Home > วิกฤต COVID-19

บู๊ทส์เปิดตัวแอปสุขภาพครบวงจร “Boots app” ฝ่าวิกฤต COVID-19

บู๊ทส์ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีฝ่าวิกฤต COVID-19 ส่ง Boots app แอปสุขภาพครบวงจร ยกระดับการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น บู๊ทส์ ประเทศไทย ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำระดับโลกตอกย้ำพันธกิจ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทยฝ่าวิกฤต COVID-19 ด้วยการเปิดตัว Boots app แอปสุขภาพครบวงจร กับฟีเจอร์ใหม่ใช้ฟรี “Talk to Pharmacist” หรือชื่อไทย “ปรึกษาเภสัชกรบู๊ทส์” เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น จากผลสำรวจพบว่า 82% ของผู้บริโภคชาวไทยกังวลว่าจะติดเชื้อ COVID-19* นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ และคนไทยยังต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงนั้น** บู๊ทส์ ประเทศไทย หนึ่งในธุรกิจรีเทล ฟาร์มาซี อินเตอร์เนชั่นแนล ของวอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ (หรือ ดับเบิ้ลยูบีเอ) กิจการระดับโลกแห่งแรกที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีชั้นนำ จึงได้มีการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับโลก มาเสริมความแข็งแกร่งทางด้านคุณภาพและการบริการระดับมืออาชีพ เพื่อช่วยให้คนไทยทั้งประเทศเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย พร้อมมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น วอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และได้นำเสนอบริการอันโดดเด่น ได้แก่ - เป็นผู้ให้บริการด้านร้านขายยาแบบปลีกนับพันแห่งทั่วโลก - มีพนักงานให้บริการด้านเฮลท์แคร์มากกว่า 120,000 คน

Read More

COVID-19: คนไทยเผชิญวิกฤต ภาวะเครียดแทรกซ้อนซ้ำเติม

สถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้ง และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อนนอกจากจะมีประเด็นว่าด้วยการควบคุมโรคและการทำงานหนักของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดยังอยู่ที่ความเครียด และการรับมือกับสภาพจิตใจของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้โดยเด็ดขาด วิกฤต COVID-19 นำไปสู่ความเครียดของคนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากความกังวลใจสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อหรือยัง หรือความเครียดจากการที่ค้าขายไม่ได้ นายจ้างลดการจ้างงาน เครียดเพราะเดินทางไม่ได้ รวมถึงการที่ครอบครัวมีลูกอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งและทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนมีความเครียดเพิ่มขึ้น และถูกทับถมให้หนักขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ในแต่ละระลอกให้หนักขึ้นไปอีก จากสถิตินับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาพบว่าแนวโน้มที่คนไทยมีความเครียดจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอัตราที่สูงมาก คำแนะนำสำคัญสำหรับคนที่เครียดจาก COVID-19 จึงอยู่ที่การรับฟังเพื่อพยายามหาว่าปัญหาคืออะไร และพิจารณาปัญหาที่สำคัญสุดที่เผชิญอยู่คืออะไรกันแน่ สิ่งต่อมาคือการประเมินว่าปัญหาที่แต่ละคนเผชิญอยู่เป็นปัญหาที่แก้ได้หรือไม่ได้ เช่น เรื่องหนี้สิน ก็ต้องประสานหาข้อมูลเพื่อบรรเทาผลกระทบ หากเป็นเรื่องทะเลาะกับคนในบ้านหลังจากต้องล็อกดาวน์ตัวเองกับคนในครอบครัว ทำให้มีปากเสียงกันบ่อย ก็ต้องระงับจิตใจให้ผ่อนคลายลง ส่วนปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้าจากผลของการที่บางคนได้รับรู้หรือประสบเจอเจอเหตุจากคนรู้จักเสียชีวิตจาก COVID-19 อาจต้องพิจารณาว่ามีแนวโน้มขอบเขตความเครียดอยู่ระดับไหน ถึงขั้นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งที่สังคมเจอวิกฤต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งมีคนก่อเหตุฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 25% จากปีก่อนหน้า และอัตรานี้จะคงอยู่ไป 3-4 ปี กว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ข้อสังเกตประการหนึ่งจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกครั้งนั้น จะเห็นได้ว่าแต่ละวิกฤตส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนจำนวนมาก

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More