Home > manager360 (Page 308)

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

EEC: ระเบียงเศรษฐกิจไทย บนความเป็นไปของยุทธศาสตร์จีน

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดูจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพยายามที่จะดึงนักธุรกิจฮ่องกงให้เข้ามามีส่วนในโครงการนี้ ผ่านความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนผ่านนโยบายยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่อาจนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทันสมัย หรือ Modern FTA ระหว่างฮ่องกงกับอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสินค้าของภูมิภาค ภายใต้แนวความคิดที่จะยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการของไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ดูเหมือนว่านโยบายที่ว่านี้จะสอดรับกับสถานะของฮ่องกงที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และถือเป็นเมืองที่มีพลังในการขับเคลื่อนด้านการค้าการลงทุนของจีนเข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยในปีที่ผ่านมาฮ่องกงมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และเป็นการลงทุนเฉพาะในพื้นที่ EEC สูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปีที่ผ่านมานักธุรกิจฮ่องกงเข้าลงทุนในไทยรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฮ่องกงก็มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น วินเซนต์ โล ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong

Read More

“เกษตรแปลงใหญ่” ความท้าทายของการจัดการ

พระราชพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นประหนึ่งสัญญาณบอกกล่าวว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และยังมีนัยความหมายที่ช่วยหล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าเกษตรกรไทย ที่ดำรงอยู่ในบริบทของสังคมกสิกรรมมาอย่างเนิ่นนาน การเสี่ยงทายที่ติดตามมาด้วยคำทำนายพยากรณ์ของคณะพราหมณ์และโหรหลวง ไม่ว่าจะมีเนื้อหาและคาดหมายไปในทิศทางที่เด่นด้อยอย่างไร ในด้านหนึ่งก็เป็นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะเตือนสติของผู้ประกอบการกสิกรรมและเกษตรกรทั้งหลาย ให้ตระหนักในข้อจำกัดทางธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และแสวงหาหนทางที่จะข้ามพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นไปให้ได้ กระนั้นก็ดี ความพิเศษของพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีนี้ อยู่ที่ความพยายามของภาครัฐที่ได้ประกาศและนำเสนอนโยบาย ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี 2560-2564 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งให้เกษตรกรทำเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้ถึง 1.5 ล้านไร่ในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นการต่อยอดความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปี 2559 ที่สามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ได้ 153,800 ไร่ ในสินค้าเกษตรจำนวน 12 ประเภท มีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ 122 กลุ่ม ตั้งวิสาหกิจชุมชน 393 กลุ่ม และพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรสมัยใหม่ได้ 67,200 ราย โดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ 4,217 ล้านบาท หลักคิดของการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในด้านหนึ่งอยู่ที่การมุ่งปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย มาสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น

Read More

นิสัยรักการอ่าน: รากฐานการดำรงอยู่ของหนังสือเล่ม

ภาพบรรยากาศแห่งความสำเร็จเกินความคาดหมายของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการขับเน้นต่อเนื่องด้วยการเปิดตัว “หอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร” ในช่วงปลายเดือนเมษายน และทำให้ผู้ประกอบการและผู้คนที่แวดล้อมในอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์เริ่มเห็นประกายแห่งความหวังครั้งใหม่ที่พร้อมจะรอโอกาสให้กลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับการปรามาสว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังอัสดง ด้วยเหตุของการมาถึงของเทคโนโลยี และประพฤติกรรมในการรับข่าวสารข้อมูลที่เปลี่ยนไป ที่อาจทำให้สื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือเล่มกระดาษ อาจต้องล้มหายไปจากสารบบ และถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิทัลที่ดูจะเอื้อให้กับการเสพรับแบบฉาบฉวยไม่เกิน 8 บรรทัด ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนวิถีแห่งการอ่านของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิด “อ่าน อ่าน และอ่าน” ที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พยายามกระตุ้นเร้าผู้บริโภคให้เห็นความสำคัญของการอ่าน ที่เป็นธีมหลักของงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15” (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ดูเหมือนจะเป็นการสื่อสารที่ตรงประเด็นสำหรับสภาพทั่วไปของการอ่านในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากกิจกรรมประจำปีครั้งสำคัญในปีนี้ จะมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานกว่า 430 แห่ง และได้รับเกียรติจาก “ประเทศฟินแลนด์” เข้าร่วมงานในฐานะ ประเทศรับเชิญเกียรติยศ

Read More

จาก พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ สู่การปรับตัวครั้งใหญ่

