Home > COVID (Page 8)

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่ พร้อมคุมเข้ม 5 มาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยสูงสุด ตอกย้ำความมั่นใจลูกค้าช้อปปลอดภัย ดูแล ใส่ใจ ไปด้วยกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 บริเวณ 6 ตลาดย่านบางแค ได้แก่ ตลาดสิริเศรษฐนนท์, ตลาดศูนย์การค้าบางแค, ตลาดกิตติ, ตลาดภาสม, ตลาดใหม่บางแค และตลาดวันเดอร์ นั้น เดอะมอลล์ บางแค ตอกย้ำความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่เป็นพิเศษ นอกเหนือจากมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่ศูนย์การค้าฯ ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน พร้อมเดินหน้าคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อเพิ่มความมั่นให้ผู้ใช้บริการในเขตบางแค และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ครอบคลุมทุกมิติ นายอมร อมรกุล ผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริเวณ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More

มาเก๊า ทยอยฉีดวัคซีนโควิดฟรี ให้ประชาชนรวมชาวต่างชาติด้วย พร้อมประกันชีวิต 4 ล้านบาท

“มาเก๊า” เตรียมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่ถือบัตรประชาชนมาเก๊า พนักงานต่างชาติที่ทำงานในมาเก๊า และนักเรียนต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในมาเก๊า พร้อมมอบประกันชีวิตคุ้มครองสูงสุด 1 ปี และวงเงินกว่า 4,000,000 บาท หลังจากที่ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า (SAR) ได้รับมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล็อตแรกจำนวน 100,000 โดสที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้เริ่มต้นฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อไวรัสระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เช่น บุคลากรทางการแพทย์, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง โดยนายโฮ ลัต เส็ง ผู้นำเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เป็นผู้ได้รับวัคซีนรายแรก เพื่อแสดงความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนในครั้งนี้จะได้รับวัคซีนโดสที่สองในอีกประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากนี้ ผู้นำเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ยังได้ออกมากล่าวเรียกร้องให้ประชาชนชาวมาเก๊าทุกคน รวมไปถึงพนักงานต่างชาติที่ทำงานในมาเก๊า และนักเรียนต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในมาเก๊า เข้ารับการฉีดวัคซีนได้ฟรี ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ โดยสิทธิ์ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนในครั้งนี้ จะครอบคลุมไปถึงชาวต่างชาติที่พำนักอาศัย ที่ถือบัตรประจำตัวผู้พำนักในมาเก๊าเช่นกัน และหลังจากที่เข้าถึงการฉีดวัคซีนแล้ว ทางภาครัฐยังมอบประกันชีวิตความคุ้มครองสูงสุด 1 ปี ในวงเงินสูงสุด 1,000,000 ปาตาร์กา (4,000,000 บาท

Read More

ตรุษจีนปีฉลูเงียบเหงา พิษ COVID ขวิดใช้จ่ายวูบ

บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ซึ่งหวังว่าจะช่วยพยุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นบ้าง หลังจากตกอยู่ในความเงียบเหงาและซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังเผชิญกับข้อเท็จจริงที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับความคาดหวังที่มี หลังจากที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงตรุษจีนปีนี้ได้ส่งผลให้กำลังการซื้อของประชาชนลดต่ำลง และทำให้การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าปรับตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือลดลงด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับเป็นการลดต่ำลงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 13 ปี ที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2552 การใช้จ่ายที่มีการปรับตัวลดลงดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าการใช้จ่ายที่ 5.75 หมื่นล้านบาทในปี 2563 หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 ซึ่งมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลงนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังทำให้ประชาชนไทยมีรายได้ลดลง เป็นหนี้เพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนไม่น้อยถูกเลิกจ้างและตกอยู่ในภาวะว่างงาน ส่งผลให้มีความระแวดระวังในการใช้จ่ายและทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจในกรณีของค่าใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้อยู่ที่เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการใช้จ่ายเมื่อปี 2563 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.3 จากปี 2562 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่ากังวล การลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มปรากฏสู่การรับรู้ของสาธารณะ หากแต่การปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในปี 2564 ซึ่งลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 จากปีก่อนหน้า นับเป็นภาพสะท้อนของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐ โดยเฉพาะในประเด็นว่าด้วยความเชื่อมั่นที่กำลังลดต่ำลงจากปัญหาหลากหลายที่รุมเร้าเข้ามา มูลค่าการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนที่ลดหายไปในปีนี้ ทำให้การคาดการณ์ของกลไกรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีไทย

