Home > ธุรกิจร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหาร – บาร์ไปต่อ มูลค่าเฉพาะตลาดรวมร้านอาหาร 3.85 แสนล้านบาท

ธุรกิจร้านอาหาร - บาร์ไปต่อ มูลค่าเฉพาะตลาดรวมร้านอาหาร 3.85 แสนล้านบาท ด้านผู้จัด ฟู้ด แอนด์ ฮอสพิทาลิตี้ ไทยแลนด์ 2022 เปิดโซนใหม่ Restaurant & Bar Thailand นำวัตถุดิบและอุปกรณ์พรีเมี่ยมทั่วโลกร่วมโชว์ พร้อมกิจกรรมเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เทรนด์ธุรกิจบาร์และร้านอาหารยังแรง สัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องคาดว่าจะพุ่งแรงปลายปี ด้านอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2022 มองบวกเร่งสนับสนุนผู้ประกอบการ เตรียมความพร้อมรับการจับจ่ายปลายปีและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ล่าสุดเปิดโซนใหม่ Restaurant & Bar Thailand สำหรับธุรกิจร้านอาหารและบาร์โดยเฉพาะ ดึงบริษัทชั้นนำของโลกร่วมจัดแสดงวัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องใช้พรีเมี่ยมระดับโลกร่วมโชว์ พร้อมกิจกรรมส่งเสริมความรู้และเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2022

Read More

โควิดระลอก 3 หายนะทางเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านอาหารช้ำกระอัก

โลกได้พบเจอกับมหันตภัยของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ในขณะที่ไทยพบการแพร่ระบาดภายในประเทศในช่วงต้นปี 2563 ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงบททดสอบการรับมือกับวิกฤตของระบบสาธารณสุขของไทยเท่านั้น แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสได้ขยายวงไปสู่เศรษฐกิจทั้งประเทศ ภาคการส่งออกติดลบ ภาคธุรกิจไม่มีการขยายตัว การลงทุนหยุดชะงัก ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมติดลบ เส้นกราฟอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่ไทยสามารถควบคุมวงจรการแพร่ระบาดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายตัว เพื่อหวังให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากขับเคลื่อนไปได้ แน่นอนว่าหลังประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรยากาศในหลายมิติดูมีชีวิตชีวามากขึ้น สถานการณ์ความเป็นไปในสังคมดำเนินไปตามปกติด้วยรูปแบบ New Normal ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง เมื่อมนุษย์ยังไม่อาจประกาศชัยชนะเหนือเชื้อไวรัสร้ายนี้ได้ หลายคนเริ่มยิ้มได้มากขึ้นภายใต้หน้ากากอนามัย เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจากการที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง กระทั่งเป็นศูนย์ในบางวัน และวัคซีนเดินทางมาถึงไทย พร้อมกับได้ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในหลายพื้นที่ ทว่ารอยยิ้มอยู่ได้ไม่นาน เมื่อการติดเชื้อระลอก 3 เกิดขึ้น เส้นกราฟทางเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาไต่ระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ กลับถูกดึงให้ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นและทำนิวไฮอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มจำนวนอย่างน่าตกใจ ศบค. ประกาศยกระดับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้จำหน่ายในลักษณะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

ซีอาร์จี งัดแผนธุรกิจชุดใหญ่ TRANSFORM FOR THE FUTURE ลุย 5 กลยุทธ์ พลิกรายได้ทะลุ 1.2 หมื่นล้าน

ซีอาร์จี (CRG) จัดเต็มงัดแผนธุรกิจชุดใหญ่ “CRG 2021: TRANSFORM FOR THE FUTURE” รับเศรษฐกิจพลิกฟื้นกำลังซื้อเติบโต ลุย 5 กลยุทธ์หลักตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ลูกค้า ผนึกกำลัง (Synergy) จุดแข็ง 16 แบรนด์ร้านอาหารในเครือ ดัน Shop in Shop - Cross Sale สั่งอาหารหลากหลาย ตอบโจทย์ความสะดวกให้แก่ลูกค้ายุคใหม่ ส่ง Mobile Box Model บุกปั๊มน้ำมัน รุกขยายดีลิเวอรี่ ผุด Cloud Kitchen ตั้งเป้า 50 แห่งทั่วประเทศ ผนึกแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์รายใหญ่รุกตลาด ลั่นปีนี้เผยโฉมอีก 2-3 แบรนด์ใหม่ ดึงพาร์ตเนอร์กลุ่มสตรีตฟู้ดโชว์ความสำเร็จผลักดันยอดขายแบบ “วิน-วิน” พร้อมประกาศรายได้ทะลุ 12,000 ล้านบาท เติบโต 18-20% ณัฐ

