Home > โควิด (Page 3)

COVID-19: คนไทยเผชิญวิกฤต ภาวะเครียดแทรกซ้อนซ้ำเติม

สถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้ง และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อนนอกจากจะมีประเด็นว่าด้วยการควบคุมโรคและการทำงานหนักของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดยังอยู่ที่ความเครียด และการรับมือกับสภาพจิตใจของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้โดยเด็ดขาด วิกฤต COVID-19 นำไปสู่ความเครียดของคนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากความกังวลใจสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อหรือยัง หรือความเครียดจากการที่ค้าขายไม่ได้ นายจ้างลดการจ้างงาน เครียดเพราะเดินทางไม่ได้ รวมถึงการที่ครอบครัวมีลูกอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งและทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนมีความเครียดเพิ่มขึ้น และถูกทับถมให้หนักขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ในแต่ละระลอกให้หนักขึ้นไปอีก จากสถิตินับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาพบว่าแนวโน้มที่คนไทยมีความเครียดจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอัตราที่สูงมาก คำแนะนำสำคัญสำหรับคนที่เครียดจาก COVID-19 จึงอยู่ที่การรับฟังเพื่อพยายามหาว่าปัญหาคืออะไร และพิจารณาปัญหาที่สำคัญสุดที่เผชิญอยู่คืออะไรกันแน่ สิ่งต่อมาคือการประเมินว่าปัญหาที่แต่ละคนเผชิญอยู่เป็นปัญหาที่แก้ได้หรือไม่ได้ เช่น เรื่องหนี้สิน ก็ต้องประสานหาข้อมูลเพื่อบรรเทาผลกระทบ หากเป็นเรื่องทะเลาะกับคนในบ้านหลังจากต้องล็อกดาวน์ตัวเองกับคนในครอบครัว ทำให้มีปากเสียงกันบ่อย ก็ต้องระงับจิตใจให้ผ่อนคลายลง ส่วนปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้าจากผลของการที่บางคนได้รับรู้หรือประสบเจอเจอเหตุจากคนรู้จักเสียชีวิตจาก COVID-19 อาจต้องพิจารณาว่ามีแนวโน้มขอบเขตความเครียดอยู่ระดับไหน ถึงขั้นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งที่สังคมเจอวิกฤต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งมีคนก่อเหตุฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 25% จากปีก่อนหน้า และอัตรานี้จะคงอยู่ไป 3-4 ปี กว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ข้อสังเกตประการหนึ่งจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกครั้งนั้น จะเห็นได้ว่าแต่ละวิกฤตส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนจำนวนมาก

Read More

ตลาดสดยังอ่วมโควิด แม่ค้าออนไลน์จับมือสู้แอปดีลิเวอรี่

แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยอมผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้นั่งรับประทานได้ถึงเวลา 23.00 น. แต่ตัวเลขการแพร่ระบาดที่พุ่งสูงต่อเนื่อง ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการดีลิเวอรี่ เหล่าแม่ค้าออนไลน์จึงต้องพลิกกลยุทธ์อีกครั้ง โดยเฉพาะการแก้เกมแอปขนส่งที่เรียกเก็บค่าคอมหรือ “GP” สูงกว่า 30% ขณะเดียวกันตลาดสดหลายแห่งยังถือเป็นคลัสเตอร์เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อย่างในกรุงเทพฯ มีการสั่งปิดตลาดขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน ตลาดกลางดินแดง ตลาดบางกะปิ ตลาดคลองเตย ตลาดสามย่าน ตลาดสดหนองจอก ตลาดสายเนตร ตลาดศาลาน้ำร้อน ตลาดลำนกแขวก นอกจากนั้น จากการเฝ้าระวังตรวจเชิงรุกตลาดค้าส่งหลายแห่งช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 379 แห่ง มีตลาด 289 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 76 และไม่ผ่านเกณฑ์ 90 แห่ง หรือร้อยละ 24 แต่มีตลาดสดขนาดเล็กอีกจำนวนมากในชุมชนต่างๆ ซึ่งจัดพื้นที่ค้าขายเฉพาะช่วงเวลา เช่น เช้า หรือเย็น และเกือบทั้งหมดมีมาตรการควบคุมน้อยมาก อย่างน้อย 2-3 แห่งต่อเขต รวมแล้วมากกว่า

