Home > โควิด (Page 2)

รับมือความเครียดยุคโควิด ร่างกายปลอดภัย ใจไม่ป่วย

ดูเหมือนว่าคนไทยยังจะต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการกลายพันธุ์สู่สายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลให้เกิดแพร่ระบาดอย่างหนัก และประชาชนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ที่หลักหมื่นต่อวัน เป็นเวลาเกือบ 1 เดือน และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณวัคซีนยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในประเทศ สถานการณ์เลวร้ายหลายอย่างที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้คน ทั้งการที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สภาพเศรษฐกิจและสังคมติดลบ สร้างความกดดันในชีวิต ความกังวลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลในครอบครัว ความกลัวที่จะติดเชื้อ ปัจจัยต่างๆ ล้วนแต่สร้างให้เกิดความเครียด ความหดหู่ อันนำมาซึ่งอาการป่วยทางสภาพจิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ หรือ CDC ยังแนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน กลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ฝันร้ายต่อเนื่อง พฤติกรรมการกินผิดปกติ กินน้อยลง หรือกินมากผิดปกติ ไม่กระปรี้กระเปร่า เฉื่อยชา มีความรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร สมาธิไม่ดี หลงลืม ทำงานบกพร่อง สูญเสียการตัดสินใจ บางรายดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรือสูบบุหรี่ใช้สารเสพติดมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต หัวใจ

Read More

บ้านปูเร่งสนับสนุน Telemedicine รองรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสีเขียว

บ้านปูเร่งสนับสนุนระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว รองรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสีเขียว รวมมูลค่ากว่า 7.4 ล้านบาท หนุนกำลังป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เร่งช่วยเหลือโรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงและมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดได้ให้การสนับสนุนระบบบริการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine พร้อมกล่องบรรจุอุปกรณ์ดูแลตนเอง (Covid Care Box) และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นแก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในโครงการ “Covid Home Care” รวมมูลค่า 7,400,000 บาท เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มสี เขียวให้สามารถรับการรักษาจากแพทย์ได้โดยตรง โดยเฉพาะในภาวะขาดแคลนเตียงโดยไม่ต้องเดินทางมายังโรงพยาบาล เพื่อลดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกพื้นที่ซึ่งสามารถช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อและลดความแออัดในโรงพยาบาลได้ในเวลาเดียวกันการบริจาคครั้งนี้เป็นหนึ่งในภารกิจภายใต้ “กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19” มูลค่า 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของบ้านปู 250 ล้านบาท ที่ดำเนินการบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานสาธารณสุข รวมถึงบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ขาดแคลนและด้อยโอกาสในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน

Read More

“เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” แจกฟรีแก๊สหุงต้ม ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ด

ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ สานต่อโครงการ “เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” ผนึกไทยแก๊ส และแพลน บี มีเดีย แจกฟรีแก๊สหุงต้ม พร้อมช่วยโปรโมทร้าน ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ดไทยในแคมเปญ “ร้านยิ้มได้..เราก็ยิ้มด้วย x ฝากร้านผ่านจอ” ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมาอย่างยาวนาน หนึ่งในภาคส่วนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมากที่สุดก็คือธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องเสียสละในการปิดให้บริการแบบนั่งทานที่ร้านชั่วคราวตามมาตรการของภาครัฐมาแล้วหลายต่อหลายครั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจร้านอาหารโดยตรง ถึงแม้จะยังสามารถให้บริการแบบดิลิเวอรี่ และสั่งกลับบ้านได้ แต่ก็ไม่สามารถชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการเทียบเท่ากับในสถานการณ์ปกติ คุณชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทผู้จัดจำหน่ายแก๊สหุงต้มแบรนด์เวิลด์แก๊ส มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็ก สตรีทฟู้ด และแผงลอยต่างๆ ในภาวะวิกฤติครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งล่าสุดหลังจากมีการประกาศมาตรการควบคุมสถานการณ์โควิด ห้ามรับประทานอาหารภายในร้าน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด บริษัทจึงได้สานต่อพันธกิจ “We Promise” ย้ำภาพลักษณ์เพื่อนแท้ด้านพลังงาน ที่ยืนหยัดเคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนานถึง 42 ปี

