Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 30)

นักอ่านตื่นกระแส หนังสือแนวประวัติศาสตร์ขายดี

ปิดฉากไปแล้วสำหรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) พร้อมๆ กับคำนิยามที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์ทางสังคมว่า “เกินคาด” ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วโลก สร้างความวิตกกังวลไม่น้อยกับผู้คนที่อยู่ในวงการหนังสือ โดยเฉพาะในสังคมไทย ว่าจะทำอย่างไรให้หนังสือเล่มสามารถยืนหยัดอยู่ใน “สังคมก้มหน้า” แห่งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แน่นอนว่าหลายสำนักพิมพ์เริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพัฒนาด้วยการหยิบจับเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดในธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมานิยมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กระนั้น หนังสือเล่ม หนังสือกระดาษ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบและยังได้รับความสนใจจากนักอ่าน โดยหลายคนให้เหตุผลว่า “การได้สัมผัสหน้ากระดาษทำให้การอ่านได้อรรถรสมากกว่า” แม้ว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง จะมีบรรยากาศไม่แตกต่างไปจากปีก่อนๆ มากนัก หากแต่ปีนี้กลับมี “ปรากฏการณ์” ใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ “หนังสือแนวประวัติศาสตร์” ได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักอ่าน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาจากกระแสละคร “บุพเพสันนิวาส” ซึ่งละครเรื่องนี้ก็ส่งผลให้นวนิยายเล่มนี้ของรอมแพง ตีพิมพ์ซ้ำกว่า 70 ครั้ง โดยสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า “น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ในงานสัปดาห์หนังสือฯ

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

นครพนมฝันไกล จากเมืองซอยตัน สู่ฮับโลจิสติกส์

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมมักจะถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นเมืองซอยตัน และหลังจากปี พ.ศ. 2554 ที่มีการเปิดใช้สะพาน คำว่า “เมืองซอยตัน” ถูกลบออกไปจากพจนานุกรมของนครพนมทันที แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นที่จับตามองจากบรรดานักลงทุนทั้งในและนอกพื้นที่ ในฐานะที่วันนี้นครพนมกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามได้ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ จ.มุกดาหาร หรือ จ.หนองคาย แม้ว่าก่อนหน้าหลายฝ่ายจะเคยกังวลว่า สถานการณ์ของจังหวัดนครพนมหลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพ 3 ทิศทางจะเป็นอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคายหรือไม่ ที่เมื่อครั้งก่อนจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้งแห่งที่ 1 และ 2 นักเก็งกำไร นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์เอาไว้มากมาย หากแต่ผลที่ได้การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น หากวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับนครพนม คล้ายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมืองแห่งพระธาตุศักดิ์สิทธิ์แตกต่างจาก 2 จังหวัดข้างต้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวแปรสำคัญอย่างมหาวิทยาลัยนครพนม และสนามบิน ซึ่งเป็นเสมือนศักยภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการถูกเลือกให้นครพนมเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขอันเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้นครพนมโดดเด่นขึ้น การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนครพนม โดยเฉพาะในมิติของการเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เห็นได้จากตัวเลขสถิตินับตั้งแต่การเปิดใช้สะพาน มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมจากที่เคยซบเซากลับขยายตัวสูงขึ้น โดยมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมในปี

Read More

บุพเพสันนิวาส บนกระแสธารไทยแลนด์ 4.0

หลังจากการออกอากาศตอนแรกของละคร “บุพเพสันนิวาส” ไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เพียงข้ามคืนละครเรื่องนี้ได้สร้าง “ปรากฏการณ์ทางสังคม” จนเกิดกระแสฟีเวอร์ที่ใครต่างพากันพูดถึง ไม่เว้นแม้แต่คนที่ไม่ใช่คอละคร ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” กลายเป็น talk of the town จากหลักฐานที่บ่งบอกว่า มีการค้นหาความหมายของคำสรรพนามที่ใช้เรียกบุรุษที่สองในละครอย่างคำว่า “ออเจ้า” ภาษาโบราณที่เคยใช้จริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกอยู่ในหนังสือ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ การค้นหาไม่ได้มีเพียงแค่คำโบราณที่ใช้ในละครเท่านั้น เมื่อตัวละครที่ปรากฏเพียงไม่กี่วินาทีในบางฉาก แต่สร้างความสงสัยให้หลายคนว่าบุคคลนั้นแสดงเป็นใคร กระทั่งได้คำตอบว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีการค้นหาต้นฉบับหนังสือนวนิยายเรื่องนี้ และที่สำคัญคือ “รอมแพง” นามปากกาของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ แน่นอนว่าหลังจากละครออกอากาศไปเพียงไม่กี่ตอนคำว่า “ออเจ้า” คำโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นคำฮิตในยุคดิจิทัล เมื่อโลกโซเชียลพากันใช้คำนี้จนฮิตติดปาก ความนิยมที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน ทำให้เรตติ้งละครเรื่องนี้ของช่อง 3 สูงขึ้นแซงหน้าละครช่องอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้ผู้จัด นักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบทโทรทัศน์ และเหล่าทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญให้การสร้างสรรค์ละครจนเป็นที่กล่าวถึง กระนั้นต้องยอมรับว่า

