Home > ปัญหาขยะ

“ขยะติดเกาะ” พาไปรู้จักอีกมุมของเกาะยาวใหญ่ กับย่างก้าวสู่ความสำเร็จในการเดินหน้าจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาขยะในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบในวงกว้างและต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทำให้เราได้เห็นความพยายามในการร่วมมือกันจัดการขยะอย่างยั่งยืนเกิดขึ้น ซึ่งการจัดการขยะในแต่ละพื้นที่ก็มีบริบทและความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับ “ขยะติดเกาะ” นั้นดูจะมีความท้าทายเป็นพิเศษ ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ ล้อมรอบด้วยน้ำ มีพื้นที่จำกัด การขนส่งสู่แผ่นดินใหญ่มีความท้าทาย จึงต้องการมาตรการที่แตกต่างออกไปในการจัดการปัญหาขยะ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางข้อจำกัดที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น “เกาะยาวใหญ่” จังหวัดพังงา กลับกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่ต้นแบบของการจัดการขยะในชุมชนบนเกาะและยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะต่อไป “เกาะยาวใหญ่” ตั้งอยู่กลางทะเลอันดามัน ซึ่งแม้จะเป็นที่รู้จักในฐานะเกาะที่มีภูมิทัศน์สวยงาม ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยให้เข้ามาเยี่ยมชม กอปรกับชุมชนเกาะยาวใหญ่ยังคงวิถีชีวิตเรียบง่ายที่เชื่อมโยงธรรมชาติอย่างยั่งยืน แต่เกาะยาวใหญ่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาขยะและการจัดการขยะในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ย้อนดูสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่เมื่อปี 2561 มีอัตราเฉลี่ยปริมาณขยะถึง 3,000 กิโลกรัมต่อวัน ที่ผ่านมาชุมชนกำจัด “ขยะติดเกาะ” ด้วยการเผาและฝังกลบ ทำให้เกิดผลกระทบจาก ขยะตกค้างในพื้นที่สาธารณะ มลพิษทางกลิ่นและสารพิษจากการเผาขยะ ด้วยเหตุนี้มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จึงได้ร่วมมือกันภายใต้โครงการ การจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย: ปฏิบัติการภาคประชาชนสู่การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะเชิงบูรณาการบนเกาะยาวใหญ่ ที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนตำบลเกาะยาวใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการเสริมสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมระดับบุคคล อันผลักดันไปสู่การจัดทำนโยบายการจัดการขยะติดเกาะ โดยจะมีการขยายผลการดำเนินงานแบบบูรณาการในชุมชนใกล้เคียง ทั้งสองชุมชนคือ

Read More

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ: From Waste to Energy ทางออกของปัญหาขยะล้นเมือง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย และสัตว์น้อยใหญ่ที่ต้องจบชีวิตจากเศษซากพลาสติกอันเป็นผลผลิตจากมนุษย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากปัญหาขยะล้นเมืองแทบทั้งสิ้น “ขยะ” ยังคงเป็นปัญหาสากลที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงประเทศไทยเอง ที่ดีกรีความเข้มข้นของปัญหาดูยังไม่ลดน้อยถอยลงไปเลย และยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตร่วมโลก ปริมาณขยะนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเกิดการขยายตัว วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เกิดการบริโภคที่มากขึ้น รวมถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 1.64 แต่มีปริมาณขยะมากถึง 10 ล้านตันที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี การสร้างความตระหนักรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลาสติก ตลอดจนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่สังคมกำลังตื่นตัวและรณรงค์กันอยู่ในตอนนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ตรงจุดและยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการจัดการขยะที่เหมาะสม ทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนและขยะจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีวิธีการกำจัดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เดิมทีมีการใช้วิธีการเผาและเทกองเพื่อฝังกลบ (Landfill) ในการจัดการขยะ แต่วิธีดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบและปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งควันและกลิ่นจากการเผาขยะ

