Home > สุขภาพจิต

ภาวะเครียด เหงาอ้างว้าง หมดไฟ Work From Home เป็นเหตุสังเกตได้

การ Work From Home ไม่ใช่เทรนด์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่นั่นเป็นนโยบายเหมาะสมที่ถูกประกาศใช้โดยรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายให้การทำงานที่บ้านนั้นเป็นแนวทาง ลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลานั้นทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนต่างขานรับนโยบาย ในช่วงแรกของการ WFH หลายคนอาจรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้ทำงานจากที่บ้านได้ ประหนึ่งว่าได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากการลดโอกาสการติดเชื้อโควิดแล้ว ยังมีข้อดีโดยเฉพาะ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าโดยสารขนส่งสาธารณะทุกระบบ นอกจากนี้ ยังได้ประหยัดเงินที่ปกติแล้วจะถูกใช้ไปกับการจับจ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยระหว่างวัน จากแหล่งชอปปิงในพื้นที่ใกล้สำนักงาน หรือบางคนอาจได้ลดค่าใช้จ่ายในการสังสรรค์หลังเลิกงานมากขึ้น แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะมีข้อดีหลายด้าน แต่ตอนนี้หลายคนคงเห็นแล้วว่าข้อเสียก็มีมากเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าหลายคนอาจประสบกับปัญหาของการทำงานที่บ้านเข้าให้แล้ว ความเหงา อ้างว้าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มักจะโหยหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ การทำงานในรูปแบบปกตินั้น มนุษย์ทำงานมักจะมีการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนระหว่างแผนก บทสนทนาที่มักเกิดขึ้นระหว่างการเดินไปชงกาแฟ การเดินออกไปรับประทานอาหาร และไม่ว่าบทสนทนานั้นจะเกี่ยวกับงานหรือเป็นแค่การนินทา เมาท์มอย ล้วนแต่ช่วยให้คลายเหงา ลดความเครียดจากการทำงานได้ทั้งสิ้น คล้ายกับเป็นการระบายความอึดอัดอย่างหนึ่ง ทว่า เมื่อการทำงานแบบ WFH โอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในออฟฟิศนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะยังมีการพูดคุยหรือทักทายกับเพื่อน แต่เป็นรูปแบบออนไลน์ แม้จะได้เห็นหน้ากัน แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นย่อมไม่เหมือนกันแน่นอน หรือในบางรายอาจไม่มีเวลาที่จะทักทายกับใครเลย ความเครียด-หมดไฟ “บ้าน” ถูกกำหนดไว้ภายใต้กรอบการเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงาน เป็นพื้นที่ที่เราสามารถมาผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสันทนาการเล็กๆ เช่น การดูละคร ดูภาพยนตร์ ซีรีส์

Read More

เยียวยาจิตใจด้วย Kitchen Therapy เมื่อการเข้าครัว ไม่เพียงทำให้ท้องอิ่ม

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า สภาพการณ์ปัจจุบันทำให้เราอยู่ในสภาวะ “จิตตก” ได้ง่ายๆ ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ต้องนั่งลุ้นกันทุกวัน สภาพเศรษฐกิจที่ดูน่าเป็นห่วง ประกอบกับการที่ต้องอยู่กับบ้านนานๆ ล้วนแล้วแต่ทำให้สภาพจิตใจเราย่ำแย่ไปตามๆ กัน หลายคนจึงต้องหาวิธีปลอบประโลมจิตใจ ควบคู่กับหาวิธีป้องกันตัวเองจากโรคระบาดทางกาย บางคนเลือกที่จะปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เลี้ยงสัตว์ หรือออกกำลังกายเพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ แต่บางคนก็เลือกที่จะใช้การเข้าครัว ทำอาหาร อบขนม เป็นการผ่อนคลายแทน เห็นได้จากกระแสหม้อทอดไร้น้ำมันพร้อมเมนูสร้างสรรค์ต่างๆ ที่อวดโฉมอยู่บนโซเชียลมีเดีย แต่การทำอาหารที่บางคนเลือกใช้เป็นวิธีผ่อนคลายหรือเป็นงานบ้านที่ต้องทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันของใครอีกหลายๆ คนนั้น กลับส่งผลดีต่ออารมณ์และจิตใจได้มากกว่าที่เราคิด และยังเป็นหนึ่งในวิธีการบำบัดปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงสภาวะซึมเศร้า ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชื่อ “การบำบัดด้วยการทำอาหาร” หรือ Kitchen Therapy การศึกษาทางจิตวิทยาในหัวข้อ “Everyday creative activity as a path to flourishing” ของ แทมลิน คอนเนอร์ (Tamlin S. Conner) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก (University of