Read More

ZEN พร้อมนำเมนูปลาดิบมาให้บริการเต็มรูปแบบอีกครั้ง หลังมาตราการผ่อนคลาย

“ZEN Group” พร้อมนำเมนูปลาดิบมาให้บริการเต็มรูปแบบ พร้อมเผยหลังมาตราการผ่อนคลายระยะ 3 ยอดขายรวมพุ่ง บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้นำธุรกิจร้านอาหาร เตรียมความพร้อมร้านอาหารในเครือเซ็นกรุ๊ป ให้กลับมาให้บริการเต็มรูปแบบ พร้อมนำเมนูปลาดิบกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้งในร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์ที่รัฐบาลได้มีมาตราการผ่อนคลายระยะ 3 ส่งผลดีทำให้แบรนด์ร้านอาหารในเครือฯ มียอดขายเพิ่มขึ้น นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้ประกอบธุรกิจบริการอาหาร (Food Services) เปิดเผยว่า “ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น พร้อมนำเมนูปลาดิบกลับมาให้บริการลูกค้า โดยปลาแซลมอนสดที่จำหน่ายภายในร้านอาหารในเครือนำเข้าจากประเทศนอร์เวย์ ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสภาอุตสาหกรรมนอร์เวย์ว่าสามารถรับประทานแบบดิบได้ เช่น เมนูซูชิ ซาซิมิที่ปราศจากการแช่แข็ง เนื่องจากผ่านกรรมวิธีการเลี้ยงแบบพิเศษ และควบคุมการจัดส่งจากต้นทางอย่างเข้มงวดทุกกระบวนการ จึงมั่นใจได้ว่าจะปราศจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่และพยาธิปนเปื้อน “เซ็นกรุ๊ป” ทำงานร่วมกับสมาคมการค้าอาหารทะเล ประเทศนอร์เวย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไร้ไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ ทั้งนี้

Read More

สิงห์-ช้าง รุกหนักขยายแนวรบ “ฟู้ดรีเทล”

2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่ม “สิงห์-ช้าง” กำลังเร่งขยายแนวรบธุรกิจร้านอาหารอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเกมการไล่ล่าซื้อกิจการ เพิ่มแบรนด์ในพอร์ต สร้างเครือข่ายอาณาจักรให้แข็งแกร่งที่สุด เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดที่มีมากกว่า 4 แสนล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นทั้งพระเอก ตัวชูโรงและจิ๊กซอว์เชื่อมโยงตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร สแน็ก ซอส และยังหมายถึงแผนรุกเครือข่ายช่องทางสมัยใหม่ ตั้งแต่หน้าร้าน บริการเดลิเวอรี่ และแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ถือเป็นบลูโอเชียนที่บรรดาคู่แข่งขันต้องรีบวางโครงสร้างธุรกิจครอบคลุม 360 องศา เพราะหากใครทำได้เหนือกว่าย่อมหมายถึงโอกาสการต่อยอดเติบโตไม่รู้จบ สำหรับค่ายสิงห์ หรือกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ภายใต้ธุรกิจ 6 เสาหลัก 1. ธุรกิจเบียร์ โซดา และน้ำดื่ม 2. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์บางกอกกล๊าส 3. ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล) ภายใต้กลุ่มสิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง 4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสิงห์เอสเตท 5. ธุรกิจซัปพลายเชน ภายใต้บุญรอดซัพพลายเชน และ 6. ธุรกิจอาหาร โดยฟู้ด แฟคเตอร์

