Home > การจัดการน้ำ

นักวิจัยแนะระบบการจัดการน้ำท่วมของรัฐ ควบคู่กับการวิจัยตามหลักวิศวกรรมศาสตร์

รศ. ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนักวิจัยสังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์ฝนในปีนี้ของประเทศไทยว่ามีฝนตกเร็วในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นสภาพฝนลดลงและฝนมาตกมากอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำภายใต้ดีเปรสชั่นโกเชิน ตามด้วยดีเปรสชั่นเตี้ยนหมูในช่วงปลายเดือนกันยายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรวดเร็วเฉพาะพื้นที่ เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อ่างทอง สระบุรี อยุธยา และขึ้นเหนือด้วยอิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้ไปยังพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ทำให้เกิดฝนตกหนักและภาวะน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ต่ำ ริมน้ำและนอกคัน โดยภาวะน้ำท่วมยังดำรงอยู่อีกระยะหนึ่ง จากน้ำท่าที่ตกด้านเหนือน้ำที่จะไหลลงมาสมทบอีก สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ตามโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำปรกติ ประกอบด้วย โครงสร้าง กฎกติกาการจัดการ รวมถึงการเตือนภัย การเผชิญภัยเพื่อลดความสูญเสียชีวิตและลดความเสียหาย และการพัฒนาความสามารถในการรับมือ ซึ่งที่ผ่านมามักเน้นพัฒนาโครงสร้างเพื่อบรรเทาภาวะน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลายาวนานกว่าโครงการก่อสร้างจะสามารดำเนินการสร้างได้เสร็จ ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำของไทยในช่วงที่ผ่านมามีการปรับปรุงขึ้นมาก โดยก่อนมหาอุทกภัย 2554 มีการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่และเฉพาะหน้าจากประสบการณ์ที่มีอยู่

Read More

แล้ง-ล่ม-ท่วม ซ้ำซาก ความล้มเหลวของการจัดการ “น้ำ”

ภาพแห่งความพลิกผันระหว่างการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภัยแล้งและการเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อบรรเทาสาธารณภัยจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งภาพแห่งความตัดกันของสถานการณ์ที่สะท้อนความสามารถในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยได้ดีไม่น้อยเลย ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักก็คือ น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และชุมชนในลุ่มน้ำ ควรต้องร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมกับกาลปัจจุบัน ด้วยแนวคิดของนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้โดยอาศัยข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา ความขาดไร้ซึ่งเอกภาพในการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมถึงการขาดข้อมูลในการวางแผน การตัดสินใจสั่งการ ขาดกฎหมาย แผนแม่บท และองค์กรที่กํากับดูแลในภาพรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทําให้สังคมไทยไม่สามารถบริหารจัดการทั้งก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินมาอย่างซ้ำซาก ประหนึ่งว่าสังคมไทยแห่งนี้ขาดองค์ความรู้ในการเรียนรู้และเก็บรับบทเรียนเพื่อการพัฒนาไปโดยปริยาย ความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 หรือกว่าสองปีล่วงมาแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมดุล เป็นธรรม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ ควบคู่กับการปรับปรุง ทบทวน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านทรัพยากรน้ำ การพัฒนาองค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทุกระดับ และการจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การติดตามและประเมินผล การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล แต่นั่นก็ดูจะเป็นเพียงกระบวนการเริ่มต้นของกลไกราชการที่ยังไม่มีสิ่งใดให้ได้จับต้องเป็นชิ้นเป็นอัน นอกเหนือจากการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วยงานที่มีอยู่เดิมมารวมกันไว้ในที่แห่งเดียวกัน การเกิดมีขึ้นของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

Read More