Home > beverage

‘ดุสิตธานี’ เดินหน้าสร้างความเติบโตให้ธุรกิจอาหารเข้าซื้อหุ้น ‘เอ็บเพอคิวร์’

‘ดุสิตธานี’ เดินหน้าสร้างความเติบโตให้ธุรกิจอาหาร เข้าซื้อหุ้น ‘เอ็บเพอคิวร์’ ผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มโรงเรียนนานาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อขยายธุรกิจ ‘เคเทอริ่ง’ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ประกาศเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 51% ในบริษัท เอ็บเพอคิวร์ เคเทอริ่ง จำกัด (ECC) ผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มโรงเรียนนานาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านบริษัทดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DTC เพื่อขยายโอกาสการลงทุนตามยุทธศาสตร์กระจายการลงทุน แสวงหาโอกาสและผลตอบแทนจากการลงทุน ตอกย้ำการสร้างธุรกิจอาหารให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพการบริการที่ครบวงจรให้กับกลุ่มบริษัทฯ นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดุสิตธานี กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการลงทุนครั้งนี้เป็นการเดินตามยุทธศาสตร์การเติบโตในส่วนของการกระจายการลงทุน หลังจากที่ดุสิตธานีได้ขยายไปสู่การลงทุนในธุรกิจอาหารผ่านบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ เพื่อลงทุนในบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โพรดิวซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน เครื่องปรุงรส ซอส เครื่องดื่มและน้ำผลไม้ และจัดตั้งบริษัท ดุสิต กูร์เมต์ เพื่อต่อยอดการทำการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้แบรนด์ของดุสิตในช่วงก่อนหน้านี้ และดังนั้นการลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำว่า

Read More

ไทยเบฟในอาเซียน คู่ปรับขนาบข้าง ศึกนี้ไม่ง่าย

ความพยายามที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจให้แผ่กว้างครอบคลุมบริบทของอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจ ดูจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคหากแต่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นทั้งคู่ปรับเก่าที่เคยฝากรอยแผลทางธุรกิจและคู่ต่อสู้ที่ประเมินอาเซียนในฐานะที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำทางธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเข้าซื้อหุ้นโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนกว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เมื่อไม่นานมานี้ อาจให้ภาพของจังหวะก้าวและการรุกคืบไปในอนาคตตามแผนที่วางไว้ ตลาดเบียร์อาเซียนยังมีผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่ร่วมแสดงบทบาทนำในภูมิภาคแห่งนี้ และต่างมีสรรพกำลังที่พร้อมจะบดบังและทำลายจังหวะโอกาสของไทยเบฟเวอเรจไม่น้อยเลย บทบาทของ Carlsberg และ Heineken ในห้วงเวลาหลังจากการรุกคืบของไทยเบฟเวอเรจเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผู้ผลิตเบียร์ระดับนำของโลกทั้งสองรายนี้ ต่างเคยมีประสบการณ์และรอยอดีตเกี่ยวเนื่องให้จดจำไทยเบฟเวอเรจในมิติที่ต่างกัน หากแต่ความเป็นไปในทางธุรกิจ ต้องถือว่านี่เป็นการขับเคี่ยวแข่งขันในสมรภูมิที่เดิมพันสูงย่อมไม่มีใครประสงค์จะเพลี่ยงพล้ำ Carlsberg บริษัทผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเดนมาร์ก เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านอดีตพันธมิตรและเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนจะนำไปสู่การร่วมจัดตั้งคาร์ลสเบอร์ก ประเทศไทย ก่อนที่จะมีกรณีพิพาท เมื่อ Carlsberg ยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับเบียร์ช้างในปี 2003 โดยระบุว่าเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน โดยฝ่ายเบียร์ช้างของเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ Carlsberg บอกเลิกและฉีกสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนั้น ผลจากการยกเลิกการร่วมทุนกับเบียร์ช้างดังกล่าว ทำให้ชื่อของ Carlsberg เลือนหายไปจากการรับรู้ของนักดื่มชาวไทยไปอย่างช้าๆ หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง Carlsberg กลับลงหลักปักฐานในเอเชียและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวเฉพาะในอาเซียน Carlsberg ลงทุนทั้งในเวียดนามผ่าน Hue Brewery และ Hanoi

Read More

โรดแมพ ไทยเบฟ ไล่จี้ “คิริน-อาซาฮี”

