Home > Beer

ไทยเบฟในอาเซียน คู่ปรับขนาบข้าง ศึกนี้ไม่ง่าย

ความพยายามที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจให้แผ่กว้างครอบคลุมบริบทของอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจ ดูจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคหากแต่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นทั้งคู่ปรับเก่าที่เคยฝากรอยแผลทางธุรกิจและคู่ต่อสู้ที่ประเมินอาเซียนในฐานะที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำทางธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเข้าซื้อหุ้นโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนกว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เมื่อไม่นานมานี้ อาจให้ภาพของจังหวะก้าวและการรุกคืบไปในอนาคตตามแผนที่วางไว้ ตลาดเบียร์อาเซียนยังมีผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่ร่วมแสดงบทบาทนำในภูมิภาคแห่งนี้ และต่างมีสรรพกำลังที่พร้อมจะบดบังและทำลายจังหวะโอกาสของไทยเบฟเวอเรจไม่น้อยเลย บทบาทของ Carlsberg และ Heineken ในห้วงเวลาหลังจากการรุกคืบของไทยเบฟเวอเรจเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผู้ผลิตเบียร์ระดับนำของโลกทั้งสองรายนี้ ต่างเคยมีประสบการณ์และรอยอดีตเกี่ยวเนื่องให้จดจำไทยเบฟเวอเรจในมิติที่ต่างกัน หากแต่ความเป็นไปในทางธุรกิจ ต้องถือว่านี่เป็นการขับเคี่ยวแข่งขันในสมรภูมิที่เดิมพันสูงย่อมไม่มีใครประสงค์จะเพลี่ยงพล้ำ Carlsberg บริษัทผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเดนมาร์ก เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านอดีตพันธมิตรและเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนจะนำไปสู่การร่วมจัดตั้งคาร์ลสเบอร์ก ประเทศไทย ก่อนที่จะมีกรณีพิพาท เมื่อ Carlsberg ยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับเบียร์ช้างในปี 2003 โดยระบุว่าเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน โดยฝ่ายเบียร์ช้างของเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ Carlsberg บอกเลิกและฉีกสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนั้น ผลจากการยกเลิกการร่วมทุนกับเบียร์ช้างดังกล่าว ทำให้ชื่อของ Carlsberg เลือนหายไปจากการรับรู้ของนักดื่มชาวไทยไปอย่างช้าๆ หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง Carlsberg กลับลงหลักปักฐานในเอเชียและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวเฉพาะในอาเซียน Carlsberg ลงทุนทั้งในเวียดนามผ่าน Hue Brewery และ Hanoi

Read More

สมรภูมิอาเซียน ความท้าทายบนฟองเบียร์

ข่าวการเข้าซื้อหุ้นของโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนขนาดมหึมากว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำความมุ่งหมายตามยุทธศาสตร์แห่งวิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนข้อเท็จจริงของตลาดเบียร์ในอาเซียนในฐานะที่เป็นสมรภูมิทางธุรกิจที่มีความหอมหวานและเย้ายวนผู้ประกอบการแต่ละรายให้เข้ามาร่วมช่วงชิงแบ่งปันผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าอย่างชัดเจน ความพยายามของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มุ่งหมายจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในฐานะที่เป็นประหนึ่งสนามหลังบ้าน ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้แรงเสียดทาน หากแต่ดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการรุกเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสถานะไม่แตกต่างมหาอำนาจที่พรั่งพร้อมด้วยเงินทุนและความหลากหลายของแบรนด์สินค้าที่เป็นสรรพกำลังในการดูดซับอุปสงค์ของการบริโภคในตลาดแห่งนี้ การเติบโตขึ้นด้วยอัตราเร่งของการบริโภคเบียร์ในอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะภูมิอากาศที่ร้อนชื้นหรือรสชาติอาหารที่เผ็ดร้อนจนต้องดื่มเบียร์เย็นๆ ระงับอาการหรือดับกระหาย หากแต่เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียน ยังอุดมด้วยประชากรในวัยหนุ่มสาว และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นเพียงเครื่องดื่ม มาสู่การเป็น สัญญะ ทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ความจำเริญเติบโตของอาเซียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ภูมิภาคแห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในธุรกิจหลากหลาย ในฐานะที่เป็นทั้งแหล่งลงทุนเพื่อการผลิตและเป็นตลาดที่มีศักยภาพและการเติบโตในอัตราเร่งทดแทนความอิ่มตัวที่เกิดขึ้นในระดับสากล ตัวเลขจากการสำรวจตลาดเบียร์ใน 6 ประเทศอาเซียนที่ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา พบว่าตลาดที่มีการบริโภคเบียร์มากถึง 7.66 ล้านกิโลลิตรแห่งนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถครอบครองตลาดระดับภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคงชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีความโดดเด่นจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ของประเทศตัวเองเป็นสำคัญ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในบริบทของ San Miguel ซึ่งแม้จะครองส่วนแบ่งในระดับร้อยละ 20.5 แต่ตัวเลขดังกล่าวก็เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า San Miguel มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 91-95 ในฟิลิปปินส์โดยลำพัง เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบการสัญชาติไทย ทั้งบุญรอด บริวเวอรี่ ที่ครองส่วนแบ่งในระดับ 14.5

