Home > Foreign Direct Investment: FDI

ทุนนอกไหลเข้าอาเซียน หวังหลบภัยสงครามการค้า

ความเป็นไปของอาเซียนโดยเฉพาะกรณีว่าด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ดูจะเป็นประหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะไม่เพียงแต่จะมีส่วนส่งเสริมการขยายฐานการลงทุนแล้ว กรณีดังกล่าวยังเชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาพัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน (ASEAN FDI) มีลักษณะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนภายในอาเซียนเอง ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าธุรกรรมด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) แล้ว การพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคและสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในระดับภูมิภาคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากแหล่งใหม่ (Emerging Sources) ที่มีจีนเป็นผู้เร่งปฏิกริยา การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ไหลรินเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลของการอาศัยหลักการผลิตที่ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ข้อได้เปรียบจากขนาดของการผลิต (economy of scale) และห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในการผลิตสินค้า ส่งผลทำให้จีนเปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างผลิต มาเป็นผู้ส่งออกสินค้า และแปลงสถานะมาเป็นคู่ค้าที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในที่สุด สัดส่วนของการค้าและการลงทุนในประเทศจีนที่มากล้น จนมีมูลค่าและสัดส่วนของการลงทุนที่มากเกินกว่าจะขยายได้ในประเทศ ทำให้ในปัจจุบันไม่เพียงแต่จีนจะกลายมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าให้กับโลกแล้ว ยังรวมไปถึงการส่งเงินทุนออกไปภายนอกประเทศ (Outward Foreign Direct

Read More

ไทยเร่งผุดนิคมฯ กระตุ้นลงทุน หลัง FDI ทั่วโลกหดตัว

สถานการณ์การแข่งขันช่วงชิงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาหล่อเลี้ยงและกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้เดินไปข้างหน้า ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ดูจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะนอกจากจะเผชิญกับทางแพร่งว่าด้วยการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของแรงงาน ในขณะเดียวกันยังมีแรงเสียดทานจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังมีต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นแล้ว ข้อเท็จจริงในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยในช่วงปีที่ผ่านมา FDI ทั่วโลกปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 16 จากระดับ 1.81 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 มาอยู่ที่ระดับ 1.52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2560 ที่ผ่านมา ในรายงาน “Global Investment Trend Monitor” ที่นำเสนอโดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD (The United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ในระดับโลกยังดำเนินไปภายใต้การฟื้นตัวอย่างยากลำบาก ท่ามกลางผลลัพธ์ที่นำมาซึ่งความแปลกใจ เมื่อพิจารณาจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ นอกจากนี้ รายงานของ UNCTAD ยังระบุด้วยว่า แม้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศกำลังพัฒนา

Read More