ภูมิทัศน์ในแวดวงสื่อสารมวลชนกำลังได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งใหม่ เมื่อกลไกรัฐพยายามอย่างแข็งขันที่จะผ่าน พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ....ที่มีนัยของการ ควบคุม มากกว่าการคุ้มครองและส่งเสริม ตามชื่อเรียกของ พ.ร.บ. จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเรียกขานในนาม พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ พร้อมกับได้รับการวิพากษ์ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และประกาศของคณะปฏิวัติของกลุ่มเผด็จการทหารที่สืบทอดเป็นมรดกทางความคิดต่อเนื่องออกมาอีกหลายฉบับในเวลาต่อๆ มา ประหนึ่งเป็นความพยายามของผู้มีและยึดกุมอำนาจรัฐที่เติบโตผ่านยุคสมัยอนาล็อก ที่กำลังต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลสมัยใหม่ เพื่อรักษาสถานภาพดั้งเดิมไว้ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสแห่งอำนาจจะอำนวยให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือ กลไกทางกฎหมายที่คอยกำกับและควบคุมสื่อในเงื้อมมือของรัฐไทยในปัจจุบัน ดูจะมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ กสทช. ในการพิจารณาออกมาตรการทางปกครองและลงโทษสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่นั่นอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักที่ทำให้สื่อต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เท่ากับการที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงข้อจำกัดด้านรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดหาย ทั้งในบริบทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์รายวันกำลังดิ้นรนไปสู่การจัดวางคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนสมรภูมิทีวีก็มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่หลังจากการมาถึงของทีวีดิจิทัล และการแทรกตัวเข้ามาของอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่ ที่เปิดโอกาสให้สามารถชมคลิปย้อนหลังได้อย่างหลากหลาย จนสื่อโทรทัศน์กำลังจะกลายเป็นเพียงของประดับบ้านที่ไม่มีใครสนใจ การปรับตัวของสื่อโทรทัศน์ในห้วงเวลาปัจจุบัน ทำให้หลายช่องต้องพยายามจัดเตรียมคอนเทนต์ ให้มีความหลากหลายและขยับปรับเวลาของแต่ละช่วงให้สั้นลง พร้อมที่จะขยายต่อในช่องทางสื่ออื่นๆ ในลักษณะของคลิปรายการย้อนหลัง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ชมและแหล่งรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ ช่อง

Read More

เกาหลีเหนือ จากความไม่แคร์ สู่ภัยคุกคาม

หากจะมีผู้นำประเทศรายใดที่มีสไตล์และภาพลักษณ์เป็นที่น่าจดจำอย่างโดดเด่น เชื่อแน่ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ผู้คนกล่าวขวัญถึงมากที่สุดรายหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ใช่เพราะความสามารถในการบริหาร หรือทักษะด้านใดๆ ที่สื่อแสดงให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ หากแต่เป็นผลมาจากความไม่แคร์ หรือไยไพต่อความเป็นไปของโลกต่างหากที่ทำให้ผู้นำรายนี้มีความน่าสนใจอย่างพิเศษ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็บังเกิดขึ้นจากผลของความไม่สนใจความเป็นไปในระดับนานาชาติ และเป็นความท้าทายที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเป็นชนวนสงครามครั้งใหม่ ที่อาจไม่ได้จำกัดพื้นที่ความเสียหายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น ความเป็นไปของสังคมเกาหลีเหนือนับตั้งแต่ยุคของ คิม อิลซุง (15 เมษายน พ.ศ. 2455–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) ซึ่งก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งประเทศในปี 2491 และก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกในปี 2515 นอกจากจะดำเนินไปบนหนทางของความยากลำบากผ่านทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และยุคสมัยแห่งสงครามเย็น ยังประกอบส่วนด้วยลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) ที่ทำให้เมื่อคิม อิลซุง ถึงแก่อสัญกรรม จะได้รับการสถาปนาและมอบสมญานามให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) การขึ้นสู่อำนาจของคิม จองอิล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484–17 ธันวาคม พ.ศ.2554) สืบต่อจาก คิม

Read More

ขยะ: ปัญหาที่รอการจัดการ

ทุกครั้งที่สังคมไทยดำเนินผ่านช่วงเวลาพิเศษไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตามประเพณีนิยม หรือแม้กระทั่งช่วงวันหยุดยาวที่ทำให้ผู้คนในสังคมไทยหลั่งไหลและสัญจรเดินทางไปในถิ่นต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวว่าด้วยสถิติจำนวนผู้ประสบภัยหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเป็นข่าวสารที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวของถนนหลวงเมืองไทยได้ดีไม่น้อย และทำให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยกันเป็นระยะประหนึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กันในทุกช่วงเทศกาลเลยทีเดียว นอกเหนือจากปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการสัญจรเดินทางในช่วงเทศกาลนี้แล้ว ดูเหมือนว่าประเด็นว่าด้วยความสะอาด ที่มีปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลตกค้างจำนวนมากจากเทศกาลต่างๆ ที่ทั้งรอคอยการจัดเก็บและจัดการจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาในระดับจิตสำนึกทั่วไป หากยังเป็นประเด็นที่ต้องการการถกแถลงในระดับชาติว่าจะดำเนินการหรือมีนโยบายอย่างไรด้วย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มาตรวัดว่าด้วยเรื่องขยะในแต่ละท้องที่ดูจะมีนัยความหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นในเขตพื้นที่ถนนข้าวสารที่ถือเป็นไฮไลต์ในการเล่นสงกรานต์ของ กทม. ที่มีปริมาณขยะลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณขยะมากถึง 73.5 ตันเหลือเพียง 34 ตัน ขณะที่ถนนสีลมมีปริมาณขยะลดลง 40.06 ตัน จากที่ปีที่ผ่านมามีขยะรวม 73.19 ตันเหลือเพียง 33.13 ตันในปีนี้ หากประเมินจากเพียงสองจุดที่ว่านี้ อาจให้ภาพที่ดูประหนึ่งสมือนว่าสถานการณ์ขยะในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีแนวโน้มดีขึ้น แต่หากประเมินจากมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงหรือบรรยากาศโดยรวมที่ค่อนข้างซบเซาจากปีก่อน ปริมาณขยะที่ว่านี้อาจสะท้อนภาพมุมกลับของภาวะเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดจิตสำนึกหรือความสามารถในการบริหารจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เพราะในขณะที่ข้าวสารและสีลมมีปริมาณขยะลดลง ข้อเท็จจริงอีกด้านกลับพบว่าปริมาณขยะที่ย่าน RCA ได้พุ่งทะยานขึ้นจากที่มีขยะ 34.1 ตันในปีที่ผ่านมา มาเป็น 120 ตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 85.9 ตัน ส่วนที่สยามสแควร์ ก็มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น 3.6 ตันจาก 4.8 ตันในปีที่ผ่านมา เป็น 8.4 ตันในปีนี้ ตัวเลขปริมาณขยะโดยรวมจึงไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หากแต่ในความเป็นจริงกลับมีปริมาณและตัวเลขเพิ่มขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรณีของขยะไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นปัญหาให้สังคมไทยบริหารจัดการเท่านั้น

