Home > Carlsberg

ไทยเบฟในอาเซียน คู่ปรับขนาบข้าง ศึกนี้ไม่ง่าย

ความพยายามที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจให้แผ่กว้างครอบคลุมบริบทของอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจ ดูจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคหากแต่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นทั้งคู่ปรับเก่าที่เคยฝากรอยแผลทางธุรกิจและคู่ต่อสู้ที่ประเมินอาเซียนในฐานะที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำทางธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเข้าซื้อหุ้นโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนกว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เมื่อไม่นานมานี้ อาจให้ภาพของจังหวะก้าวและการรุกคืบไปในอนาคตตามแผนที่วางไว้ ตลาดเบียร์อาเซียนยังมีผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่ร่วมแสดงบทบาทนำในภูมิภาคแห่งนี้ และต่างมีสรรพกำลังที่พร้อมจะบดบังและทำลายจังหวะโอกาสของไทยเบฟเวอเรจไม่น้อยเลย บทบาทของ Carlsberg และ Heineken ในห้วงเวลาหลังจากการรุกคืบของไทยเบฟเวอเรจเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผู้ผลิตเบียร์ระดับนำของโลกทั้งสองรายนี้ ต่างเคยมีประสบการณ์และรอยอดีตเกี่ยวเนื่องให้จดจำไทยเบฟเวอเรจในมิติที่ต่างกัน หากแต่ความเป็นไปในทางธุรกิจ ต้องถือว่านี่เป็นการขับเคี่ยวแข่งขันในสมรภูมิที่เดิมพันสูงย่อมไม่มีใครประสงค์จะเพลี่ยงพล้ำ Carlsberg บริษัทผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเดนมาร์ก เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านอดีตพันธมิตรและเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนจะนำไปสู่การร่วมจัดตั้งคาร์ลสเบอร์ก ประเทศไทย ก่อนที่จะมีกรณีพิพาท เมื่อ Carlsberg ยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับเบียร์ช้างในปี 2003 โดยระบุว่าเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน โดยฝ่ายเบียร์ช้างของเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ Carlsberg บอกเลิกและฉีกสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนั้น ผลจากการยกเลิกการร่วมทุนกับเบียร์ช้างดังกล่าว ทำให้ชื่อของ Carlsberg เลือนหายไปจากการรับรู้ของนักดื่มชาวไทยไปอย่างช้าๆ หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง Carlsberg กลับลงหลักปักฐานในเอเชียและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวเฉพาะในอาเซียน Carlsberg ลงทุนทั้งในเวียดนามผ่าน Hue Brewery และ Hanoi

Read More

สมรภูมิอาเซียน ความท้าทายบนฟองเบียร์

ข่าวการเข้าซื้อหุ้นของโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนขนาดมหึมากว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำความมุ่งหมายตามยุทธศาสตร์แห่งวิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนข้อเท็จจริงของตลาดเบียร์ในอาเซียนในฐานะที่เป็นสมรภูมิทางธุรกิจที่มีความหอมหวานและเย้ายวนผู้ประกอบการแต่ละรายให้เข้ามาร่วมช่วงชิงแบ่งปันผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าอย่างชัดเจน ความพยายามของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มุ่งหมายจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในฐานะที่เป็นประหนึ่งสนามหลังบ้าน ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้แรงเสียดทาน หากแต่ดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการรุกเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสถานะไม่แตกต่างมหาอำนาจที่พรั่งพร้อมด้วยเงินทุนและความหลากหลายของแบรนด์สินค้าที่เป็นสรรพกำลังในการดูดซับอุปสงค์ของการบริโภคในตลาดแห่งนี้ การเติบโตขึ้นด้วยอัตราเร่งของการบริโภคเบียร์ในอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะภูมิอากาศที่ร้อนชื้นหรือรสชาติอาหารที่เผ็ดร้อนจนต้องดื่มเบียร์เย็นๆ ระงับอาการหรือดับกระหาย หากแต่เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียน ยังอุดมด้วยประชากรในวัยหนุ่มสาว และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นเพียงเครื่องดื่ม มาสู่การเป็น สัญญะ ทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ความจำเริญเติบโตของอาเซียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ภูมิภาคแห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในธุรกิจหลากหลาย ในฐานะที่เป็นทั้งแหล่งลงทุนเพื่อการผลิตและเป็นตลาดที่มีศักยภาพและการเติบโตในอัตราเร่งทดแทนความอิ่มตัวที่เกิดขึ้นในระดับสากล ตัวเลขจากการสำรวจตลาดเบียร์ใน 6 ประเทศอาเซียนที่ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา พบว่าตลาดที่มีการบริโภคเบียร์มากถึง 7.66 ล้านกิโลลิตรแห่งนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถครอบครองตลาดระดับภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคงชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีความโดดเด่นจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ของประเทศตัวเองเป็นสำคัญ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในบริบทของ San Miguel ซึ่งแม้จะครองส่วนแบ่งในระดับร้อยละ 20.5 แต่ตัวเลขดังกล่าวก็เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า San Miguel มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 91-95 ในฟิลิปปินส์โดยลำพัง เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบการสัญชาติไทย ทั้งบุญรอด บริวเวอรี่ ที่ครองส่วนแบ่งในระดับ 14.5

Read More