Home > ขยะพลาสติก

ซีพี-เมจิ คิ๊กออฟ แคมเปญ “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” เปลี่ยนแกลลอนนมเป็นถังขยะ

ซีพี-เมจิ ใช้เวทีงานด้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งปี "Thailand Coffee Fest 2023" เปิดตัวโครงการ "ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น" ชวนผู้บริโภคส่งแกลลอนนมเมจิ ซึ่งเป็นพลาสติกแบบขุ่น (HPDE) เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และแปรรูปเป็น "ถังขยะ" ก่อนส่งมอบให้ชุมชนในจังหวัดสระบุรี บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ถือเป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมนมพาสเจอร์ไรซ์ของไทย ที่ดำเนินธุรกิจมานานถึง 34 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซีพี-เมจิ ใช้แนวคิด "เพิ่มคุณค่าชีวิต" หรือ Enriching Life เป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โดยคอนเซ็ปต์ "เพิ่มคุณค่าชีวิต" ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. เพิ่มคุณค่าด้านสุขภาพ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ 2. เพิ่มคุณค่าด้านสังคมและผู้คน ดูแลชุมชนและผู้คนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทั้งผู้เลี้ยงโคนม ผู้ค้า พันธมิตร พนักงาน จนถึงผู้บริโภค 3. เพิ่มคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญและเป็นที่มาของแคมเปญ "ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น" ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรซ์อันดับหนึ่งของไทย ผลิตนมออกสู่ตลาดและสร้างยอดขายแต่ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งนั่นหมายถึงการส่งพลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ออกสู่สิ่งแวดล้อมในจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

Read More

ขยะพลาสติกล้นเมือง ผลพวงจากอีคอมเมิร์ซ-ฟู้ดดิลิเวอรีโต

แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศต้องหยุดชะงักลง หลายอุตสาหกรรมไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มกำลัง ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากได้รับผลกระทบต้องประกาศหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่ชั่วคราวไปจนถึงถาวร ทว่า ยังมีบางธุรกิจที่สามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤตสงครามเชื้อโรค และนอกจากจะดำเนินกิจการได้ แต่ยังมีทิศทางการเติบโตแบบก้าวกระโดดสวนกระแสของสถานการณ์ปัจจุบัน นั่นคือ ธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรี และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปัจจัยที่เอื้อประโยชน์และส่งผลให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสองธุรกิจข้างต้น คือ เทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรุดหน้า และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ทำให้ทิศทางของตลาดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป หากพิจารณาจากมูลค่าตลาดของธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรีนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่ามีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี โดยปี 2557 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท ปี 2558 มูลค่าตลาด 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 2559 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท ปี 2560 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท ปี 2561 มูลค่าตลาด 3.1 หมื่นล้านบาท และในปี 2562 อยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท การขยายตัวของตลาดนี้ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นปกตินั้น เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยแวดล้อมของเศรษฐกิจโดยรวม หากมองในมุมของผู้ประกอบการอาจเห็นว่า เปอร์เซ็นต์ของอัตราการขยายตัวยังไม่ได้เพิ่มสูงมากนัก แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ

Read More

เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ผนึกกำลัง The Ocean Cleanup เดินหน้าทำความสะอาดแม่น้ำ 15 แห่งทั่วโลก

เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ผนึกกำลัง The Ocean Cleanup ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรระดับโลกรายแรก เดินหน้าทำความสะอาดแม่น้ำ 15 แห่งทั่วโลก ป้องกันการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทร เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี จับมือเป็นพันธมิตรระดับโลกรายแรกกับ The Ocean Cleanup เพื่อร่วมกันทำงานในโครงการทำความสะอาดแม่น้ำเดินหน้าแนะนำและดำเนินการติดตั้งนวัตกรรมเครื่อง Interceptor เครื่องทำความสะอาดแม่น้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในแม่น้ำ 15 แห่งทั่วโลกให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2565 มุ่งผสานพลังองค์กรระดับโลกของ โคคา-โคล่า เข้ากับโซลูชันข้อมูลและเทคโนโลยีของ The Ocean Cleanup เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญเดียวกันในการป้องกันและดักจับขยะพลาสติกจากแม่น้ำไม่ให้รั่วไหลลงสู่มหาสมุทร พร้อมระดมกำลังภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชนทั่วโลก สร้างการมีส่วนร่วมด้านปัญหาขยะพลาสติก ควบคู่ไปกับการดูแลระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิต และแหล่งน้ำต่าง ๆ มร. โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup กล่าวว่า “ปัจจุบัน แม่น้ำกว่า 1,000 แห่งทั่วโลกปล่อยขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรเป็นปริมาณสูงถึงร้อยละ 80 ของขยะในมหาสมุทรทั้งหมดและมีทีท่าจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ภายใต้ภารกิจสำคัญในการกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทร องค์กรจึงต้องเดินหน้าแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