Read More

ไทยเบฟฮุบ SABECO จิ๊กซอว์สำคัญสู่เป้าหมาย 2020

กระแสลมหนาวที่พัดผ่านเข้ามาในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปี 2560 สลับกับแสงแดดอบอุ่นที่มาพร้อมกับข่าวมหาอาณาจักรธุรกิจไทย ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ชนะประมูลเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 54 ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์ป (Saigon Alcohol Beer and Beverages Corporation: SABECO) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของเวียดนามด้วยวงเงินมากถึง 4.84 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.6 แสนล้านบาท กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางธุรกิจ และสถานภาพของไทย เบฟเวอเรจ ให้เข้าใกล้สู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ 2020 ยิ่งขึ้นไปอีก การประมูลขายสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SABECO ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเวียดนามในครั้งนี้ นับเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศที่ยังปกครองและบริหารประเทศภายใต้แนวคิดสังคมนิยมแห่งนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาการประมูลสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SABECO ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดการถือครองหุ้นของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้มีผู้ประกอบการจากต่างประเทศถือครองหุ้นใน SABECO รวมแล้วประมาณร้อยละ 10 ซึ่งรวมถึงไฮเนเก้นที่ถือหุ้นใน SABECO อยู่ร้อยละ 5 ทำให้เพดานการถือหุ้นของผู้ประมูลจากต่างประเทศถูกจำกัดเพดานไว้ที่ร้อยละ 39

Read More

ไฮเนเก้น ปักธงเซ็นทรัลเวิลด์ ทุ่ม Star Experience ขยายฐาน

“ไฮเนเก้น” ในฐานะผู้ผูกขาดกลุ่มเบียร์พรีเมียมเหมือนจะเจอศึกใหญ่อีกครั้ง แม้สงครามเบียร์มูลค่าเกือบ 170,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเซกเมนต์ตลาดพรีเมียมเพียง 5% ทิ้งห่างจากตลาดสแตนดาร์ดที่มีสัดส่วนสูงถึง 94% แต่กลุ่มเบียร์พรีเมียมมีอัตราเติบโตมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ขยับเพิ่มแค่ 5% และ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ “สิงห์-ช้าง” ต่างต้องทุ่มงบเปิดศึกห้ำหั่นแย่งชิงยอดขายอย่างรุนแรงทำให้มาร์จินหดตัวตามต้นทุนการแข่งขันที่พุ่งสูง จนหันมาเร่งปรับพอร์ตขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวเบียร์ “สโนวี่ ไวเซ่น บาย เอส สามสาม” และนำเข้าเบียร์พรีเมียมจากฝรั่งเศส “โครเนนเบิร์ก” ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ หรือความพยายามปรับโฉมเบียร์ช้าง ทั้งบรรจุภัณฑ์สีเขียวและรสชาติอ่อนนุ่มของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แน่นอนว่า ไฮเนเก้น ซึ่งกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% มาอย่างยาวนานในตลาดเบียร์พรีเมียม จำเป็นต้องเร่งเปิดเกมรุกมากขึ้นในทุกรูปแบบ เพื่อรักษาเม็ดเงินและเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยใช้ความได้เปรียบในแง่ความแข็งแกร่งของแบรนด์ ความแข็งแกร่งของฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและไลฟ์สไตล์เป็นเอกลักษณ์แตกต่างอย่างชัดเจน ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น ในกลุ่มบริษัททีเอพี ยอมรับว่า ตลาดเบียร์พรีเมียมมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนของผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์ไฮเนเก้นพุ่งเป้าสร้างความโดดเด่นและแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะช่วงปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นและเทศกาลเฉลิมฉลอง บริษัทดึงเอากลยุทธ์ Seasonal Marketing หรือ