Read More

ขยะพลาสติก จากน้ำมือมนุษย์สู่ท้องทะเล

ข่าวการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูน สัตว์ทะเลหายากที่หลับนิรันดร์ ปลุกคนไทยให้ได้ตื่นรู้ขึ้นอีกครั้ง และที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้น เมื่อ “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล” เสียชีวิตลงเพราะสาเหตุมาจากการกินชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งคงไม่ต้องหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของสัตว์ทะเลครั้งนี้ ถ้าไม่ใช่น้ำมือมนุษย์ ปริมาณขยะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่มีปริมาณขยะพลาสติกปล่อยลงสู่ทะเล ปริมาณขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันที่มาจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย จากรายงานขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่อาจต้องจบชีวิตลงก่อนเวลาอันสมควรเท่านั้น ทว่ามนุษย์ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีโอกาสที่จะได้รับผลของการขาดจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมนี้จากการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษจากขยะที่ลงสู่ทะเล เมื่อขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเลและถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด พลาสติกจะแตกตัวออกมาเป็นไมโครพลาสติกและปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเล วงจรชีวิตของสัตว์ทะเลคือ กินแพลงก์ตอนที่อาจจะกินไมโครพลาสติกเข้าไป ท้ายที่สุดมนุษย์ที่อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารก็ไม่อาจหลีกหนีวงจรนี้พ้น ผลกระทบของปริมาณขยะทั้งบนบกและขยะที่ลงสู่ทะเลไม่เพียงแต่มีผลต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤตจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การกีดกันทางการค้าและการปรับอัตราภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกทำให้สินค้าของไทยได้รับผลกระทบไม่น้อย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องมองหาตลาดใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขยะยังสร้างผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทย เพราะหากสัตว์ทะเลที่เป็นสินค้าส่งออกได้รับสารพิษจากการย่อยสลายพลาสติกและมีการปนเปื้อนสูงอาจมีผลให้นานาชาติพิจารณาว่าสินค้าไทยไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 นั่นคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 29,388 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีปริมาณ 432,643

Read More

ไทยแลนด์แดนขยะ 4.0 การจัดการที่พร่องสำนึก?!

เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนรักสัตว์ รักทะเล ไม่น้อย เมื่อวาฬนำร่องคลีบสั้นที่เกยตื้นบริเวณคลองนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา เสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าสลดก่อนวันทะเลโลก (8 มิ.ย.) เพียงไม่กี่วัน การชันสูตรจากสัตวแพทย์ทำให้สังคมทั้งในไทยและต่างชาติประจักษ์ชัดถึงหลักฐานสำคัญที่ฉายภาพพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” ได้ละเลย เพิกเฉย และขาดการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำอันปราศจากจิตสำนึกที่ดี ที่ควรต้องมีต่อสังคมส่วนรวมมากแค่ไหน ถุงพลาสติกที่อยู่ในกระเพาะของวาฬตัวดังกล่าวที่มีมากถึง 80 ใบ และมีน้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม คือคำตอบต่อเรื่องการจัดการปัญหาขยะของสังคมไทย ที่นับวันจะทวีความรุนแรงของปัญหานี้มากขึ้น แม้ว่าสาเหตุหนึ่งจะมาจากการที่ขยะพลาสติกไม่ได้ถูกกำจัดและได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดคือ “ความมักง่าย” ของผู้คนในสังคม ผู้ล่าที่อยู่ในอันดับสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร แน่นอนว่าวาฬนำร่องตัวนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในทะเลตัวแรกที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เคยเปิดเผยรายงานว่า มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 คือ 1. กลุ่มเต่าทะเล 669 ตัว แบ่งเป็น เกยตื้น (มีชีวิต) 334 ตัว ซากเกยตื้น 335 ตัว