Read More

“ขยะติดเกาะ” พาไปรู้จักอีกมุมของเกาะยาวใหญ่ กับย่างก้าวสู่ความสำเร็จในการเดินหน้าจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาขยะในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบในวงกว้างและต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทำให้เราได้เห็นความพยายามในการร่วมมือกันจัดการขยะอย่างยั่งยืนเกิดขึ้น ซึ่งการจัดการขยะในแต่ละพื้นที่ก็มีบริบทและความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับ “ขยะติดเกาะ” นั้นดูจะมีความท้าทายเป็นพิเศษ ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ ล้อมรอบด้วยน้ำ มีพื้นที่จำกัด การขนส่งสู่แผ่นดินใหญ่มีความท้าทาย จึงต้องการมาตรการที่แตกต่างออกไปในการจัดการปัญหาขยะ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางข้อจำกัดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น “เกาะยาวใหญ่” จังหวัดพังงา กลับกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ต้นแบบของการจัดการขยะในชุมชนบนเกาะและยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะต่อไป “เกาะยาวใหญ่” ตั้งอยู่กลางทะเลอันดามัน ซึ่งแม้จะเป็นที่รู้จักในฐานะเกาะที่มีภูมิทัศน์สวยงาม ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยให้เข้ามาเยี่ยมชม กอปรกับชุมชนเกาะยาวใหญ่ยังคงวิถีชีวิตเรียบง่ายที่เชื่อมโยงธรรมชาติอย่างยั่งยืน แต่เกาะยาวใหญ่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาขยะและการจัดการขยะในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ย้อนดูสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่เมื่อปี 2561 มีอัตราเฉลี่ยปริมาณขยะถึง 3,000 กิโลกรัมต่อวัน ที่ผ่านมาชุมชนกำจัด “ขยะติดเกาะ” ด้วยการเผาและฝังกลบ ทำให้เกิดผลกระทบจาก ขยะตกค้างในพื้นที่สาธารณะ มลพิษทางกลิ่นและสารพิษจากการเผาขยะ ด้วยเหตุนี้มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จึงได้ร่วมมือกันภายใต้โครงการ การจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย: ปฏิบัติการภาคประชาชนสู่การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะเชิงบูรณาการบนเกาะยาวใหญ่ ที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนตำบลเกาะยาวใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการเสริมสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมระดับบุคคล อันผลักดันไปสู่การจัดทำนโยบายการจัดการขยะติดเกาะ โดยจะมีการขยายผลการดำเนินงานแบบบูรณาการในชุมชนใกล้เคียง ทั้งสองชุมชนคือ

Read More

ขยะพลาสติก จากน้ำมือมนุษย์สู่ท้องทะเล

ข่าวการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูน สัตว์ทะเลหายากที่หลับนิรันดร์ ปลุกคนไทยให้ได้ตื่นรู้ขึ้นอีกครั้ง และที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้น เมื่อ “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล” เสียชีวิตลงเพราะสาเหตุมาจากการกินชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งคงไม่ต้องหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของสัตว์ทะเลครั้งนี้ ถ้าไม่ใช่น้ำมือมนุษย์ ปริมาณขยะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่มีปริมาณขยะพลาสติกปล่อยลงสู่ทะเล ปริมาณขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันที่มาจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย จากรายงานขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่อาจต้องจบชีวิตลงก่อนเวลาอันสมควรเท่านั้น ทว่ามนุษย์ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีโอกาสที่จะได้รับผลของการขาดจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมนี้จากการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษจากขยะที่ลงสู่ทะเล เมื่อขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเลและถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด พลาสติกจะแตกตัวออกมาเป็นไมโครพลาสติกและปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเล วงจรชีวิตของสัตว์ทะเลคือ กินแพลงก์ตอนที่อาจจะกินไมโครพลาสติกเข้าไป ท้ายที่สุดมนุษย์ที่อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารก็ไม่อาจหลีกหนีวงจรนี้พ้น ผลกระทบของปริมาณขยะทั้งบนบกและขยะที่ลงสู่ทะเลไม่เพียงแต่มีผลต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤตจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การกีดกันทางการค้าและการปรับอัตราภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกทำให้สินค้าของไทยได้รับผลกระทบไม่น้อย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องมองหาตลาดใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขยะยังสร้างผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทย เพราะหากสัตว์ทะเลที่เป็นสินค้าส่งออกได้รับสารพิษจากการย่อยสลายพลาสติกและมีการปนเปื้อนสูงอาจมีผลให้นานาชาติพิจารณาว่าสินค้าไทยไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 นั่นคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 29,388 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีปริมาณ 432,643

Read More