Home > โควิด-19 (Page 13)

ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ เดินหน้าปฏิบัติการฆ่าเชื้อโควิด-19 ใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวี-ซี

ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ เดินหน้ายกระดับความสะอาด ปลอดภัยขั้นสูงสุด พร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ล่าสุดนำนวัตกรรมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังยูวี-ซี (UV-C DISINFECTION ROBOTS) เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะเข้ามาช่วยดูแล ป้องกัน สร้างสุขอนามัยที่ดีและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า มาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค มุ่งเน้นและจัดลำดับความสำคัญของการใช้หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวี-ซีให้ครอบคลุมในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นลำดับแรก เช่น สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร นครปฐม โดยเริ่มที่ร้านท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 10 สาขา ได้แก่ · ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขา ปิ่นเกล้า , พระราม 2, พระราม 3, ศาลายา, สมุทรปราการ, เวสเกต · เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ สาขา บางนา ชิดลม, ลาดพร้าว · ท็อปส์

Read More

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแล 200 ชุมชนให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแลและการบริหารชุมชนกว่า 200 ชุมชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่-2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่า หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ไปทั่วประเทศ บริษัท ได้ประกาศ 12 มาตรการเพื่อยกระดับการดูแลชุมชนภายใต้การบริหารงานของ LPP ที่มีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 200 ชุมชน จำนวนผู้อยู่อาศัยประมาณ 300,000 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชน และมีส่วนในการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19 ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ

Read More

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน – ก้าวสำคัญตลาดอาคารสำนักงานปี 64

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างไรนั้นยังคงไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในหลายแวดวงธุรกิจ ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า บริษัทต่างๆ จะพิจารณาทบทวนบทบาทใหม่ของพื้นที่สำนักงานในฐานะที่เป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรโดยต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นายชาญวิชญ์ พสุวัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการออกแบบโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมุมมองของบริษัทต่างๆ ในเรื่องพื้นที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ในช่วงก่อนปี 2558 ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ "การขยายพื้นที่สำนักงาน" โดยใช้งบประมาณเป็นตัวกำหนด ขณะที่ช่วงปี 2558-2562 แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ “การใช้งบประมาณให้คุ้มค่า” โดยลูกค้า 53% พิจารณาทบทวนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นด้วยพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่เดิมแทนการขยายพื้นที่ได้อย่างไร และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องการเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนไป โดยมีการผสมผสานการทำงานนอกพื้นที่สำนักงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปี 2563 แม้จะมีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นของการมีพื้นที่สำนักงานจากการที่พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานนอกสำนักงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับมาสู่การทำงานตามปกติ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานก็ยังคงไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเรื่องการมีอยู่ของพื้นที่สำนักงาน หากแต่ต้องสร้างความมั่นใจว่าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นไปอีก

Read More

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

COVID-19 ระบาดใหม่ ฉุดท่องเที่ยวไทยดิ่งลงเหว

การอุบัติขึ้นของ COVID-19 ที่ไม่ว่าจะถูกกำหนดนิยามว่าเป็นการระบาดรอบสองหรือการระบาดครั้งใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทาง ที่คาดหมายว่าจะกลับมามีสีสันและบรรยากาศคึกคักในช่วงปลายปีนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจะได้รับการประเมินว่าไม่รุนแรง จากผลของระบบติดตามไต่สวนโรคที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่ามีประสิทธิภาพและจำกัดการแพร่ระบาดได้ดี แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้จากภาคธุรกิจและกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ที่ชะลอตัวกว่าที่เคยคาดหวังไว้เดิม โดยคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและกิจกรรมจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่สูญเสียไปไม่ต่ำกว่า 1.4-1.7 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปีนี้ ความกังวลใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเดินทางและกิจกรรม “ไทยเที่ยวไทย” ที่เป็นความหวังหลักในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2563 และลุกลามไปถึงกิจกรรมช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ 2564 ซึ่งทำให้โรงแรมและรีสอร์ตทั่วประเทศได้รับผลกระทบเรื่องยอดจองห้องพักล่วงหน้า รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ในช่วงปีใหม่ที่ลดน้อยลง ตัวเลขที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562-2563 ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ประมาณ 28,200 ล้านบาท ขณะที่สำนักวิจัยหลายแห่งมีผลสำรวจตรงกันว่า ชาวไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพลดงบประมาณใช้จ่ายช่วงปีใหม่ลงมาอย่างชัดเจน เฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะเฉพาะรายเมืองท่องเที่ยว พบว่าเมืองรองอย่างนครศรีธรรมราช น่าน และสุโขทัยที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมเดินทางไปเยือน รวมถึงโรงแรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบในช่วงปีใหม่น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ส่วนโรงแรมในบุรีรัมย์ซึ่งเป็นเมืองที่พึ่งพิงรายได้ท่องเที่ยวจากการจัดงานอีเวนต์เป็นหลัก คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร สำหรับเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างกรุงเทพฯ และหาดใหญ่ สงขลา ซึ่งพึ่งพิงฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพราะยังไม่มีการเปิดประเทศ ซึ่งโรงแรมในกรุงเทพฯ ยังจำกัดความคึกคักอยู่เฉพาะเป็นบางโรงแรมเท่านั้น โดยยังมีโรงแรมอีกจำนวนมากที่ยังไม่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโรงแรมมาตั้งแต่ต้นปี

