Home > ข้าว

เวียดนามคู่แข่งไทยส่งออกข้าว รัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้

ช่วงไตรมาสแรกของปีที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤต สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงเวลานั้นมีสัญญาณเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจากเวียดนามที่ต้องจำกัดการส่งออกข้าว มีการคาดการณ์ว่าไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.) ตัวเลขที่แสดงออกมากลับให้ผลตรงกันข้าม เมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยยอดตัวเลขการส่งออกข้าว ว่าไทยทำได้เพียง 3.14 ล้านตัน ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ไทยถูกเบียดให้มายืนอยู่ในอันดับสาม รองจากอินเดียและเวียดนาม เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลายแม้จะยังไม่สิ้นสุด แต่สถานการณ์การส่งออกที่กลับมาดำเนินกิจการได้ ทำให้หลายฝ่ายพอจะมองเห็นสัญญาณในทางที่ดีว่าภาคการส่งออกน่าจะกลับมาเดินเครื่องและอาจช่วยให้ตัวเลขจีดีพีไทยไม่ติดลบมากนัก กระนั้นปัจจัยแวดล้อมด้านลบก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดต่างชาติลดลงไปด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยอยู่ในช่วงแข็งค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าส่ง และประเด็นสำคัญคือ พันธุ์ข้าวไทยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าผู้ส่งออกข้าวจะยอมรับว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดค้าข้าวโลกคือ ประเทศอินเดีย ทว่า ในระยะหลังกลุ่มผู้ส่งออกข้าวต้องรับมือกับคู่แข่งที่เหมือนจะเป็นม้ามืดในวงการนี้ คือ เวียดนาม ที่มุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเป้าหมายอยู่แค่เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น แต่พัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดค้าข้าวจากเจ้าตลาดเดิมให้ได้ มีบทความที่เผยแพร่โดย BIOTHAI ว่า เวียดนามพัฒนาข้าวสายพันธุ์ ST25 จนกลายเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จากการประกวดระหว่างการประชุมข้าวโลกเมื่อปี 2019 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากการสนับสนุนการวิจัยโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐในระดับจังหวัดของรัฐบาลเวียดนามเป็นสำคัญ และ Ho Quang Cua ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัด

Read More

สัญญาณบวกส่งออกข้าวไทยพุ่ง อานิสงส์เวียดนามจำกัดส่งออก

ท่ามกลางความร้อนระอุของวิกฤตโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเร่งมือหาทางจำกัดวงของผู้ติดเชื้อ และระดมสรรพกำลังคิดค้นที่จะผลิตวัคซีนเพื่อเอาชนะโรคระบาดนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ หลายแวดวงธุรกิจต้องชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก และไม่สามารถเดินเครื่องต่อไปได้ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การค้า การลงทุน แม้ทั่วโลกจะเห็นสัญญาณลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งจากสงครามการค้า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน หรือกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แต่การต้องเผชิญกับวิกฤตเชื้อไวรัสเป็นสิ่งที่นอกเหนือการคาดการณ์ ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสที่ดีเสมอ และมีความเป็นไปได้ว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นกับภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่ทำรายได้มหาศาล “ข้าวไทย” เมื่อปลายเดือนมีนาคมคณะรัฐมนตรีเวียดนามมีมติระงับการออกใบอนุญาตเพื่อการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว มติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามจึงจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพ ความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติทดลองให้ส่งออกข้าวได้ไม่เกิน 4 แสนตันต่อเดือน แน่นอนว่า หากเวียดนามลดปริมาณการส่งออกข้าวลง มีความเป็นไปได้ว่าความต้องการข้าวอาจจะหมุนมายังประเทศไทย ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าทั่วโลกจะมีความต้องการข้าวในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้ไทยสามารถเบียดผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งอย่างอินเดียได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สัญญาณบวกของการส่งออกข้าวไทยยังต้องรอดูสถานการณ์ของโรคโควิด-19 รวมไปถึงมติคณะรัฐมนตรีของเวียดนามที่หากพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเวียดนามยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลเวียดนามอาจผ่อนปรนหรือพิจารณามติดังกล่าวใหม่อีกครั้ง รวมไปถึงปริมาณผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของไทยจะมีมากน้อยเพียงใด เมื่อยังมีปัจจัยอีกรอบด้านที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งปัญหาภัยแล้งที่ดูจะผูกขาดอยู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน และส่งผลต่อผลผลิตให้มีปริมาณลดลงแทบทุกปี รวมไปถึงสายพันธุ์ข้าวที่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลให้การส่งออกข้าวไทยในปี 2562 ไทยทำได้เพียง 7.58 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี และแม้ว่าปีนี้กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศจะตั้งเป้าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน แต่ยังต้องรอดูว่าปัจจัยที่รุมเร้าอยู่รอบด้านจะมีผลต่อเป้าประมาณการในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด นอกเหนือจากปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตที่ลดลง และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นแล้ว ข้าวไทยยังประสบกับปัญหาผลผลิตต่อไร่ที่ข้าวหอมมะลิทำได้เพียง 350

