Home > Cover Story (Page 83)

บิ๊กไบเทคดันซัมเมอร์ลาซาล เปิดคอมมูนิตี้มอลล์ Sunny

หลังจากปลุกปั้นออฟฟิศบิลดิ้งสไตล์ตึกสูงเกรดพรีเมียม “ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์” รูปแบบมิกซ์ยูสร่วมกับศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ใจกลางย่านสุขุมวิท-พร้อมพงษ์ และภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค อาคารสำนักงานเกรดเอร่วมสมัย ย่านสุขุมวิท-บางนา ล่าสุด ปิติภัทร บุรี ทายาทหนุ่มกลุ่มบริษัทภิรัชบุรี เจ้าของอาณาจักรไบเทค กำลังเร่งเครื่องโครงการ “ซัมเมอร์ลาซาล” และเตรียมเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์ “SUNNY at Summer Lasalle” ที่เน้นความเป็นคอมมูนิตี้อย่างแท้จริง ที่สำคัญ “ซัมเมอร์ลาซาล” ถือเป็นโครงการสไตล์ใหม่สมบูรณ์แบบของภิรัชบุรี ที่ต่างจากอดีต ตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจาะตลาดอาคารสำนักงานเมื่อ 30-40 ปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เน้นอาคารสูงขนาดใหญ่ มีเพียงเพื้นที่ให้เช่าและต่างคนต่างทำงานในแต่ละบริษัทเท่านั้น ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวว่า ตามแผนทั้งหมดของโครงการซัมเมอร์ลาซาล (Summer Lasalle) มีที่ดินรองรับมากกว่า 60 ไร่ จะเป็นการพัฒนาอาคารสำนักงานแนวราบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ออฟฟิศแคมปัส” ซึ่งบริษัทเคยทำโปรเจกต์นำร่องในโครงการภิรัช ทาวเวอร์

Read More

ปิติภัทร บุรี เจาะ “ออฟฟิศแคมปัส” สู้วิกฤต

“การสร้างออฟฟิศไม่ใช่แค่ตึกสูงอย่างเดียว...” “เหมือนโรงแรมที่ไม่ใช่มีแค่ 1 ดาว 2 ดาว แต่มี 1-5 ดาว หลากหลาย ตั้งแต่สไตล์บูทีค เรียบง่าย จนถึงบริการเต็มที่ เป็นอาคารสำนักงานที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ใกล้ชิดชุมชน เทรนด์นี้จะเป็นออฟฟิศในอนาคต” ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในร้านกาแฟ Roots at Sathon พาร์ตเนอร์ที่เข้ามาเติมเต็มความเป็นอาคารสำนักงานแนวใหม่ บรรยากาศเรียบง่ายสบายตา มี Open Bar ส่วนกลางที่เหล่าบาริสต้าสร้างสรรค์เครื่องดื่มแก้วพิเศษ แน่นอนว่า ในร้านเต็มไปด้วยคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ากันกับสถานที่ เหมือนต่างฝ่ายต่างมีจุดร่วมกันอย่างเหมาะเจาะ ปิติภัทรเล่าว่า ที่ผ่านมา กลุ่มภิรัชบุรีมีอาคารสำนักงาน ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ ซึ่งไปได้ดีมากกับห้างสรรพสินค้า ภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค เป็นอาคารใหญ่ แต่ตอนนี้บริษัทจะทำอาคารสำนักงานรูปแบบแคมปัส สร้างอาคารเล็ก เป็น Village เล็กๆ และกลับมาให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น

