Home > ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ธปท. สั่งหั่นค่าธรรมเนียม ทำธนาคารรายได้-กำไรลด

ข่าวการเตรียมปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมครั้งใหญ่ด้วยการออกประกาศแนวปฏิบัติ การคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงินทั้งระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้แนวความคิดที่ว่าเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินใช้ในการกำหนดค่าธรรมเนียมอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค กำลังส่งผลสั่นคลอนรายได้และกำไรของธนาคารพาณิชย์อย่างยากปฏิเสธ ภายใต้แนวปฏิบัติของ ธปท. ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะครอบคลุมค่าธรรมเนียมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินทุกประเภทรวมกว่า 200-300 ประเภท ในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ตลอดจนลูกค้ารายย่อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้สั่งให้สถาบันการเงินปรับลดค่าธรรมเนียมไปแล้ว 3-4 รายการ ซึ่งถือเป็นการนำร่องก่อนการประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมทั้งระบบของ ธปท. การประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมของ ธปท. ครั้งใหม่นี้ แม้จะสร้างความเป็นธรรมให้กับลูกค้าและสร้างมาตรฐานให้กับสถาบันการเงินทั้งระบบ หากในอีกทางหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคาร ซึ่งการให้ธนาคารปรับลดค่าธรรมเนียมไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งการนำร่องก่อนที่จะนำไปสู่การครอบคลุมทุกประเภท ซึ่งน่าจะมีส่วนกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือรายได้ของธนาคาร แต่จะเป็นไปในระดับใด ยังเป็นกรณีที่ต้องประเมินข้อมูลอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้เรียกขอข้อมูลต้นทุนค่าธรรมเนียมแต่ละบริการของธนาคาร เพื่อพิจารณาว่าค่าธรรมเนียมแต่ละรายการดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล สอดรับกับทั้งระบบหรือไม่ เพื่อใช้กำหนดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับต้นทุนมากขึ้น ซึ่งในมุมมองของนายธนาคารหลายแห่งเชื่อว่าการเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคารในปัจจุบัน ถือว่าสมเหตุสมผลอยู่แล้ว เพราะหากธนาคารแห่งใดเก็บค่าธรรมเนียมเกินควร ไม่สอดคล้องกับต้นทุนก็จะต้องเผชิญกับกลไกตลาด ที่มีการแข่งขันเรื่องค่าธรรมเนียมซึ่งส่งผลให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของแต่ละธนาคารมีแนวโน้มปรับลดลงอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตัวเลขค่าธรรมเนียมของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 29 หรือประมาณ 1.91

Read More

แรงกดดันภาคอสังหาฯ ทำแบงก์ชาติผ่อนปรน LTV

มาตรการ LTV คือ ยาแรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้โดยมุ่งหวังว่า จะเป็นการป้องปรามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระบบ โดยเฉพาะปัญหาทางการเงินของภาคครัวเรือน เมื่อแบงก์ชาติเล็งเห็นว่าการเกิดใหม่ของโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งจำนวนยูนิตที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดยังไม่ถูกดูดซับออกไปเท่าที่ควร ทำให้ปริมาณที่อยู่อาศัยไทยเข้าสู่ภาวะล้นตลาด แม้การประกาศใช้หลักเกณฑ์ LTV (Loan-to-Value) ของแบงก์ชาติจะมีเหตุผลอันสมควรแล้วก็ตาม ทว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 เดือน อสังหาฯ ภาคเอกชนต่างโอดครวญและเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน ให้ภาครัฐผ่อนปรนหรือเลื่อนเวลาในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวออกไป โดยอ้างเหตุผลว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งภาคอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย และจะทำให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังแรกเป็นไปได้ยากขึ้น เสียงเรียกร้องและข้อเสนอถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้พิจารณาถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งน่าแปลกที่ภาคเอกชนไม่ได้เห็นหรือย้อนกลับมาพิจารณาความเป็นจริงที่ว่า จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดขณะนั้นมีปริมาณมากเกินความจำเป็นเพียงใด เพราะนักวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ จำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ในปัจจุบันว่า อสังหาฯ ไทยอยู่ในช่วงโอเวอร์ซัปพลายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และการที่แบงก์ชาติมีมาตรการยาแรงเช่นนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เคยเปิดเผยภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2562 พบว่า มีที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ 2.2 แสนหน่วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าภาครัฐจะทานต่อเสียงเรียกร้องของภาคเอกชนต่อไปอีกไม่ไหว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV ด้วยหวังว่าการอ่อนลงของแบงก์ชาติจะช่วยให้สถานการณ์ภาคอสังหาฯ ไทยฟื้นตัวได้ หลังจากที่มาตรการ LTV กลายเป็นตัวการสำคัญทำให้ธุรกิจอสังฯ หาซบเซาดังเช่นที่หลายฝ่ายเคยให้ความเห็น และแม้ว่าหลังจากใช้หลักเกณฑ์ LTV ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะไม่ใช่ประชาชนที่ซื้อบ้านหลังแรก

Read More

มาตรการใหม่แบงก์ชาติ สัญญาณเตือน “ฟองสบู่อสังหาฯ”

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังมีประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองไม่น้อย ทั้งจากฝั่งของผู้ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย นักเก็งกำไร และผู้ประกอบการอสังหาฯ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมประกาศใช้มาตรการ Loan to Value (LTV) คือการลดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าที่อยู่อาศัยลง เพื่อหวังจะคัดกรองคุณภาพของลูกหนี้ และป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น เหตุผลของการพิจารณาประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. น่าจะมาจากอัตราการเติบโตของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งแนวตั้งและแนวราบที่มีผู้ประกอบการหน้าเก่าและหน้าใหม่ประกาศเปิดตัวโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ชวนให้แปลกใจแต่อย่างใด ที่จะมีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อนักลงทุนกระโจนเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพื่อหวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เมื่อมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ในไทยปี 2560 มีมูลค่าสูงถึง 576,396 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผู้ซื้อชาวไทย 80 เปอร์เซ็นต์ และผู้ซื้อชาวต่างชาติ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนให้การเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม นั่นคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจากในเมืองหลวงสู่รอบนอก ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต่างกว้านซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างเพียงไม่นาน ที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ดหน้าฝน ทั้งนี้เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่แบงก์ชาติเตรียมจะประกาศใช้ใหม่ ในกรณีการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าหลักประกัน โดยเงื่อนไขเดิมสำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่

Read More

เร่งเครื่อง Debt Clinic ภารกิจล้างหนี้แสนล้าน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา งัดปฏิบัติการล้างหนี้นอกระบบและลดหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) จนล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจกดปุ่มเริ่มงาน “คลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic)” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้ส่วนบุคคลของลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางและค้างชำระเกิน 3 เดือน หวังล้างหนี้ครั้งใหญ่ของลูกหนี้จำนวน 5 แสนราย มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามแผนของ ธปท. “คลินิกแก้หนี้” มีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) หรือ บสส.ทำหน้าที่บริหารจัดการทั้งหมด หรือ “One Stop Service” เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ เจรจาหารือ พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ

Read More