เกิดขึ้น 8 กันยายน 2531 เป็นวันที่บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ LALIN ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรพร้อมอยู่ภายใต้สโลแกน “บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี” ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20 ล้านบาท โดยมีทวีศักดิ์ วัชรรัคคาวงศ์ และไชยยันต์ ชาครกุล เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลลิลฯ เปิดตัวด้วยโครงการทาวน์เฮาส์ภายใต้ชื่อ “ลัลลี่ วิลล์” เป็นโครงการแรกในพื้นที่ 2 ทำเล

Read More

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ขยายตลาดบ้านระดับพรีเมียม ปั้นแบรนด์ “บ้านลลิล The Prestige” ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ปลื้มกระแสตอบรับบ้านระดับพรีเมียม “บ้านลลิล The Prestige” ตอบโจทย์ด้วยงานออกแบบ French Colonial Style หรูหราอย่างมีระดับ เสริมความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยด้วยนวัตกรรม ECO Tech หลังจากส่ง 2 โครงการบ้านระดับพรีเมียมภายใต้แบรนด์ “บ้านลลิล The Prestige” สู่ตลาด ซึ่งได้การตอบรับเป็นอย่างดี ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ พร้อมขยายการพัฒนาแบรนด์บ้านระดับพรีเมียมต่อเนื่องในปีนี้ ย้ำตลาดบ้านกลุ่มเรียลดีมานต์ 2-10 ล้านยังไปต่อได้ทั้งยังครองส่วนแบ่งกว่า 60% ในปัจจุบัน นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ (LALIN) เปิดเผยว่า “บ้านลลิล The Prestige” เป็นแบรนด์บ้านพรีเมียมระดับราคา 5-8 ล้านบาทที่บริษัทฯ ได้ พลิกโฉมการพัฒนาใหม่ในทุกส่วน เพื่อเจาะตลาดกำลังซื้อระดับบนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ได้อัพเกรดวัสดุตกแต่งก่อสร้างให้พรีเมียมยิ่งขึ้น และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง ให้รองรับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในปัจจุบันที่มุ่งเน้นด้านการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยได้พัฒนา

Read More

ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว ปีทองของแกรนด์ แอสเสท

ทิศทางของกราฟตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจนถึงปีปัจจุบันยังดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ายังไม่กลับมาเทียบเท่าช่วงก่อนโควิด ทว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่างเห็นพ้องต้องกัน เมื่อตัวเลขรายได้และผลประกอบการมีทิศทางเป็นบวก บางรายกล้าพูดได้ว่าสถานการณ์ของธุรกิจกลับมาเทียบเท่าหรือเกือบเทียบเท่าช่วงก่อนโควิด เช่นเดียวกับ บมจ. แกรนด์ แอสเสท โฮเทลล์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ ที่คาดการณ์รายได้ในปี 2566 ไว้ว่า จะฟื้นตัวเทียบเท่าปี 2562 หากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีเป็นไปอย่างที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ว่า จะมีนักท่องเที่ยวในปี 2566 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 25 ล้านคน หรือคิดเป็น 62 เปอร์เซ็นต์ของปี 2562 โดย วิทวัส วิภากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า “ปี 2566 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม 6,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากธุรกิจโรงแรม 3,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น

Read More

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้คาดปี 66 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรงไม่แผ่ว ราคาส่อแววเพิ่ม จับตาอสังหาฯ แนวดิ่ง หลังดีมานด์ซื้อ-เช่าคอนโดฯ โตต่อเนื่อง

หลังจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 ต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ผนวกกับภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย สรุปภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยบ้านแนวราบยังครองความนิยม ส่งผลให้ดัชนีราคาและดัชนีค่าเช่าเติบโตต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในประเทศให้กลับมามากขึ้น ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปี 65 ที่อยู่อาศัยแนวราบยังแรง ราคาซื้อ-เช่าโตต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Outlook 2566 พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ปรับเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน (QoQ) มาอยู่ที่ 82 จุด แต่ลดลงจากปีก่อนหน้า (YoY) อยู่ 3% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนการแพร่ระบาดฯ) ถึง 22% - บ้านเดี่ยวยืนหนึ่งอสังหาฯ

Read More

เตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจ เปิดเช็กลิสต์เช่าบ้านอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ

บ้านเช่า ห้องเช่า เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมานาน เพราะเป็นการลดภาระผูกพันระยะยาวสำหรับคนที่ยังไม่พร้อมจะซื้อบ้านเป็นของตัวเอง นอกจากนั้นยังตอบโจทย์เรื่องความสะดวกเมื่อต้องโยกย้ายที่อยู่ให้เหมาะสมตามความจำเป็นต่าง ๆ การเช่าบ้านเหมาะสำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นเก็บเงินเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวและยังไม่ได้มีแผนลงหลักปักฐานที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร อย่างไรก็ดี การเช่าก็มีความแตกต่างจากการซื้อขาดในเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น การเช่าบ้านนอกจากต้องพิจารณาทำเล ประเภทและราคาค่าเช่าแล้ว การเช่าบ้านยังเป็นนิติกรรมที่ผู้บริโภคจะต้องศึกษาอย่างรอบคอบทั้งในส่วนรายละเอียดสัญญาเช่า และต้องวัดดวงกับการเจอผู้ให้เช่าหรือเจ้าของบ้านที่มาในหลายรูปแบบ ซึ่งมีหลายกรณีที่เกิดความไม่เข้าใจระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของบ้าน จึงต้องมีการบังคับใช้ข้อกฎหมายที่ทันสมัยและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้เช่าและผู้ให้เช่าฉบับล่าสุดที่ปรับให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ ลดความขัดแย้งและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า โดยควบคุมผู้ประกอบ “ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย” ซึ่งหมายความถึงผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย โดยมีสถานที่ที่จัดแบ่งให้เช่าตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกัน ได้แก่ ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์ แต่ไม่รวมถึงหอพักและโรงแรมที่มีกฎหมายควบคุมแยกต่างหาก “ผู้เช่า-ผู้ให้เช่า” มีข้อผูกพันกันมากน้อยแค่ไหน ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีบทบาทต่อกันอย่างชัดเจน หน้าที่หลักของ “ผู้เช่า” นั้นนอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบในการชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าตามจำนวนและเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาที่อยู่อาศัยที่ตนเองเช่าให้เหมือนกับที่ปฏิบัติกับบ้านของตัวเองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เช่าต้องไม่ลืมว่าตนไม่มีสิทธิในการต่อเติมหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่ส่งผลต่อโครงสร้างหลักตามใจชอบโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันเพิ่มเติมในสัญญาอย่างเคร่งครัด ในขณะที่ “ผู้ให้เช่า” มีหน้าที่มอบสิทธิในการครอบครองใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าตลอดระยะเวลาของการเช่า โดยสามารถกำหนดในสัญญาว่าสิทธิการให้เช่านั้นมีผลเฉพาะผู้ให้เช่าเท่านั้น หากผู้ให้เช่าเสียชีวิตระหว่างที่สัญญาเช่ายังไม่หมดจะทำให้สัญญาเช่านั้นระงับลง หรือระบุให้สิทธิการให้เช่าตกทอดไปสู่ทายาทได้เช่นกัน นอกจากนี้ผู้ให้เช่ายังมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและตั้งกฎเพื่อจัดระเบียบผู้เช่าให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พร้อมทั้งสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อย

Read More

เฮือกสุดท้ายของอสังหาฯ ตัวแปรพลิกเศรษฐกิจไทย?

ต้องเรียกว่าสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในศักราชนี้ “หืดขึ้นคอ” กันเลยทีเดียวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่อาศัย เพราะผลกระทบแง่ลบจากเศรษฐกิจโลกที่แผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอุบัติ และไม่ใช่เพียงแค่อิทธิพลจากสงครามการค้าเท่านั้น ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ แม้จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม หลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและไม่ใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเท่าที่ควร ไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีจะเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย ความคึกคักที่มักปรากฏให้เห็นจนชินตา กลายเป็นภาพอดีตและถูกแทนที่ด้วยบรรยากาศความหงอยเหงาเศร้าซึม ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมยานยนต์ที่ปกติจะสร้างสีสันในช่วงปลายปี ทว่าปีนี้ทุกอย่างกลับแสดงผลในทางตรงกันข้าม จะมีก็เพียงธุรกิจ E-Commerce ที่สามารถจุดพลุฉลองยอดขายและความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Marketplace เจ้าตลาดอย่าง Lazada Shopee หรือ JD Central ที่สองเจ้าแรกมีนายทุนใหญ่จากต่างชาติเข้ามาสร้างอาณาจักรและกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าอย่างสนุกสนานด้วยแคมเปญลดราคาทุกๆ เดือน และ JD Central ที่เครือเซ็นทรัลจับมือกับ JD ที่มีบริษัทแม่อยู่ประเทศจีน ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ดูเหมือนจะไร้กระแสลมบวกที่จะส่งให้กราฟตัวเลขยอดขายพุ่งทะยาน แม้ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้รับนั้นจะมาจากการออกมาตรการ LTV ของแบงก์ชาติ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ลืมว่าโอเวอร์ซัปพลายที่เกิดขึ้นและล้นตลาดอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่เกิดจากการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการ โดยไม่ระวังสถานการณ์และความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจในอนาคต การมองเพียงแง่มุมเดียวของผู้ประกอบการทำให้หลายค่ายเรียกร้องภาครัฐให้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อให้ซัปพลายที่มีอยู่ถูกดูดออกไปบ้าง ซึ่งนี่ทำให้เห็นมาตรการความช่วยเหลือที่รัฐบาลประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำกล่าวอ้างของรัฐบาลที่มีต่อมาตรการเหล่านี้คือ ต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นเหตุผลที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อจะกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคือ “โครงการบ้านดีมีดาวน์” ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยประชาชนที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อและโอนบ้านตั้งแต่วันที่ 27

