Home > เศรษฐกิจไทย (Page 4)

ทางแพร่งขึ้นค่าแรง บนความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจสังคมการเมืองไทยในห้วงสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงนี้ ดูจะมีความน่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากรัฐบาลใหม่ในนามประยุทธ์ 2 จะมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นประหนึ่งพิธีการก่อนเริ่มบริหารราชการบ้านเมืองอย่างเป็นทางการแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นเสมือนการบ่งชี้ทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยในระยะเวลานับจากนี้ และมีสถานะเป็นสัญญาประชาคมที่ย่อมมีนัยความหมายมากกว่าคำมั่นสัญญาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ แม้ว่านโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาจะมีหลากหลายด้าน ทั้งนโยบายว่าด้วยการดูแลราคาสินค้าเกษตรที่กำลังตกต่ำในทุกผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหาการส่งออกตกต่ำ นโยบายด้านการพลังงาน หรือแม้กระทั่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวเนื่องด้วยความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม และการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนในระดับครัวเรือน หากแต่นโยบายที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ยังไม่มีการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการกลับอยู่ที่นโยบายว่าด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน ที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม และนำไปสู่การแสดงออกซึ่งท่าทีคัดค้านในการเร่งรัดผลักดันนโยบายดังกล่าว ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ในมุมมองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม แม้ว่านโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท จะดำเนินไปภายใต้ผลของการรณรงค์หาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่นๆ หากแต่ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำและไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวโดยง่ายนี้ การปรับขึ้นค่าแรงในห้วงเวลาขณะนี้ย่อมต้องส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างยากที่จะเลี่ยง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การปรับขึ้นค่าแรงที่ผ่านมาดำเนินการผ่านคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่มีอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย ประเด็นที่ภาคเอกชนได้สะท้อนออกมาต่อกรณีการขึ้นค่าจ้างแรงงานครั้งใหม่นี้ อยู่ที่การเรียกร้องให้ภาครัฐเน้นความสำคัญของการปรับเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้แรงงานมีโอกาสได้รับรายได้มากขึ้น โดยไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างแน่นอน เพราะผู้ประกอบการเอกชนกลุ่มนี้เชื่อว่า ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายของรัฐบาลใหม่นี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย ซึ่งจะทำให้ไทยต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียผลประโยชน์มากถึงพันล้านหรือมากถึงหมื่นล้านบาท โดยค่าแรงส่วนนี้ไม่ได้หมุนกลับมาเป็นแรงกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากนัก ขณะที่แรงงานคนไทยส่วนใหญ่ได้รับอัตราค่าแรงในอัตราที่ดีขึ้นอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การมุ่งปรับทักษะฝีมือแรงงานของแรงงานไทยให้สูงขึ้นสำหรับรองรับพัฒนาการทางการผลิตในอนาคต ความกังวลใจในกรณีการปรับขึ้นค่าแรงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเท่านั้น หากแต่ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยก็ได้สะท้อนความกังวลใจต่อเรื่องดังกล่าว เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการที่นักลงทุนจากต่างประเทศจะย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ซึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะตกงาน

Read More

เศรษฐกิจไทยชะลอตัว ปัจจัยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลด

แม้ว่าประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ไปเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ทว่านายกคนใหม่หน้าเดิม ยังไม่อาจเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ เมื่อยังไม่ได้ข้อสรุปของตำแหน่งรัฐมนตรีที่จะเข้ามาสานงานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน หลายฝ่ายที่เฝ้ารอโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งไพร่ฟ้าหน้าใส นักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ หรือแม้แต่ฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคที่ต้องมาเป็นฝ่ายค้านในสภา ดูเหมือนสถานการณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันจะเป็นงานหนักของรัฐบาลชุดใหม่ไม่น้อย เมื่อมีปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งมือแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นทั้งกับนักลงทุน และผู้บริโภคคนไทย โดยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนวรรน์ พลวิชัย เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2562 ว่า มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 77.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวต่ำสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 ขยายตัวเพียง 2.8 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 4/2557 และลดลงจาก 3.6 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสก่อนหน้า จากสาเหตุที่การส่งออกลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ 2. สศช. ปรับประมาณการอัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะโตที่