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแล 200 ชุมชนให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแลและการบริหารชุมชนกว่า 200 ชุมชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่-2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่า หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ไปทั่วประเทศ บริษัท ได้ประกาศ 12 มาตรการเพื่อยกระดับการดูแลชุมชนภายใต้การบริหารงานของ LPP ที่มีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 200 ชุมชน จำนวนผู้อยู่อาศัยประมาณ 300,000 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชน และมีส่วนในการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19 ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ

Read More

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน – ก้าวสำคัญตลาดอาคารสำนักงานปี 64

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างไรนั้นยังคงไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในหลายแวดวงธุรกิจ ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า บริษัทต่างๆ จะพิจารณาทบทวนบทบาทใหม่ของพื้นที่สำนักงานในฐานะที่เป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรโดยต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นายชาญวิชญ์ พสุวัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการออกแบบโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมุมมองของบริษัทต่างๆ ในเรื่องพื้นที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ในช่วงก่อนปี 2558 ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ "การขยายพื้นที่สำนักงาน" โดยใช้งบประมาณเป็นตัวกำหนด ขณะที่ช่วงปี 2558-2562 แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ “การใช้งบประมาณให้คุ้มค่า” โดยลูกค้า 53% พิจารณาทบทวนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นด้วยพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่เดิมแทนการขยายพื้นที่ได้อย่างไร และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องการเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนไป โดยมีการผสมผสานการทำงานนอกพื้นที่สำนักงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปี 2563 แม้จะมีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นของการมีพื้นที่สำนักงานจากการที่พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานนอกสำนักงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับมาสู่การทำงานตามปกติ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานก็ยังคงไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเรื่องการมีอยู่ของพื้นที่สำนักงาน หากแต่ต้องสร้างความมั่นใจว่าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นไปอีก

Read More

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

รีวิวบันทึกเหตุการณ์ 2563 ปีโควิด-19 เขย่าโลก สยามพิวรรธน์สร้างปรากฏการณ์ นำโลกรีเทลสู่โมเดลใหม่รับ Now Normal

วิกฤติการณ์ Covid-19 ที่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ไปทั่วโลกและส่งผลกับทุกมิติในทุกสาขาอาชีพ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนเดืมอีกต่อไปสำหรับในธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าในประเทศไทย ผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ของลูก้าที่เปลี่ยนไป บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหาร OneSiam โกลบอลเดสติเนชั่นซึ่งผนึกกำลังของศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของโครงการไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นองค์กรแรกๆ ที่สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิด -19 ได้เป็นอย่างดี และยังได้สร้างปรากฏการณ์ให้วงการค้าปลีกด้วยการนำเสนอธุรกิจรีลเทลโมเดลใหม่ล่าสุดที่ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ก่อนใคร จากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกในทุกวงการ สยามพิวรรธน์ นำโลกธุรกิจรีเทลสู่โมเดลใหม่ ตอกย้ำวิสัยทัศน์การเป็น ‘ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย’ เปิดวิสัยทัศน์มิติใหม่ของศูนย์การค้าแห่งอนาคตที่จะสร้างความสุขและรอยยิ้มให้แก่ผู้คน ตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคในแบบ Now Normal Innovative Lifestyle ด้วยการสร้าง Retail Ecosystem ชูกลยุทธ์ Collaboration to Win โดยการร่วมกันรังสรรค์ Co-creation และ Creating Shared Values ซึ่งถอดรหัสได้เป็นมิติต่างๆ ดังนี้ มาตรการสุขอนามัยและความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Innovative Health & Safety) ศูนย์การค้าคือสถานที่มอบความสุขให้แก่ผู้คน ศูนย์การค้ายุคใหม่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลเอาใจใส่ตลอดการใช้เวลาภายในศูนย์ฯ

Read More