Home > เทคโนโลยี

“สามารถเทลคอม” จับมือ “หัวเว่ย” ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

“สามารถเทลคอม” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจับมือหัวเว่ย ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมฉลอง 35 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศด้านดิจิทัล บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นบริษัทในเครือสามารถคอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านโซลูชัน ICT และผู้ให้บริการรวมทั้งผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี มุ่งเน้นการให้บริการระบบโครงข่ายที่ทันสมัยอย่างครอบคลุมและรอบด้านให้กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจและขยายบริการในยุคดิจิทัล ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ICT ของประเทศไทย สามารถเทลคอมได้ช่วยเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐหลากหลายแห่ง ผ่านผลิตภัณฑ์ด้านโทรคมนาคมที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก เพื่อมุ่งหวังตอบโจทย์ความคาดหวังที่สูงของลูกค้าและสร้างความร่วมมือแบบต่างได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมองว่าความสำเร็จในการประมูลโครงการใหญ่ นั้น ไม่เคยเป็นเพราะโชคช่วย แต่มาจากความทุ่มเท การทำงานหนัก และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยาวนานเกือบสี่ทศวรรษ สามารถเทลคอมยังคงมุ่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและครอบคลุมตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศไทย นอกจากนี้ สามารถเทลคอมยังมุ่งสานต่อการเติบโตของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นในด้านการพัฒนาและให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศไปในทิศทางเดียวกัน ความร่วมมือที่ใช่ก่อให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่างสามารถเทลคอม และหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยขณะนั้น สามารถเทลคอมกำลังมองหาหุ้นส่วนกลยุทธ์ระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมตำแหน่งความเป็นผู้นำของบริษัท แต่ยังช่วยให้เกิดการขยายธุรกิจได้อีกด้วย โดยสามารถเทลคอมมองว่าหัวเว่ยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

Read More

เมื่อองค์กรไทยต้องปรับตัวในยุคมาตรฐานใหม่ เทคโนโลยีจึงต้องสอดรับ

เมื่อองค์กรไทยต้องปรับตัวในยุคมาตรฐานใหม่ เทคโนโลยีจึงต้องสอดรับด้วยโซลูชันการประสานงานอัจฉริยะ รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ ในยุคที่ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับ “มาตรฐานใหม่ (New Normal)” เพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด และหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานผ่านคลาวด์หรือการโทรประชุมทางไกล เพื่อให้ทุกฝ่ายยังเดินหน้าต่อไปได้แม้ในเวลาที่หลายคนจะยังต้องทำงานทางไกลจากที่บ้าน เทคโนโลยีสำหรับการประสานงานระหว่างทีมจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนานวัตกรรมและเปิดตัว “HUAWEI IdeaHub Board” จอสัมผัสอัจฉริยะอย่างเป็นทางการในตลาดไทย เพื่อเสริมแกร่งให้กับ Smart Office, Smart Classroom รวมไปถึง Smart Health Care ในการก้าวผ่านความท้าทายและมุ่งเข้าสู่การประสานงานอัจฉริยะยุคใหม่ การใช้งานนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในโลกที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบไปพร้อมกัน “เศรษฐกิจดิจิทัลทั้งในไทยและทั่วโลก รวมถึงเทรนด์มาตรฐานใหม่ (New Normal) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเห็นการปรับตัวของภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการทำงานและการศึกษาในยุคดิจิทัลที่เห็นอย่างชัดเจน หัวเว่ยในฐานะที่เป็นผู้นำและพาร์ทเนอร์ที่ได้รับความไว้วางใจในด้านเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นผู้ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเชิงรุก จึงนำผลิตภัณฑ์เพื่อการประสานงานอัจฉริยะ HUAWEI IdeaHub Board รุ่นใหม่ล่าสุดเข้ามาในไทย ด้วยเป้าหมายที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้การประสานงานระหว่างบุคคล

Read More

แอลจีร่วมกับผู้นำเทคโนโลยีทั่วโลก จัดเสวนาออนไลน์ “Future Talk” ถกคุณค่าของนวัตกรรมแบบเปิดในยุคใหม่

ภายในงาน CES® 2021 ซึ่งจัดขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ไอพี พาร์ค ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของแอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) ได้ขึ้นเวทีเพื่อกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทด้านนวัตกรรมแบบเปิดในยุคแห่งการเว้นระยะห่างทางสังคม ในฐานะเจ้าภาพของการเสวนา “LG Future Talk” พร้อมอธิบายและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมแบบเปิดต่อหลักการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ครั้งล่าสุดของแอลจี ในปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของแอลจีในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้นยังคงอยู่เช่นเดิม รวมถึงความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคทั่วโลก โดย ดร. ไอพี พาร์ค เน้นถึงผลิตภัณฑ์แห่งการค้นพบครั้งใหม่อย่างหน้ากากฟอกอากาศ แอลจี เพียวริแคร์ (LG PuriCare Wearable Air Purifier) และกล้องตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนอัจฉริยะแอลจี (LG Smart Thermal Camera) ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ แอลจียังปรับรูปแบบการทำงานของหุ่นยนต์ CLOi ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภารกิจที่หลากหลาย ตั้งแต่การฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่มีอัตราการจราจรสูงในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการจัดส่งสิ่งของไปตามบ้าน และการเสิร์ฟอาหารภายในร้าน เพื่อเพิ่มสุขลักษณะและลดโอกาสความเสี่ยงต่อสุขภาพของทั้งลูกจ้างและลูกค้า ใจความสำคัญของการเสวนาในครั้งนี้คือนวัตกรรมแบบเปิด ซึ่ง ดร. ไอพี พาร์ค