Read More

รับมือความเครียดยุคโควิด ร่างกายปลอดภัย ใจไม่ป่วย

ดูเหมือนว่าคนไทยยังจะต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการกลายพันธุ์สู่สายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลให้เกิดแพร่ระบาดอย่างหนัก และประชาชนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ที่หลักหมื่นต่อวัน เป็นเวลาเกือบ 1 เดือน และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณวัคซีนยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในประเทศ สถานการณ์เลวร้ายหลายอย่างที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้คน ทั้งการที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สภาพเศรษฐกิจและสังคมติดลบ สร้างความกดดันในชีวิต ความกังวลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลในครอบครัว ความกลัวที่จะติดเชื้อ ปัจจัยต่างๆ ล้วนแต่สร้างให้เกิดความเครียด ความหดหู่ อันนำมาซึ่งอาการป่วยทางสภาพจิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ หรือ CDC ยังแนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน กลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ฝันร้ายต่อเนื่อง พฤติกรรมการกินผิดปกติ กินน้อยลง หรือกินมากผิดปกติ ไม่กระปรี้กระเปร่า เฉื่อยชา มีความรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร สมาธิไม่ดี หลงลืม ทำงานบกพร่อง สูญเสียการตัดสินใจ บางรายดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรือสูบบุหรี่ใช้สารเสพติดมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต หัวใจ

Read More

วัคซีนใจภูมิคุ้มกัน ปัญหาสุขภาพจิต

แม้ว่าคนไทยจะกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 1 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนไทยจะไม่มีอาการวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสระลอก 3 ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ที่พัฒนาตัวเองให้ร้ายกาจกว่าระลอกก่อน ส่งผลให้มีการติดเชื้อกันง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคเข้าขั้นอันตราย สำหรับผู้คนที่มีโรคประจำตัว เมื่อระยะเวลาการเพาะเชื้อและแสดงอาการรวดเร็วขึ้น บางเคสเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันหลังพบเชื้อ ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้คนอย่างมาก ทั้งกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ กังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงจากปัจจุบัน แน่นอนว่า ปัญหาความกังวลดังกล่าวย่อมส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้

Read More

หนทางเยียวยาจิตใจตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกแย่

ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายสับสน ระคนไปด้วยปัญหาสารพันอย่าง และดูจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วที่มนุษย์เรามักจะมีปัญหาติดตัวอยู่เสมอ แม้ว่าปัญหาแรกจะถูกคลี่คลายไปได้ในเวลาไม่นาน แต่ปัญหาอื่นๆ มักจะทยอยเดินทางมาถึงไม่วันใดก็วันหนึ่ง แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีจิตใจเข้มแข็งพร้อมรับมือกับทุกสภาพปัญหา หรือทุกอุปสรรคที่ต้องเผชิญ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความรู้สึกอุ่นใจ มีคนคอยซัปพอร์ต ให้กำลังใจ หรือเป็นมือที่คอยมาฉุดให้ลุกขึ้นในทุกยามที่ล้มลง หลายคนเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาและความกดดันรอบตัว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่รู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ สิ้นหวัง ความรู้สึกเหงา เคว้งคว้าง เมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมาเกาะกินหัวใจของเรามากเกินไป ส่งผลให้ความรู้สึกแย่ลง บางครั้งเสียงร้องเรียกขอความช่วยเหลืออาจดังไม่พอที่ใครจะได้ยิน ทว่า การปลอบประโลมจิตใจตัวเองเพื่อให้มีแรงฮึดที่จะฝ่าฟันกับอุปสรรคที่กำลังดาหน้าเข้ามา น่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก การเยียวยาจิตใจตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้จัดการ 360 องศา คัดสรรวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและอาจช่วยให้คุณเข้มแข็งจนผ่านช่วงเวลาแย่ๆ นี้ไปให้ได้ ฟังเสียงดนตรีธรรมชาติ เริ่มจากให้ธรรมชาติบำบัด หากคุณมีเวลา การปลีกวิเวกหาสถานที่เงียบๆ ที่ทำให้เราได้ฟังเสียงหัวใจและความต้องการของตนเองได้ก็คงช่วยให้จิตใจได้สงบลงบ้าง แต่หากไม่สามารถจัดสรรเวลาที่เหมาะสมและลงตัวได้ การเปิดฟังธรรมชาติจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีทั้งเสียงน้ำไหลในลำธาร เสียงน้ำตก เสียงฝนตก เสียงนกร้องก็ช่วยให้อารมณ์เย็นลง สงบ ผ่อนคลายความตึงเครียดได้มากทีเดียว หนังสือ เพื่อนที่ดีที่สุดเสมอ ลงทุนสักหน่อยกับหนังสือดีๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจ เพียงเล่มละร้อยกว่าบาท ก็ช่วยพาคุณออกจากโลกที่หม่นหมองอยู่ได้มากเดียว และไม่แน่ว่า คุณอาจมีแรงใจเพิ่มขึ้นมากพอที่จะลุกขึ้นก้าวต่อไปข้างหน้าได้เลย เพื่อนรักสัตว์เลี้ยง มีข้อมูลมากมายที่แนะนำให้บุคคลที่มีภาวะจิตใจอ่อนแอ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หาสัตว์มาเลี้ยงสักตัว เพราะการเลี้ยงสัตว์สักตัวแม้จะไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายนัก เมื่อคุณต้องศึกษาเรื่องพื้นฐานของสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิด

Read More

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์

เซ็ง เหงา เครียด จิตใจแย่ ภัยทางอ้อมโควิด 19 มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ แนะ 6 วิธีจัดการอารมณ์ช่วงกักตัวอยู่บ้านอย่างสร้างสรรค์ เตือนผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการดื่มอย่างเป็นอันตราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกทั้งเรื่องงาน ชีวิตส่วนตัว รวมถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจ ถูกแปรเปลี่ยนอย่างกระทันหันจนยากที่จะปรับตัว หลายคนต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในขณะที่บางคนยังต้องออกไปทำงานข้างนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนกิจกรรมสำหรับการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว รับประทานอาหารนอกบ้าน และกิจกรรมการเข้าสังคมอื่น ๆ ก็ต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (Social Distancing) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกับภาวะทางอารมณ์และจิตใจมากมาย จนอาจเรียกได้ว่าปัญหาทางด้านจิตใจคือมหันตภัยระลอกที่ 2 ของการแพร่ระบาดนี้ อีกหนึ่งอันตรายที่ตามมาจากความเครียดและการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้พบเจอผู้คน คือการดื่มอย่างเป็นอันตราย ซึ่งในหลายประเทศพบว่าเกิดความเสี่ยงที่ประชาชนจะดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดเพื่อรับมือกับความเครียด โดยในประเทศออสเตรเลียพบว่ามีการกักตุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และประชาชนมีพฤติกรรมดื่มหนักขึ้น ในขณะที่แนวโน้มลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดพ่วงตามมาด้วย เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว ด้านประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคระมัดระวังการดื่มเพื่อให้สามารถครองสติสัมปชัญญะ ไม่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในช่วงไวรัสระบาด มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.)

Read More

ความโดดเดี่ยว-อันตรายยิ่งกว่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

Column: Well – Being ความโดดเดี่ยว เป็นอารมณ์ที่กวี นักเขียนนวนิยาย และนักประพันธ์เพลงล้วนประสบกันมาหลายศตวรรษแล้ว และพยายามถ่ายทอดออกมาในภาษาต่างๆ แต่นักวิจัยบางคนยืนยันว่าความโดดเดี่ยวเป็นอะไรที่มากกว่าความรู้สึก คือเป็นทั้งความหายนะ ความเจ็บป่วย หรือสภาวะที่ต้องได้รับการเยียวยาเหมือนโรคชนิดหนึ่ง และเป็นเหมือนโรคติดต่อที่รุนแรงขั้นถึงแก่ชีวิตได้ ในมุมมองด้านความจริง ผู้ที่ขาดการเชื่อมโยงกับสังคมจัดว่าอยู่ในภาวะอันตรายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ถึงวันละ 15 มวน และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าโรคอ้วน ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวสามารถตีความเป็นความเจ็บป่วยทางกายได้ โดยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงว่า เรามีความสุขกับการอยู่ในสังคมเท่านั้น แต่หมายถึงเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคมด้วย การแยกตัวจากสังคมทำร้ายมนุษย์ทั้งทางอารมณ์และจิตวิทยา ความเครียดที่เกิดจากความโดดเดี่ยว ทำให้เกิดการสูญเสียทางกายภาพ การเผชิญกับความโดดเดี่ยวเรื้อรัง (นานเกิน 2 สัปดาห์) จะเชื่อมโยงกับโรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสาเหตุเพราะเกิดภาวะอักเสบสูงขึ้น หากอาการนี้มีมากเกินไป ย่อมมาพร้อมๆ กับโรคเรื้อรัง “ผู้คนพากันคิดว่า ความโดดเดี่ยวสัมพันธ์กับสุขภาวะทางอารมณ์ พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งที่ความโดดเดี่ยวมีผลต่อสุขภาพทางกาย” ศาสตราจารย์จูเลียนน์ ฮอลท์-ลุนสตัด แห่งสถาบันจิตวิทยาบริกแฮมกล่าว ทั้งยังเปิดเผยผลการวิจัยของเธอด้วยว่า คนเหงามีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีสังคมหรือมีน้อยมาก ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29 และเพิ่มเป็นร้อยละ 32 ในหมู่คนที่อาศัยตามลำพัง “เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมให้มากเหมือนกับที่เราใส่ใจในอาหาร

Read More