Home > ธนาคาร

ทีทีบี อัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจ รับความท้าทายครึ่งปีหลัง

ทีทีบี อัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจให้ลูกค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง วางแผนขับเคลื่อนธุรกิจ รับความท้าทายครึ่งปีหลัง เพื่อสร้างโอกาสเติบโต ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรให้กับลูกค้าในการขับเคลื่อนธุรกิจ เดินสายจัดสัมมนาเสริมความรู้ ให้แก่กลุ่มลูกค้าธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก โดยอัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารความเสี่ยงจัดการธุรกรรมทางการเงิน พร้อมแนะมุมมองการตลาดที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก นางพาจนา รุจิเรข รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าบรรษัทธุรกิจทีเอ็มบีธนชาต พร้อมทีมผู้บริหารและวิทยากรจากทางธนาคาร ได้จัดงานสัมมนา “รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ และเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาส” ให้แก่ลูกค้าธุรกิจหลายจังหวัดทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้บริหารธนาคารได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองวิสัยทัศน์ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ดร. จิรเมธ มโนศิรินุกูล ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีธนชาต อัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจ ปี 2566 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเติบโตลดลงจากปีก่อน แต่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ดี คาดว่าในปี 2566 จะสามารถเติบโตขึ้นอีก 3.4% จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยว สำหรับปัจจัยเสี่ยงหลักต่อผู้ประกอบการในปีนี้ มาจากผลกระทบของภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจเร่งปรับกลยุทธ์การทำตลาดกลุ่มเฉพาะ (Niche Market) และมองหาตลาดที่จะสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ โดยคาดการณ์ตลาดที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทศวรรษนี้ ได้แก่ ตลาดส่งออกใหม่

Read More

วัดชีพจรธนาคารยูโอบี หลังซื้อกิจการลูกค้าบุคคลจากซิตี้กรุ๊ป

ปี 2564 มีข่าวออกมาว่า ซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) มีแผนจะออกจากธุรกิจลูกค้าบุคคล (Consumer Banking) ใน 13 ตลาด ทั้งในออสเตรเลีย บาห์เรน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย ไต้หวัน เวียดนาม รวมถึงประเทศไทย 14 มกราคม 2565 ซิตี้กรุ๊ปเคลื่อนไหวอีกครั้งด้วยการออกมาประกาศบรรลุดีลในการขายธุรกิจธนาคารกลุ่มลูกค้าบุคคล ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม ให้กับกลุ่มธนาคารยูโอบี (UOB) กลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งสิงคโปร์ ซึ่งดีลดังกล่าวรวมธุรกิจธนาคารลูกค้ารายย่อยและธุรกิจบัตรเครดิต แต่ไม่รวมธุรกิจลูกค้าสถาบันของธนาคาร โดยที่ดีลในการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะครอบคลุมพนักงานของซิตี้แบงก์ที่จะโอนไปยังธนาคารยูโอบีเมื่อเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการกว่า 5,000 คนอีกด้วย กระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 อีกหนึ่งดีลประวัติศาสตร์สัมฤทธิผลไปอีกขั้น เมื่อธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ออกมาประกาศว่ากลุ่มธนาคารยูโอบีได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและประเทศไทยเสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว

Read More

ยูโอบี มอบสินเชื่อ 1.37 พันล้านบาท แก่แอสเซทไวส์ พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรีแห่งล่าสุด

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มอบสินเชื่อ 1.37 พันล้านบาท ให้แก่ บริษัท แอสเซทไวส์ เพื่อพัฒนาโครงการ ดิ ออเนอร์ โยธินพัฒนา (The Honor Yothinpattana) โครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรีแห่งใหม่ล่าสุดในประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บนอยู่บนทำเลทองใกล้เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา โครงการมีมูลค่ารวม 4.2 พันล้านบาท และได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และส่งมอบคุณภาพชีวิติที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัยและชุมชนโดยรอบ นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยว่า “การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของยูโอบี ธนาคารได้ดำเนินธุรกิจกับแอสเซทไวส์มาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ แอสเซทไวส์ เพื่อพัฒนาคอนโดที่อยู่อาศัยรวม 11 โครงการ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์ในหลายๆ โครงการ ดิ ออเนอร์ โยธินพัฒนา (The Honor Yothinpattna) เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ แอสเซท ไวส์ และถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูโอบีในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” นายกรมเชษฐ์

Read More

กสิกรไทยรุกแสนล้าน พลิกโฉมดิจิทัลไปอีกขั้น ขยายโอกาสให้คนไทยใช้ธนาคารได้เต็มประสิทธิภาพ

