Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 31)

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 61 กับการขับเคลื่อนของ 3 เครื่องจักร

ศักราชใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นท่ามกลางบรรยากาศของความสดชื่น สดใส กระนั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังในหลากหลายมิติ ทั้งในแง่มุมของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจต่างประเทศดูจะมีอิทธิพลต่อไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือความคาดหวังเกี่ยวกับการเมือง ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในเร็ววัน ซึ่งหากมีการกำหนดวันเลือกตั้ง น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับบรรดานักลงทุนทั้งในไทยและโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติได้มากโข อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ทั้งตัวเลขจีดีพี การส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยว ดูจะเป็นไปตามการคาดการณ์และคาดหวังของหลายฝ่าย สถานการณ์ที่ค่อยๆ ดีขึ้นส่งผลต่อทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในปีพุทธศักราชใหม่นี้ด้วย แม้ว่าเครื่องจักรสำคัญยังคงเป็นเครื่องจักรตัวเดิมอย่างการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน หลายฝ่ายเริ่มเปิดเผยถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจภาพรวมของไทยว่า น่าจะมีแรงบวกมากขึ้นจากอานิสงส์ของสถานการณ์ช่วงปลายปี 2560 โดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกที่มีแรงหนุนในช่วงท้ายปีที่ผ่านมา แม้จะยังเป็นเพียงกระแสที่ค่อนข้างจะแผ่วไปจากความคาดหวังก็ตาม กระนั้นจากที่เคยคาดการณ์กันว่าตัวเลขส่งออกที่ตั้งเป้าเอาไว้ตั้งแต่ต้นปี 2560 ที่ตัวเลขการเติบโตเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์นั้น ต้องปรับเป้าหมายขึ้นมาเป็น 6.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีการเติบโตที่ค่อนข้างเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจากปี 2560 ส่งผลให้หลายฝ่ายยังมั่นใจว่าไตรมาสแรกของปี 2561 น่าจะยังคงดำเนินไปได้ด้วยตัวเลขสถิติการส่งออกที่ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้ว่าในปัจจุบันค่าเงินบาทจะแข็งตัวอยู่ในระดับ 32.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เอื้อต่อการส่งออกมากนัก ขณะที่การส่งออกจำต้องอาศัยปัจจัยจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ค่าเงินบาท และสถานการณ์การเมืองของประเทศมหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา และจีน ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อตัวเลขการส่งออกเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังหมายความรวมถึงสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะไม่ใช่ตัวแปรสำคัญต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยก็ตาม กระนั้นสิ่งที่จะเกื้อหนุนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนคงหนีไม่พ้นนโยบายหลักทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มี ดร.สมคิด

