Home > ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

“โกลเบล็ก” จับตา “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยแบบเชิงรุกต่อ

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ผันผวนตามต่างประเทศ เหตุกังวลเฟดเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกหลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐแข็งแกร่งกว่าตลาดคาด จึงให้กรอบดัชนี 1,660-1,700 จุด แนะลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์กรณีจีนอนุญาตจัดการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะตั้งแต่ 6 ก.พ.66 และโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ชู MINT-CENTEL-ERW-SPA-AU-SHR น่าลงทุน นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้อ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนกังวลว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกหลังสหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 517,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2565 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่งเกินเท่าตัว ส่วนอัตราการว่างงานสหรัฐลดลงสู่ระดับ 3.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2512 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า FED จะยังเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป รวมทั้งปัญหาการคว่ำบาตรยังมีต่อเนื่อง ล่าสุดประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) จะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียภายในวันที่ 24 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ

Read More

วิบากกรรมเศรษฐกิจไทย ค่าเงินผันผวนท่ามกลางปัจจัยลบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะไม่สดใสอย่างที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้มากนัก หลังจากที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ตามการคาดหมายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายสำนักต่างประเมินว่า การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและค่าเงินบาทมากขึ้นไปอีก และการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดหมายว่า เฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในรอบปีนี้ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยขยับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25-1.50 ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.50 และมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในรอบปีหน้า ซึ่งเป็นประหนึ่งแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการหรืออาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับท่าทีของเฟดไปโดยปริยาย ข้อกังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เบียดใกล้กันเข้ามานี้ ในด้านหนึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศ โดยผู้ประกอบการส่งออกดูจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากกรณีดังกล่าวอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะที่รายงานของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนความกังวลใจของผู้ประกอบการ และเรียกร้องให้กลไกภาครัฐเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพด้วย ขณะเดียวกันโอกาสที่เงินทุนจากภายนอกจะไหลเข้าประเทศไทย จากผลของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงขยายตัวในระดับเพียงร้อยละ 3-4 น้อยกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความชัดเจนมากขึ้น

Read More