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ประกาศโครงการเดินหน้าเชิงกลยุทธ์มูลค่า 1 แสนล้านบาท มุ่งขยายโอกาสการเข้าถึงบริการธนาคาร ให้กับคนไทยและคนที่มีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตัวเอง ที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการธนาคารหรืออาจจะเข้าถึงบริการของธนาคารแล้วแต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ประกอบไปด้วยการเร่งลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ การซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เชิงพาณิชย์ การยกระดับองค์กรไปอีกขั้น รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการธนาคารให้กับประชาชนในสังคมวงกว้างมากยิ่งขึ้น นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งสิ่งที่เรามุ่งหวังจากการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีคือการพลิกโฉมการธนาคารในประเทศไทยให้สามารถช่วยผู้คนให้เข้ามาอยู่ในระบบธนาคาร และให้ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของธนาคาร” “ทุกวันนี้ เราเป็นธนาคารที่มีจุดแข็งไม่เป็นรองใครอยู่แล้ว รวมทั้งมีความมั่นคง และเชื่อถือได้ และมีความสามารถในการตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มตามแบบฉบับของธนาคารในปัจจุบัน สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในตอนนี้ คือการหลอมรวมเอาดีเอ็นเอของชาเลนเจอร์แบงก์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว และเริ่มเข้ามาดิสรัปต์การเงินการธนาคารให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นธนาคารกสิกรไทยด้วย” นางสาวขัตติยากล่าว ชาเลนเจอร์แบงก์ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการธนาคารในระดับโลก ซึ่งท้าทายธนาคารแบบปัจจุบัน ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาทำให้ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของธนาคารได้มากขึ้น และในขณะเดียวกันชาเลนเจอร์แบงก์ยังดึงดูดลูกค้าของธนาคารในปัจจุบันให้มาใช้บริการชาเลนเจอร์แบงก์โดยกำจัดกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน มอบการให้บริการที่รวดเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่า และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ตลอดเวลา นางสาวขัตติยากล่าวว่า “ตอนนี้ ธนาคารกสิกรไทยกำลังมองตัวเองว่า เราเป็นธนาคารที่มีความเป็นชาเลนเจอร์แบงก์แห่งแรกของประเทศไทย ด้วยการนำเอาดีเอ็นเอของชาเลนเจอร์แบงก์เข้ามาผสานในการให้บริการของเรา เรามุ่งหวังที่จะเป็นธนาคารที่เกื้อหนุน ส่งพลังให้กับผู้คนให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินและคำแนะนำของธนาคารได้มากยิ่งขึ้น” “เราต้องการให้สินเชื่ออย่างกว้างขวางขึ้น โดยที่ผู้กู้ที่กล่าวถึงข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินมาค้ำประกัน และให้กู้โดยอยู่บนพื้นฐานการประเมินความสามารถและความตั้งใจที่จะชำระคืนเงินของผู้กู้ เราต้องการที่จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นสำหรับทุกคน ลูกค้าสามารถสมัครขอสินเชื่อได้จากที่บ้านหรือที่ทำงานของตัวเอง เราต้องการกำจัดขั้นตอนและงานเอกสารต่างๆ ทำให้ทุกอย่างเรียบง่ายและเร็วที่สุด” ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ / ประสานความร่วมมือ

Read More

โควิดบีบแบงก์แห่ปิดสาขา เมื่อออนไลน์แรงแซงทุกโค้ง

พิษโควิดยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อัปเดตล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2564 พบว่า จำนวนสาขาและจุดให้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ณ เดือนธันวาคม 2563 จาก 30 ค่ายแบงก์ มีสาขารวมทั้งหมด 6,167 แห่ง เทียบปี 2562 มีการปิดสาขาไป 341 แห่ง และหากเทียบกับปี 2561 เกือบทุกค่ายตัดสินใจปิดสาขาอย่างถาวรถึง 568 แห่ง หากพิจารณาข้อมูลแยกตามพื้นที่หลักๆ เริ่มจากกรุงเทพฯ เมื่อปี 2561 มีสาขาและจุดให้บริการรวม 2,007 แห่ง ปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 1,897 แห่ง และปิดปี 2563 อยู่ที่ 1,817 แห่ง ภาคกลาง ปี 2561 อยู่ที่ 2,170 แห่ง ปี 2562 อยู่ที่

