Home > COVID (Page 9)

เตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤติโรคระบาดด้วยเทคโนโลยี

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญหน้ากับโรคระบาดโดยไม่มีใครคาดคิด เทคโนโลยีถูกนำมาช่วยแก้ไขวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแพทย์ การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียังจะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโลกหลังภาวะการโรคระบาดอีกด้วย ภายในงานสัมมนาหัวข้อ "Beyond the Pandemic: A Decade of Challenges from 2021'' นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงแนวทางการปรับวิธีดำเนินธุรกิจในโลกหลังโควิด-19 ว่า “สิ่งที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด” โดยเทคโนโลยี 5G เปรียบเสมือนเครื่องมือผลักดันสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G เป็นลำดับที่ 3 – 4 ของโลก หากในปี พ.ศ. 2564 มีการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และการสาธารณสุข” ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยให้ข้อมูลว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

Read More

โควิดระบาดระลอกใหม่ เสี่ยงล็อกดาวน์ กระทบเศรษฐกิจ

หลังการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการด้านสาธารณสุขในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าปัจจุบันจะยังพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้าง ทว่าก็เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น สถานการณ์ภายในประเทศเริ่มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ห้างร้านที่เคยหยุดกิจการไปในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถกลับมาสู่รูปแบบเกือบปกติ ภาครัฐหว่านนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับ และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยเศรษฐกิจเกือบทุกสถาบันประเมินว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่มีการระบาดระลอกใหม่ และรัฐบาลออกมาตรการหนุนนำเศรษฐกิจ พร้อมทั้งประชาชนที่มีกำลังซื้อนำเงินออกมาจับจ่ายตามสมควร การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้เกิดภาวะความต้องการแรงงานจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกับที่แรงงานจากภายนอกก็ต้องการกลับเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน กระทั่งเกิดการลักลอบเข้าไทยตามเส้นทางธรรมชาติถี่ขึ้นจนปรากฎบนหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์แทบทุกสำนัก นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถหยุดการกระทำดังกล่าวได้ แน่นอนว่า ด้วยอาณาเขตของไทยที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาเป็นระยะทางยาวหลายพันกิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจไม่สามารถควบคุมและดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับมีกลุ่มบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ด้วยการรับจ้างขนแรงงานต่างด้าวข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่หรือระลอกสองเริ่มขึ้นเมื่อ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อในประเทศจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 1 ราย เป็นเจ้าของแพปลา และในวันที่ 19 ธันวาคม พบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 12 ราย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพบการติดเชื้อในแรงงานต่างด้าวจำนวน 516 ราย และมีการติดเชื้อภายในประเทศอีก 19 ราย ในวันที่ 20 ธันวาคม การพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแตะหลักร้อยภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้พ่อเมืองจังหวัดสมุทรสาครประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Read More

COVID ระบาดระลอก 2 เผยรูรั่วมาตรการรัฐไทย

ข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทยที่ไปทำงานอยู่ในเมียนมาเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมกับข่าวการพบเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้างจนมีสถานะที่เป็น super spreader ที่ยากจะควบคุมพื้นที่ในการสกัดและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ กำลังเป็นภาพสะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐว่าหย่อนยานและมีความบกพร่องอย่างไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. พยายามเน้นย้ำในมาตรการป้องกัน ควบคู่กับการสร้างมายาภาพให้ COVID-19 เป็นประหนึ่งปิศาจร้ายที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันสกัดกั้นและควบคุมอย่างเข้มงวด จนนำไปสู่มาตรการปิดเมือง ระงับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางหลากหลายเป็นระยะเวลาหลายเดือนก่อนที่จะมีการผ่อนปรนมาตรการเข้มงวดเหล่านั้นให้คลี่คลายเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ในสังคมไทยอย่างช้าๆ ท่ามกลางข้อเท็จจริงว่าด้วยความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้นที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องสูญเสียอีกเป็นจำนวนเท่าใดในการฟื้นฟูกลไกเศรษฐกิจไทยให้กลับมาดำเนินไปข้างหน้าอีกครั้ง ท่ามกลางซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดที่เข้มงวดเกินกว่าที่ควรหรือเกินความจำเป็นในช่วงก่อนหน้า ทำให้เสียงเรียกร้องในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มระดับความดังขึ้นเป็นระยะ ขณะที่กลไกรัฐไทยเริ่มตระหนักถึงความชะงักงันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมาตรการควบคุมที่ห่มคลุมด้วยมายาภาพของปิศาจร้าย COVID-19 เริ่มออกมาตรการส่งเสริมให้เกิดการใช้จ่ายในทุกระดับและกระจายออกไปสู่ต่างจังหวัดไม่ว่าเป็นโครงการออกไปเที่ยว ไปเที่ยวด้วยกัน ด้วยหวังว่าโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวในลักษณะเช่นนี้จะช่วยนำพาและกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่สูญเสียรายได้อย่างหนักตลอดระยะเวลาที่รัฐห้ามการเดินทางและการปิดประเทศที่ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศหดหายไปจากภูมิทัศน์การท่องเที่ยวของไทย ความพยายามของรัฐไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจดำเนินไปไกลถึงขนาดที่ยอมผ่อนปรนให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มเดินทางเข้าประเทศได้ด้วยช่องทางพิเศษหรือที่เรียกว่า special tourist visa ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องพำนักในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน หรือ long stay ตามมาตรการผ่อนปรนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลและฤดูการเดินทางท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย ก่อนหน้าที่จะมีข่าวการลักลอบกลับเข้าเมืองไทยอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติของแรงงานชาวไทย แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือทั้งเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และอีกหลายจังหวัดดูจะกำลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐไม่น้อยจากข้อเท็จจริงที่ว่าแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายปี และถือเป็นช่วงเวลา high season ที่พร้อมจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและหมุนเวียนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี หากแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าด้วยการแพร่ระบาดครั้งใหม่โดยกลุ่มคนที่หลบหนีเข้าเมืองเข้ามาในพื้นที่ ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจะตื่นตัวและกลับมาคึกคักสะดุดชะงักลงเล็กน้อย ท่ามกลางความกังวลของทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว จนทำให้บางส่วนระงับหรือยกเลิกการเดินทางไปชั่วคราว ความเปราะบางของสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้นในด้านหนึ่งสะท้อนภาพความตื่นตัวในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนคนไทยโดยทั่วไป ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำให้เห็นถึงผลพวงของมายาภาพว่าด้วย COVID-19