Read More

นับถอยหลัง “สามย่านมิตรทาวน์” ปลุกกระแส One Bangkok

นับถอยหลัง วันที่ 20 กันยายนนี้ โครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตามแผนขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์กินรวบทำเลทองย่านพระราม 4 ของกลุ่มทีซีซีกรุ๊ป หลังจากเริ่มต้นปักหมุดแรก “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์” ยึดแยกพระราม 4-รัชดาภิเษก และเร่งเดินหน้าอีก 3 โปรเจกต์ โดยเฉพาะอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก (One Bangkok) บริเวณแยกสวนลุมพินี-สาทร ที่จะเผยโฉมอย่างอลังการในปี 2566 แน่นอนว่า หากรวมเม็ดเงินที่กลุ่มทีซีซีกรุ๊ปทุ่มทุนมากกว่า 2 แสนล้านบาท ถือเป็นเดิมพันธุรกิจครั้งใหญ่ของเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยเฉพาะเป้าหมายการปลุกปั้นเขตธุรกิจใจกลางเมืองเทียบชั้นเส้นสุขุมวิทตลอดสายและ “สามย่านมิตรทาวน์” คือ จิ๊กซอว์ชิ้นล่าสุดที่จะพิสูจน์ฝีมือความเชี่ยวชาญ ท่ามกลางการแข่งขันของบรรดายักษ์อสังหาฯ ที่ต่างพุ่งเป้าผุดโครงการ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ในเครือทีซีซีกรุ๊ป กล่าวว่า

Read More

อนาคตปาล์มน้ำมันไทย บนมาตรฐานใหม่ของ EU

ความพยายามของกลไกรัฐภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ 2 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ดูจะเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขและเสริมเติมให้สังคมเศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นจากอาการป่วยไข้ที่ดำเนินต่อเนื่องและซบเซามาเนิ่นนานตลอดห้วงเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เพิ่งพ้นสภาพและละจากอำนาจไปหลังจากที่รัฐบาลประยุทธ์ 2 แถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ กลายเป็นหัวข้อและกระทู้ถาม ซึ่งนอกจากจะสะท้อนสภาพปัญหาของภาคการเกษตรไทยที่มีร่วมกันในแต่ละผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมีนัยแฝงถึงการเรียกร้องให้กลไกรัฐเร่งแสวงหาและดำเนินมาตรการเพื่อลดทอนความยากลำบากของเกษตรกรผู้ประกอบการ และวางมาตรการระยะยาวเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต การกล่าวถึงบทบาทของพืชพลังงานในนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล นอกจากจะเป็นไปเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยกระจายชนิดของเชื้อเพลิงทั้งจากฟอสซิลและจากพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสมแล้ว กรณีดังกล่าวยังมีเนื้อหาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 และ B100 เพื่อเพิ่มการใช้และดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil: CPO) ด้วยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับราคาน้ำมันปาล์มให้สูงขึ้นได้ ท่วงทำนองแห่งมาตรการดังกล่าวได้รับการขับเน้นขึ้นอีก หลังจากที่การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน มีมติขยายระยะเวลาให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันไบโอดีเซลบี 20 ต่ำกว่าดีเซลปกติ (บี 7) ที่อัตรา 5 บาทต่อลิตร จากเดิมที่มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดอายุในวันที่ 31 กรกฎาคม ออกไปอีก 2 เดือน

Read More

นโยบายพลังงาน เฟืองตัวใหม่ปลุกเศรษฐกิจไทย?

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจไทยที่ดัชนีชี้วัดหลากหลายสะท้อนภาพความตกต่ำไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออกที่ติดลบ การชะลอตัวลงของกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ยังไม่มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้น หรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จนนำไปสู่ข้อกังขาว่ารัฐบาลประยุทธ์ 2 จะนำพารัฐนาวาฝ่าคลื่นลมของปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้า ไม่ให้เกิดเป็นวิกฤตได้อย่างไร ความเคลื่อนไหวของกลไกรัฐภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นประหนึ่งการเริ่มต้นบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จึงได้รับการจับตามองเป็นพิเศษว่าจะนำเสนอมาตรการหรือขับเคลื่อนองคาพยพของสังคมเศรษฐกิจไทยไปในแนวทางที่ได้แถลงนโยบายไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถก่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมให้จับต้องได้มากน้อยเพียงใด ประการสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือจะสามารถพยุงหรือฉุดสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซานี้ให้ตื่นฟื้นขึ้นมาได้หรือไม่ การประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการระบุว่ากำลังจะปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2561-2580 (Power Development Plan: PDP2018) ทั้งที่แผนดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 จึงเป็นจังหวะก้าวที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับการปรับกระบวนทัศน์ของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ที่อาจมีผลเกี่ยวเนื่องกับความเป็นไปของทั้งพลังงานและเศรษฐกิจไทยในอนาคต ก่อนหน้านี้ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แสดงบทบาทนำในการใช้กลไกของนโยบายด้านพลังงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการขยายระยะเวลาในการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน (กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร) และตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะต่อไปอีก 2 เดือน (สิงหาคม-กันยายน