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

ธปท. สั่งหั่นค่าธรรมเนียม ทำธนาคารรายได้-กำไรลด

ข่าวการเตรียมปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมครั้งใหญ่ด้วยการออกประกาศแนวปฏิบัติ การคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงินทั้งระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้แนวความคิดที่ว่าเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินใช้ในการกำหนดค่าธรรมเนียมอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค กำลังส่งผลสั่นคลอนรายได้และกำไรของธนาคารพาณิชย์อย่างยากปฏิเสธ ภายใต้แนวปฏิบัติของ ธปท. ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะครอบคลุมค่าธรรมเนียมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินทุกประเภทรวมกว่า 200-300 ประเภท ในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ตลอดจนลูกค้ารายย่อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้สั่งให้สถาบันการเงินปรับลดค่าธรรมเนียมไปแล้ว 3-4 รายการ ซึ่งถือเป็นการนำร่องก่อนการประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมทั้งระบบของ ธปท. การประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมของ ธปท. ครั้งใหม่นี้ แม้จะสร้างความเป็นธรรมให้กับลูกค้าและสร้างมาตรฐานให้กับสถาบันการเงินทั้งระบบ หากในอีกทางหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคาร ซึ่งการให้ธนาคารปรับลดค่าธรรมเนียมไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งการนำร่องก่อนที่จะนำไปสู่การครอบคลุมทุกประเภท ซึ่งน่าจะมีส่วนกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือรายได้ของธนาคาร แต่จะเป็นไปในระดับใด ยังเป็นกรณีที่ต้องประเมินข้อมูลอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้เรียกขอข้อมูลต้นทุนค่าธรรมเนียมแต่ละบริการของธนาคาร เพื่อพิจารณาว่าค่าธรรมเนียมแต่ละรายการดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล สอดรับกับทั้งระบบหรือไม่ เพื่อใช้กำหนดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับต้นทุนมากขึ้น ซึ่งในมุมมองของนายธนาคารหลายแห่งเชื่อว่าการเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคารในปัจจุบัน ถือว่าสมเหตุสมผลอยู่แล้ว เพราะหากธนาคารแห่งใดเก็บค่าธรรมเนียมเกินควร ไม่สอดคล้องกับต้นทุนก็จะต้องเผชิญกับกลไกตลาด ที่มีการแข่งขันเรื่องค่าธรรมเนียมซึ่งส่งผลให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของแต่ละธนาคารมีแนวโน้มปรับลดลงอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตัวเลขค่าธรรมเนียมของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 29 หรือประมาณ 1.91

Read More

ธนาคารดูแลลูกค้าได้ดีเพียงใด?

Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate เผยผลวิจัย Banking Benchmark ล่าสุด เน้นความสำคัญของการประเมินประสบการณ์ลูกค้าธนาคารในทุกๆ Touchpoints เช่นเดียวกับทุกธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงสู่ธนาคารสมัยใหม่ในแทบทุกด้าน ส่งผลให้บรรดาธนาคารต่างๆ ในประเทศไทยต้องลงทุนในด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกขั้นตอนของการใช้บริการธนาคาร เริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการชำระเงิน เปลี่ยนบทบาทของธนาคาร และวิธีสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับธนาคาร ซึ่งความคาดหวังของลูกค้า ไม่ใช่แค่การแวะไปตามสาขาของธนาคารหรือใช้ตู้เอทีเอ็มเท่านั้น แต่รวมถึงการเชื่อมต่อธนาคารที่แต่ละคนใช้กับธนาคารออนไลน์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ ด้วยวิธีการเข้าถึงธนาคารที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องการเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และได้กลายมาเป็นการแข่งขันกันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สำหรับธนาคารแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ธนาคารเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนจากวิธีคิดแบบการให้บริการในเชิงธุรกรรม เป็นการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ส่วนธนาคารจะสามารถสร้างประสบการณ์เดียวกันในทุกช่องทางให้กับลูกค้าได้หรือไม่? Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate บริษัทด้านเทคโนโลยีข้อมูล ได้จัดทำงานวิจัยเพื่อติดตามธุรกิจธนาคารและประเมินประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งการประเมินประสบการณ์ลูกค้าในทั่วทุกภูมิภาคนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานของการดำเนินงานของธนาคารเกี่ยวกับประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์รายใหญ่และสำรวจ Touchpoints ทั้งหมดที่ลูกค้าใช้เพื่อสื่อสาร/ปฏิสัมพันธ์กับธนาคารของตน นายแกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) ในฐานะพันธมิตรของบัซซี่บีส์ กล่าวว่า "นี่เป็นงานวิจัยตัวแรกๆ ที่ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานธนาคารในประเทศไทย ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าใจระดับความพึงพอใจและประสบการณ์ของลูกค้าได้ ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นๆ ในประเทศไทยได้อีกด้วย สำหรับธนาคารแล้ว ความต้องการที่จะเข้าใจประสบการณ์ของลูกค้าในทุก Touchpoints มีความสำคัญมาก และเราสำรวจในทุกระดับของการปฏิสัมพันธ์

Read More