Home > Cover Story (Page 82)

แล้ง-ล่ม-ท่วม ซ้ำซาก ความล้มเหลวของการจัดการ “น้ำ”

ภาพแห่งความพลิกผันระหว่างการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภัยแล้งและการเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งภาพแห่งความตัดกันของสถานการณ์ที่สะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้ดีไม่น้อยเลย ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักก็คือ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ด้วยแนวคิดของนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ความขาดไร้ซึ่งเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมถึงการขาดข้อมูลในการวางแผน การตัดสินใจสั่งการ ขาดกฎหมาย แผนแม่บท และองค์กรที่กํากับดูแลในภาพรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทําให้สังคมไทยไม่สามารถบริหารจัดการทั้งก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินมาอย่างซ้ำซาก ประหนึ่งว่าสังคมไทยแห่งนี้ขาดองค์ความรู้ในการเรียนรู้และเก็บรับบทเรียนเพื่อการพัฒนาไปโดยปริยาย ความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 หรือกว่าสองปีล่วงมาแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ ควบคู่กับการปรับปรุง ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านทรัพยากรน้ำ การพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ และการจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามและประเมินผล การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล แต่นั่นก็ดูจะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของกลไกราชการที่ยังไม่มีสิ่งใดให้ได้จับต้องเป็นชิ้นเป็นอัน นอกเหนือจากการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่มีอยู่เดิมมารวมกันไว้ในที่แห่งเดียวกัน การเกิดมีขึ้นของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

Read More

เดือนแห่งการเกษียณ อนาคตของผู้สูงอายุไทย

เมื่อถึงเดือนกันยายนของแต่ละปี ดูเหมือนว่าบรรยากาศการทำงานของหน่วยงานและองค์กรจำนวนไม่น้อยจะดำเนินไปด้วยท่วงทำนองที่เร่งเร้า ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณที่คงค้าง หากยังต้องเร่งจัดวางและเตรียมแผนงานสำหรับการเสนอของบประมาณรอบใหม่ ขณะที่การเปลี่ยนผ่านและพ้นไปของบุคลากรที่กำลังจะเกษียณอายุในวัย 60 ปี ก็ดูจะทำให้บรรยากาศของแต่ละหน่วยงานระคนไปด้วยความรื่นเริงและเศร้าโศกไปพร้อมกัน การเปลี่ยนผ่านของบุคลากรเข้าสู่วัยเกษียณ เป็นประเด็นที่สร้างความกังวลใจต่อสังคมไทยไม่น้อย เพราะกรณีดังกล่าวส่งผลต่อระบบกลไกทางสังคมที่เคยปลูกสร้างขึ้นจากฐานประชากรแบบพีระมิด และอาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอดีต แต่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินอยู่นี้กำลังท้าทายรูปแบบการบริหารจัดการและมาตรการทางสังคมใหม่ๆ ซึ่งกลไกภาครัฐที่เล็งผลในระยะสั้นและระยะยาว ได้นำเสนอสู่สาธารณะควบคู่กับความพยายามในการปฏิรูประบบและกฎระเบียบทางราชการเพื่อรองรับกับกรณีดังกล่าวด้วย ข้อมูลจากกรมอนามัยระบุว่าปัจจุบันผู้สูงอายุไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึงร้อยละ 17.52 ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปีประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aged Society) โดยสมบูรณ์ หรือมีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ในระดับร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีจำนวน 4.6 ล้านคน หรือร้อยละ 42.9 ของประชากรสูงอายุทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 5.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2564 การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมโดยรวม เพราะจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่ง วิกฤตที่ไทยต้องเผชิญ