Read More

ส่งออกติดลบ ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทยตัวไหนทำงาน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนดูจะยังหลอกหลอน และสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้แก่อุตสาหกรรมการส่งออกของไทย ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างรอบด้านด้วยใจเป็นธรรมแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้าย ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตที่ไม่ต่างกันเท่าใดนัก แต่สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่มีฟันเฟืองขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าได้เพียงไม่กี่ตัว ทำให้หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่า ไทยจะหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างไร เมื่อสถานการณ์ส่งออกของไทยอยู่ในภาวะติดลบและขาดดุลในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่า ส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะติดลบ 0.64 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 มีมูลค่า 251,338 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกไทยคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำเอฟทีเอระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป ที่น่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และกรณี Brexit ห้วงยามนี้ฟันเฟืองการส่งออกของไทยที่เคยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยดูจะอ่อนประสิทธิภาพลง และหากจะพิจารณาฟันเฟืองตัวอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมล้วนแล้วแต่อยู่ที่ย่ำแย่จนถึงติดลบ แม้จะมีการขยายตัวอยู่บ้างในบางอุตสาหกรรม ทว่าเมื่อพิจารณาตัวเลขการขยายตัวยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยข้อมูลตัวเลข รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในช่วงเดือนเมษายนหดตัว -3.0 เปอร์เซ็นต์ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตเพียง 3.3 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการส่งออกหดตัว -2.6 เปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่เวลานี้คงต้องพิจารณากันใหม่ว่า เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้วจะยังสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้หรือไม่ เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์

Read More

พิธาน องค์โฆษิต พลิก Passion รุกธุรกิจ

ชื่อนักธุรกิจหนุ่ม พิธาน องค์โฆษิต ติดกระแสฮอตขึ้นมาอีกครั้ง หลังประกาศทุ่มเม็ดเงินส่วนตัวซื้อหุ้นบริษัท มอส ฟูดส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จากบริษัทแม่ “มอสเบอร์เกอร์” ประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 75% พร้อมเปิดแผนลุยขยายสาขาและกลยุทธ์รุกสมรภูมิฟาสต์ฟู้ดแบบก้าวกระโดดทันที หลายคนรู้จักพิธานในฐานะไฮโซแอมป์ ไม่ใช่นักธุรกิจในสมรภูมิฟู้ดรีเทล แต่หนุ่มคนนี้คร่ำหวอดอยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานนับสิบปี เขาเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของ “บัญชา องค์โฆษิต” มหาเศรษฐีหมื่นล้าน ผู้บุกเบิกก่อตั้งบริษัท เคซีอี อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของประเทศไทย ภายใต้เครื่องหมายการค้า “KCE” ซึ่งถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญขั้นพื้นฐานในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคม เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ปัจจุบันบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) มีบริษัทย่อยและสำนักงานขายในยุโรป อเมริกา และสิงคโปร์ ติดต่อกับลูกค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งพิธานถือเป็นกำลังหลักเข้ามาลุยงานให้ครอบครัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 หลังจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จาก University of California,

