Home > ซีอาร์จี

พลิกตำนานโจ๊กกองปราบ จากร้านตึกแถวสู่คีออสยุคใหม่

ตำนานโจ๊กกองปราบที่ยาวนานมากกว่า 30 ปี กำลังพลิกโฉมรุกขยายสาขาคีออสยุคใหม่ในฐานะพันธมิตรร่วมกับบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (ซีอาร์จี) ซึ่งล่าสุดประกาศปรับกลยุทธ์ขนทัพแบรนด์อาหารกลุ่มธุรกิจ Thai & Chinese Cuisine เร่งปูพรมเจาะตลาดสู้วิกฤตโควิด เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในธุรกิจร้านอาหารที่ยังมีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านบาท แน่นอนว่า ร้านเจ๊เกียงโจ๊กกองปราบ & หมูทอด ถือเป็นหนึ่งแบรนด์หลักที่ซีอาร์จีหมายมั่นสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการขายใหม่ๆ รวมถึงโอกาสการขยายไปต่างประเทศในอนาคตด้วย โดยปีนี้บริษัทวางเป้าหมายขยายคีออส จำนวน 10 สาขา และปีหน้าเปิดเพิ่มขึ้น 20 สาขา เพราะถือเป็นสุดยอดตำนานแห่งโจ๊กกองปราบย่านโชคชัย 4 ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2533 ขณะที่หลายคนในวงการอาหารต่างพูดถึงจุดขายอยู่ที่เนื้อโจ๊กทำจากข้าวหอมมะลิข้น ทำให้ไม่คืนตัว ไม่ใช้ผงชูรสในการปรุง เคี่ยวเนื้อโจ๊กให้เป็นข้าวต้มแล้วจึงมาเคี่ยวกับน้ำซุป ซึ่งทำจากกระดูกหมูเคี่ยวแบบชามต่อชาม พร้อมเครื่องเคียงหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใน ไข่ หมูกรอบ หมูกระเทียม หมูกะเพรา ทั้งนี้ ซีอาร์จีเจรจาทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับ นลินพัชร์ พัฒนามนตรี หรือฉายา “เจ๊เกียง” นำเมนูโจ๊กกองปราบและเมนูหมูทอดเข้ามาขายภายใต้แบรนด์ร้านอร่อยดีจนได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้า กระทั่งลุยขยายคีออส

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

ศึกไก่ทอด “เซ็นทรัล-ไทยเบฟ” ฮุบแฟรนไชส์ KFC ยึดเพิ่ม 200 สาขา

สงครามฟาสต์ฟูดไก่ทอดในไทยมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท เริ่มร้อนระอุเมื่อมีรายงานข่าวว่า บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ 1 ใน 3 แฟรนไชซีร้านเคเอฟซีในประเทศไทย มีสาขามากถึง 200 สาขา กำลังศึกษาแนวทางการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ มูลค่าประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร่วม ๆ 6,200 ล้านบาท โดยกลุ่มเซ็นทรัลส่งซิกจะฮุบดีลนี้ เพื่อต่อยอดธุรกิจอาหารในเครือและผลักดันรายได้แก้พิษโควิดแบบก้าวกระโดด เหตุผลสำคัญ คือ แบรนด์เคเอฟซี (KFC) ติดตลาดและสามารถสร้างเม็ดเงินการเติบโตให้บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ “ซีอาร์จี” เติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดหลายเดือนที่ผ่านมา เคเอฟซียังทำยอดขายได้ดีในระดับหนึ่งและมีช่องทางการขายเข้าถึงผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบันธุรกิจร้านไก่ทอดเคเอฟซีในประเทศไทยมีจำนวนรวมประมาณ 767 สาขา อยู่ภายใต้การบริหารของแฟรนไชซี 3 ราย รายแรก ซีอาร์จี ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์มาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีสาขารวม 282 สาขา รายที่ 2 บริษัท

Read More

“ซีอาร์จี” รีเซ็ตธุรกิจรับ New Normal มั่นใจตลาด 4.4 แสนล้านพลิกฟื้น

“ซีอาร์จี” (CRG) พร้อมเดินหน้าธุรกิจหลังรัฐคลายล็อก รีเซ็ตกลยุทธ์ขนานใหญ่รับบรรทัดฐานรูปแบบใหม่ในการใช้ชีวิต หรือ New Normal ดันรูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business) เร่งขยาย “คลาวด์ คิทเช่น” (Cloud Kitchen) เป็นตัวหลักกระตุ้นรายได้ เตรียมจับมือพันธมิตรผุดเพิ่ม 3 - 4 แห่ง รุกช่องทางเดลิเวอรี่ (Delivery) เต็มสูบ คุมเข้มมาตรฐาน “ความสะอาด” สุขอนามัยเป็นอันดับ 1 ทุกขั้นตอน ปลุกความมั่นใจลูกค้า เน้นระบบไร้สัมผัส (Contactless) ด้วยดิจิตอล เมนู (Digital Menu) พร้อมปรับเมนูอาหารรับเศรษฐกิจยุคโควิด ผูกปิ่นโต ข้าวกล่อง เผยสัดส่วนรายได้ช่องทางเดลิเวอรี่แนวโน้มพุ่ง 30% ย้ำแนวคิด “Greater Together Stronger Together” เน้นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเดินหน้าผนึกพันธมิตรฝ่ามรสุม มั่นใจตลาด 4.4 แสนล้านพลิกฟื้น

Read More

ฟู้ดเชนยึดสมรภูมิใหม่ เจาะแฟรนไชส์ 2.3 แสนล้าน

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (ซีอาร์จี) ออกมาเปิดกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ตั้งเป้า Transform from Operator to Innovator ขยายโหมดจากผู้รับสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชซี” สู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์แบรนด์ร้านอาหารยักษ์ใหญ่ เพื่อเร่งปูพรมขยายสาขาทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นช่วงจังหวะแต่งตัวขยายพอร์ตธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมส่งออกทุกๆ แบรนด์ในเครือ เจาะตลาดอาเซียน หลังจากซุ่มศึกษาข้อมูลมานานหลายปี ในเวลาเดียวกัน ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังมีความต้องการสูงมาก หลายคนต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เปรียบเทียบจากปี 2560 ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และมีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 2 แสนล้านบาท ปี 2561 มูลค่าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2.2-2.3 แสนล้านบาท มีผู้สนใจขอข้อมูลแฟรนไชส์ 15,000-20,000 รายต่อปี และเป็นธุรกิจอาหารสัดส่วนมากสุดเกือบ 23% โดยตลาดมีอัตราเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า

Read More

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More