ภัยพิบัติที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เหมือนซ้ำเติมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่หาหนทางตะเกียกตะกายขึ้นมายืนอยู่ขอบเหวแทบไม่เจอ ให้ตกต่ำและทับถมจมลงไปก้นเหวลึกกว่าเดิม เมื่อเวลานี้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นประวัติการณ์ แม้คำว่า “หนี้” จะหมายถึงการมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืน ทว่า นัยความหมายของหนี้ครัวเรือนในอีกมิติ คือภาพสะท้อนที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ทั้งนี้ดูได้จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สอดคล้องกับระดับรายได้ของประชาชน หากหลังจากชำระหนี้สินแล้วยังมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย นั่นหมายถึงเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี แต่หากภาระหนี้ครัวเรือนมากกว่ารายได้ครัวเรือนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการถดถอยทางเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในครัวเรือนใดครัวเรือนหนึ่งเท่านั้น แต่นั่นเป็นการบ่งชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคของประเทศนั้นๆ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะชะลอตัวในทุกมิติ โดยมีปัจจัยที่สร้างผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกคืออิทธิพลจากกระแสของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่กำลังโรมรันห้ำหั่นกันอย่างต่อเนื่อง สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยในแง่ของความต้องการสินค้าและภาคการผลิต ไม่ต่างจากระลอกคลื่นที่ถาโถมเข้าฝั่งที่ไร้ปราการป้องกัน นั่นย่อมเกิดความสูญเสียได้ง่าย รวมไปถึงความเป็นไปได้ของการหาทางออกอื่น ในที่นี้หมายถึงตลาดใหม่ แม้ว่าจะยังไม่สายที่จะมองหาตลาดใหม่สำหรับภาคการส่งออก แต่ต้องยอมรับว่าหลายประเทศได้รับผลกระทบไม่ต่างจากที่ไทยกำลังเผชิญมากนัก นั่นทำให้การรุกตลาดใหม่ของภาคส่งออกทำได้ยากมากขึ้น เมื่อภาคการส่งออกเดินทางมาถึงขั้นวิกฤต ย่อมส่งผลต่อภาคการผลิตในประเทศ เมื่อสินค้าที่ปกติสามารถระบายออกไปได้อย่างต่อเนื่อง กลับกระจุกและช่องทางการกระจายสินค้าไปยังแหล่งอื่นเป็นไปได้ยาก นั่นทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลง กำไรลดลง ขณะที่ยังต้องแบกภาระต้นทุนอยู่ตลอดเวลา สถานการณ์เช่นนี้ย่อมสร้างให้เกิดความไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและเศรษฐกิจโลก ทางออกอาจเป็นไปได้ทั้งชะลอการลงทุนใหม่ในรายของผู้ประกอบการที่กำลังมีแผนในการขยายงานหรือขยายตลาด ขณะที่ทางออกของผู้ประกอบการบางรายอาจจบลงที่หยุดประกอบกิจการและจบลงด้วยการเลิกจ้าง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข่าวการประกาศเลิกจ้างให้ได้ยิน ได้อ่านอยู่บ้างประปราย ทว่าไม่ได้เกิดจากสถานการณ์จากเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยในปัจจุบันขณะ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแสธารที่เปลี่ยนแปลงไปของการบริโภคในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องยากมากขึ้นที่แบรนด์ต่างๆ จะรักษาความจงรักภักดีในตัวแบรนด์หรือ Brand Loyalty ของผู้บริโภคเอาไว้ได้ตลอดไป แน่นอนว่า เมื่อเกิดการเลิกจ้าง หรือภาวะการว่างงานมีสูงขึ้น ส่งผลถึงความไม่มั่นคงทางรายได้และหนี้ครัวเรือนที่จะต้องเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยผลการสำรวจภาวะการว่างงานเดือนกรกฎาคม 2562 ว่า มีผู้ว่างงาน 4.36 แสนคน

Read More

พิษจอดำ วิกฤตกำลังซื้อ มรสุมรุมถล่มทีวีช้อปปิ้ง

ธุรกิจทีวีช้อปปิ้งและโฮมช้อปปิ้งที่มีเม็ดเงินมากกว่า 13,000 ล้านบาท เจอจุดเปลี่ยนที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อขยายช่องทางขายเข้าสู่ระบบออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ หลังเจอวิกฤต “จอดำ” ซึ่งทำให้หน้าร้านหายไปทันที 7 ช่อง และยังไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ “จอดำ” จะหยุดเพียงเท่านี้หรือไม่ ที่สำคัญ คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งหนี้ครัวเรือนถล่มกำลังซื้อและปัญหาภัยแล้งทำให้รายได้ของคนส่วนใหญ่หดหาย ล่าสุด สงครามการค้า “สหรัฐฯ-จีน” ที่กำลังบานปลายมากขึ้น กลายเป็นปัจจัยลบที่จะก่อมรสุมเศรษฐกิจร้ายแรงลูกใหม่อีก ทรงพล ชัญมาตรกิจ นายกสมาคมทีวีโฮมช้อปปิ้ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า หากดูปี 2561 ภาพรวมธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งมีมูลค่าตลาด 13,823 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า 15.5% ปัจจัยมาจากมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด เช่น กลุ่มเวิร์คพอยท์ กลุ่มอมรินทร์ และผู้ประกอบการทีวีช่องอื่นๆ ที่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจทางด้านนี้ สะท้อนว่าธุรกิจทีวีช้อปปิ้งยังมีกลุ่มลูกค้าที่เหนียวแน่นและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเนื่องจากจับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งเติบโตชะลอตัวลง โดยมีมูลค่าตลาดรวม 7,351 ล้านบาท เติบโต 12.11% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง

Read More

ปตท. ลุ้นโค้งสุดท้าย ดันขุมทรัพย์ “โออาร์”

ยุทธศาสตร์การจัดทัพธุรกิจและดันบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลายเป็นแผนยืดเยื้อยาวนาน แม้กระทั่งชื่อยังเปลี่ยนจากยุค “PTTOR” เป็น “OR” และล่าสุดต้องลุ้นเฮือกสุดท้าย เมื่อรัฐบาล “ประยุทธ์ 2” ที่มีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นเจ้ากระทรวงพลังงาน ออกมาสั่งการให้ ปตท. ต้องกำหนดนโยบายตอบโจทย์ 3 ข้อของท่านรัฐมนตรีให้ชัดเจนภายในเส้นตายเดือนกันยายนนี้ อย่างไรก็ตาม หากว่ากันตามเนื้อหาโจทย์ 3 ข้อจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งนายสนธิรัตน์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หารือร่วมกับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องต่อกรณี ปตท. ต้องการนำบริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกข้อล้วนเป็นผลพวงจากข้อครหาที่ผ่านๆ มา ในเรื่องผลประโยชน์ของชาติทั้งสิ้น ข้อแรก โออาร์จะสามารถสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานได้อย่างไร ข้อ

Read More

เซ็นทรัลวิลเลจเดินหน้า จับตาศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต

ศึกพิพาท “เซ็นทรัลวิลเลจ” ขยายเป็นประเด็นใหญ่ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม สั่งการให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยตรวจสอบการก่อสร้างในพื้นที่ติดกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีบางส่วนเข้าข่ายรุกล้ำที่ราชพัสดุภายใต้การดูแลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เพราะประเด็นไม่ใช่แค่การเอาผิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ผลเสียหายอาจกระทบถึงภาพลักษณ์ระดับประเทศด้วย ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ในฐานะผู้บริหารและพัฒนาโครงการเซ็นทรัลวิลเลจ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนหน้าวันเปิดเพียง 3 วัน พร้อมประกาศยืนยันการดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอน ได้รับอนุญาตตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเดินหน้ารูดม่านให้บริการตามกำหนดการเดิมทั้งหมดในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ข้อมูลจากทั้งฝ่ายซีพีเอ็นและ ทอท. ออกมาแตกต่างกัน ต่างฝ่ายต่างยืนยันเรื่องการรักษาผลประโยชน์ตามกฎหมาย โดยฝ่ายซีพีเอ็นยืนยัน 3 ประเด็นใหญ่ ประเด็นที่ 1 พื้นที่โครงการเซ็นทรัลวิลเลจมีการเชื่อมทางเข้าออกอย่างถูกต้อง ไม่รุกล้ำที่ดินของภาครัฐ (ที่ราชพัสดุ ลำรางสาธารณะ) และไม่ได้เป็นที่ดินตาบอด

Read More

ขยะพลาสติก จากน้ำมือมนุษย์สู่ท้องทะเล

ข่าวการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูน สัตว์ทะเลหายากที่หลับนิรันดร์ ปลุกคนไทยให้ได้ตื่นรู้ขึ้นอีกครั้ง และที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้น เมื่อ “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล” เสียชีวิตลงเพราะสาเหตุมาจากการกินชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งคงไม่ต้องหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของสัตว์ทะเลครั้งนี้ ถ้าไม่ใช่น้ำมือมนุษย์ ปริมาณขยะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่มีปริมาณขยะพลาสติกปล่อยลงสู่ทะเล ปริมาณขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันที่มาจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย จากรายงานขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่อาจต้องจบชีวิตลงก่อนเวลาอันสมควรเท่านั้น ทว่ามนุษย์ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีโอกาสที่จะได้รับผลของการขาดจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมนี้จากการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษจากขยะที่ลงสู่ทะเล เมื่อขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเลและถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด พลาสติกจะแตกตัวออกมาเป็นไมโครพลาสติกและปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเล วงจรชีวิตของสัตว์ทะเลคือ กินแพลงก์ตอนที่อาจจะกินไมโครพลาสติกเข้าไป ท้ายที่สุดมนุษย์ที่อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารก็ไม่อาจหลีกหนีวงจรนี้พ้น ผลกระทบของปริมาณขยะทั้งบนบกและขยะที่ลงสู่ทะเลไม่เพียงแต่มีผลต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤตจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การกีดกันทางการค้าและการปรับอัตราภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกทำให้สินค้าของไทยได้รับผลกระทบไม่น้อย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องมองหาตลาดใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขยะยังสร้างผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทย เพราะหากสัตว์ทะเลที่เป็นสินค้าส่งออกได้รับสารพิษจากการย่อยสลายพลาสติกและมีการปนเปื้อนสูงอาจมีผลให้นานาชาติพิจารณาว่าสินค้าไทยไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 นั่นคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 29,388 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีปริมาณ 432,643

Read More

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More

มาตรการแจกเงินไปเที่ยว ฟื้นเศรษฐกิจหรือร่วมกันอับปาง?

