Home > 34th ASEAN SUMMIT

ยานยนต์อาเซียน ถึงจุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหม่?

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนและเจ้าภาพจัดการประชุมได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ท่ามกลางภาพรวมที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมถึงความสำเร็จและเรียบร้อยของการจัดการ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งการประชุมดังกล่าวดูจะห่างไกลจากทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและการรับรู้ถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ไม่นับรวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่วงทำนองและสถานะของคณะผู้แทนไทยในการประชุมครั้งนี้ด้วย ท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่รัฐไทยพยายามนำเสนอควบคู่กับภารกิจสำคัญว่าด้วยการผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ให้สามารถบรรลุบทสรุปสำเร็จลุล่วงภายในปี 2562 ดูเหมือนว่าบริบทแห่งความเป็นไปของเพื่อนบ้านอาเซียนที่แวดล้อมดูจะก้าวไกลไปกว่าพัฒนาการของสังคมไทยอย่างน่าสนใจ ข่าวการเปิดตัว VinFast รถยนต์สัญชาติเวียดนามในช่วงเวลาไม่กี่วันก่อนหน้าการประชุมสุดยอดอาเซียน ดูจะเป็นประหนึ่งการส่งสัญญาณเตือนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อย แม้ว่า VinFast จะไม่ใช่แบรนด์รถยนต์จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนแบรนด์แรกที่เกิดขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านี้ Proton จากมาเลเซียได้ถือกำเนิดและเข้าสู่ตลาดรถยนต์มาตั้งแต่ปี 1983 ก่อนที่ในปี 1993 หรืออีก 10 ปีถัดมามาเลเซียจะมี Perodua เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ออกมาโลดแล่นบนถนนอาเซียนมากว่า 3 ทศวรรษ แม้ว่าพัฒนาการที่ยาวนานของแบรนด์ยานยนต์จากมาเลเซียทั้งสอง อาจไม่ได้ส่งผลต่อความเป็นไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาคมากนักในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ความเชื่อมั่นที่ว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่แข็งแกร่งและอุดมด้วยศักยภาพในการบริโภคที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมทัศนะในการประเมินสถานการณ์รอบข้างของทั้งผู้ประกอบการและกลไกที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพราะท่ามกลางกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงถึงร้อยละ 80 และร้อยละ 60

Read More

จับตาคืบหน้า ASEAN-RCEP ฤา ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่จีน?

นอกจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่กำลังจะเกิดมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายนนี้ จะดำเนินไปท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่จัดวางเป้าประสงค์ไว้ที่การมุ่งสู่การเป็นอาเซียนที่ไร้รอยต่อ ด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค และการก้าวไปสู่ดิจิทัลอาเซียน ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 พร้อมกับเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาอาเซียนให้มีความยั่งยืนในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาแล้ว การประชุมดังกล่าวยังเกิดขึ้นท่ามกลางความร้อนแรงของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ทวีความหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับและกำลังเป็นปัจจัยลบที่ฉุดรั้งสถานการณ์และภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่ากรณีดังกล่าวอาจขยายตัวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ไม่ยากในอนาคตอันใกล้นี้ ภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียน ผู้นำของอาเซียนได้ตั้งเป้าให้การสรุปผลการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสำเร็จในปี 2562 นี้ ซึ่งไทยในฐานะประธานอาเซียน พยายามที่จะแสดงบทบาทนำในอาเซียนร่วมกับสมาชิกอีก 15 ประเทศ ด้วยการเร่งดำเนินงานตามแผนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการเจรจาให้มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ พัฒนาการของ RCEP หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นแผนความตกลงเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน และ 6 ชาติคู่เจรจาที่ประกอบด้วย จีน

Read More

ไทยในฐานะประธานอาเซียน ก้าวไปข้างหน้า หรือ ย่ำอยู่กับที่

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 วาระที่ 2 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จะดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หากแต่กำหนดเวลาว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่จะต้องผ่านพิธีการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณและการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ก่อนที่สังคมไทยจะมีรัฐบาลใหม่ที่จะขับเคลื่อนเดินหน้าประเทศไทยอีกครั้ง ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลออกไปอย่างน้อยก็อาจต้องใช้เวลานานรวมกว่าอีก 1 เดือนนับจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าการจัดสรรบุคลากรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถกระทำได้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาน่าจะดำเนินการได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นลำดับถัดมา ภารกิจของรัฐบาลชุดใหม่ นอกเหนือจากการนำพาความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทั้งผู้คนในสังคมไทยและประชาคมนานาชาติแล้ว ประเด็นปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาปากท้องของประชาชนในระดับฐานรากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนในเชิงนโยบายและทิศทางที่รัฐไทยภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประสงค์จะก้าวเดินเพื่อมุ่งหน้าสู่การรังสรรค์ประเทศไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมโลกอย่างสง่างามกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือกรอบเวลาแห่งความเป็นไปของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวาระและกำหนดการประชุมสุดยอดโดยคณะผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562 โดยมีประเทศไทยดำรงสถานะเป็นทั้งเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานอาเซียน ตามระบบหมุนเวียนระหว่างสมาชิกอีกด้วย ก่อนหน้านี้ ผู้นำรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศในพิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงความพร้อมในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT และเสนอแนวคิดหลัก (theme) ของการเป็นประธานอาเซียนของไทยไว้ที่ “ร่วมมือ

Read More