Read More

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

สมาร์ทไทยแลนด์ บนกระแส Industrial 4.0

ภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือจักรกลสังหาร ครั้งหนึ่งเป็นเพียงจินตนาการของผู้ประพันธ์หรือผู้เขียนบท ที่จะสร้างตัวละครหุ่นยนต์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชม หากแต่ในวันนี้ที่ยุคสมัยกำลังเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้เรื่องที่เคยเป็นเพียงจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง แน่นอนว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่ความพยายามที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีล้ำหน้าและก้าวแซงหลายๆ ประเทศ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีบทบาทและแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภทที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ นัยหนึ่งของการมาถึงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เพียงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงงานคนเท่านั้น หากแต่เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มีนัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยต่อประเด็นที่ว่า เหล่า AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานคนในอุตสาหกรรมหรืองานบางประเภท นั่นน่าจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลว่า ในอนาคตข้างหน้าแรงงานคนจะเป็นอย่างไร เมื่อเหล่า AI ที่ถูกพัฒนามานั้นคล้ายกับว่ากำลังแย่งงานของมนุษย์ สำหรับบางคนอาจจะประเมินและมองเห็นถึงข้อดีต่อการถือกำเนิดของยุคปัญญาประดิษฐ์ว่า เมื่อมนุษย์สามารถใช้ AI ทำงานแทนได้แล้ว นั่นจะทำให้นักคิดนักพัฒนาทั้งหลายมีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อไป แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นนักคิดนักพัฒนาได้ กระแสการมาของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ น่าจะสร้างความตื่นตัวรวมไปถึงความวิตกกังวลต่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่ตัวเลขเงินลงทุนรวมไปถึงนักลงทุนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และที่สำคัญคือไทยมีทรัพยากรหลักอย่าง “แรงงานคน” ที่แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเครื่องจักรตัวใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจจะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นของบางแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อมองถึงเหตุผลของการตัดสินใจของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Casio ก็พบว่า มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยที่จะอนุมัติใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้

Read More

ดัชนีอสังหาฯ แนวตั้ง ชี้เศรษฐกิจไม่ปังอย่างที่รัฐคิด

ช่วงปลายปี 2560 มาถึงช่วงเดือนแรกของศักราชใหม่ หลายสำนักออกมาคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีทิศทางและอนาคตที่สดใส อีกทั้งยังประเมินตัวเลข GDP ว่าจะมีการเติบโตถึง 4 เปอร์เซ็นต์ จนถึงเวลานี้แม้จะยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า คำทำนายเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจนั้นจะถูกต้องไปทั้งหมดหรือไม่ กระนั้นตัวเลขจากการคาดการณ์ดังกล่าวก็ยังเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้กับนักลงทุนทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ที่กำลังตัดสินใจลงทุน แม้เราจะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การลงทุนของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และธุรกิจอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังประเมินว่าปี 2561 การลงทุนภาครัฐน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 11.90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญคือการขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านโครงการขนาดใหญ่ อัตราการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตขึ้นเสมือนเงาตามตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า เพราะเมื่อใดที่ภาครัฐเปิดเผยแผนก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนชนิดนี้ บรรดานักลงทุนทั้งแบรนด์ใหญ่และค่ายเล็กต่างพากันปักหมุดจับจองพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ที่เกิดขึ้นแบบประกบคู่ขนานไปกับเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้นหลายค่ายคงจะประเมินถึงกระแสตอบรับต่อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ว่าน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี รวมไปถึงการเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย และการประเมินยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนที่อยู่อาศัยแนวตั้งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจำนวนมากจนเรียกได้ว่าเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค นั่นน่าจะมาจากผลสำรวจของภาครัฐในช่วงก่อนก่อสร้างโครงการว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 2 แสนคนต่อวัน หากแต่หลังโครงการเสร็จสิ้นและมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน การลดลงของผู้โดยสารบนเส้นทางดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากอัตราค่าโดยสารที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยไป-กลับ ประมาณ 200 บาทต่อวัน และปัญหาดังกล่าวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญให้ประชาชนนำมาพิจารณาเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าว นั่นทำให้เกิดปัญหาคอนโดมิเนียมบนเส้นทางสายสีม่วงโอเวอร์ซัปพลาย ทั้งนี้จำนวนหน่วยของที่อยู่อาศัยแนวตั้งในช่วงก่อนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นมีประมาณ 1.3 หมื่นหน่วย