Read More

ค้าปลีก-ร้านอาหาร อ่วมแสนล้าน กระหน่ำเดลิเวอรี่หนีตาย

ประเมินกันว่า ธุรกิจค้าปลีกปี 2563 จะสูญเสียเม็ดเงินมากกว่า 200,000 ล้านบาท หลังเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” โดยเฉพาะการประกาศฉีดยาแรงใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา แน่นอนว่า ณ เวลานี้ความปลอดภัย คือ ความจำเป็นอันดับ 1 และทุกคนในประเทศต้องปรับตัวรับผลกระทบที่พลิกผันอย่างรวดเร็ว แม้ส่วนหนึ่งรัฐบาลเร่งออกมาตรการเยียวยาต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และกลุ่มผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจรถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร กิจการสถานบริการ ซึ่งสูญเสียรายได้ชนิดไม่ทันตั้งตัว ขณะที่กลุ่มยักษ์ค้าปลีก ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และมิกซ์ยูส มีสเกลขนาดใหญ่ แม้ยังมีเซกเมนต์ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เกตและร้านสะดวกซื้อ เปิดให้บริการได้

Read More

TCP ส่งพลังสู้ไวรัสโควิด-19 ส่งมอบหน้ากากทางเลือกให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป

กลุ่มธุรกิจ TCP ส่งพลังสู้ไวรัสโควิด-19 ส่งมอบหน้ากากทางเลือกให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป กลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมส่งต่อพลังขับเคลื่อนให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยการส่งมอบหน้ากากทางเลือก (หน้ากากผ้า) แก่บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ รวมไปถึงแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เบื้องต้นจำนวน 1.2 แสนชิ้น เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากและร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้โดยเร็ว นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังขยายวงกว้าง และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) จึงทำให้ทุกคนต่างตระหนักและใส่ใจดูแลสุขภาพ ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมกันมากขึ้น นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและเราเข้าใจดี กลุ่มธุรกิจ TCP จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อพลังในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ด้วยการมอบหน้ากากทางเลือกที่ผลิตโดยเทคโนโลยีพิเศษในการป้องกันเชื้อโรค แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ได้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ และแจกจ่ายให้ประชาชนที่ขาดโอกาสการเข้าถึง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสนับสนุนในครั้งนี้จะช่วยบรรเทาภาวะการขาดแคลนหน้ากาก และช่วยให้ประเทศของเราสามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปด้วยกันได้โดยเร็ว” หน้ากากทางเลือกดังกล่าว ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ผสมผสานฝังลึกลงไปในเส้นใยสิ่งทอด้วยเทคนิคพิเศษของเพอร์มา จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อโรคอย่างคงทนตลอดอายุการใช้งาน สามารถซักได้กว่า 100 ครั้ง จากการทดสอบโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำหรับหน้ากากทางเลือกที่มอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จะเสริมด้วยฟิลเตอร์กันซึมผ่านของสารคัดหลั่งและความชื้นอีกหนึ่งชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุด โดยจะส่งมอบให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Read More