 ปี 2558 ถือเป็นจุดสตาร์ทครั้งสำคัญตามยุทธศาสตร์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี การขยายอาณาจักร “ไทยเบฟเวอเรจ” ขึ้นสังเวียนชิงตำแหน่งผู้นำตลาดธุรกิจเครื่องดื่มของเอเชีย หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี ปรับโครงสร้างองค์กร โครงสร้างผู้บริหาร และ Business Model ดึง “เอฟแอนด์เอ็น” เข้ามาเป็น “สปริงบอร์ด” ชิ้นสำคัญ  แน่นอนว่า ฐาปน สิริวัฒนภักดี รับนโยบายโดยตรง เปิดโรดแมพวางแผนการดำเนินธุรกิจในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือ “Vision 2020” โดยประกาศเป้าหมายเฟสแรกอย่างชัดเจน คือ การเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2563 ทั้งนี้ หากดูยักษ์ใหญ่ในตลาดเครื่องดื่มเอเชีย อันดับแรกที่ยึดตำแหน่งทำรายได้สูงสุดมานาน คือ “คิรินกรุ๊ป” อันดับ 2 อาซาฮีกรุ๊ป และอันดับ 3 ไทยเบฟเวอเรจที่แซงหน้า “ซานมิเกล” หลังจากฮุบกิจการเฟรเซอร์แอนด์นีซ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” แบบเบ็ดเสร็จได้เมื่อปี

Read More

ไทยเบฟฯ ดัน “โออิชิ” เป็นเรือธง สู่ Top 5 ผู้นำธุรกิจอาหารเครื่องดื่มเอเชีย

 หลังจากที่ “ไทยเบฟเวอเรจ” ได้บรรลุดีลซื้อกิจการอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ “เฟรเซอร์แอนด์นีฟ” หรือ “F&N” เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดูเหมือนกลุ่มบริษัทในเครือไทยเบฟฯ ที่ถูกหมายตาว่าจะเป็น “เรือธง” นำร่องในการทดสอบศักยภาพและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของพันธมิตรรายใหม่อย่าง F&N ก่อนใคร คงหนีไม่พ้น “โออิชิ กรุ๊ป” ซึ่งก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนของกลุ่มโออิชิในปีนี้ ที่จะมุ่งเน้นการ “ผนึกกำลัง (synergy)” กับบริษัทในเครือมากขึ้น เพื่อสยายปีกสู่ตลาดต่างประเทศ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารระดับสูงชุดใหม่ของกลุ่มโออิชิเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในงานแถลงผลประกอบการปี 2556 พร้อมกับแถลงแผนธุรกิจปี 2557 นำทีมโดย “มารุต บูรณะเศรษฐกุล” ลูกหม้อของไทยเบฟฯ ซึ่งเข้ามานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แทน “แมทธิว กิจโอธาน” ที่ย้ายไปเป็นผู้บริหารในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว นอกจากโออิชิกรุ๊ป ยังมีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนตัว “ขุนพล” ของทุกกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟฯ ซึ่งเรียกว่าเป็นการปรับขนานใหญ่ ว่ากันว่า เพื่อรองรับกับเป้าหมายใหญ่ของ “ฐาปน

Read More

ไทยเบฟฯ ติดปีก “C-ASEAN” ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย “A-380 Model”

“From soya milk to single malt” วลีข้างต้นคงไม่ใช่เพียงถ้อยความที่เลื่อนลอยขาดนัยความหมาย หากในความเป็นจริงนี่คือเป้าหมายสำคัญของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในการขยายอาณาจักรธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรที่กำลังรุกไล่ตีกินทุกตลาดอย่างไร้ขอบเขตและทุกตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนที่เตรียมพลิกโฉมครั้งใหญ่ในปี 2558 กำลังซื้อและเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ภายใต้ยุทธศาสตร์ ใหม่ “C-ASEAN” ซึ่งกลุ่มไทยเบฟฯ ประกาศจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรของอาเซียน ไม่ใช่แค่นั้น C-ASEAN  จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น “อาเซียน” ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งแท้จริงก็คือ เครื่องมือและกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ การสร้างแบรนด์ การขยายเครือข่ายสินค้าและการสร้างความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางธุรกิจ เนื่องจากศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษา สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มสร้างกลยุทธ์อย่างจริงจังตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผ่านกิจกรรมแรก การเป็นผู้สนับสนุนจัดคอนเสิร์ตออร์เคสตรา “มนต์เวียงจันทน์” ที่ประเทศลาวเมื่อเดือนมีนาคม 2556 การแสดงในครั้งนั้นมี “ท่านบัวเงิน ชาพูวง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม ของประเทศลาว มาขับร้องเพลงร่วมกับวงของไทย มีนักธุรกิจไทย นักธุรกิจลาว สื่อมวลชนไทย สื่อมวลชนลาว