Read More

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดาบสองคมของเศรษฐกิจไทย

ข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาคแรงงานไทย กำลังเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เฝ้ารอให้วาระนี้ถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และได้รับการอนุมัติเห็นชอบ ขณะที่บรรดานักลงทุนอาจกำลังวิตกว่าหากผลสรุปของที่ประชุม ครม. ไม่คัดค้าน และมีผลให้ค่าแรงอัตราใหม่ต้องบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2561 นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่การแข่งขันดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ สามารถมองได้ในหลากหลายมิติ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ คสช. มองว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้น่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในห้วงยามที่กำลังต้องการตัวกระตุ้น โดยก่อนหน้านี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า มีความเหมาะสม เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ปรับขึ้นมานานถึง 3 ปี และหากแรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น น่าจะส่งผลต่ออำนาจการซื้อของประชาชนมากขึ้น ผู้ประกอบการร้านค้าจะได้รับประโยชน์จากการขายสินค้าได้มากขึ้น เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ ผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ที่กำลังเสนอคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการเสนอให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยอัตรา 5-22 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 อัตรา ตามแต่ละพื้นที่ โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 308 บาทต่อวัน ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

Read More

ททท. เร่งเครื่องสร้างแรงบันดาลใจ ท่องเที่ยววิถีไทย 2561

เพิ่งจบไปหมาดๆ กับงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2561” ครั้งที่ 38 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทบจะยกจุดเด่นของแต่ละภูมิภาคมานำเสนอไว้ที่สวนลุมพินี เพื่อให้คนกรุง รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศและทำความรู้จักกับประเพณี วัฒนธรรม อาหารพื้นบ้านของไทยในเบื้องต้น ซึ่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยุทธศักดิ์ สุภสร คาดหวังว่างานนี้จะเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเหล่านักเดินทางทั้งไทยและต่างชาติ ให้ได้ออกเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวจริง เบื้องต้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 6 แสนคน หากการทำงานของ ททท.ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมาย ผู้เข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 38 จำนวนไม่น้อยกว่า 61 เปอร์เซ็นต์ ออกเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นั่นอาจจะหมายถึงตัวเลขรายได้ที่จะได้รับประมาณ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ ผสมผสานกับกรอบโครงของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมไปถึงความต้องการที่จะปลุกฟื้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก การเติมน้ำมันเพื่อเร่งเครื่อง ฟันเฟืองสำคัญอย่างการท่องเที่ยวในห้วงยามนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด แน่นอนว่า ความคาดหวังของภาครัฐในเรื่องที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาซัปพลายที่จะนำเสนอให้กับเหล่านักท่องเที่ยว ที่ไม่เพียงแต่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงนักท่องเที่ยวไทยที่นิยมเดินทางภายในประเทศอีกด้วย และงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย” ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 เป็นส่วนหนึ่งในแผนการที่แม้จะมองว่าไม่ใช่แผนการที่แยบยลอะไรมากนัก หากแต่เป็นการเดินเกมแบบง่ายๆ แต่น่าจะเห็นผลได้ชัดเจน ด้วยรูปแบบของงานที่ยกเอาของดีจากหลายภูมิภาคมาไว้ในใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เริ่มทำความรู้จัก สร้างจุดสนใจ และในที่สุดคือ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจจนเกิดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่จริง แน่นอนว่ากว่าจะวัดผลของงานครั้งนี้ได้ก็ต่อเมื่อขึ้นศักราชใหม่แล้ว

Read More

ททท. ชูเมืองรองแคมเปญใหม่ หวังสร้างรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก

ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการส่งออก การลงทุนจากภาคเอกชน และที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ดูเหมือนจะเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทย ในหลายยุคหลายสมัย เมื่อประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้จากการท่องเที่ยวไทยคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อศักราชที่ผ่านมา ประเทศไทยมียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทยมากกว่า 35 ล้านคน จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกว่า 2.754 ล้านล้านบาท รายได้รวมขยายตัวขึ้นถึง 9.47 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพรวมที่ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในปี 2560 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนทั้งสิ้น 35,381,210 คน จำนวนดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการขยายตัว 8.77 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติคือ 1,824,042.35 ล้านบาท ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2560 มีจำนวน 152 ล้านคน-ครั้ง เป็นตัวเลขที่ขยายตัวถึง 4.39 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา และรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยเองประมาณ 930,000 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขทั้งในด้านของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นปรากฏการณ์

Read More