Read More

ส่งออกไทยติดลบย่อยยับ เศรษฐกิจไทยพร้อมพับฐาน

ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 ดูจะดำเนินไปในทิศทางที่ถดถอยลงไปอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับคำขวัญและความมุ่งมั่นในเชิงวาทกรรมของกลไกภาครัฐว่าด้วยความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปอย่างสิ้นเชิงและทำให้ถ้อยแถลงประชาสัมพันธ์ผลงานของกลไกรัฐในช่วงที่ผ่านมาดูจะไม่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเสียเลย ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนออกมาในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะถดถอยอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หดตัวติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 18,555.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ส่งผลให้เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้าถึง 1,457.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบประมาณ 54,396.5 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 การส่งออกของไทยก็ติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอีกด้วย ความตกต่ำลงของการส่งออกไทยในด้านหนึ่งนอกจากจะเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน และต่างเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าไทยไปยังสหภาพยุโรป (EU) ก็อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่ตลาดให้กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่การเจรจากรอบการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะชะงักงันมาตลอดระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล คสช. ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนกลับดำเนินการเจรจาและสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปได้สำเร็จ ความเคลื่อนไหวว่าด้วย FTA สหภาพยุโรปกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ส่งผลต่อความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะผลจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับเวียดนาม ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนามเข้าสู่ตลาดยุโรป ที่เดิมมีอัตราภาษีอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More

เศรษฐกิจไทย จากโครงสร้างสู่ฐานราก ยิ่งอัดฉีดยิ่งเหลื่อมล้ำ?

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงใกล้วันเลือกตั้ง ดูเหมือนจะกลายเป็นกรณีที่ฟากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐไม่ค่อยอยากจะกล่าวถึง เพราะตลอดระยะเวลาที่มีโอกาสคุมกลไกและออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจมากว่า 5 ปี กลับไม่ปรากฏผลสัมฤทธิ์ให้ประจักษ์อย่างน่าพึงพอใจ และในความรับรู้ของผู้คนทั่วไปดูจะยิ่งทรุดหนักไปกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ แม้ว่าในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่ประเมินจากตัวเลขสถิติต่างๆ จะมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวจากระดับ 1.4 แสนบาทต่อปีในปี 2551 มาสู่ระดับ 2.2 แสนบาทในปี 2560 หรือเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 55 ขณะที่เสถียรภาพของประเทศก็ดูจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในมิติของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันถึง 5 ปี หากแต่ความท้าทายหลักที่กำลังสั่นคลอนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ที่การพัฒนาด้านผลิตภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่จะกำหนดศักยภาพของเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลิตภาพของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงงานจำนวนมากมีผลิตภาพต่ำ ขาดการพัฒนาและไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคที่มีผลิตภาพที่สูงขึ้นได้ โดยแรงงานถึง 1 ใน 3 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคที่มีผลิตภาพต่ำที่สุด ขณะที่นโยบายภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือ โดยเน้นการดูแลราคา การประกันรายได้ และการให้เงินอุดหนุน หรือการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น แต่ไม่ช่วยพัฒนาผลิตภาพในระยะยาว ขณะเดียวกัน แรงงานไทยยังมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคลำดับต้นๆ ของการดำเนินธุรกิจและเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจต่างชาติในการตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การลงทุนของเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ระดับการลงทุนที่แท้จริงของทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ส่วนแบ่งเงินลงทุนสุทธิจากต่างประเทศจากเงินลงทุนทั้งโลกลดลง

Read More

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

ปฏิรูปเศรษฐกิจไทย ภารกิจหลักหลังเลือกตั้ง?

แม้ว่าพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 จะประกาศใช้และทำให้กรณีว่าด้วยเรื่องกำหนดวันเลือกตั้งที่เคยคลุมเครือมาก่อนหน้านี้ มีความชัดเจนมากขึ้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งของสังคมไทย กรณีว่าด้วยทิศทางและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทย นับจากนี้จะเป็นอย่างไร ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ยังปราศจากความชัดเจนอยู่ไม่น้อย เพราะในขณะที่ธนาคารโลก ได้ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2562-2563 จะเติบโตในลักษณะชะลอตัว จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนตุลาคม 2561 ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 3.9 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ลงมาเหลือการเติบโตในระดับร้อยละ 3.8 และอาจจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในปี 2563 โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะดำเนินไปภายใต้การพึ่งพาการบริโภคจากภายในประเทศ เนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของตลาดโลกที่ลดลง หากแต่กลไกภาครัฐกลับแสดงความพึงพอใจกับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกดังกล่าว โดยประเมินว่าการคาดการณ์ของธนาคารโลกสะท้อนความเชื่อมั่นและมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแรง ซึ่งสะท้อนจากรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย : ความเหลื่อมล้ำ โอกาส และทุนมนุษย์ โดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ถือว่าเติบโตได้ดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และสิ่งสำคัญที่สุดคือการเติบโตนั้น มาจากอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น ทั้งการบริโภคและการลงทุนของเอกชน ตลอดจนการลงทุนภาครัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากข้อมูลของธนาคารโลกอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ การระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านซึ่งเติบโตช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน จะชะลอตัวลงในปี พ.ศ.2562-2563 เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่เข้มแข็งเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกสุทธิได้ ซึ่งนโยบายกีดกันการค้าและความผันผวนของตลาดเงินจะส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลาง อีกทั้งจะส่งผลลบต่อกลุ่มคนยากจนที่สุดและกลุ่มเปราะบางในช่วงเวลานี้ โดยผู้กําหนดนโยบายควรใช้ความระมัดระวัง เตรียมความพร้อม และสร้างความยืดหยุ่นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศสามารถรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจได้ ภายใต้สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงเช่นนี้