Read More

กลยุทธ์ “บาร์บีกอน” ล้มให้ไว ลุกให้เร็ว แก้เกมโควิด

“ล้มให้ไว ลุกให้เร็ว คือประโยคล่าสุดที่สร้าง Passion ในการเดินหน้าต่อช่วงโควิด-19…” บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น ยักษ์ใหญ่เครือข่ายร้านอาหารสไตล์ปิ้งย่าง “บาร์บีคิวพลาซ่า” กล่าวกับสื่อถึง Passion ที่ช่วยผลักดันธุรกิจร้านอาหารเดินหน้าต่อไป ล้มได้แต่ต้องลุกขึ้นเร็ว และเปลี่ยนแปลงเพื่อแข็งแกร่งกว่าเดิม แม้เจอผลกระทบหนักหน่วงจากสถานการณ์โควิด-19 ยาวนานเกือบ 2 ปีแล้ว โดยเฉพาะแผนกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบ ใส่สีสันสร้างความฮือฮาและกระตุ้นกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า ไม่มีใครลืมกิมมิกเด็ดๆ ของบาร์บีคิวพลาซ่า ที่งัดไอเดียให้เจ้าบาร์บีกอนมานั่งเป็นเพื่อนในวันแรกของการเปิดให้บริการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิดและต้องเว้นระยะห่าง 1 โต๊ะ 1 คน ปลุกกระแส Talk of The Town ในสังคมโซเชียล พร้อม #บาร์บีกอนจะเยียวยาทุกสิ่ง เล่นเอาผู้คนแห่เข้าร้านและจองซื้อเจ้าบาร์บีกอนล็อตใหญ่ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารรุนแรง ซึ่งฟู้ดแพชชั่นประเมินยอดลูกค้าเข้าใช้บริการร้านในเครือช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ทั้งร้านบาร์บีคิวพลาซ่า จุ่มแซบฮัท ฌานา โภชา เรดซัน

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง แม้จะเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้กลุ่มเป้าหมายบางส่วนแล้ว แต่การแพร่ระบาดฯ ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้ในเร็ววันนี้ ย่อมส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติในปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เห็นได้จากผลสำรวจ "สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้นมีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56% นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นน่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนในปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0 - 91.0% ต่อจีดีพี เรียกได้ว่าปัญหาสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Read More

ขนส่งสินค้าทางเรือวุ่นหนัก วิกฤตตู้ขาดแคลนดันค่าระวางขยับตัวสูง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานมามากกว่าหนึ่งปีครึ่ง กำลังเป็นปัจจัยกดทับให้ธุรกิจการขนส่งสินค้าทางเรือเผชิญกับความโกลาหลครั้งใหม่ หลังจากที่การหมุนเวียนของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าอยู่ในภาวะขาดแคลน ท่ามกลางความต้องการของผู้ผลิตสินค้าที่หวังจะส่งออกสินค้าไปยังตลาดและผู้บริโภคมากขึ้น จนทำให้ค่าขนส่งสินค้าทางเรือในหลายเส้นทางปรับตัวสูงขึ้น และทำสถิติใหม่ในรอบปีไปโดยปริยาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกรวมถึงผู้ผลิตสินค้าอย่างมาก ผู้ส่งออกสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัจจัยดังกล่าว หลังจากที่ราคาค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางเรือหลายเส้นทางได้ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี โดยสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในหลายท่าเรือที่มีการสัญจรหนาแน่น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวยังลามไปถึงห่วงโซ่การผลิตในหลายประเทศ และอาจกระทบกับภาพรวมของเศรษฐกิจโลกได้ ก่อนหน้านี้ การสำรวจภาพรวมของค่าส่งสินค้าทางเรือในช่วงที่ผ่านมา พบว่าราคาของค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ในเส้นทางระหว่างเซี่ยงไฮ้ของจีนถึงรอตเตอร์ดัมในยุโรป ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่อยู่ที่ 8,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตู้ จากราคาปกติซึ่งอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เส้นทางระหว่างเซี่ยงไฮ้-ลอสแองเจลิส ได้ทำราคาสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยปรับตัวไปอยู่ที่ประมาณ 4,200 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาปกติอยู่ที่เพียงไม่เกิน 2,700 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น หากแต่สถานการณ์ล่าสุดดูจะหนักหน่วงขึ้นไปอีก เมื่อราคาค่าขนส่งของตู้สินค้าขนาด 40 ฟุตจากเซี่ยงไฮ้ไปยังรอตเตอร์ดัมปรับตัวมีราคาสูงถึง 10,522 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตู้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 547 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ Drewry Shipping ซึ่งเป็นบริษัทด้านการวิจัยข้อมูลทางทะเลระดับโลก

