Home > manager360 (Page 309)

แก้วสารพัดนึกชื่อ EEC และคาถาเสื่อมมนต์ไทยแลนด์ 4.0

หากตั้งประเด็นคำถามว่ารัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเศรษฐกิจ หรือจัดวางน้ำหนักในการพัฒนาประเทศไว้ที่เรื่องใด เชื่อว่า โครงการเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คงเป็นโครงการที่ผุดขึ้นในกระแสสำนึกอย่างทันที ด้วยเหตุที่สื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐต่างโหมประโคมโครงการที่ว่านี้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประหนึ่งโครงการแห่งความหวังว่าจะช่วยฉุดลากเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้ให้หลุดพ้นจากหุบเหวของความตกต่ำที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเสียที แม้ว่าในความเป็นจริงโครงการที่ว่านี้ไม่ได้มีอะไรใหม่มากไปกว่าการพัฒนาพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือ การสานต่อและเติมเต็มโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ดำเนินมาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ให้มีความสดใหม่เพิ่มขึ้นและขยับให้ EEC เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมที่จะทำให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จสมบูรณ์เต็มตามเป้าประสงค์ ภายใต้แผนการพัฒนา EEC รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดวางแผนงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไว้ 8 แผนงาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบและบริการลอจิสติกส์ต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาศูนย์กลางการเงิน การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และที่ดูจะให้ความสำคัญมากก็คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 212

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

Iskandar Malaysia จากระเบียงเศรษฐกิจสู่การปิดล้อม

ความพยายามในการกระตุ้นพัฒนาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคจะวันออกของมาเลเซีย (East Coast Economic Region: ECER) ที่ดำเนินการผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงรูปธรรมครั้งใหม่ที่ดำเนินผ่าน East Coast Rail Link (ECRL) อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามาเลเซียได้ประกาศตัวที่จะคัดง้างบทบาทของสิงคโปร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากวันที่ 9 สิงหาคมจะถือเป็นวันชาติสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ย้อนหลังกลับไปในปี 1965 หากแต่ในอีกมิติหนึ่งวันที่ 9 สิงหาคมในส่วนของมาเลเซีย ถือเป็นวันแห่งการขับไล่สิงคโปร์ หลังจากที่รัฐสภาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซียลงมติขับสิงคโปร์ออกจากการเป็นสมาชิกในสหพันธรัฐ และทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศเอกราชเกิดใหม่ขึ้นมา ความสัมพันธ์ที่ขมขื่นแบบทั้งรักทั้งชัง และความพยายามช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่ฝังรากลึกอยู่ภายใน และเมื่อรัฐเกิดใหม่อย่างสิงคโปร์สามารถระดมสรรพกำลังในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไกลกว่าสหพันธรัฐที่เป็นฝ่ายขับไล่ออกมา ยิ่งเป็นประหนึ่งแรงขับที่ผลักดันให้ผู้นำมาเลเซีย พยายามวางโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม เพื่อก้าวข้ามภาพหลอนแห่งความสำเร็จที่สิงคโปร์ได้รับยิ่งขึ้นไปอีก จุดเปลี่ยนผ่านในเชิงนโยบายเศรษฐกิจครั้งสำคัญของมาเลเซียในการไล่ตามความสำเร็จของสิงคโปร์เกิดขึ้นเมื่อ Abdullah Ahmad Badawi ก้าวขึ้นเป็นผู้นำมาเลเซียด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของมาเลเซียในเดือนตุลาคม 2003 ต่อจาก Mahathir Mohamad ที่นำพาประเทศมาต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ

Read More

จังหวะก้าว PTTRM ฝันไว้ไกลแต่ยังไปไม่ถึง

การประกาศความพร้อมที่จะถือธงนำในการรุกคืบเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีกในสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้แบรนด์ ปตท.-จิฟฟี่ โดยผู้บริหารของ PTTRM หรือ ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความคลุมเครือในความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท. กับคู่ค้าที่แนบแน่นอย่าง CP ALL ซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ขึ้นมาในทันที ก่อนที่ผู้บริหารในระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทแม่เหนือ PTTRM ต้องออกมาชี้แจงว่ายังคงร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ 7-11 ต่อไป แต่ประเด็นแห่งปัญหาว่าเพราะเหตุใด ข้อความที่สื่อสารโดยเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของบริษัทในเครือ ปตท. จึงมีความคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันในนัยความได้มากขนาดนั้น ประเด็นหลักที่สื่อมวลชนหลายสำนักต่างระบุโดยอ้างคำกล่าวของจิราพร ขาวสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด (PTTRM) อยู่ที่การพิจารณาว่า ปตท. จะต่อสัญญากับ 7-11 ที่มีอยู่กว่า 1 พันแห่งในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ต่อไป หรือจะให้จิฟฟี่เข้ามาบริหารจัดการแทน ที่นำไปสู่ประเด็นพาดหัวข่าวในทิศทางเดียวกันว่า ปตท. จ่อเลิกสัญญากับ