Read More

ซีพีรุกขยายพอร์ตพรีเมียม ถึงคิวลุยบุฟเฟ่ต์หรูหัวละพัน

เพียงเดือนเศษๆ หลังเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ฤกษ์เผยโฉมภัตตาคารฮาร์เบอร์ (Harbour) สาขาแรกในประเทศไทย โดยนับเป็นสาขาที่ 10 ของโลก ในอภิมหาโครงการไอคอนสยาม เพื่อเปิดแนวรบใหม่ เจาะตลาดบุฟเฟต์อินเตอร์ระดับพรีเมียม ดูเหมือนว่าเกมธุรกิจทั้งหมดกำลังเดินตามแผนขยายหน้าร้านเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเซกเมนต์และทุกระดับรายได้ ชนิดทะลุเป้าหมาย ที่สำคัญ แบรนด์ “ฮาร์เบอร์” ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ซีพีต้องการชิมลางขยายฐานลูกค้ากลุ่มกระเป๋าหนักๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ตามราคาบุฟเฟต์ที่กำหนดเรตเริ่มต้นคนละ 799++ ในมื้อกลางวัน และมื้อเย็นคิดราคา 899 ++ บาทต่อคน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ 1,099++ บาทต่อคน ในพื้นที่ร่วม 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับลูกค้ารอบละ 450 ที่นั่ง หรือราว 1,000 ที่นั่งต่อวัน และถือเป็นภัตตาคารบุฟเฟต์ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนว่า หากภัตตาคารฮาร์เบอร์ ซึ่งถือเป็นร้านอาหารแบรนด์แรกที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัวภายใต้แผนร่วมทุนกับไห่หลายกรุ๊ปไต้หวัน สามารถเจาะตลาดอย่างฉลุย นั่นย่อมหมายถึงการเดินหน้ารุกตลาดพรีเมียม

Read More

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More

“เซ็น” รุกเกมก้าวกระโดด จาก “จิราธิวัฒน์” สู่ “มหาชน”

30 ปีก่อน สุทธิเดช จิราธิวัฒน์ น่าจะรับรู้แนวโน้มความนิยมอาหารญี่ปุ่นของคนไทย จนตัดสินใจลงทุนเงินส่วนตัวเปิดกิจการร้านอาหารญี่ปุ่น “ZEN” บุกเบิกตลาดเจแปนนีสฟู้ดในประเทศไทย กระทั่งพัฒนาสู่การเป็นผู้ให้บริการร้านอาหาร (Food Service) มีแบรนด์ในเครือ 12 แบรนด์ ผุดสาขามากถึง 255 สาขา และล่าสุดกำลังเดินหน้านำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขายหุ้นไอพีโอไม่เกินไตรมาสแรกปีนี้ เพื่อเปิดเกมก้าวกระโดดผลักดันรายได้สู่หลักหมื่นล้านบาทให้ได้ภายในปี 2565 ดูเหมือนว่า การขยายธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อสุทธิเดชส่งต่อกิจการให้ลูกชายและลูกสาว คือ สรรคนนท์ และ จอมขวัญ จิราธิวัฒน์ เข้ามาสานต่อธุรกิจแบบเต็มตัว โดยอาศัยความเป็นคนรุ่นใหม่วางแผนดำเนินงานรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมๆ กับการดึงมืออาชีพเข้ามาสร้างกลยุทธ์สู้ศึกร้านอาหารที่แข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปี 2561 สรรคนนท์ประกาศดึง บุญยง ตันสกุล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลุยแผนขยายแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้แต่งตัวก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปูทางสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมร้านอาหาร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในประเทศแต่ยังมองไกลไปถึงต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ หากมองเส้นทางของกลุ่มอาหารเซ็น จากร้านอาหารญี่ปุ่น ZEN

Read More

ซีพีเร่งผลิต “คน” ขยายเครือข่าย รุกธุรกิจร้านอาหาร 4 แสนล้าน

เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” กำลังเร่งผลิต “ทุนมนุษย์” รุกเครือข่ายธุรกิจร้านอาหารขนานใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์ “ครัวโลก” ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ตั้งแต่การสร้าง “สถาบันผู้นำ” ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เปิดโครงการ Young Talent คัดเลือกคนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก และกลุ่มพนักงาน ดันเถ้าแก่คนรุ่นใหม่ จนล่าสุดทุ่มทุนซื้อองค์ความรู้จาก “โลซานน์” ผุดโรงเรียนศิลปะการอาหารแลธผู้ประกอบการคูลิเนอร์ (CULINEUR) ชนิดที่เรียนจบแล้วเปิดร้านได้ทันที โดยซีพีพร้อมใส่เงินทุน ภายใต้เงื่อนไขเดียว คือ ใช้วัตถุดิบจากซีพีทั้งหมด เหตุผลสำคัญ เพราะธุรกิจร้านอาหารยังเป็นเทรนด์ธุรกิจดาวรุ่งที่มีแนวโน้มเติบโตตามธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่ ในฐานะเครื่องจักรกลทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงสุด ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์มูลค่าตลาดธุรกิจร้านอาหารในปี 2561 มีเม็ดเงินสูงกว่า 411,000-415,000 ล้านบาท อัตราขยายตัวร้อยละ 4-5 จากปี 2560 และเปลี่ยน จากอดีตที่ร้านอาหารส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ มาสู่เทรนด์การลงทุนแบบร้านสแตนด์อะโลน ร้านคาเฟ่ ร้านอาหารใน Coworking Space รวมถึงกลุ่ม Street Food

Read More