Home > น้ำท่วม

น้ำท่วมปี’64 จมนาข้าวนับล้านไร่ เสี่ยงหนี้ครัวเรือนภูมิภาคสูงขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ทั้งผลพวงจากร่องความกดอากาศต่ำที่เกิดจากพายุโกเซิน พายุเตี้ยนหมู่ ก่อให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดของประเทศไทย แม้บางพื้นที่สถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็ตาม แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังต้องรับมือกับมวลน้ำในครั้งนี้ แม้ว่าปริมาณน้ำจะยังไม่เท่ามหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกก่อให้เกิดพายุขึ้นอีกหลายลูก แม้ว่าความรุนแรงของพายุเหล่านั้นจะลดลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรงแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลนั้นทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ หากจะมองในแง่มุมของภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครสามารถกำหนดหรือหยุดยั้งได้ ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเรือกสวนไร่นาที่เพียงรอเวลาเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คงเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับความสูญเสียครั้งนี้ เพราะสำหรับบางครอบครัวนั่นอาจหมายถึงรายได้หลักที่เกษตรกรรอคอยมาทั้งปี สถานการณ์ความยากลำบากที่เกิดจากมหันตภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 สร้างบาดแผลให้แก่ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ แต่เหล่าเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำตอนนี้คงคล้ายกับถูกโชคชะตากระหน่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายหนักกว่าอีกหลายเท่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีประมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความเสียหายแบ่งเป็นพืชเกษตร 6,349.51 ล้านบาท สิ่งสาธารณะ 4,972.20 ล้านบาท การค้า 1,316.10 ล้านบาท บ้านเรือน 1,320.30 ล้านบาท ปศุสัตว์ 753.90 ล้านบาท และอื่นๆ อีก 324 ล้านบาท ขณะที่นาข้าวจมน้ำไปกว่า 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบประมาณ 3 ล้านคน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปต่างรอคอยให้ภาครัฐออกมาตรการผ่อนปรน โดยหวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เช่น

Read More

นักวิจัยแนะระบบการจัดการน้ำท่วมของรัฐ ควบคู่กับการวิจัยตามหลักวิศวกรรมศาสตร์

รศ. ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนักวิจัยสังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์ฝนในปีนี้ของประเทศไทยว่ามีฝนตกเร็วในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นสภาพฝนลดลงและฝนมาตกมากอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำภายใต้ดีเปรสชั่นโกเชิน ตามด้วยดีเปรสชั่นเตี้ยนหมูในช่วงปลายเดือนกันยายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรวดเร็วเฉพาะพื้นที่ เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อ่างทอง สระบุรี อยุธยา และขึ้นเหนือด้วยอิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้ไปยังพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ทำให้เกิดฝนตกหนักและภาวะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ต่ำ ริมน้ำและนอกคัน โดยภาวะน้ำท่วมยังดำรงอยู่อีกระยะหนึ่ง จากน้ำท่าที่ตกด้านเหนือน้ำที่จะไหลลงมาสมทบอีก สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ตามโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำปรกติ ประกอบด้วย โครงสร้าง กฎกติกาการจัดการ รวมถึงการเตือนภัย การเผชิญภัยเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและลดความเสียหาย และการพัฒนาความสามารถในการรับมือ ซึ่งที่ผ่านมามักเน้นพัฒนาโครงสร้างเพื่อบรรเทาภาวะน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลายาวนานกว่าโครงการก่อสร้างจะสามารดำเนินการสร้างได้เสร็จ ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำของไทยในช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงขึ้นมาก โดยก่อนมหาอุทกภัย 2554 มีการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่และเฉพาะหน้าจากประสบการณ์ที่มีอยู่

Read More

ปตท. ส่งหน่วยปฏิบัติการ PTT Group SEALs ลุยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ปตท. ส่งหน่วยปฏิบัติการ PTT Group SEALs ใช้ประสบการณ์ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 ลุยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เตรียมถุงยังชีพ 10,000 ถุง พร้อมช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทันที นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง กลุ่ม ปตท. จึงมอบหมายให้ทีมปฏิบัติการชมรม “PTT Group SEALs กลุ่ม ปตท.” ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประภัยน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล และ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีระดับน้ำท่วมสูง จากการไหล่บ่าของมวลน้ำเหนือลงมายังแม่น้ำป่าสัก กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ รถกู้ภัย เทรลเลอร์บรรทุกเรือ เรือติดเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นอื่น ๆ ให้แก่ทีมปฏิบัติการชมรม “PTT Group SEALs” ที่ได้เข้าปฏิบัติภารกิจในการลงพื้นที่มาตั้งแต่วันที่ 29

Read More

โควิดทำเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก อุทกภัยซ้ำเติม

โควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไทยหากนับเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านล้านบาท โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตัวแปรสำคัญที่ฉุดให้สถานการณ์โดยรวมทรุดหนักลง และนำมาสู่การล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มรวม 29 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่สภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี 2564 ว่ามีมูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของไตรมาสแรกปี 2563 หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้วพุ่งสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบความสามารถในการจับจ่ายลดน้อยลง ด้านค้าปลีกสาหัสไม่แพ้กัน เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 16.4 เป็นการลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมเกิดจากทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ และความถี่ในการจับจ่ายลดลงพร้อมกันทั้งคู่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 270,000 ล้านบาท และมีกิจการกว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน เป็นภาพสะท้อนว่าการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมอาจต้องใช้เวลา ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะร้านขายของที่ระลึก ธุรกิจสปา นวดแผนไทย สถานบันเทิง และธุรกิจโรงแรม ที่มีการปิดกิจการถาวรมากที่สุด โดยเฉพาะการระบาดในระลอก

Read More

แล้ง-ล่ม-ท่วม ซ้ำซาก ความล้มเหลวของการจัดการ “น้ำ”

ภาพแห่งความพลิกผันระหว่างการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภัยแล้งและการเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งภาพแห่งความตัดกันของสถานการณ์ที่สะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้ดีไม่น้อยเลย ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักก็คือ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ด้วยแนวคิดของนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ความขาดไร้ซึ่งเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมถึงการขาดข้อมูลในการวางแผน การตัดสินใจสั่งการ ขาดกฎหมาย แผนแม่บท และองค์กรที่กํากับดูแลในภาพรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทําให้สังคมไทยไม่สามารถบริหารจัดการทั้งก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินมาอย่างซ้ำซาก ประหนึ่งว่าสังคมไทยแห่งนี้ขาดองค์ความรู้ในการเรียนรู้และเก็บรับบทเรียนเพื่อการพัฒนาไปโดยปริยาย ความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 หรือกว่าสองปีล่วงมาแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ ควบคู่กับการปรับปรุง ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านทรัพยากรน้ำ การพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ และการจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามและประเมินผล การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล แต่นั่นก็ดูจะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของกลไกราชการที่ยังไม่มีสิ่งใดให้ได้จับต้องเป็นชิ้นเป็นอัน นอกเหนือจากการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่มีอยู่เดิมมารวมกันไว้ในที่แห่งเดียวกัน การเกิดมีขึ้นของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

Read More