Read More

สังคมมายาคติ การต่อสู้ระหว่างข้อเท็จจริงกับภาพลักษณ์

การทยอยปิดตัวลงของบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือกระดาษ หลังจากไม่อาจต้านทานกระแสคลื่นของสังคมออนไลน์ได้อีกต่อไป แม้จะเป็นความจริงที่เราต้องยอมรับทุกเมื่อเชื่อวันว่า โลกออนไลน์ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กระนั้นภายใต้การสูญสลายของสื่อสิ่งพิมพ์ในสังคมไทย มีคำถามจากผู้ที่อยู่ในแวดวงของสิ่งพิมพ์จุดประเด็นและชวนให้ขบคิดอยู่ไม่น้อยว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ หากภาครัฐจะเข้ามาให้ความสำคัญต่อวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในมิติที่ว่า “สื่อสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือกระดาษ คือมรดกทางภูมิปัญญา เป็นพื้นที่เผยแพร่ความรู้ข้อมูลเรื่องราวเท็จจริง และเป็น Hard Copy ที่มีคุณค่าทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” สถานการณ์และอนาคตของสื่อสิ่งพิมพ์อาจจะไม่ซบเซาหรือจบลงเช่นที่เป็นอยู่ ท่ามกลางกระแสข่าวการปิดตัวและการล้มหายตายจากของนิตยสาร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดงความคิดต่อกรณีดังกล่าวว่า “ขอให้ทุกคนช่วยกันดูรายการของสถานีโทรทัศน์และช่วยซื้อหนังสือพิมพ์ รวมทั้งข่าวในโซเชียลมีเดียด้วย เพราะไม่เช่นนั้นสื่อก็ไม่รู้จะไปขายของให้ใคร วันนี้หนังสือก็ขาดทุนไปหลายฉบับ ซึ่งไม่ใช่เพราะฝีมือรัฐบาลนี้ทำ แต่เป็นเพราะโลกมันเปลี่ยนแปลง เราจึงจำเป็นต้องเพิ่มเนื้อหาสาระ มีทั้งความรู้ความบันเทิง การเรียนรู้ ถ้าสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้คนก็จะอ่านหนังสือมากขึ้น ทุกอย่างจะดีขึ้น ไม่ใช่ว่าหนังสือก็ไม่ค่อยอ่านแต่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่เกิดประโยชน์ วิพากษ์วิจารณ์อย่างเดียวไม่มีสาระ รังแต่จะเกิดความขัดแย้ง” ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีต่อกรณีดังกล่าวแม้จะมีประเด็นที่น่าสนใจในอีกแง่มุมหนึ่ง กระนั้นในแง่มุมที่ต่างกันของบรรดาผู้บริหารสื่อสิ่งพิมพ์ บรรณาธิการ คงไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาโอบอุ้มหรือต้องการการเยียวยาจากภาครัฐ หากแต่ประสงค์ที่จะเห็นภาครัฐมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือกระดาษ แน่นอนว่านัยของประเด็นที่ถูกจุดขึ้นจากเหล่าบรรณาธิการ หาใช่เป็นการเรียกร้องต่อรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งเท่านั้น หากแต่ในห้วงยามนี้ประเด็นดังกล่าวถูกส่งไปยังรัฐบาลที่กำลังทำหน้าที่ดูแลบริหารประเทศอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า หมุดหมายสำคัญของแต่ละรัฐบาลภายหลังการเข้ามาบริหารงานนั้น คือ การพัฒนาของประเทศในหลายด้าน หลากมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนั่นคือตัวแปรสำคัญต่อฐานะในตลาดโลก และเป็นการบอกว่าประชากรในประเทศกินดีอยู่ดี

Read More

ปัจฉิมกาลของนิตยสาร กับบทบาทใหม่ของหอสมุด

พัฒนาการอันก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในยุคนี้ส่งผลให้เกิดกระแสเชี่ยวกรากของสื่อออนไลน์ ที่พัดพาเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก เข้าใจ ขณะเดียวกันกระแสดังกล่าวทำให้บางสิ่งถูกพัดหายไปจากสังคม ภาพสะท้อนความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เห็นชัดคือ พฤติกรรมของผู้อ่านหน้าเดิมเปลี่ยนไป จากที่เคยเข้าร้านหนังสือเพื่อซื้อสิ่งพิมพ์ที่อุดมไปด้วยข่าวสาร หรือสาระอันเป็นประโยชน์ สู่การใช้ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารตามหน้าฟีดจากแอปพลิเคชันต่างๆ แทน สิ่งที่ตามมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์หลายหัวถูกลดทอนความสำคัญลง กระทั่งหลายฉบับถูกกลืนหายไปในสังคมดิจิทัล ข่าวคราวของการเดินทางครั้งสุดท้ายของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิตยสาร ที่ข่าวการประกาศปิดตัวมีให้เห็นบ่อยครั้งจนเกือบกลายเป็นเรื่องชินตาไปแล้ว และปล่อยนิตยสารปัจฉิมฉบับไว้อำลาแผงหนังสืออย่างน่าเสียดาย การปิดตัวของบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร น่าจะมาจากปัญหาที่หลายบริษัทประสบพบเจอในห้วงยามนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องของการขาดดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย ทั้งนี้นับตั้งแต่สื่อออนไลน์เริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย งบประมาณและเม็ดเงินโฆษณาของหลายบริษัทถูกจัดสรรใหม่ และให้ค่ากับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) เปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขจากการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาตลอดปี 2017 โดยตัวเลขการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาในปี 2017 สามารถแบ่งตามประเภทสื่อต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สื่อโทรทัศน์ 44,941 ล้านบาท 2. สื่อวิทยุ (เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ) 3,459 ล้านบาท 3. สื่อสิ่งพิมพ์ 7,738 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด 4. สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์