Read More

ข้าว: ความมั่นคงทางอาหาร และสังคมไทย

  “... ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...”  กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2536 นอกจากจะเป็นมิ่งขวัญและให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ยังสะท้อนพระวิสัยทัศน์ที่ลุ่มลึกในมิติของความมั่นคงทางอาหารอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นความมั่นคงในมิติที่แตกต่างออกไปจากความนึกคิดของบรรดาขุนศึกนายพลและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางมิติของความมั่นคงแบบเดิม ที่เน้นย้ำเรื่องการมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้สร้างสมดุลแห่งความหวาดระแวง และอาจจะไม่มีความเข้าใจเลยจนพร้อมจะกล่าวล้อเล่นด้วยการไล่ชาวนาไปขายปุ๋ยแทน เมื่อถูกถามว่าจะแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแต่ราคาปุ๋ยแพงอย่างไร สติปัญญาในการแก้ปัญหาราคาข้าวที่ดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันกลายเป็นการผลิตซ้ำมาตรการที่คณะผู้บริหารชุดปัจจุบันพยายามจะชี้ว่ามีความผิดพลาดในอดีต แต่แล้วในที่สุดก็ด้อยความสามารถที่จะคิดหาวิธีในการแก้ไข เยียวยาให้ไปสู่มิติใหม่ที่ไปไกลกว่าเดิม ข้อเท็จจริงของความคืบหน้าในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องข้าวในปัจจุบัน ก็คือ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกลไกของ คสช. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโรงสีและโกดังข้าว ควบคู่กับการพบเกษตรกร พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว มาตรการที่ว่านี้ประกอบด้วย สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 13,000 บาท จากฐานการคำนวณที่ว่า ข้าวในปัจจุบันมีราคาอยู่ระหว่างตันละ 9,700-12,000 บาท จึงควรมีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 11,000 บาท  โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Read More

“ไทยฮา” เร่งฟื้นสภาพ หวังข้าวหอมมะลิช่วย

 “ข้าวหอมมะลิ จะมีเชฟเหมือนสาวๆ  ข้าวหอมมะลิที่ดี จะขาว มีกลิ่นหอม เวลาทาน จะหนึบๆ หัวใจของข้าวหอมมะลิ คือหอม ขาว นุ่ม และทานอร่อย ในขณะที่ข้าวกล้องหอมมะลิก็จะเพิ่มคุณประโยชน์ โดยมีวิตามินบี 2 และไฟเบอร์สูง” คำกล่าวของสมฤกษ์ ตั้งพิรุฬธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยฮา จำกัด (มหาชน) ในงานเปิดตัวข้าวล็อตใหม่ออกลุยตลาด ด้วยแคมเปญ ข้าวตราเกษตร ข้าวที่มีคุณค่า มีหัวใจ   ในขณะที่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ไทยฮาประสบปัญหาขาดทุนจากสถานการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจากภาวะน้ำท่วม ค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น และอีกหนี่งปัจจัย ที่ถือว่าก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ คือโครงการรับจำนำข้าว ที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก จากปริมาณข้าวในตลาดมีน้อยลง ความต้องการของตลาดโลกก็มีน้อย ในขณะที่โครงการนี้ บริษัทฯ ต้องซื้อข้าวในราคาของภาครัฐ แต่ต้องขายในราคาตลาด ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ต้องรับภาระการขาดทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท  หลังจากที่บริษัทฯ ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ที่ยอดขายลดลง

Read More