Read More

สยามอินเตอร์ ก้าวที่กล้าในสมรภูมิ AEC

 ความพยายามรุกคืบเข้าครอบครองตลาดเครื่องดื่มในประเทศเพื่อนบ้าน AEC โดยผู้ประกอบการไทยยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของการขยับตัวรุกเข้าทำตลาดโดยบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เอง หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการขายที่เกิดขึ้นจากผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่ ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจติดตามล่าสุดอยู่ที่การรุกเข้าทำตลาดอย่างกว้างขวางของ บริษัท สยามอินเตอร์ ลาว จำกัด ที่ร่วมกับ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ด้วยการส่งหน่วยขายเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการขายครั้งใหญ่ในตลาด สปป.ลาว ภายใต้กิจกรรม “ฝาโออิชิ ลุ้นรวยทันใจ” ที่พร้อมเข้าถึงทุกจังหวัดในสปป.ลาวเลยทีเดียว สุพิชชา รามสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามอินเตอร์ ลาว จำกัด ผู้แทนจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กรีนที ใน สปป.ลาว ระบุว่า สยามอินเตอร์ลาวมีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ทรงประสิทธิภาพครอบคลุมในทุกจังหวัดของ สปป.ลาว ทำให้พี่น้องชาวลาวทุกคนมั่นใจได้ว่าจะมีสิทธ์ลุ้นรวยทันใจ แลกรับรางวัลได้สะดวกทุกช่องทาง พร้อมๆ กับการดื่มความสดชื่นจากชาเขียวโออิชิ กรีนที ตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมนี้อย่างแน่นอน กิจกรรมดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นความต่อเนื่องจากกิจกรรม “ลุ้นฝารวยทันใจ” ของโออิชิ ในประเทศไทย และเป็นการปูพรมเพื่อรักษาฐานลูกค้าใน สปป.ลาว ที่โออิชิได้เริ่มสร้างและวางตลาดไว้มานานกว่า 1 ทศวรรษ ซึ่งแม้ว่ากิจกรรมของสยามอินเตอร์ลาวในครั้งนี้จะมีรูปแบบเป็นหน่วยเคลื่อนที่ ที่เปิดบูธอยู่ในงานวัดหรือแหล่งชุมนุมชน

Read More

“เสริมสุข” ทศวรรษที่ 7 แผนการใหญ่ของ “ฐิติวุฒิ์ บุลสุข”

“การเดินทางต้องมีแผนที่ ผมมีเป้าหมาย แต่ไม่ได้มองแค่ยอดขายหรือผลประกอบการ เสริมสุขวันนี้กำลังสร้างฐานธุรกิจเพื่อเติบโตในอนาคต อยู่อย่างไรให้แข็งแกร่ง ไม่ว่ารูปแบบ ผลิตภัณฑ์ หรือการสร้างแบรนด์ของตัวเอง การเติบโตขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ถ้ามีโอกาส เราไปแน่นอน” ฐิติวุฒิ์ บุลสุข กล่าวถึงการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ของบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายรออยู่ข้างหน้า โดยเฉพาะแผนการใหญ่ในการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร แม้สเต็ปแรกยังโฟกัสอยู่ในตลาดประเทศไทยเหตุผลไม่ใช่แค่การเตรียมความพร้อมก่อนบุกตลาดโลก การสร้างแบรนด์ หรือวางเครือข่าย แต่เป็นเพราะตลาดในประเทศยังมีเม็ดเงินให้กอบโกยอีกจำนวนมหาศาล ต้องยอมรับว่า ฐิติวุฒิ์ก้าวขึ้นมานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ในช่วงจังหวะการพลิกผันหลายเรื่อง โดยเฉพาะการยุติสัญญาการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมกับบริษัท เป๊ปซี่ โค  อิงค์ สหรัฐอเมริกา เปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตและจัดจำหน่ายมาเป็นการสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง ส่ง “เอสโคล่า” บุกตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมและเร่งขยายพอร์ตสินค้าจากเดิมที่มีรายได้จากกลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมมากถึง 70%ตามแผน คือลดสัดส่วนยอดขายจากกลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมเหลือ 50% และเร่งเติมเต็มรายการสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มไม่อัดลม (นอนคาร์บอเนต) ให้หลากหลายมากขึ้น แต่เลือกวิธีสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดทีละแบรนด์ตามสไตล์ของฐิติวุฒิ์ เพื่อความมั่นใจในการสร้างฐานการเติบโต ปัจจุบันเสริมสุขมีแบรนด์สินค้าอยู่ในพอร์ต ประกอบด้วยน้ำดื่ม “คริสตัล” โซดา “คริสตัล”  โออิชิขวดแก้ว