Read More

สงครามเบียร์สะดุด “ช้าง-สิงห์” พลิกแผนปลุกตลาด

ในที่สุด เกมเปิดแนวรบสงครามเบียร์เจาะช่องทางคอนวีเนียนสโตร์ของ 2 ยักษ์ใหญ่ “ช้าง-สิงห์” เป็นอันต้องล่มไป เมื่อเจอกระแสต่อต้านอย่างหนัก ทั้งบิ๊กกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มองค์กรเอกชนที่ยกพลเครือข่ายบุกยื่นหนังสือคัดค้านกลยุทธ์ “เครื่องกดเบียร์สด” ในร้านสะดวกซื้อ ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ยังมีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ยืนยันว่า การขายเบียร์สดผ่านเครื่องกดอัตโนมัติในร้านสะดวกซื้อเข้าข่ายเป็นการขายโดยวิธีต้องห้ามขายตามมาตรา 30 (1) พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ซึ่งระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะใช้เครื่องขายอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 32 เรื่องการห้ามโฆษณา เนื่องจากที่ตู้กดปรากฏยี่ห้อและสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหลังจากนี้จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป แม้ทั้งบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของเครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลิมี่มาร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านแฟมิลี่มาร์ท ประกาศยกเลิกการจำหน่ายเบียร์สดแล้ว หลายฝ่ายระบุว่า รูปแบบการจำหน่ายเบียร์สดในร้านคอนวีเนียนสโตร์ครั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศแรกที่เปิดกลยุทธ์เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายง่ายขึ้นและมากขึ้น เนื่องจากตลาดเบียร์ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาซบเซา อัตราเติบโตแค่ 3% ซึ่งทำให้ค่ายเบียร์ทุกแบรนด์พยายามหาแผนเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยดึง

Read More

อวสานลานเบียร์? หรือปฐมบทการชิงพื้นที่?

 ข่าวความเป็นไปว่าด้วยกรณีนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาระบุว่า การที่ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปีกันอย่างเต็มที่ ทั้งการจัดกิจกรรมลานเบียร์ การนำกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้  ทั้งในรูปแบบของการเป็นสปอนเซอร์ จัดคอนเสิร์ต มิวสิกเฟสติวัล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า กิจกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการกระทำผิด ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และอยู่ระหว่างหาแนวทางการดำเนินการด้านคดี ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และนำไปสู่ข้อถกแถลงในวงกว้าง สอดรับกับช่วงเทศกาลลานเบียร์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 32 ของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร ขณะเดียวกัน กิจกรรมการตลาดหลายกิจกรรมในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังอาจเข้าข่ายความผิดในส่วนของมาตรา 30 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการหรือในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ

Read More

ช้าง-สิงห์ สงครามทวง “แชมป์”

 แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” แย่งชิงและยึดตลาดเบียร์ระดับล่างได้อย่างเหนียวแน่น แต่เป้าหมายการขยายเข้าสู่ตลาดพรีเมียมยังเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่พยายามต่อสู้กับคู่แข่งหลายรอบจนกลายเป็นภารกิจสำคัญตามแผน “Vision 2020” ดีเดย์ตั้งแต่ปี 2558 โดยเฉพาะเป้าหมายสูงสุด การทวงบัลลังก์แชมป์ตลาดเบียร์ในประเทศไทย หลังจากเสียตำแหน่งให้ค่าย “สิงห์” มานานหลายปี “เราต้องการทวงความเป็นผู้นำในตลาดเบียร์ที่มีมูลค่ากว่า 125,000 ล้านบาท กลับคืนมาให้ได้ภายในปี 2563 ด้วยส่วนแบ่งประมาณ 45% จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งประมาณ 30%” ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศชัดเจนในการแถลงกลยุทธ์ประจำปี 2557 หากเปรียบเทียบภาพรวมตลาดเบียร์เมื่อ 2 ปีก่อน ตลาดเบียร์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม 5% มี “ไฮเนเก้น” เป็นผู้นำตลาด เบียร์สแตนดาร์ด 10% มี “สิงห์” เป็นผู้นำตลาด และเบียร์อีโคโนมี 85% มี “ลีโอ” เป็นผู้นำตลาด  เวลานั้นเบียร์ของไทยเบฟฯ

Read More