Home > AliBaba Group

New Retail: วิสัยทัศน์ Daniel Zhang อนาคตของ Alibaba?

แม้ว่าการประกาศวางมือของ Jack Ma และการส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Alibaba ให้กับ Daniel Zhang เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากฉงนฉงายและสืบเสาะประวัติความเป็นมาเป็นไปเพื่อทำความรู้จักกับ Daniel Zhang บุรุษที่จะก้าวขึ้นมากุมบังเหียนอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทคนนี้ให้มากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการส่งผ่านและเปลี่ยนถ่ายอำนาจใน Alibaba ดูจะได้รับการออกแบบและวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างมีรูปธรรมและต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Jack Ma มอบตำแหน่ง CEO ให้กับ Jonathan Lu ในช่วงปี 2013-2015 ซึ่ง Alibaba กำลังจะเข้าจดทะเบียนใน NYSE ในห้วงเวลาขณะนั้น Daniel Zhang ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba ตั้งแต่ปี 2007 ด้วยการดำรงตำแหน่ง CFO ของ Taobao Marketplace เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของ Alibaba ที่ในขณะนั้นยังไม่ทำกำไร และมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 10 ล้านคนต่อวัน กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับการขนานนามให้เป็น “ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าการชอปปิ้งของคนจีน” แม้จะได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็น

Read More

แจ็ค หม่า อำลา Alibaba สะท้อนพัฒนาการเอกชนจีน?

การประกาศของ Jack Ma เพื่อก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจต่อสาธารณชนวงกว้างว่า การเปลี่ยนผ่านของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13 ล้านล้านบาทแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma ได้ขยับบทบาทด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Alibaba ให้กับ Jonathan Lu เมื่อปี 2013-2015 ในช่วงขณะที่ Alibaba กำลังยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งทำให้ Alibaba สามารถระดมทุนได้มากถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลายเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอีกด้วย แต่ความสำเร็จของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไม่ใช่หลักประกันในความสำเร็จและความท้าทายของ Alibaba ในอนาคต และเป็นเหตุให้ Jack Ma ผลักดัน Daniel Zhang ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More

ธุรกิจลอจิสติกส์ตื่นตัว อานิสงส์ E-Commerce ไทยโต

ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวัน ธุรกรรม รวมไปถึงธุรกิจ การค้า การลงทุน ล้วนแล้วแต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยีทั้งสิ้น พัฒนาของเทคโนโลยีถูกเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญทางธุรกิจ เมื่อมนุษย์ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตแบบก้าวกระโดด ชนิดที่เรียกได้ว่า ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ประเมินมูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทย และพบว่าในปี 2559 ตลาด E-Commerce มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.52 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2 ล้านล้านบาท หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 48 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นธุรกิจ E-Commerce หน้าใหม่ตบเท้าเดินเข้าสู่สังเวียนแห่งการต่อสู้ครั้งนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงก็ตาม หากแต่เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนในเรื่องพื้นที่หน้าร้านสำหรับจัดวางสินค้าเพื่อรอให้ลูกค้าเดินทางมาเลือกซื้อ หากแต่เป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่จะตอบสนองหรือนำเสนอบริการให้เข้าถึงผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ล่าสุดธุรกิจ E-Commerce สัญชาติสิงคโปร์ ShopBack เป็นอีกเจ้าที่เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย แม้ว่าจะเพิ่งเปิดบริการในประเทศสิงคโปร์ไปเมื่อเดือนกันยายน 2557 และเปิดให้บริการในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

Read More