Home > ข้าวไทย

ส่งออกข้าวพุ่งทะยาน สวนทางชีวิตชาวนาจนที่สุด

ขณะที่เถ้าแก่โรงสีและผู้ส่งออกกำลังตื่นเต้นกับราคาข้าวพุ่งทะยานต่อเนื่องรับตลาดส่งออกขยายตัว ผลพวงสถานการณ์ภัยแล้ง พิษปรากฏการณ์เอลนีโญและการประกาศมาตรการห้ามการส่งออกข้าวขาวของอินเดีย แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาชีวิตชาวนายังเรื้อรัง หนี้เพิ่ม และยากจนที่สุดเมื่อเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคารับซื้อข้าวในประเทศไทย ทั้งข้าวเปลือกและข้าวขาวปรับสูงขึ้นทุกชนิด โดยราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.89 และข้าวหอมปทุม ความชื้น 15% เดิมอยู่ที่ 8,000-8,500 บาทต่อตัน ปรับขึ้นเป็น 12,000 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี 1 จากเดิม 6,000-6,500 บาท/ตัน ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 9,800 บาทต่อตัน ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า การส่งออกข้าวไทยยังขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยส่งออกข้าวได้ทั้งสิ้น 4.04 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 75,526.2 ล้านบาท (2,223.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 14.9% และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

Read More

ดร.สุเมธชี้ต้องหาทางออกอนาคตข้าวไทย สกสว.ดันท่องเที่ยววิถีชาวนาลาวเวียง

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาแนะทุกฝ่ายหาทางออกอนาคตข้าวไทยร่วมกันในยุค Disruption ด้าน สกสว.หนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนวิถีชาวนาพอเพียงในเวทีข้าวไทย 2563 ชูจุดเด่นวิถีชาติพันธุ์ลาวเวียงกลุ่มโคกนาศัย ริมแม่น้ำป่าสัก จ.สระบุรี และผลิตภัณฑ์ข้าวเสาไห้ “เจ๊กเชย” ที่หุงขึ้นหม้อไม่บูดง่าย ผศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ ผู้อำนวยการภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำผลงาน “การท่องเที่ยววิถีชาวนา ชุมชนเสาไห้ สระบุรี” จากโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วิถีชาวนากลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชย ข้าวห่อ ค็อกเทลลาวเวียง (น้ำขาวจากข้าว) ข้าวเปลือก ข้าวสาร และขนมท้องถิ่น มาร่วมจัดแสดงและให้ผู้มาร่วมงานทดลองชิม ในการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2563 “อนาคตข้าว-อนาคตไทย” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และภาคีองค์กรพันธมิตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อนำข้อคิดเห็นและประเด็นปัญหาของข้าวและชาวนาไทยจากเวทีสาธารณะมาประมวลและนำเสนอแก่ผู้กำหนดนโยบายได้รับทราบ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิด ด้านนางวนิดา ดำรงค์ไชย

Read More

สัญญาณบวกส่งออกข้าวไทยพุ่ง อานิสงส์เวียดนามจำกัดส่งออก

ท่ามกลางความร้อนระอุของวิกฤตโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเร่งมือหาทางจำกัดวงของผู้ติดเชื้อ และระดมสรรพกำลังคิดค้นที่จะผลิตวัคซีนเพื่อเอาชนะโรคระบาดนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ หลายแวดวงธุรกิจต้องชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก และไม่สามารถเดินเครื่องต่อไปได้ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การค้า การลงทุน แม้ทั่วโลกจะเห็นสัญญาณลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งจากสงครามการค้า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน หรือกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แต่การต้องเผชิญกับวิกฤตเชื้อไวรัสเป็นสิ่งที่นอกเหนือการคาดการณ์ ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสที่ดีเสมอ และมีความเป็นไปได้ว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นกับภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่ทำรายได้มหาศาล “ข้าวไทย” เมื่อปลายเดือนมีนาคมคณะรัฐมนตรีเวียดนามมีมติระงับการออกใบอนุญาตเพื่อการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว มติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามจึงจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพ ความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติทดลองให้ส่งออกข้าวได้ไม่เกิน 4 แสนตันต่อเดือน แน่นอนว่า หากเวียดนามลดปริมาณการส่งออกข้าวลง มีความเป็นไปได้ว่าความต้องการข้าวอาจจะหมุนมายังประเทศไทย ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าทั่วโลกจะมีความต้องการข้าวในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้ไทยสามารถเบียดผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งอย่างอินเดียได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สัญญาณบวกของการส่งออกข้าวไทยยังต้องรอดูสถานการณ์ของโรคโควิด-19 รวมไปถึงมติคณะรัฐมนตรีของเวียดนามที่หากพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเวียดนามยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลเวียดนามอาจผ่อนปรนหรือพิจารณามติดังกล่าวใหม่อีกครั้ง รวมไปถึงปริมาณผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของไทยจะมีมากน้อยเพียงใด เมื่อยังมีปัจจัยอีกรอบด้านที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งปัญหาภัยแล้งที่ดูจะผูกขาดอยู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน และส่งผลต่อผลผลิตให้มีปริมาณลดลงแทบทุกปี รวมไปถึงสายพันธุ์ข้าวที่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลให้การส่งออกข้าวไทยในปี 2562 ไทยทำได้เพียง 7.58 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี และแม้ว่าปีนี้กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศจะตั้งเป้าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน แต่ยังต้องรอดูว่าปัจจัยที่รุมเร้าอยู่รอบด้านจะมีผลต่อเป้าประมาณการในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด นอกเหนือจากปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตที่ลดลง และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นแล้ว ข้าวไทยยังประสบกับปัญหาผลผลิตต่อไร่ที่ข้าวหอมมะลิทำได้เพียง 350

Read More