Read More

ปิดท้ายศักราช ตลาดยานยนต์กับจุดเปลี่ยนในอนาคต

บรรยากาศช่วงท้ายของปีที่เต็มไปด้วยงานเทศกาลแห่งความสุขสดชื่น อาจจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงสถานการณ์โดยรวมของตลาดยานยนต์ ไตรมาสสุดท้ายเสมือนช่วงเวลาที่มากไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในเรื่องของยอดจอง ยอดจำหน่าย เพราะตัวเลขดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องชี้วัดสภาพเศรษฐกิจไทยและความมั่นใจของผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้ที่ “นิด้าโพล” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ออกมาเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนร้อยละ 1.76 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 24.96 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 19.36 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดีขึ้น ร้อยละ 28.49 เห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลย ร้อยละ 19.68 มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่กว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.32 มีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลยมีมากถึง 28.40 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ความคึกคักในช่วงสุดท้ายปลายปีของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 อาจจะเงียบเหงากว่าที่ควรจะเป็น ด้านขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 ให้ความเห็นว่า “จากแนวโน้มเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของยอดขายรถในช่วงไตรมาส

Read More

หอการค้าเปิดแผนหนุนภาครัฐ ท่องเที่ยวคือกุญแจสำคัญ

ดูเหมือนว่า “ไตรมาสสุดท้ายของปี” จะเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายต้องระดมสรรพสมองเพื่อขบคิดและสรรหานโยบายรังสรรค์แผนการสำหรับการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นเครื่องจักรตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อมีการคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวปี 2560 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ ตัวเลขรายได้ของการท่องเที่ยว ที่แม้จะเป็นเพียงประมาณการรายได้ทั้งปี หากแต่ด้วยตัวเลขที่สูงเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายภาคส่วนยังมุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์แคมเปญที่มีความเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ประเดิมแคมเปญใหม่ในช่วงสิ้นปีภายใต้กรอบโครงความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เมื่อการมุ่งเน้นที่จะขายวัฒนธรรมท้องถิ่นดูจะเป็นจุดขายหลักที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการเปิดปีท่องเที่ยววิถีไทยอย่างเป็นทางการในชื่องาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 นอกจากนี้ฟากฝั่งของหอการค้าไทยเอง ที่มีการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในช่วงวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 นั้น ประเด็นสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ดูจะมุ่งเน้นไปให้ถึงผลลัพธ์ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพีโดยรวมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Executing Trade & Service 4.0: เติบโตทั่วถึง แบบไทยเท่”

Read More

กินเจเงินสะพัดหมื่นล้าน เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว?

ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เทศกาลกินเจ หรือการถือศีลกินผัก ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ธงสีเหลืองที่มีตัวอักษรจีนที่บรรดาห้างร้านมักจะนำมาปัก เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว แต่ละปีช่วงเทศกาลกินเจ หลายค่ายมักจะเผยผลวิเคราะห์ หรือผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้รายงานดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินที่จะถูกใช้จ่ายในช่วงเทศกาล โดยในแต่ละปีจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท และแน่นอนว่าปี 2560 หอการค้าไทยคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ราว 4.5 หมื่นล้านบาท โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจปี 2560 ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,177 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง 36.5 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินใจกินเจปีนี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังกินเจเป็นประจำทุกปี ขณะที่ 63.5 เปอร์เซ็นต์ให้เหตุผลในการไม่กินเจว่า ราคาอาหารและวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจปีนี้มีราคาสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่าง 23.6 เปอร์เซ็นต์บอกว่ากินเจปีนี้คงไม่คึกคัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงโศกเศร้า ขณะที่