Read More

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More

อนาคตรถกระบะแคป บนมาตรการที่คลุมเครือ

ข่าวว่าด้วยมาตรการของรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามคำสั่งมาตรา 44 ที่ 14-15/2560 ของหัวหน้า คสช.ไม่เพียงแต่จะสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์และโลกโซเชียลมีเดีย จนทำให้รัฐบาลต้องออกคำสั่งชะลอการบังคับใช้อย่างเข้มงวดออกไปก่อน หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง กรณีดังกล่าวอาจเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะสั่นคลอนความเป็นไปและยอดการจำหน่ายรถยนต์กระบะ ซึ่งถือเป็นรถยนต์ยอดนิยมของสังคมไทยในอนาคตอีกด้วย ด้วยคุณลักษณะของความเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่สามารถเติมเต็มวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมกึ่งสังคมเมือง รถยนต์กระบะกลายเป็นยานพาหนะที่พร้อมจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็นในมิติของการขนส่งสิ่งของ หรือเคลื่อนย้ายผู้คน ที่ทำให้รถยนต์กระบะกลายเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ได้รับการนึกถึง และส่งผลให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ในกลุ่มนี้มีสัดส่วนมากถึงกว่าร้อยละ 43-50 ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวมกันในแต่ละปี จากตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์รวมในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่ามียอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวม 770,000 คัน โดยในจำนวนนี้เป็นรถยนต์กระบะขนาด 1 ตัน รวม 335,000 คันหรือคิดเป็นร้อยละ 43.5 ของยอดจำหน่ายรถยนต์รวมตลอดทั้งปี ขณะที่ตัวเลขยอดการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา พบว่ายอดการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวมอยู่ที่จำนวน 125,689 คัน โดยเป็นรถยนต์กระบะรวม 65,092 คัน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.8 ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความนิยมและนัยสำคัญของรถยนต์กระบะในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เป็นอย่างดี ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งของการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มด้านจราจรที่ออกมาในช่วงต้นเดือนเมษายน เพื่อรองรับกับเทศกาลสงกรานต์อยู่ที่การประกาศมาตรการที่ว่านี้ อยู่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวและต่อเนื่องกับกระแสข่าวเชิงลบว่าด้วยการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ และข่าวเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ทำให้ความสนใจในข่าวทั้งสองนี้ถูกบดบังลงไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งข่าวมาตรการคุมเข้มจราจรที่ว่านี้ยังอยู่ในช่วงเวลาที่สังคมไทยและค่ายรถยนต์ทุกค่ายกำลังอยู่ในช่วงของมหกรรมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 38 และกำลังเร่งส่งเสริมการขายกันอย่างหนักหน่วง โดยผู้จัดงานตั้งเป้าที่จะมียอดการจองรถยนต์ในงานนี้รวม

Read More

โรบินสันจับมือ ไอ.ซี.ซี. ทำบิ๊กโปรเจ็กต์ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้ม “I.C.C. Super Sale”

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จับมือ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทำบิ๊กโปรเจ็กต์ จัดโปรโมชั่นลดกระหน่ำสินค้า ไอ.ซี.ซี. ฯ กว่า 100 แบรนด์ ทั้งเสื้อผ้าสตรี บุรุษ เด็ก เครื่องหนัง ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน และเครื่องสำอาง ลดทั้งเคาน์เตอร์สูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสินค้าใหม่ พลาดไม่ได้ ระหว่างวันที่ 17 เมษายน ถึง 7 พฤษภาคม 2560 ณ โรบินสัน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ และโรบินสันไลฟ์สไตล์ ทุกสาขาทั่วประเทศ คนึงหา แซ่ตั่น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้าทั่วไป บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้โรบินสันมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์พิเศษแก่นักช้อป ตามโรดแมป

Read More