ความพยายามของรัฐบาลประยุทธ์ 2/1 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางตัวเลขและดัชนีบ่งชี้ถึงสภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง กำลังเป็นภาพสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมเศรษฐกิจไทย หลังจากที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมและเอ่ยอ้างผลงานว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก่อนที่หัวหน้าคณะรัฐบาลคนปัจจุบันจะออกมายอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีปัญหา ก็เมื่อความเป็นจริงได้เคลื่อนมาประจันหน้าแล้ว การประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เพื่อแจกเงินคนไทยจำนวน 10 ล้านคนที่ลงทะเบียนล่วงหน้า คนละ 1,000 บาท เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว ซื้อสินค้าท้องถิ่น รับประทานอาหาร เข้าพักในโรงแรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ข้ามจังหวัดของตัวเอง ภายใต้โครงการ “ชิมชอปใช้” โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้กับประชาชนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) คนละ 1,000 บาท ให้ใช้จ่ายท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่โดยพิจารณาจากบัตรประจำตัวประชาชน โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10 ล้านคน หรือคิดเป็นวงเงินที่จะใช้ในมาตรการนี้รวม 1 หมื่นล้านบาท และจะเปิดให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1-22 กันยายนนี้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้สั่งให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมกับเปิดแอปพลิเคชันเพื่อลงทะเบียนทั้งในฝั่งประชาชนและร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีเงินสนับสนุนเงินชดเชย หรือ cash rebate จำนวนร้อยละ 15 จากยอดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับค่าอาหารและเครื่องดื่ม

Read More

วิกฤตภัยแล้ง และการจัดการที่ล้มเหลว?

ภาพผืนดินแตกระแหง ชาวนานั่งกอดเข่าทอดตามองต้นข้าวยืนต้นตาย ที่เคยเป็นภาพจำในอดีต บัดนี้ภาพเหล่านั้นหวนกลับมาในโลกยุคดิจิทัล ยุคที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพียงปลายนิ้ว ยุคที่มนุษย์สามารถออกคำสั่งให้น้ำในแปลงเพาะปลูกพืช ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกนี้ เป็นยุคที่มนุษย์สามารถจะรับรู้และคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเพียงพอต่อการเพาะปลูกหรือไม่ รวมไปถึงปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะสามารถจัดสรรสำหรับให้ประชาชนในพื้นที่ใช้อุปโภคบริโภค เป็นอีกปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้ง ที่หลายฝ่ายเตือนภาครัฐให้เฝ้าระวังและหามาตรการแก้ปัญหาความต้องการน้ำกินน้ำใช้ โดยเฉพาะสำหรับภาคการเกษตร เมื่อสถานการณ์ล่าสุดที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญคือ วิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะหนักสุดในรอบ 50 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่นอกจากฝนจะทิ้งช่วงแล้วน้ำในเขื่อนหรือในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในครั้งนี้ว่า ไทยจะเจอกับสภาพอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น และภัยแล้งหนักกว่าทุกปี หรือเรียกว่าแล้งผิดปกติ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 ปริมาณฝนจะน้อยหรือทิ้งช่วง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบกับภาวะภัยแล้ง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า ต่างประสบวิบากกรรมไม่ต่างกัน แน่นอนว่าภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่แต่เพียงผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเท่านั้น ที่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพาะปลูก เมื่อปริมาณน้ำน้อยพืชผลการเกษตรย่อมมีจำนวนน้อยลง สินค้าเกษตรบางชนิดจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด นับเป็นงานหนักสำหรับรัฐบาลที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อต้องเข้ามาทำงานด้วยการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ซึ่งการแก้ปัญหาภัยแล้งนอกฤดูเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมไม่น้อย เมื่อส่วนหนึ่งของภัยแล้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางธรรมชาติ ทว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ว่าจะทำอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และพืชผลการเกษตรคือสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ล่าสุด รัฐบาลได้ประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม

Read More