Home > Aged Society

Aged Society เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

เมื่อไม่นานมานี้ “มิวเซียมสยาม” ได้จัดการประชุม Museum Forum 2021 ภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจอย่าง “มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย Far-sighted Museum: Sighting forward to Aging Society” เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย ความจริงแล้วไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10.4% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึง ณ ปัจจุบัน ปี 2564 ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรผู้สูงวัยในสัดส่วน 20% จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2578 อาจจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 30% องค์การสหประชาชาติแบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ

Read More

เดือนแห่งการเกษียณ อนาคตของผู้สูงอายุไทย

เมื่อถึงเดือนกันยายนของแต่ละปี ดูเหมือนว่าบรรยากาศการทำงานของหน่วยงานและองค์กรจำนวนไม่น้อยจะดำเนินไปด้วยท่วงทำนองที่เร่งเร้า ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณที่คงค้าง หากยังต้องเร่งจัดวางและเตรียมแผนงานสำหรับการเสนอของบประมาณรอบใหม่ ขณะที่การเปลี่ยนผ่านและพ้นไปของบุคลากรที่กำลังจะเกษียณอายุในวัย 60 ปี ก็ดูจะทำให้บรรยากาศของแต่ละหน่วยงานระคนไปด้วยความรื่นเริงและเศร้าโศกไปพร้อมกัน การเปลี่ยนผ่านของบุคลากรเข้าสู่วัยเกษียณ เป็นประเด็นที่สร้างความกังวลใจต่อสังคมไทยไม่น้อย เพราะกรณีดังกล่าวส่งผลต่อระบบกลไกทางสังคมที่เคยปลูกสร้างขึ้นจากฐานประชากรแบบพีระมิด และอาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอดีต แต่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินอยู่นี้กำลังท้าทายรูปแบบการบริหารจัดการและมาตรการทางสังคมใหม่ๆ ซึ่งกลไกภาครัฐที่เล็งผลในระยะสั้นและระยะยาว ได้นำเสนอสู่สาธารณะควบคู่กับความพยายามในการปฏิรูประบบและกฎระเบียบทางราชการเพื่อรองรับกับกรณีดังกล่าวด้วย ข้อมูลจากกรมอนามัยระบุว่าปัจจุบันผู้สูงอายุไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึงร้อยละ 17.52 ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปีประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aged Society) โดยสมบูรณ์ หรือมีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ในระดับร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีจำนวน 4.6 ล้านคน หรือร้อยละ 42.9 ของประชากรสูงอายุทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 5.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2564 การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมโดยรวม เพราะจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า

Read More

ผู้สูงอายุไทย บางสิ่งที่จุดเดิม

ความเป็นไปของวันผู้สูงอายุไทย ที่แอบซ่อนแฝงนัยอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ดูเหมือนจะผ่านเลยไปดั่งน้ำที่สาดรดเปียกปอนแปดเปื้อนแบบที่เคยเป็นมาในแต่ละรอบปี หากแต่ในปีนี้ สีสันของผู้สูงอายุไทยได้รับการปรุงแต่งให้เคลื่อนผ่านกระแสสูง และนำพาความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยเลย การปรากฏตัวขึ้นของวงดนตรี BENNETTY กลุ่มคนดนตรีในวัยสูงอายุ ที่มาพร้อมกับมิวสิกวิดิโอเพลง “จุดเดิม” กระชากความสนใจของชุมชนบนโลกออนไลน์และสังคมโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางและส่งผ่านให้มีการแชร์เรื่องราวของผู้สูงอายุกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูจะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการตลาดของทีมงานที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังได้เป็นอย่างดี ความพยายามที่จะส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มผู้สูงอายุได้แสดงออกซึ่งศักยภาพที่แฝงอยู่ สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี 2560 ที่ผ่านมากลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปในสังคมไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.7 หรือมากถึงกว่า 11.3 ล้านคน และภายใน 3-5 ปีจากนี้สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงาน World Population Ageing ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ยังระบุว่าหลังจากปี 2552 ประชากรไทยที่อยู่ในวัยพึ่งพิง (เด็กและผู้สูงอายุ) จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560

Read More