ผลกระทบจาก Covid-19

Column: FROM PARIS ยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟู นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเต็มกรุงปารีส แล้วก็มาถึงยุคจีนเปิดประเทศ และเศรษฐกิจเติบโต ชาวจีนพ้นจากความยากจน เริ่มอยากใช้เงิน จึงสรรหาสินค้าต่างประเทศ แล้วพัฒนาไปถึงสินค้าแบรนด์เนม นักท่องเที่ยวจีนคลาคล่ำเต็มห้างสรรพสินค้าในกรุงปารีส และบูติกแบรนด์เนมทั้งหลาย แรกทีเดียว บรรดาแบรนด์เนมรังเกียจนักท่องเที่ยวชาวจีน หลุยส์ วุตตง ถึงกับขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวจีนคนละหนึ่งชิ้นเท่านั้น เพราะเกรงชาวจีนซื้อไปก๊อบปี้ออกมาขาย ทำเอานักท่องเที่ยวจีนมองหาใครก็ได้ที่จะอนุเคราะห์ซื้อให้ เคยได้รับการทาบทามขณะเดินเล่นในห้างกาเลอรีส์ ลาฟาแยต แต่ปฏิเสธไป กาลเวลาผ่านไป จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้มีกำลังซื้ออย่างแท้จริง แบรนด์เนมทั้งหลายจึงเปิดกว้าง ซื้อได้ไม่อั้น ตามห้างสรรพสินค้า ชาวจีนเข้าแถวรอซื้อแบรนด์เนม ยี่ห้อยอดนิยมคือ หลุยส์ วุตตง ชาแนล กุชชี รองลงมาคือลงชองป์ นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวจีนยังประโยชน์แก่ธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 จีนปิดประเทศ ห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ นั่นย่อมกระทบเศรษฐกิจโลก ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน เมื่อไร้ซึ่งชาวจีนแล้ว ห้างร้านเงียบเหงา เศรษฐกิจฝรั่งเศสเสียหายถึงสองพันล้านยูโร ห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยตรับทัวร์เป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนในทุกแผนก มากจนต้องจัดแผนกรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ ในวันนี้กาเลอรีส์ ลาฟาแยตหาหน้าเอเชียแทบไม่ได้เลย ห้างจึงค่อนข้างร้างจนน่าตกใจ

Read More

พิษ COVID-19 ระบาดไม่หยุด ฉุดความเชื่อมั่น-GDP ไทยวูบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการเรียกขานว่า COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) ดูจะลุกลามขยายตัว คุกคามสุขอนามัยและความเป็นไปของการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรโลกไม่หยุด โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับให้ COVID-19 เป็น “การระบาดใหญ่” (pandemic) จากเหตุของข้อเท็จจริงที่ว่า COVID-19 ยังระบาดลุกลามทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อกว่าแสนราย ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นเพียงโรคระบาด (Epidemic) ก่อนที่จะยกระดับเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (pandemic) อย่างเป็นทางการ ซึ่งตามความหมายของ WHO คำว่า pandemic คือ เชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยล่าสุด COVID-19 ได้แพร่ระบาดลุกลามไปแล้วใน 118 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 121,000 คน อีกทั้งยังคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คน หลักเกณฑ์ในการประกาศภาวะโรคระบาดโลก มีหลักการเบื้องต้นอยู่ 3 ประการ คือ 1. โรคสามารถก่อให้เกิดอาการป่วยจนถึงเสียชีวิต

Read More

LPN คุมเข้มความปลอดภัยทุกโครงการ จากโควิด-19 ผ่านการทำงานอย่างบูรณาการของทุกบริษัทในเครือ

LPN คุมเข้มความปลอดภัยทุกโครงการ จากโควิด-19 ผ่านการทำงานอย่างบูรณาการของทุกบริษัทในเครือ และคณะกรรมการนิติฯ LPN ประกาศยกระดับการป้องกันไวรัสโควิด-19 สูงสุด เข้มมาตรการคัดกรองผู้เข้า-ออกอาคาร การให้ความรู้ในการป้องกันตนเอง พร้อมเตรียมอุปกรณ์เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ บูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกบริษัทในเครือ และจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยไวรัสโควิด-19 เป็นการชั่วคราว นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านแนวราบเกือบ 150 โครงการ (รวมโครงการที่ LPP บริษัทในเครือได้ขยายงานบริหารจัดการไปยังโครงการภายนอกด้วย) โดยร่วมกับคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดทุกโครงการ ประกาศยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุด สั่งการทุกบริษัทในเครือ L.P.N.Development Group ทั้งบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ผู้บริหารจัดการหลังลูกค้าเข้าอยู่อาศัยในทุกโครงการที่พัฒนาและโครงการของบริษัทภายนอกด้วย รวมถึงบริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (LPC) ผู้บริหารจัดการด้านการดูแลรักษาความสะอาดในทุกโครงการ รวมถึงผู้ที่ดูแลสำนักงานขายทุกโครงการ ให้เข้มงวดและดำเนินมาตรการป้องกันสูงสุดทั้งการเฝ้าระวัง การป้องกัน

Read More