Read More

ECRL: เมื่อมาเลเซียจะเป็นทางลัดให้จีน

ข่าวความเคลื่อนไหวและเป็นไปของมาเลเซียที่ปรากฏในสื่อของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะถูกกดทับและให้น้ำหนักไปในเรื่องของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอย่างเป็นด้านหลัก พร้อมกับข้อครหาว่าด้วยความไม่โปร่งใสในการแข่งขันและการวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วยการบริหารจัดการที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับซีเกมส์ดึงดูดความสนใจของผู้คน จนทำให้ข่าวการวางศิลาฤกษ์ที่เป็นเสมือนหนึ่งการเริ่มต้นโครงการ East Coast Rail Link: ECRL ของมาเลเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ได้รับการนำเสนอเข้าสู่การรับรู้ของสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรมมากพอ ทั้งที่ในความเป็นจริง โครงการ ECRL ที่ว่านี้เป็นภาพสะท้อนความพยายามครั้งใหม่ของมาเลเซีย ที่มีผลกระทบต่อทั้งประเทศไทยและอาเซียน ยิ่งกว่าจำนวนเหรียญรางวัลที่แต่ละประเทศจะได้รับในการแข่งขันซีเกมส์อย่างเทียบไม่ได้ โครงการลงทุนมูลค่า 5.5 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 4.3 แสนล้านบาท ที่จะเชื่อมเส้นทางรถไฟจาก Port Klang ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียในบริเวณช่องแคบมะละกา มาสู่พื้นที่เปิดทางชายฝั่งตะวันออกทั้ง Pahang, Terengganu และ Kelantan โดยมีประเด็นหลักสำคัญอยู่ที่การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่ Kuantan เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการนี้ ถือเป็นการผนวกมาเลเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ OBOR: One Belt One Road และ String of Pearls ของจีนไปโดยปริยาย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่าเงินลงทุนในโครงการ ECRL

Read More

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ฤๅเป็นเพียงฝันค้างที่แสนหวาน

ข่าวการลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ... โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อทดแทน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ยังมีการกำหนดเพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” และสาระสำคัญที่ดูเหมือนการเพิ่มสิทธิให้แก่ลูกจ้างอีกด้วย ความพยายามที่จะปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะตลอดเวลานับตั้งแต่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เมื่อปี 2541 ยังพบว่ามีช่องโหว่ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะการถูกเลิกจ้าง จนนำไปสู่ปัญหาการร้องเรียน และกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกจ้างมาโดยตลอด หากแต่สภาพข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่ว่านี้ อาจจะดูเป็นเพียง “ฝันค้างที่แสนหวาน” และหลักประกันที่อาจไม่มีการรับรองให้เกิดผลได้จริงสำหรับลูกจ้าง เมื่อต้องเผชิญสภาพเลวร้ายจากการล่มสลายของนายจ้างที่ทำให้ต้องบอกเลิกการจ้างงานอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง สาระสำคัญที่เพิ่มเติมและมีประเด็นให้พิจารณาในกฎหมายดังกล่าว นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นสิทธิพื้นฐานว่าด้วย กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน หรือการกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยเมื่อรวมกับการลาเพื่อคลอดบุตรแล้วครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจครรภ์และเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และกำหนดให้งานที่มีคุณค่าเท่ากันลูกจ้างชายหรือหญิงได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกัน แต่ประเด็นที่เป็นจุดใหญ่ใจความของร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้อยู่ที่การกำหนดให้เพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” ในมาตรา 5

Read More

จับสัญญาณบวกเศรษฐกิจไทย ครึ่งปีหลัง 2560 กำลังจะฟื้นตัว

ความพยายามของกลไกภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะโหมประโคมสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะได้รับการขานรับในระดับที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการคาดหมายที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก แต่มี 3 ปัจจัยหลักที่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเวลานับจากนี้ให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว 3 ปัจจัยหรือสัญญาณเชิงบวกที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านหนึ่งอยู่ที่การคาดการณ์ว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยจากงบประมาณภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจได้ผลระยะสั้นและเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงปัจจัยว่าด้วยการส่งออกที่มีตัวเลขในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้แนวโน้มเชิงบวกในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมของการค้าชายแดนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 อยู่ที่ 3.4% จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกให้โตกว่าที่คาด ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังมีความท้าทาย จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่โน้มอ่อนลง ส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะช้าลงกว่าในช่วงครึ่งปีแรก รายได้เกษตรกรที่เริ่มชะลอลงจากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดมาก โดยการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2560 พร้อมกับระบุว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะส่งผลกระทบในปี 2560 ในขอบเขตจำกัด หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 12,400 ล้านบาท จากการที่ยืดระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายให้ทอดยาวออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งน่าจะเพียงพอให้แรงงานต่างด้าวหมุนเวียนกันไปจัดการเรื่องเอกสารใบอนุญาตทำงานได้ โดยไม่ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักยาวนาน โดยเบื้องต้นประเมินผลกระทบที่จะส่งผ่านไปที่ตัวเลข GDP ราว 0.03% แต่ข้อเท็จจริงสำหรับผู้ประกอบการอีกด้านหนึ่ง

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More

50 ปี ASEAN การเดินทางข้ามฝั่งฝัน

นับถอยหลังไปอีกไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ต้องถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ที่จะครบรอบวาระการก่อตั้งเป็นปีที่ 50 ซึ่งหากพิจารณาองค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชีวิต ก็ต้องถือว่าองค์กรแห่งนี้กำลังก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูงมากขึ้นตามวัย ภายใต้คำขวัญ “One Vision One Identity One Community” ที่พยายามรักษาจุดร่วมสงวนจุดต่าง เพื่อสร้างประชาคมที่มีความร่วมมือทั้งในมิติการเมืองความมั่นคง (Political-Security Community) ความร่วมมือทางด้านสังคม-วัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) และประชาคมเศรษฐกิจ (Economic Community) ความเป็นไปขององค์กรภูมิภาคแห่งนี้ก็ดูจะก้าวหน้าไปจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นปฐมบทของการเริ่มต้นอาเซียนไปมากพอสมควร หากแต่ด้วยสภาพข้อเท็จจริงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจในระดับนานาชาติในปัจจุบัน การดำรงอยู่ขององค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ดูจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่พร้อมจะสั่นคลอน ประชาคมอาเซียน ที่มีประชากรรวมกว่า 630 ล้านคน และมี GDP รวมกันสูงกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

Read More