Read More

โรงไฟฟ้าขยะ-วินัยคนไทย แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

“อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” ข้อความรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้คนไทยทิ้งขยะให้ถูกที่เพื่อลดปัญหาขยะเกลื่อนเมือง แม้ข้อความดังกล่าวจะถูกสร้างสรรค์เมื่อหลายสิบปีก่อน กระนั้นก็ยังพบว่าปัญหาขยะในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่หลายคนให้การยอมรับทั้งด้านความเจริญก้าวหน้าที่ดูจะรุดหน้าไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญด้านวัตถุ กระนั้นความเจริญดังกล่าวดูจะสวนทางกันกับความเจริญด้านจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และดูเหมือนว่าปัญหาที่เติบโตจนเกือบจะคู่ขนานกับความเจริญด้านวัตถุเทคโนโลยี คือปัญหาขยะ ที่ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง รายงานจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามรายงานที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 1,920,294.96 ตัน หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10,551.07 ตันต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวอาจจะค้านสายตาผู้คนทั่วไป หากมองเพียงตามถนนหนทางที่ต้องยอมรับว่าน่ามองขึ้น ในที่นี้หมายถึงสะอาดตากว่าแต่ก่อน แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีวิธีกำจัดขยะทั้งรูปแบบของโรงเผาขยะ และการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ โดยปัจจุบัน กทม. มีสถานที่รองรับปริมาณขยะด้วยกัน 3 แห่ง 1. อ่อนนุช สามารถรองรับขยะได้ 4 พันตันต่อวัน ซึ่งนำไปฝังกลบถึง 3,400 ตัน และที่เหลือนำไปทำปุ๋ย 2. หนองแขม

Read More

ขยะ: ปัญหาที่รอการจัดการ

ทุกครั้งที่สังคมไทยดำเนินผ่านช่วงเวลาพิเศษไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตามประเพณีนิยม หรือแม้กระทั่งช่วงวันหยุดยาวที่ทำให้ผู้คนในสังคมไทยหลั่งไหลและสัญจรเดินทางไปในถิ่นต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวว่าด้วยสถิติจำนวนผู้ประสบภัยหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเป็นข่าวสารที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวของถนนหลวงเมืองไทยได้ดีไม่น้อย และทำให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยกันเป็นระยะประหนึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กันในทุกช่วงเทศกาลเลยทีเดียว นอกเหนือจากปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการสัญจรเดินทางในช่วงเทศกาลนี้แล้ว ดูเหมือนว่าประเด็นว่าด้วยความสะอาด ที่มีปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลตกค้างจำนวนมากจากเทศกาลต่างๆ ที่ทั้งรอคอยการจัดเก็บและจัดการจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาในระดับจิตสำนึกทั่วไป หากยังเป็นประเด็นที่ต้องการการถกแถลงในระดับชาติว่าจะดำเนินการหรือมีนโยบายอย่างไรด้วย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มาตรวัดว่าด้วยเรื่องขยะในแต่ละท้องที่ดูจะมีนัยความหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นในเขตพื้นที่ถนนข้าวสารที่ถือเป็นไฮไลต์ในการเล่นสงกรานต์ของ กทม. ที่มีปริมาณขยะลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณขยะมากถึง 73.5 ตันเหลือเพียง 34 ตัน ขณะที่ถนนสีลมมีปริมาณขยะลดลง 40.06 ตัน จากที่ปีที่ผ่านมามีขยะรวม 73.19 ตันเหลือเพียง 33.13 ตันในปีนี้ หากประเมินจากเพียงสองจุดที่ว่านี้ อาจให้ภาพที่ดูประหนึ่งสมือนว่าสถานการณ์ขยะในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีแนวโน้มดีขึ้น แต่หากประเมินจากมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงหรือบรรยากาศโดยรวมที่ค่อนข้างซบเซาจากปีก่อน ปริมาณขยะที่ว่านี้อาจสะท้อนภาพมุมกลับของภาวะเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดจิตสำนึกหรือความสามารถในการบริหารจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เพราะในขณะที่ข้าวสารและสีลมมีปริมาณขยะลดลง ข้อเท็จจริงอีกด้านกลับพบว่าปริมาณขยะที่ย่าน RCA ได้พุ่งทะยานขึ้นจากที่มีขยะ 34.1 ตันในปีที่ผ่านมา มาเป็น 120 ตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 85.9 ตัน ส่วนที่สยามสแควร์ ก็มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น 3.6 ตันจาก 4.8 ตันในปีที่ผ่านมา เป็น 8.4 ตันในปีนี้ ตัวเลขปริมาณขยะโดยรวมจึงไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หากแต่ในความเป็นจริงกลับมีปริมาณและตัวเลขเพิ่มขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรณีของขยะไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นปัญหาให้สังคมไทยบริหารจัดการเท่านั้น

Read More