Read More

วัฒนธรรมท้องถิ่น จุดขายท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

“Thailand 4.0” นโยบายหลักของรัฐบาลไทยกลายเป็นวาทกรรมหลักที่แทบทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ต้องนำไปปฏิบัติและใช้ห้อยท้ายในทุกแคมเปญเพื่อเป็นการยืนยันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ ความต้องการที่จะให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศรายได้สูง หัวใจสำคัญของเป้าหมายนี้ทำให้ทุกฟันเฟืองที่อยู่ในระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต้องปรับตัว บุคลากรจากหลายภาคส่วนต้องระดมสรรพกำลัง ระดมสมองรังสรรค์แผนการ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ แน่นอนว่าไม่เว้นแม้แต่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต้องสร้างสรรค์แคมเปญหลากหลายในแต่ละปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่มีกิมมิกที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แม้ว่าฟันเฟืองตัวนี้จะเป็นเสมือนเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไปแล้วก็ตาม โดยสถานการณ์ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท เท่ากับว่ารายได้ครึ่งปีแรกขยายตัว 6.05 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุมาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวโลก หากแต่เมื่อมองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ประเทศเดียว จากข้อมูลสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมีจำนวน 6.88 แสนคน เติบโตร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในไทยมูลค่า 50,953.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2560 กำลังจะก้าวเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อีกครั้ง

Read More

E-Commerce แข่งระอุ สนามประลองกำลังไทย-เทศ

ข่าวคราวการเข้ามาบุกตลาด E-Commerce ไทย ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ น่าจะเป็นผลมาจากทิศทางการเติบโตของตลาดนี้ ที่เติบโตจากปี 2558 ถึง 12.42 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ยังเปิดเผยผลสำรวจอีกว่า ตลาด E-Commerce แบบ B2B (Business-to-Business) ยังกินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 1.3 ล้านล้านบาท และแบบ B2C (Business-to-Customer) มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท อันดับสุดท้ายคือ แบบ B2G (Business-to-Government) มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท การเติบโตของตลาด E-Commerce ดูจะสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปัจจุบันดูจะขับเคลื่อนไปได้เฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “การส่งออกและบริการ” ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ว่า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More

บ้านปูจับธุรกิจปลายน้ำ เดินหมากด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ความแข็งแกร่งของบริษัทบ้านปูดูจะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นการเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากถ่านหิน น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับต้นๆ ในแวดวงธุรกิจพลังงาน กระนั้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา การเปิดตัวบริษัทลูกที่ถือว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการธุรกิจพลังงานอย่างบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร “ถ้าเปรียบบริษัทบ้านปู เป็นเหมือนลูกชาย บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี ก็เป็นเหมือนลูกสาว” สมฤดี ชัยมงคล กรรมการบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวในพิธีเปิด แม้ว่านัยหนึ่งของการเบนเข็มธุรกิจของบ้านปูมาให้ความสำคัญในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จะสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ที่มีแผนว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยแผนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2558-2579 (Alternative Energy Development plan: AEDP 2015) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยรวมของประเทศจาก 13.9 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2579 กระนั้นอีกนัยหนึ่งที่น่าขบคิดว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี นั่นเพราะการขาดทุนสูงถึง 1,534 ล้านบาท ในปี 2558

Read More

125 ปี เชลล์ จังหวะก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง

ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2435 ที่เชลล์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในไทย ในครั้งนั้นเรือ เอส เอส มิวเร็กซ์ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันเข้าจอดเทียบท่าที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 กันยายน ปีนั้น นับเป็นการนำเข้าน้ำมันก๊าดครั้งแรกของไทย แน่นอนว่านับตั้งแต่ปีนั้น ตลาดน้ำมันก๊าดขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คนไทยจำนวนหนึ่งอาจจะเคยคุ้นชินกับ “ตรามงกุฎ” น้ำมันก๊าดของเชลล์ ซึ่งในขณะนั้นบริษัท เมสเซอร์ส มาร์ควอล์ด แอนด์ โค เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของเชลล์ในประเทศไทย จากนั้น บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทรอยัลดัทช์/เชลล์ ได้แต่งตั้ง บริษัท บอร์เนียว จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเชลล์ในประเทศไทย ธุรกิจการนำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ดำเนินไปได้ด้วยดี กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เป็นเหตุให้บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม ต้องปิดกิจการชั่วคราว และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง เชลล์ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลไทยให้กลับเข้ามาดำเนินกิจการในไทยอีกครั้ง

Read More