Read More

เตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤติโรคระบาดด้วยเทคโนโลยี

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญหน้ากับโรคระบาดโดยไม่มีใครคาดคิด เทคโนโลยีถูกนำมาช่วยแก้ไขวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแพทย์ การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียังจะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโลกหลังภาวะการโรคระบาดอีกด้วย ภายในงานสัมมนาหัวข้อ "Beyond the Pandemic: A Decade of Challenges from 2021'' นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงแนวทางการปรับวิธีดำเนินธุรกิจในโลกหลังโควิด-19 ว่า “สิ่งที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด” โดยเทคโนโลยี 5G เปรียบเสมือนเครื่องมือผลักดันสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G เป็นลำดับที่ 3 – 4 ของโลก หากในปี พ.ศ. 2564 มีการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และการสาธารณสุข” ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยให้ข้อมูลว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

Read More

การผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลักเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Digital Hub แห่งอาเซียน

ภาวะการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญในขณะนี้ หนึ่งในกุญแจสำคัญที่อาจเป็นคำตอบสำหรับเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระดับประเทศได้คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)” ซึ่งนอกจากจะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาประเทศ ยังเปิดโอกาสให้ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลหรือ Digital Hub ของภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การจะยกระดับศักยภาพประเทศไทยให้ไปถึงขั้นนั้นได้จำเป็นต้องอาศัยการผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลัก ทั้งนี้ นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในไทยและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้แก่ประเทศมาตลอด 21 ปี ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของการผสานพลังของ 5 เทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วย Connectivity, Computing, Cloud, AI และ Applications เพื่อผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ดังนี้ เทคโนโลยีแขนงแรกคือ การเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Intelligent Connectivity) เน้นการเชื่อมต่อแบบอัจฉริยะและความเร็วสูง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการนำไปใช้ในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ด้วยการเชื่อมต่อในความเร็วระดับมากกว่า 100 Mbps นี้ จะทำให้มีการใช้งาน

Read More

เอ็กซ์พีริส-แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผย 9 อันดับแรงงานด้านไอทีเนื้อหอม ภาคธุรกิจต้องการสูง

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจและการทำงาน ส่งผลให้ตลาดแรงงานโดยเฉพาะสายงานด้านไอทีมีความต้องการสูง เนื่องจากการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการก้าวสู่ยุคดิจิทัล ล่าสุด"เอ็กซ์พีริส (Experis)" บริษัทในเครือแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ทำการสำรวจและเปิดเผยถึงกลุ่มงานทางด้านไอทีจากผู้ประกอบการ 8 กลุ่มธุรกิจ พร้อมจัดอันดับ 9 สายงานเนื้อหอมที่ตลาดต้องการ หวังกระตุ้นตลาดแรงงานปรับตัว จากผลการสำรวจของ "เอ็กซ์พีริส ประเทศไทย" ผู้เชี่ยวชาญในการสรรหาบุคลากรในระดับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ บริษัทในเครือแมนพาวเวอร์กรุ๊ป พบว่า ความต้องการของบุคลากรทางด้านไอทีและดิจิทัลยังเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องของทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีปัจจัยจากนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยแลนด์ 4.0 และเป็นผลจากความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเต็มรูปแบบของยุคดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น และจากการสำรวจทิศทางตลาดงานดังกล่าวทาง “เอ็กซ์พีริส” ได้จัดอันดับความต้องการแรงงานสายอาชีพไอที ปี 2562 จากข้อมูลการสรรหาบุคลากรสายอาชีพไอทีในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พบว่ามี 9 กลุ่มสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยสำรวจจากกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ สถาบันการเงิน โทรคมนาคม การขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต ที่ปรึกษาและให้บริการด้านไอที ดังนี้ อันดับแรกสายงาน Programmer & Developer ปัจจุบัน ภาคธุรกิจมีการเร่งพัฒนาระบบงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันที่รองรับการใช้งานบนสมาร์ทดีไวซ์ทุกแพลตฟอร์ม

Read More

ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง

Column: Women in Wonderland ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมาก หากย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน อาจจะไม่คาดคิดว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอีกซีกโลกหนึ่งได้เพียงในเวลาไม่กี่วินาที หรือแม้กระทั่งสามารถพูดคุยกับบุคคลที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งโดยเห็นหน้ากันไปด้วยระหว่างพูดคุย ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร อย่างโทรศัพท์ การพูดคุยกันใน Social Network เป็นต้น ด้านการศึกษาที่สามารถเรียนได้จากที่บ้าน หรือที่ประเทศอื่น หรือแม้กระทั่งด้านการเงินที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดอีกต่อไป เราสามารถจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์ได้ และแน่นอนว่าทางด้านภาคธุรกิจเอง ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการขายของ ทุกคนสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งภาคการเกษตรก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันคือ การสั่งงานด้วยเสียง หรือการพูดคุยตอบโต้กับหุ่นยนต์ ในปี 2011 ค่ายโทรศัพท์ Apple ได้เปิดตัว Siri ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยหรือเลขานุการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดย Siri ถือว่าเป็น Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์สามารถทำทุกอย่างที่มนุษย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ไม่มีอารมณ์เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้น Siri จึงสามารถเข้าใจภาษาพูดของคนและสามารถตอบสนองได้เหมือนคนจริงๆ

Read More