Read More

จับตาขยาย “เคอร์ฟิว” จี้แผนรับมือเศรษฐกิจ Worst Case

2 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดมาตรการเคอร์ฟิว 14 วัน หลังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. สั่งบังคับใช้มาตรการล่าสุดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด พร้อมๆ กับมาตรการคุมเข้มอีกหลายข้อเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนตัวเลขต่างๆ ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงทำนิวไฮทุกวัน โดยเฉพาะยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 20,000 คน ล่าสุด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 พบว่า หากล็อกดาวน์ 1 เดือน จะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรถึงต้นเดือนตุลาคม แต่หากล็อกดาวน์ 2 เดือน ร่วมกับมาตรการกระจายวัคซีนในผู้สูงอายุได้ผลดีและดำเนินการได้รวดเร็ว คาดว่าในเวลาไม่เกิน 2 เดือน จะช่วยรักษาระดับการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกิน 1,500 รายต่อวัน และชะลออุบัติการณ์การเสียชีวิตไม่เกิน 200 รายต่อวันไปจนถึงเดือนธันวาคม ดังนั้น

Read More

ฤา ธุรกิจการบินของไทย ถึงคราล่มสลายและอวสาน?

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งล่าสุดในสังคมไทยกำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความเป็นไปของสังคมไทยอย่างหนักหน่วง เพราะการแพร่ระบาดดังกล่าวไม่เพียงแต่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสถิติใหม่ในแต่ละวัน ซึ่งติดตามมาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันกว่า 100 ราย จากผลของการขาดแคลนเตียงในการรักษาพยาบาล สะท้อนภาพความล่มสลายของระบบการสาธารณสุขไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะเดียวกันมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของกลไกรัฐครั้งใหม่ที่ดำเนินไปด้วยการล็อกดาวน์ หรือการสั่งห้ามการเดินทาง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมอีกหลากหลายประการกำลังทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำซบเซามาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ทรุดหนักลงไปอีกและขยายวงกว้างส่งผลกระทบต่อธุรกิจแต่ละประเภทมากขึ้นไปอีก โดยบางธุรกิจได้ถึงคราวล่มสลายและยุติกิจการไปโดยปริยาย โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เคยเป็นกลไกในการหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาก่อนหน้านี้ การแพร่ระบาดดังกล่าวทำให้การคาดการณ์ว่าด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 ถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดหลายสำนักได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 1.8 เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้ ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทรุดตัวลงไปอีก ขณะที่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐน่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็น แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมได้ และมีบางสำนักประเมินในทางลบถึงขั้นที่ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 อาจไม่เติบโตเลย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตแบบติดลบอีกด้วย ข้อสังเกตที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งอยู่ที่การปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากเดิมประมาณการไว้ที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน โดยแม้ว่าจะเริ่มมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และ “สมุย พลัส โมเดล” แต่การจะเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น และจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามายังต้องขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก

Read More

จากสงครามการค้า สู่สงครามไวรัส-ข้อมูล คนไทยควรรู้เท่าทัน

ไทยต้องเผชิญกับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ห้ำหั่นกันระหว่างสองมหาอำนาจจากสองซีกโลกอย่างจีนกับสหรัฐอเมริกาที่อุบัติขึ้นนับตั้งแต่ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงต้นปี 2560 ผลพวงจากความพยายามที่จะดำเนินตามนโยบายที่นายทรัมป์หาเสียงไว้ นั่นคือ อเมริกันเฟิร์ส ส่งผลให้การค้ากับต่างประเทศต้องชะงัก แน่นอนว่าประเทศที่กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในครั้งนั้นคือ จีน เมื่อจีนกอบโกยเงินจำนวนมหาศาลกลับประเทศจากการส่งสินค้าจำนวนมากมาขายยังสหรัฐฯ สหรัฐฯ เก็บภาษีเพิ่มจากสินค้านำเข้าจากจีน 25% ในระยะแรกเริ่มที่เครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมพลังงาน ต่อมาพิจารณาเก็บภาษีเพิ่มจากสินค้าประเภทเหล็ก เครื่องจักรไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถไฟ และ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สินค้าเกษตร สิ่งทอ อุปกรณ์ก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ เรียกว่าหมัดแลกหมัด เมื่อจีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษี 25% จากสินค้าที่มาจากสหรัฐฯ จำนวน 545 ราย เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร รถยนต์ ผลิตภัณฑ์จากทะเล รวมมูลค่ากว่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้ไม่มีใครยอมใคร และยังคงยืดเยื้อยาวนาน แม้จะมีความพยายามที่จะพูดคุยตกลงกันเพื่อพักการทำสงครามการค้าลงชั่วคราว แต่แน่นอนว่าผลกระทบได้เกิดขึ้นไปแล้วต่อประเทศคู่ค้าที่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังสองประเทศนี้ ในเวลานั้นรัฐบาลไทย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการค้าระหว่างประเทศ พยายามมองหาโอกาสที่เกิดขึ้นระหว่างสงคราม ทั้งการเล็งที่จะจูงใจนักลงทุนในกรณีที่นักลงทุนเตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากสหรัฐฯ เพื่อหลีกหนีฐานภาษีสินค้านำเข้าที่ค่อยๆ เพิ่มเพดานสูงขึ้น และมองหาฐานการผลิตใหม่โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่ไทยกำลังเริ่มต้นการเจรจาโดยเฉพาะกับนักลงทุนชาวจีนที่เตรียมจะยึดหัวหาดและลงเม็ดเงินสร้างฐานการผลิตในไทย ทว่า การเปลี่ยนผ่านขั้วการเมืองทำให้หลายเรื่องที่กำลังถูกต่อยอดและน่าจะสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก กระทั่งสงครามไวรัสเริ่มอุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินจีนในช่วงปลายปี 2562 และเริ่มแพร่ระบาดไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก

Read More

บู๊ทส์เปิดตัวแอปสุขภาพครบวงจร “Boots app” ฝ่าวิกฤต COVID-19

บู๊ทส์ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีฝ่าวิกฤต COVID-19 ส่ง Boots app แอปสุขภาพครบวงจร ยกระดับการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น บู๊ทส์ ประเทศไทย ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำระดับโลกตอกย้ำพันธกิจ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทยฝ่าวิกฤต COVID-19 ด้วยการเปิดตัว Boots app แอปสุขภาพครบวงจร กับฟีเจอร์ใหม่ใช้ฟรี “Talk to Pharmacist” หรือชื่อไทย “ปรึกษาเภสัชกรบู๊ทส์” เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น จากผลสำรวจพบว่า 82% ของผู้บริโภคชาวไทยกังวลว่าจะติดเชื้อ COVID-19* นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ และคนไทยยังต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงนั้น** บู๊ทส์ ประเทศไทย หนึ่งในธุรกิจรีเทล ฟาร์มาซี อินเตอร์เนชั่นแนล ของวอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ (หรือ ดับเบิ้ลยูบีเอ) กิจการระดับโลกแห่งแรกที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีชั้นนำ จึงได้มีการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับโลก มาเสริมความแข็งแกร่งทางด้านคุณภาพและการบริการระดับมืออาชีพ เพื่อช่วยให้คนไทยทั้งประเทศเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย พร้อมมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น วอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และได้นำเสนอบริการอันโดดเด่น ได้แก่ - เป็นผู้ให้บริการด้านร้านขายยาแบบปลีกนับพันแห่งทั่วโลก - มีพนักงานให้บริการด้านเฮลท์แคร์มากกว่า 120,000 คน

