Home > การบริหารจัดการน้ำ

กมธ.แก้จนฯ จับมือสกสว.แก้ปัญหาน้ำชุมชน ใช้นวัตกรรมสังคมเพิ่มผลผลิตที่กำแพงเพชร

รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และคณะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับนายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดินทำกินของเกษตรกร ณ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นคณะทั้งหมดได้ไปศึกษาดูงานและรับทราบสรุปผลงานโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตโครงการชลประทานท่อทองแดง ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งคบ.ท่อทองแดงเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีเป้าหมายในการลดการใช้น้ำในภาคเกษตร โดยจัดทำงานวิจัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ รองรับภาวการณ์ลดกำลังคนของเจ้าหน้าที่รัฐ และสร้างความมั่นใจจากเกษตรกรต่อโครงการ โดยสร้างกลไกการสื่อสารระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่โครงการซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมาก สิ่งสำคัญคือ ต้องรักษาธรรมาภิบาลการใช้น้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่อย่างเหมาะสม ผู้นำชุมชนและผู้นำเกษตรกรเข้าใจว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่อย่างไร ในฤดูแล้งสามารถประเมินได้ว่าเมื่อมีน้ำต้นทุนและน้ำในเขื่อนมีน้อย สามารถรู้ทันสถานการณ์น้ำถึงวิกฤตในพื้นที่ล่วงหน้าและมีข้อมูลประกอบการขอโควตาน้ำจากกรมชลประทาน ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลซึ่งเป็นพื้นที่กลางน้ำ โดยมีประตูเปิดปิดผลักดันน้ำเข้านิคมและผันน้ำไปช่วยเกษตรกรในหมู่ต่าง ๆ รวมทั้งสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ดอนที่ไม่สามารถรับน้ำจากคบ.ท่อทองแดงและคบ.วังบัวได้ โดยขุดคลองให้น้ำไหลผ่านและติดตั้งโรงสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ช่วย ในอนาคตจะมีโครงการรับมือภัยแล้งเพิ่มโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่า 80 ไร่ ทำเป็นแก้มลิงรับน้ำล่วงหน้าในปลายฤดูฝน ซึ่งชาวบ้านจะของบประมาณทำโครงการดังกล่าว พร้อมขอทำประตูน้ำเพื่อยกระดับน้ำดันขึ้นคลองซอยด้านบนซึ่งเป็นพื้นที่ดอน ขณะที่การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ อบต.หนองไม้กอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นส่วนท้ายน้ำ

Read More

แล้ง-ล่ม-ท่วม ซ้ำซาก ความล้มเหลวของการจัดการ “น้ำ”

ภาพแห่งความพลิกผันระหว่างการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภัยแล้งและการเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งภาพแห่งความตัดกันของสถานการณ์ที่สะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้ดีไม่น้อยเลย ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักก็คือ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ด้วยแนวคิดของนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ความขาดไร้ซึ่งเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมถึงการขาดข้อมูลในการวางแผน การตัดสินใจสั่งการ ขาดกฎหมาย แผนแม่บท และองค์กรที่กํากับดูแลในภาพรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทําให้สังคมไทยไม่สามารถบริหารจัดการทั้งก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินมาอย่างซ้ำซาก ประหนึ่งว่าสังคมไทยแห่งนี้ขาดองค์ความรู้ในการเรียนรู้และเก็บรับบทเรียนเพื่อการพัฒนาไปโดยปริยาย ความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 หรือกว่าสองปีล่วงมาแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ ควบคู่กับการปรับปรุง ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านทรัพยากรน้ำ การพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ และการจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามและประเมินผล การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล แต่นั่นก็ดูจะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของกลไกราชการที่ยังไม่มีสิ่งใดให้ได้จับต้องเป็นชิ้นเป็นอัน นอกเหนือจากการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่มีอยู่เดิมมารวมกันไว้ในที่แห่งเดียวกัน การเกิดมีขึ้นของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

Read More