Read More

60 ปี จาก “น้ำดำ” สู่ธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร

เส้นทางของ “เสริมสุข” เมื่อ 60 ปีก่อน เริ่มต้นเมื่อ ยม ตัณฑเศรษฐี นายแบงก์จากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ  ชักชวนเจ้าสัวโล่เต็กชวน พ่อของทรง บุลสุข เจ้าของกิจการโรงสีหลายแห่ง ร่วมลงหุ้นธุรกิจค้าน้ำอัดลม โดยมีตระกูลล่ำซำและหวั่งหลีรวมอยู่ด้วยทั้งสี่ตระกูลร่วมก่อตั้งบริษัทเสริมสุข  เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำอัดลมยี่ห้อ “เป๊ปซี่” โดยได้รับสิทธิจากเป๊ปซี่ โค อิงค์ สหรัฐอเมริกา  ประเดิมขายเป๊ปซี่ขวดแรกในเช้าวันพุธที่ 18 มีนาคม 2496 พร้อมคำโฆษณาฮิตติดปาก “ดีมาก มากดี”เสริมสุขยุคแรกมี พล.ต.ท.พระพินิจชนคดี เป็นประธานกรรมการ และยม ตัณฑเศรษฐี เป็นกรรมการผู้จัดการ ส่วนเจ้าสัวโล่เต็กชวนเป็นหนึ่งในกรรมการ ปี 2501 เจ้าสัวโล่เต็กชวนผลักดันลูกชาย คือ ทรง บุลสุข ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ หลังจาก ยม ตัณฑเศรษฐี กลับไปเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จากโรงงานและสำนักงานเล็กๆ ในซอยศาลาแดง กำลังผลิต 2 หมื่นลังต่อวัน

Read More

“บิ๊กโคล่า” แหกกฎสู้ยักษ์ เร่งขยายพอร์ตรุกอาเซียน

 แม้สมรภูมิเครื่องดื่มน้ำอัดลมกำลังขับเคี่ยวกันอย่างรุนแรงใน 4 แบรนด์หลัก ล่าสุด โค้กออกมาประกาศชัยชนะกวาดส่วนแบ่งในตลาดรวม ทั้งน้ำดำและน้ำสีที่มีมูลค่า 44,000 ล้านบาท มากกว่า 55% ขณะที่ “เสริมสุข” โค่นอดีตพันธมิตรขึ้นอันดับ 2 ส่วนแบ่ง 19% เขี่ย “เป๊ปซี่” ตกไปอยู่ในอันดับ 3 ซึ่งมี “บิ๊กโคล่า” จ้องแซงทางโค้งอยู่ตลอดเวลา  แต่ปรากฏการณ์ที่น่าจับตาไม่ใช่แค่การช่วงชิงตลาดด้วยกลยุทธ์หลากหลายชนิด กลับเป็นยุทธศาสตร์การขยายแนวรบใหม่ การแหกกฎสู้ยักษ์เจ้าตลาด “โค้ก-เป๊ปซี่” และมองเป้าหมายขนาดใหญ่ของกลุ่มอาเจกรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรสัญชาติเปรู ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาสร้างฐานในเอเชีย และประกาศเป้าหมายต้องก้าวขึ้นเป็นบริษัทข้ามชาติระดับโลกภายในปี 2563 ซึ่งเป็นการเดินเกมแนวเดียวกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ที่กำลังเร่งขยายพอร์ตสินค้าเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ในตลาดอาเซียนและเอเชีย ทั้งเครื่องดื่มน้ำอัดลม  “เอส” ชาพร้อมดื่ม “โออิชิ” และเพิ่งฮุบหุ้นใหญ่กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มขนาดใหญ่ระดับโลก เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” เข้ามาเสริมทัพได้อีก  ปัจจุบัน อาเจกรุ๊ปได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ อันดับ 10 ของโลก ตามรายงานของบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาด ยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

Read More