Read More

อยู่อย่างไรให้รอดจากโควิดระลอก 4

ณ เวลานี้ เราคงต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการระบาดในบ้านเรา ยอดติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนตัวเลขเกินครึ่งหมื่นต่อเนื่องมาหลายวัน ความคาดคิดและคาดหวังของคนส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อีกไม่ช้าไม่นานคงจะจบลงเสียที แบบระลอกแรกและระลอกสอง ที่จบลงภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ทิศทางการแพร่ระบาดจากระลอกสามกลับไม่จบลงง่ายๆ เช่นเดิม กระทั่งเราเดินทางมาสู่ระลอกสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กล่าวว่า “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งโลกมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาอย่างมาก ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว 96 ประเทศ ส่วนประเทศไทย 2 เดือนที่แล้ว 85-90 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อที่ตรวจพบคือ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) พอมิถุนายนถึง กรกฎาคม ทั้งประเทศเป็นเชื้อเดลตา 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเร็วมาก เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเดลตา 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า 1-2 เดือน ทั้งไทยและโลกจะเป็นเดลตาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด “เชื้อตัวนี้ภาพรวมไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าอัลฟา แต่มีลักษณะพิเศษทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำกว่าปกติเร็วขึ้น ปอดอักเสบเร็วขึ้น อย่างอัลฟาใช้เวลา 7-10 วัน

Read More

“ปิดแคมป์-ล็อกดาวน์” ผลกระทบที่เกินจินตนาการ

การประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน ดูจะกลายเป็นมาตรการที่ส่งผลเป็นแรงสั่นสะเทือนสู่สังคมวงกว้าง มากกว่ามาตรการของรัฐที่เคยมีออกมาก่อนหน้าไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกกับการสั่งล็อกดาวน์ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณทลที่ออกมาควบคู่กัน การสั่งล็อกดาวน์แบบไม่ล็อกดาวน์ตามมาตรฐานของกลไกรัฐไทยในการบริการจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดอยู่ที่การกำหนดมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการสั่งห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น รวมถึงการให้ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าให้ปิดบริการในเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม เปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ห้ามจัดประชุม สัมมนาหรือจัดเลี้ยง และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยให้ทรุดต่ำหนักลงไปอีก เนื่องเพราะการสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” รอบใหม่ นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ต้องหยุดงานและห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแล้ว มาตรการดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยกลุ่มอื่นๆ ไม่น้อยเลย และกำลังส่งผลต่อชีวิตและประชาชนในวงกว้าง โดยมีการประเมินว่า การสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” ครั้งนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยรวมไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานรวมมากถึง 1.2 ล้านคนที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในฐานะที่เป็นผู้เสมือนว่างงานหรือมีชั่วโมงการทำงานรวมน้อยกว่า 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกด้วย ข้อมูลตลาดแรงงานไทย

Read More

GBS หวั่นยอดติดเชื้อโควิดพุ่งทำนิวไฮกระทบเศรษฐกิจ แนะลุยช็อป 8 หุ้นเด่นรับส่งออกโต

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยมีโอกาสพักฐาน จากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายพื้นที่จนต้องปิดแคมป์คนงานก่อสร้างนาน 30 วัน บวกกับแผนการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า แนะจับตาเศรษฐกิจไทย หลัง ธปท.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและอาจจะยาวไปถึงไตรมาส 1/2566 จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ระดับ 1,550-1,600 จุด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนใน 8 หุ้นเด่นได้อานิสงส์ตัวเลขส่งออกพุ่งต่อ ชู AH- SAT- NER –STA- KCE- HANA –SMT- ASIAN น่าสนใจ นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้มีโอกาสพักฐาน จากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นจากระดับ 3 พันรายไปแตะระดับ 5 พันราย ขณะที่การฉีดวัคซีนยังล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ ประกอบกับการปิดแคมป์คนงานก่อสร้างนาน 30 วันคาดอาจจะส่งผลให้มีงานก่อสร้างล่าช้า กระทบการรับรู้รายได้ของหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และในอนาคตคาดจะมีผลกระทบกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จากการก่อสร้างล่าช้าและโอนล่าช้า ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและอาจจะต้องรอถึงไตรมาส 1/2566

Read More