Home > รัฐบาลประยุทธ์ 2

ทางแพร่งขึ้นค่าแรง บนความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจสังคมการเมืองไทยในห้วงสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงนี้ ดูจะมีความน่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากรัฐบาลใหม่ในนามประยุทธ์ 2 จะมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นประหนึ่งพิธีการก่อนเริ่มบริหารราชการบ้านเมืองอย่างเป็นทางการแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นเสมือนการบ่งชี้ทิศทางการพัฒนาของประเทศไทยในระยะเวลานับจากนี้ และมีสถานะเป็นสัญญาประชาคมที่ย่อมมีนัยความหมายมากกว่าคำมั่นสัญญาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ แม้ว่านโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาจะมีหลากหลายด้าน ทั้งนโยบายว่าด้วยการดูแลราคาสินค้าเกษตรที่กำลังตกต่ำในทุกผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหาการส่งออกตกต่ำ นโยบายด้านการพลังงาน หรือแม้กระทั่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวเนื่องด้วยความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม และการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพของประชาชนในระดับครัวเรือน หากแต่นโยบายที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ยังไม่มีการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการกลับอยู่ที่นโยบายว่าด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน ที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม และนำไปสู่การแสดงออกซึ่งท่าทีคัดค้านในการเร่งรัดผลักดันนโยบายดังกล่าว ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ในมุมมองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม แม้ว่านโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท จะดำเนินไปภายใต้ผลของการรณรงค์หาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่นๆ หากแต่ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำและไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวโดยง่ายนี้ การปรับขึ้นค่าแรงในห้วงเวลาขณะนี้ย่อมต้องส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อย่างยากที่จะเลี่ยง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การปรับขึ้นค่าแรงที่ผ่านมาดำเนินการผ่านคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่มีอัตราไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย ประเด็นที่ภาคเอกชนได้สะท้อนออกมาต่อกรณีการขึ้นค่าจ้างแรงงานครั้งใหม่นี้ อยู่ที่การเรียกร้องให้ภาครัฐเน้นความสำคัญของการปรับเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้แรงงานมีโอกาสได้รับรายได้มากขึ้น โดยไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างแน่นอน เพราะผู้ประกอบการเอกชนกลุ่มนี้เชื่อว่า ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายของรัฐบาลใหม่นี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย ซึ่งจะทำให้ไทยต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียผลประโยชน์มากถึงพันล้านหรือมากถึงหมื่นล้านบาท โดยค่าแรงส่วนนี้ไม่ได้หมุนกลับมาเป็นแรงกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากนัก ขณะที่แรงงานคนไทยส่วนใหญ่ได้รับอัตราค่าแรงในอัตราที่ดีขึ้นอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่การมุ่งปรับทักษะฝีมือแรงงานของแรงงานไทยให้สูงขึ้นสำหรับรองรับพัฒนาการทางการผลิตในอนาคต ความกังวลใจในกรณีการปรับขึ้นค่าแรงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเท่านั้น หากแต่ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยก็ได้สะท้อนความกังวลใจต่อเรื่องดังกล่าว เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงต่อการที่นักลงทุนจากต่างประเทศจะย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ซึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะตกงาน

Read More