Home > COVID (Page 7)

โลตัส พระราม 4 เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนเขตคลองเตยแล้ว

โลตัส จับมือกรุงเทพมหานคร สนับสนุนพื้นที่ห้างโลตัส สาขาพระราม 4 เป็นจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในเขตคลองเตย เริ่มเปิดให้บริการวันแรก 4 พฤษภาคม 2564 คาดว่าจะสามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้วันละประมาณ 1,000 คน และฉีดเป็นระยะเวลา 10 วัน ซึ่งวัคซีนที่นำมาฉีดคือวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกา ขึ้นอยู่กับอายุของผู้รับวัคซีน โดยบรรยากาศการฉีดวัคซีนในวันแรกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับบัตรคิวจากประธานชุมชน โดยสำนักงานเขตคลองเตยเป็นผู้บริหารจัดการการแจกบัตรคิวในชุมชน จุดบริการฉีดวัคซีนโลตัส สาขาพระราม 4 มีการจัดการโดยเว้นระยะห่างทางสังคมและจำกัดจำนวนผู้เข้ารอรับวัคซีนในแต่ละครั้ง โดยกระบวนการฉีดวัคซีน ผู้เข้ารับบริการจะถูกตรวจวัดอุณหภูมิก่อนได้รับอนุญาตเข้าพื้นที่ โดยอุณหภูมิต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส จึงจะได้รับการฉีดวัคซีน จากนั้นทำการตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ซักประวัติ และฉีดวัดซีน หลังจากนั้นให้นั่งพักเพื่อสังเกตอาการ ก่อนเดินทางกลับ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มาใช้บริการ โลตัส และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้จัดเตรียมอาหาร น้ำดื่ม และสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจาก true มาไว้บริการตลอดระยะเวลาที่มีการฉีดวัคซีน 10 วัน นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย

Read More

วัคซีนใจภูมิคุ้มกัน ปัญหาสุขภาพจิต

แม้ว่าคนไทยจะกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 1 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนไทยจะไม่มีอาการวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสระลอก 3 ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ที่พัฒนาตัวเองให้ร้ายกาจกว่าระลอกก่อน ส่งผลให้มีการติดเชื้อกันง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคเข้าขั้นอันตราย สำหรับผู้คนที่มีโรคประจำตัว เมื่อระยะเวลาการเพาะเชื้อและแสดงอาการรวดเร็วขึ้น บางเคสเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันหลังพบเชื้อ ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้คนอย่างมาก ทั้งกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ กังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงจากปัจจุบัน แน่นอนว่า ปัญหาความกังวลดังกล่าวย่อมส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้

Read More

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

Read More

ตลาดบ้านป่วนหดตัว เบรกโครงการ ลุ้นกำลังซื้อรอบใหม่

วิกฤตโควิดที่ยังแพร่เชื้อไม่หยุดเริ่มทลายความหวังการฟื้นเศรษฐกิจปี 2564 โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ส่งสัญญาณการหดตัวชัดเจนจากตัวเลขการเปิดขายโครงการใหม่ช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มติดลบสูงขึ้น เนื่องจากต้องรอมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อรอบใหม่ การฟื้นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและการลุยกระจายวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างเร่งด่วนที่สุด ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ตัดสินใจปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากเดิม 1.5-3.5% เป็น 1.5- 3.0% ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาทจะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ แต่หากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว จีดีพีจะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงสูงจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบอุปสงค์ในประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลเริ่มมีปัญหาด้านเสถียรภาพ เกิดความแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนเริ่มปลุกกระแสเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุบสภา ไปจนถึงกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อนภาพลักษณ์ดีขึ้นย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในระดับประเทศและกับประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้ทุกธุรกิจต่างอยู่ในภาวะ Wait and See ลุ้นมาตรการใหม่จากทางการ หวังกำลังซื้อและการพลิกฟื้นรอบใหม่

Read More

“เซ็นทรัลพัฒนา” กางโรดแมปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ เสนอใช้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสำหรับฉีดวัคซีน

"เซ็นทรัลพัฒนา" กางโรดแมปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ เสนอใช้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสำหรับฉีดวัคซีน เร่งให้ประเทศเกิด Herd Immunity พร้อมช่วยเหลือทุกฝ่าย ประคองและฟื้นฟูเศรษฐกิจพ้นวิกฤตด้วยกัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ตอบรับแนวทางสภาหอการค้าไทย โดยทีม A ในการที่ภาคเอกชนจะแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ซึ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลมีความพร้อมเต็มที่ในการเสนอให้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของเรารวม 23 สาขา (จาก 33 สาขาทั่วประเทศ) ที่มีศักยภาพในการให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ เพื่อเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชาชนทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็วที่สุด และพร้อมมีแผนในการสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้กับพนักงานบริษัทและร้านค้าในศูนย์การค้าอย่างเร่งด่วน เพื่อลดภาระภาครัฐ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยประเทศไปสู่จุดที่จะเกิด ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ (Herd Immunity) ให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติและเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมเตรียมแผนช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในช่วงนี้ และแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลายขึ้น ด้วยการลดค่าครองชีพ แบ่งเบาภาระประชาชน ต่อเนื่องถึงสิ้นปี นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา

Read More

COVID ระลอกใหม่ ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว?