Read More

เตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤติโรคระบาดด้วยเทคโนโลยี

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญหน้ากับโรคระบาดโดยไม่มีใครคาดคิด เทคโนโลยีถูกนำมาช่วยแก้ไขวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแพทย์ การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียังจะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโลกหลังภาวะการโรคระบาดอีกด้วย ภายในงานสัมมนาหัวข้อ "Beyond the Pandemic: A Decade of Challenges from 2021'' นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงแนวทางการปรับวิธีดำเนินธุรกิจในโลกหลังโควิด-19 ว่า “สิ่งที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด” โดยเทคโนโลยี 5G เปรียบเสมือนเครื่องมือผลักดันสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G เป็นลำดับที่ 3 – 4 ของโลก หากในปี พ.ศ. 2564 มีการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และการสาธารณสุข” ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยให้ข้อมูลว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

Read More

เศรษฐกิจไทยปีฉลู 2021 ความหวังที่เตรียมฉลองฉลุย?

ความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ดูจะเป็นขวบปีแห่งความยากลำบากและเป็นปีแห่งการสูญเสียที่ทำให้ประเทศไทยต้อง ชวด โอกาสหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์และสถาบันวิจัยจำนวนมากต่างเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาถดถอยต่อเนื่องมานาน ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงปลายปี 2019 และมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2020 แต่เหตุไม่คาดฝันว่าด้วยการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 ในลักษณะ pandemic หรือการระบาดใหญ่ที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ฉุดให้สถานการณ์กลับตาลปัตร ผิดไปจากที่ผู้คนคาดหวังไว้ ประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจสังคมไทยก็คือ ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอกว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ อย่างมาก เห็นได้จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย IMF คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 4.4 และจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2021 พร้อมกับระบุว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่จะหดตัวลงร้อยละ 5.7 ในปี 2020 และจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2021 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ไทยจะปรับลดลงร้อยละ 7.8 ในปีนี้และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปีหน้า กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำรุนแรงกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

Read More

โควิดระบาดระลอกใหม่ เสี่ยงล็อกดาวน์ กระทบเศรษฐกิจ

หลังการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการด้านสาธารณสุขในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าปัจจุบันจะยังพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้าง ทว่าก็เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น สถานการณ์ภายในประเทศเริ่มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ห้างร้านที่เคยหยุดกิจการไปในช่วงเวลาหนึ่ง สามารถกลับมาสู่รูปแบบเกือบปกติ ภาครัฐหว่านนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับ และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยเศรษฐกิจเกือบทุกสถาบันประเมินว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่มีการระบาดระลอกใหม่ และรัฐบาลออกมาตรการหนุนนำเศรษฐกิจ พร้อมทั้งประชาชนที่มีกำลังซื้อนำเงินออกมาจับจ่ายตามสมควร การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้เกิดภาวะความต้องการแรงงานจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกับที่แรงงานจากภายนอกก็ต้องการกลับเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน กระทั่งเกิดการลักลอบเข้าไทยตามเส้นทางธรรมชาติถี่ขึ้นจนปรากฎบนหน้าข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์แทบทุกสำนัก นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่รัฐที่สามารถหยุดการกระทำดังกล่าวได้ แน่นอนว่า ด้วยอาณาเขตของไทยที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาเป็นระยะทางยาวหลายพันกิโลเมตร เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจไม่สามารถควบคุมและดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับมีกลุ่มบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ด้วยการรับจ้างขนแรงงานต่างด้าวข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่หรือระลอกสองเริ่มขึ้นเมื่อ ศบค. แถลงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อในประเทศจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 1 ราย เป็นเจ้าของแพปลา และในวันที่ 19 ธันวาคม พบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 12 ราย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้ภาครัฐต้องดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพบการติดเชื้อในแรงงานต่างด้าวจำนวน 516 ราย และมีการติดเชื้อภายในประเทศอีก 19 ราย ในวันที่ 20 ธันวาคม การพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแตะหลักร้อยภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้พ่อเมืองจังหวัดสมุทรสาครประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Read More

ออนไลน์พร้อมพรึ่บ ตื่นกระแสโควิดระลอก 2

ยักษ์ออนไลน์หลายค่ายต่างเตรียมพร้อมกลยุทธ์ลุยตลาดในปีหน้ารับพฤติกรรมนักชอปที่หันมาจับจ่ายผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ใช่ New Normal ช่วงโควิด-19 ระบาดเท่านั้น แต่กลายเป็นวิถีชีวิต Now Normal ส่วนหนึ่งของผู้บริโภคยุคใหม่ไปเสียแล้ว ยิ่งล่าสุด หลายฝ่ายเริ่มหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดระลอกสอง หลังเกิดเหตุผู้ลักลอบเดินทางจากประเทศเมียนมากลับเข้าไทยพร้อมเชื้อไวรัสอันตราย ยิ่งตอกย้ำวิถีชีวิต Now Normal ของหลายๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่าง และรวมถึงการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2564 มีแนวโน้มพุ่งสูงมากจากปี 2563 ที่ประเมินไว้จะทะลุเป้าหมาย 220,000 ล้านบาท อัตราเติบโตกว่า 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 163,300 ล้านบาท ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซก้าวกระโดดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา และสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งสปีดมากขึ้น โดยมีจำนวนลูกค้าใหม่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มลาซาด้าเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ภาคธุรกิจมีแบรนด์สินค้าและจำนวนผู้ขายเพิ่มขึ้นมากกว่า

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย

ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4

Read More