Read More

เศรษฐกิจไทยในอนาคต ความหวังที่รัฐบาลใหม่ต้องแบกรับ

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากมุมมองของหลายฝ่ายดูจะสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสภาพัฒน์แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่ามีการชะลอตัวลงจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผู้นำรัฐบาลมักมีวาทกรรมว่า “เศรษฐกิจดีขึ้นทุกด้าน” หากจะว่าไปคงไม่ผิดนักหากนายกฯ จะมีถ้อยแถลงต่อเรื่องเศรษฐกิจเช่นนั้นเสมอ เมื่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่รอบตัวประสานเสียงและให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน สวนทางกับเสียงโอดครวญของประชาชนที่ทำมาค้าขาย หาเช้ากินค่ำ กลับบ่นกันระงม ถึงความยากลำบากในสภาวการณ์เช่นนี้ และที่น่าฉงนใจอย่างยิ่งคือ เสียงบ่นจากประชาชนกลับดูบางเบา รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่อาจส่งไม่ถึงฝ่ายบริหารประเทศได้เลย ถึงเวลานี้หลายคนคงได้แค่ตั้งความหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งซึ่งจะเกิดขึ้นในศักราชหน้า ว่านอกจากจะนำพาเอาความสงบสุขมาสู่ประเทศแล้ว ยังต้องพลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ใช่เพียงแต่เศรษฐกิจในระดับมหภาคเท่านั้น ยังต้องทำให้ทุกฟันเฟืองขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจุลภาคด้วย และนั่นต้องไม่ใช่เพียงการสร้างภาพลวงตาหลอกสังคมโลกและตัวเอง เพราะเมื่อฟันเฟืองทุกตัวขับเคลื่อนได้จริง ไม่ใช่แค่เพียงภาพมโนที่ปั้นแต่งขึ้นเพื่อสร้างกระแสการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หวังผลเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น นั่นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นมือวางอันดับหนึ่งเรื่องความเหลื่อมล้ำลงได้ แม้ประชาชนบางส่วนจะยังมีข้อสงสัยว่า การเลือกตั้งที่หลายฝ่ายกำลังโหมโรงอยู่ขณะนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำโดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ เปิดเผยถึงการปรับประมาณการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าใหม่อีกครั้งช่วงเดือนมกราคม หลังจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในตลาดโลกมีความชัดเจนมากขึ้น กรณีนี้หมายถึงสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งหอการค้าไทยมองว่า ปี 2562 มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ และหากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นภายในเดือนมีนาคม ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้น มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ถึง 4.3-4.5 เปอร์เซ็นต์

Read More

เปิดกระเป๋าส่องแรงซื้อ ผู้บริโภคไทยในยุคไร้เหลื่อมล้ำ

ประเด็นปัญหาว่าด้วยเศรษฐกิจไทยรอบล่าสุด นอกจากจะผูกพันอยู่กับภาวะถดถอยที่แผ่กว้างออกไปและยังไม่มีวี่แววว่าจะไปสิ้นสุดที่จุดต่ำสุดเมื่อใด กำลังถูกถาโถมจากข้อเท็จจริงอีกด้านว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวสู่อันดับโลก และสะท้อนความเป็นไปของวาทกรรมว่าด้วย รวยกระจุก จนกระจาย ที่เด่นชัดที่สุดอีกครั้ง รายงานของ CS Global Wealth Report 2018 ที่นำเสนอออกมาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาระบุว่าความมั่งคั่งของไทยในช่วงปี 2018 จำนวนกว่าร้อยละ 66.9 ถูกครอบครองโดยกลุ่มประชากรเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ในปี 2016 ประมาณการกลุ่มนี้มีทรัพย์สินเพียงร้อยละ 58.0 หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรกลุ่มชนผู้มั่งคั่งนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 8.9 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ประชากรคนไทยกลุ่มที่ยากจนที่สุดร้อยละ10 กลับไม่มีทรัพย์สินถือครองเลย หรือถือครองทรัพย์สินรวมในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ยังไม่ได้นับรวมถึงภาระหนี้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขในส่วนนี้ อยู่ในระดับที่ต้องติดลบ ขณะที่คนไทยร้อยละ 50 มีทรัพย์สินรวมประมาณร้อยละ 1.7 หรือหากนับประชากรร้อยละ 70 ก็มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็นเพียงร้อยละ 5 ของทรัพย์สินรวมของประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่า คนครึ่งประเทศเป็นกลุ่มคนไม่มีเงินเหลือเก็บออม ข้อเท็จจริงจากรายงานว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวได้รับการตอบกลับจากหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะเป็นการนำข้อมูลทรัพย์สิน ที่ดิน และบัญชีเงินฝาก

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More