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ล่าสุดของ COVID-19 นอกจากกำลังเป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนเพื่อต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤตของกลไกรัฐได้อย่างชัดเจน และเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงรุก ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในสังคมไทยและต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการคาดหมายและฝากความหวังว่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวในอนาคต ผลของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ดังกล่าว ทำให้การประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ซึ่งเดิมกลไกรัฐพยายามโหมประโคมว่า GDP ของไทยจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4 จากดฐานคิดที่ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐได้ผลดี และฐานทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาหดตัวแคบมากแล้วการเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 จึงไม่น่าจะเป็นความเพ้อฝันแต่เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยาก หากแต่ความเป็นไปของการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดดูเหมือนจะทำให้ความคาดหวังของกลไกรัฐดังกล่าวพังครืนลงอย่างยากที่จะปฏิเสธ ขณะที่สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอีก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือที่ระดับร้อยละ 1.8 เท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้สำนักวิจัยแห่งนี้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงต่ำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ขณะที่กลไกรัฐไม่สามารถออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคของครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน เหตุดังกล่าวส่งผลต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าจะยืดเวลาฟื้นตัวออกไป ยังไม่นับรวมถึงกรณีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้าอีกด้วย ความน่ากังวลจากสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะมีเข้ามาต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2 ล้านคน ซึ่งกลไกรัฐต้องมีมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค โดยตัวแปรสำคัญอยู่ที่การเร่งจัดการและกระจายฉีดวัคซีน ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทยในวงกว้างและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาด้วย ความล่าช้าในการจัดหาและกระจายวัคซีนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อหรืออาจเกิดการระบาดอีกระลอกในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกหนึ่งปี ส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะไม่เติบโตจากปีก่อนหน้าก็มีความเป็นไปได้สูงมาก การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด และการปูพรมกระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

สงกรานต์ ’64 กับโควิดระลอก 3 ความซบเซาที่มาพร้อมความตระหนก

อีกปีที่เทศกาลสงกรานต์ของไทยจะดำเนินไปด้วยรูปแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยระอุขึ้นอีกครั้ง และครั้งนี้อาจดับฝันของบรรดาผู้ประกอบการเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐประกาศเพิ่มวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-15 เมษายน โดยมีเป้าประสงค์ให้เกิดการจับจ่ายของภาคประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวมากขึ้น ผู้ประกอบการแบกความหวังและรอคอยให้เทศกาลแห่งความสุขนี้เดินทางมาถึงโดยเร็ว เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่สามารถคาดหวังรายได้ที่จะเข้ามา ทว่า เพียงแค่พริบตาเดียว ความหวังที่ว่าดูเหมือนจะหลุดลอยและแทบจะสูญสลายไป หลังจากพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน ต้องยอมรับว่าด้านสาธารณสุขของไทยสามารถควบคุมวงการแพร่ระบาดให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้ เหมือนที่เคยทำมาได้แล้วในการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สอง ทว่า ครั้งนี้อาจสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนมากพอสมควร เมื่อการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 นี้ กระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น กลุ่มพริตตี้-พีอาร์ กลุ่มศิลปิน-นักแสดง กลุ่มนักการเมือง และวงการแพทย์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนทั่วไปอาจมีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาจากการระบาดระลอก 3 คือ บรรยากาศในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนคาดหวังว่าจะคึกคักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวและการจับจ่าย อาจจะเงียบเหงาและซบเซากว่าเดิม เหตุการณ์ในครั้งนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญของการได้มาซึ่งรายได้ในอนาคตของประชาชน ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป แน่นอนว่าตัวเลขรายได้เป็นเหตุผลสำคัญของการระมัดระวังการใช้จ่าย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เฉลี่ยต่อคนอาจอยู่ที่ 5,700 บาท (คำนวณที่วันหยุดเฉลี่ย 6 วัน) ส่งผลให้เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 รวมน่าจะอยู่ที่ 24,000

Read More