Read More

ดัชนีอสังหาฯ แนวตั้ง ชี้เศรษฐกิจไม่ปังอย่างที่รัฐคิด

ช่วงปลายปี 2560 มาถึงช่วงเดือนแรกของศักราชใหม่ หลายสำนักออกมาคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีทิศทางและอนาคตที่สดใส อีกทั้งยังประเมินตัวเลข GDP ว่าจะมีการเติบโตถึง 4 เปอร์เซ็นต์ จนถึงเวลานี้แม้จะยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า คำทำนายเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจนั้นจะถูกต้องไปทั้งหมดหรือไม่ กระนั้นตัวเลขจากการคาดการณ์ดังกล่าวก็ยังเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้กับนักลงทุนทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ที่กำลังตัดสินใจลงทุน แม้เราจะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การลงทุนของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และธุรกิจอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังประเมินว่าปี 2561 การลงทุนภาครัฐน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 11.90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญคือการขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านโครงการขนาดใหญ่ อัตราการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตขึ้นเสมือนเงาตามตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า เพราะเมื่อใดที่ภาครัฐเปิดเผยแผนก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนชนิดนี้ บรรดานักลงทุนทั้งแบรนด์ใหญ่และค่ายเล็กต่างพากันปักหมุดจับจองพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ที่เกิดขึ้นแบบประกบคู่ขนานไปกับเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้นหลายค่ายคงจะประเมินถึงกระแสตอบรับต่อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ว่าน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี รวมไปถึงการเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย และการประเมินยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนที่อยู่อาศัยแนวตั้งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจำนวนมากจนเรียกได้ว่าเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค นั่นน่าจะมาจากผลสำรวจของภาครัฐในช่วงก่อนก่อสร้างโครงการว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 2 แสนคนต่อวัน หากแต่หลังโครงการเสร็จสิ้นและมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน การลดลงของผู้โดยสารบนเส้นทางดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากอัตราค่าโดยสารที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยไป-กลับ ประมาณ 200 บาทต่อวัน และปัญหาดังกล่าวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญให้ประชาชนนำมาพิจารณาเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าว นั่นทำให้เกิดปัญหาคอนโดมิเนียมบนเส้นทางสายสีม่วงโอเวอร์ซัปพลาย ทั้งนี้จำนวนหน่วยของที่อยู่อาศัยแนวตั้งในช่วงก่อนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นมีประมาณ 1.3 หมื่นหน่วย

Read More

สัญญาณเตือนธุรกิจอสังหาฯ ระวัง!! ฟองสบู่แตก

การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ราวกับดอกเห็ดที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝน การปักหมุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กับโครงการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่เรามักจะได้เห็นจนชินตาเสมือนทิวทัศน์ที่ประกอบส่วนไปตลอดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ชนิดที่เรียกได้ว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นขนาบสองข้างของถนน เกิดคำถามที่ตามมาเพื่อให้บรรดานักวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ได้ขบคิดกันต่อว่า ดีมานด์กับซัปพลายของที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสมดุลกันจริงหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยบนรากฐานความเป็นจริงที่ว่า ยังอยู่ในช่วงของความไม่คงเส้นคงวานัก แต่หลายฝ่ายกำลังโหมกระพือบทวิเคราะห์และการคาดการณ์ในอนาคตว่า สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังดีขึ้นนั้นก็เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี โดยหวังจะสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่มนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาตัดสินใจที่จะตบเท้าเข้ามาลงทุนธุรกิจในประเทศไทย กระนั้นตัวเลขที่น่าจะสร้างเสริมให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความอึมครึมนี้ กลับเป็นตัวเลขของการส่งออกที่ดูท่าว่าตัวเลขนี้จะทำให้ผู้ประกอบการพอจะยิ้มออกได้บ้าง เมื่อสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ล่าสุดว่า มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมองสถานการณ์ตลาดโดยรวมถือได้ว่าเติบโตร้อยละ 10-15 ทั้งนี้หลายหน่วยงานที่รับหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ตลาด แสดงการคาดการณ์ไม่แตกต่างกันมากนักว่า ในครึ่งปีหลังภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ น่าจะยังมีช่องทางการเติบโตได้อยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าทุกสถานการณ์ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านลบ ปัจจัยด้านบวก ที่จะเป็นตัวบอกหรือกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ กระนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ ด้วยความไม่ประมาท โดยปัจจัยที่น่าจะหนุนนำส่งเสริมให้แวดวงของอสังหาฯ ไทย มีทิศทางที่น่าจะมองหาความสดใสเจอนั้น น่าจะมาจากโครงการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในปี 2560 ที่มีมากถึง 43 โครงการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในแผนการลงทุนเดิมปี 2560 จำนวน 36 โครงการ

Read More