Read More

แมคโดนัลด์ปลุกเมนูญี่ปุ่น ส่ง KATSU89 จับเทรนด์ไอดอล

“แมคโดนัลด์” เปิดเกมรุกสมรภูมิเบอร์เกอร์ชนิดเหนือเมฆ หลังจากช่วงต้นปีงัดกลยุทธ์จัดทีม Guest Experience Leader หรือ “น้อง GEL” ในชุดสีชมพูหวานๆ ให้บริการมัดใจลูกค้า โดยล่าสุด ผู้บริหารแมคไทยประกาศจับมือกับค่ายเพลง LOVEiS ดึง 5 สาวจากวง “Sweat16!” ส่งเกิร์ลกรุ๊ปเฉพาะกิจ “KATSU89” เข้ามาปลุกตลาดสร้างกระแสเมนูใหม่สไตล์ญี่ปุ่น “คัตซึชีสเบอร์เกอร์” เตรียมทุ่มงบอัดทั้งอีเวนต์และโปรโมชั่นตลอดช่วง 1 เดือนข้างหน้า แน่นอนว่า แม้ฝ่ายผู้นำตลาดอาจไม่ได้ตั้งใจตอบโต้คู่แข่ง โดยเฉพาะ MOS BURGER เบอร์เกอร์สายพันธุ์ญี่ปุ่นที่เพิ่งประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ดึงนักธุรกิจไทยทุนหนาอย่าง “พิธาน องค์โฆษิต” เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งด้านกลยุทธ์การตลาด พร้อมๆ กับแผนลุยขยายสาขาทั่วเมืองในเวลารวดเร็วขึ้น แต่ความเคลื่อนไหวของแมคโดนัลด์และมอสเบอร์เกอร์ กำลังเป็น 2 ผู้เล่นที่ปลุกการแข่งขันในสงครามเบอร์เกอร์อย่างน่าตื่นเต้นและดุเดือด จนต้องติดตามว่า ผู้เล่นอีกรายอย่าง “เบอร์เกอร์คิง” จะงัดกลยุทธ์อะไรตามมา สนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด เปิดเผยว่า

Read More

มอสเบอร์เกอร์เพิ่มทุนใหญ่ เปิดศึกเขย่า “แมค-ไมเนอร์”

การประกาศเปิดทางให้นักธุรกิจไทย “พิธาน องค์โฆษิต” ซีอีโอบริษัท เคซีอี อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นใหญ่ “มอสเบอร์เกอร์” น่าจะเป็นการส่งสัญญาณถึงการเปิดเกมบุกครั้งใหญ่ที่มีสีสันจัดจ้านมากขึ้น หลังจากใช้เวลาเจาะตลาดไทยนานกว่าสิบปี แต่ขยายสาขาได้เพียง 8 แห่งและยังเจอสมรภูมิคู่แข่งรายใหญ่จนทำให้เบอร์เกอร์สายพันธุ์ญี่ปุ่นเจ้านี้ต้องจำกัดตัวเองอยู่เฉพาะตลาดนิชมาร์เก็ต มีส่วนแบ่งไม่ถึง 1% ขณะเดียวกันตลาดเบอร์เกอร์มีมูลค่าเม็ดเงินนับหมื่นล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% แต่มีผู้เล่นเพียงไม่กี่รายและเป็นรายใหญ่ที่ยึดครองตลาดมาอย่างยาวนาน เช่น แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง ไม่รวมกลุ่มฟาสต์ฟู้ดไก่ทอดไก่ย่างที่ขอแจมตลาดเบอร์เกอร์ด้วย เช่น เคเอฟซี เท็กซัสชิคเก้น และเชสเตอร์กริลล์ ส่วน “คาร์ล จูเนียร์ (Carl’s Jr)” ของกลุ่ม CKE Restaurants, Inc จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งความจริงเข้ามาบุกสมรภูมิไทยตั้งแต่ปี 2555 ในฐานะเบอร์เกอร์สไตล์สุขภาพระดับพรีเมียม มีเมนูเอกลักษณ์อยู่ที่แฮมเบอร์เกอร์แบบที่อัดแน่นด้วยเนื้อ ผัก และซอสสูตรต่างๆ เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน นิวซีแลนด์ แต่เมื่อเจอรูปแบบการแข่งขันในไทยกลับไม่สามารถเติบโตตามเป้าหมายและเลือกประคองตัวเจาะตลาดนิชมาร์เก็ต

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More