Read More

ครึ่งปีเศรษฐกิจไทย กับโจทย์เฉพาะหน้าที่รัฐต้องเร่งแก้

การระบาดของเชื้อโควิดระลอก 3 ในไทย นับว่าเป็นการระบาดที่หนักกว่าสองรอบที่ผ่านมา ทั้งในด้านของจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมา 2 เดือน และยังไม่มีท่าทีที่จะลดจำนวนลง อีกทั้งยังเกิดขึ้นในหลายกลุ่มคลัสเตอร์และกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ผลของการแพร่ระบาดในระลอก 3 เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ติดลบ 2.6 เปอร์เซ็นต์ เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจน แม้ว่าจีดีพีไทยจะติดลบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์หลายด้านจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เศรษฐกิจบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับความหวังในเรื่องวัคซีนที่เริ่มเร่งการพัฒนา ผลิต และแจกจ่ายระดมฉีดกันในหลายประเทศ ทว่า ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจไทย การเงิน ด้านแรงงาน การลงทุน ที่ไทยประสบอยู่เดิมทำให้ไทยบอบช้ำง่ายขึ้นจากวิกฤตโควิดระลอก 3 หลายกิจการพยายามจะประคองตัวให้ผ่านพ้นห้วงเวลาอันเลวร้ายนี้ ภายใต้ข้อจำกัดหลายด้านที่เป็นมาตรการด้านสาธารณสุขจากภาครัฐ แต่คล้ายกับว่าสงครามที่มนุษยชาติต้องฟาดฟันห้ำหั่นกับเชื้อไวรัส ไม่อาจไขว่คว้าชัยชนะมาอย่างง่ายดาย ข้อมูลจากผู้บริหารฟู้ดแพนด้า ระบุว่า มีร้านอาหารที่อยู่บนแพลตฟอร์มต้องปิดตัวลงเพราะ Covid-19 (ทั้งชั่วคราวและถาวร) ถึง 25,000 ราย อีกทั้งผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มของฟู้ดแพนด้าลดจำนวนลง และเปลี่ยนไปประกอบอาหารรับประทานเองมากขึ้น หลังเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง ล่าสุด ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านอาหารปิดกิจการทั้งแบบชั่วคราวและถาวรแล้ว 50,000 ราย

Read More

นับถอยหลังภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ นำร่องกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

ภูเก็ต เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มักจะติดอันดับจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว โดยเมื่อปี 2020 จากผลการจัดอันดับโดย CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ภูเก็ตติดอันดับ 9 ในการเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของโลกสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ ขณะที่การจัดอันดับของ U.S. News & World Report รายงานการจัดอันดับ 30 สถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2563-2564 พบว่า จังหวัดภูเก็ตติดอยู่ในอันดับ 10 ของรายการนี้ ด้านมาสเตอร์การ์ด เคยเผยผลสำรวจเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลกเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน พบว่า ภูเก็ตติด 1 ใน 10 เมืองที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมา โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นิยมเดินทางมาเที่ยวพักผ่อนที่ภูเก็ตมากที่สุด และระหว่างท่องเที่ยวที่ภูเก็ตนักท่องเที่ยวจะใช้เงินคนละประมาณ 4,700 บาท หรือ 239 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นเกาะ และยังมีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม อาหาร วัฒนธรรม ประเพณี หรือแม้แต่อาคารบ้านเรือนที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน สไตล์ชิโนโปรตุกีส จึงทำให้ภูเก็ตกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี กระทั่งในที่สุด ภูเก็ตเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก และเมื่อแทบทุกประเทศมีคำสั่งปิดประเทศเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด การเดินทางระหว่างประเทศถูกระงับ

Read More

หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง

Read More

รัฐไทยเร่งดึงต่างชาติลงทุน หวังฉุดเศรษฐกิจพ้นก้นเหว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะคุกคามความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของโลกแล้ว มหันตภัยร้ายครั้งใหญ่ดังกล่าวยังส่งผลให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายตกอยู่ในภาวะชะงักงันและชะลอการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการระบาด ก่อนที่จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากที่นานาประเทศดำเนินความพยายามที่จะควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดด้วยการปูพรมฉีดวัคซีนด้วยหวังจะให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่อไปได้ ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย รวมถึงสถานการณ์ในระดับนานาชาติ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังเริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัวขึ้น หากแต่ในมิติของการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยการเจรจาและการลงพื้นที่จริง ยังคงเผชิญกับอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และทำให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ต้องปรับลดเป้าหมายยอดการขายหรือเช่าพื้นที่ในปีงบประมาณ 2564 ลงจากเดิมที่ระดับ 1,500 ไร่ เหลือเพียง 1,200 ไร่ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2563-เมษายน 2564) การนิคมอุตสาหกรรมสามารถสร้างยอดขาย/เช่าได้แล้วรวมที่ระดับ 700 ไร่ แนวทางในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น จึงอยู่ที่การร่วมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการนิคมอุตสาหกรรมฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อปรับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้น่าสนใจมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยปรับลดสิทธิประโยชน์ในบางอุตสาหกรรม หากแต่สถานการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก โดยประเทศคู่แข่งของไทย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต่างกำหนดสิทธิประโยชน์ที่มีจุดเด่นในการดึงดูดการลงทุน ที่ทำให้ไทยต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันนี้ด้วย มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่กลไกรัฐคิดและดำเนินการได้ในปัจจุบันในด้านหนึ่งอยู่ที่การต่ออายุสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อจูงใจนักลงทุน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร รวม 4 ฉบับ

Read More