Home > โควิดระลอก 2

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More

ออนไลน์พร้อมพรึ่บ ตื่นกระแสโควิดระลอก 2

ยักษ์ออนไลน์หลายค่ายต่างเตรียมพร้อมกลยุทธ์ลุยตลาดในปีหน้ารับพฤติกรรมนักชอปที่หันมาจับจ่ายผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ใช่ New Normal ช่วงโควิด-19 ระบาดเท่านั้น แต่กลายเป็นวิถีชีวิต Now Normal ส่วนหนึ่งของผู้บริโภคยุคใหม่ไปเสียแล้ว ยิ่งล่าสุด หลายฝ่ายเริ่มหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดระลอกสอง หลังเกิดเหตุผู้ลักลอบเดินทางจากประเทศเมียนมากลับเข้าไทยพร้อมเชื้อไวรัสอันตราย ยิ่งตอกย้ำวิถีชีวิต Now Normal ของหลายๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่าง และรวมถึงการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2564 มีแนวโน้มพุ่งสูงมากจากปี 2563 ที่ประเมินไว้จะทะลุเป้าหมาย 220,000 ล้านบาท อัตราเติบโตกว่า 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 163,300 ล้านบาท ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซก้าวกระโดดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา และสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งสปีดมากขึ้น โดยมีจำนวนลูกค้าใหม่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มลาซาด้าเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ภาคธุรกิจมีแบรนด์สินค้าและจำนวนผู้ขายเพิ่มขึ้นมากกว่า

Read More