Home > 2021 > เมษายน (Page 3)

คำแถลงการณ์ ดร. ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้

คำแถลงการณ์ ดร .ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ เนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดความสูญเสียด้านบุคลากรและทรัพยากร รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สยามอะเมซิ่งพาร์ค แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยและชาวต่างชาติเองก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการควบคุมที่เข้มข้นในปีที่แล้วและช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี บัดนี้สยามอะเมซิ่งพาร์คได้รับความกรุณาจากภาครัฐว่าเป็นสถานที่ที่ประชาชนยังสามารถเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจคลายความเครียดได้ เนื่องจากขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่า 300 ไร่ แวดล้อมไปด้วยต้นไม้หลายพันต้นจึงเชื่อว่าเป็นสถานที่ปลอดโปร่งและเป็นปอดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ผู้ที่มาเยือนยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้พนักงานกว่า 400 คน ไม่ต้องตกงาน สามารถทำมาหาเลี้ยงครอบครัวโดยสุจริตได้ต่อไป ผมจึงขอเรียนแจ้งแฟนเพจของสยามอะเมซิ่งพาร์คซึ่งสอบถามกันมาอย่างมากมายและทุกท่านซึ่งเป็นห่วงและไม่แน่ใจว่าว่าเราเปิดทำการตามปกติหรือไม่ว่าสยามอะเมซิ่งพาร์คยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและเที่ยวสวนน้ำสวนสนุกได้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี เพื่อให้ประชาชนได้เที่ยวพักผ่อนอย่างมีความสุขและปลอดความกังวลตามแบบ New Normal สยามอะเมซิ่งพาร์คขอความร่วมมือทุกท่านปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT ซึ่งก็คือแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัดทั้งก่อนเข้าใช้บริการและตลอดเวลาที่ใช้บริการ สุดท้ายนี้ผมขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะก้าวผ่านบททดสอบนี้ไปด้วยกันในที่สุดครับ ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้

Read More

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More

LPN เสนอขายหุ้นกู้ อายุ 3 ปี แก่นักลงทุนทั่วไป ดอกเบี้ยคงที่ 3.95%

LPN เตรียมออกหุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ให้กับผู้ลงทุนทั่วไป เสนอขายระหว่างวันที่ 10 – 12 พฤษภาคมนี้ จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 1 แสนบาท ผ่าน 4 สถาบันการเงินเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ นายอภิชาติ เกษมกุลศิริ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านการเงิน บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า LPN เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณทุก 100,000 บาท กำหนดเสนอขายวันที่ 10

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

อินโนบิก (เอเซีย) ลงทุนใน LOTUS Pharmaceutical ขยายพอร์ตธุรกิจยาในต่างประเทศ

เสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน Lotus Pharmaceutical บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยาสามัญชั้นนำ (Innovative Medicines) นำร่องเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจ Life Science รุกตลาดต่างประเทศ ขับเคลื่อน New S-Curve กลุ่ม ปตท. ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้น 100%) ประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน บริษัท Lotus Pharmaceutical จำกัด (Lotus Pharmaceutical Co., Ltd.) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยาสามัญชั้นนำ (Innovative Medicines)

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

เผยผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงถึง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล

เผยผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงถึง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล สะท้อนถึงความท้าทายในการป้องกันข้อมูลสำคัญขององค์กรและเป็นข้อจำกัดในเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล จากรายงาน Veeam Data Protection Report ประจำปี 2021 พบว่าสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) องค์กรทั่วโลกถึง 40% มองว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นอุปสรรคสำคัญในอีก 12 เดือนข้างหน้า และหนึ่งในสามขององค์กรต่างชะลอหรือเลือกที่จะหยุดกระบวนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ก่อนในช่วงปีที่ผ่านมา ความท้าทายในการป้องกันข้อมูลกำลังบั่นทอนความสามารถขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation, DX) อ้างอิงผลการสำรวจในรายงาน Veeam ®  Data Protection Report 2021 พบว่าองค์กรถึง 58% ไม่สามารถสำรองข้อมูลได้สำเร็จหรือปล่อยข้อมูลไว้โดยไม่ได้รับการป้องกัน รายงานการสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดย Veeam Software ผู้นำด้านโซลูชั่นสำรองข้อมูลในรูปแบบการจัดการข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ Cloud Data Management™ ซึ่งพบว่า หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรถึง 40% ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คืออุปสรรคครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนจากนี้

Read More

อนาคตยานยนต์ไทย บนรอยทางของยุทธศาสตร์ EV

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความท้าทายแห่งอนาคตครั้งใหม่ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ออกมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 เพื่อเร่งผลักดันให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยวางเป้าหมายที่ท้าทายให้ไทยผลิตรถยนต์ ZEV ได้ 100% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2578 นั้น กรณีดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาจเกิดผลดีต่อการดึงดูดการลงทุนผลิตรถยนต์ ZEV เข้าประเทศในอนาคตไม่น้อย สร้างโอกาสให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV หลักแห่งหนึ่งของโลก แต่การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวเพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคของไทย ยังอาจต้องการองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญเพื่อผลักดันไปสู่จุดนั้นด้วย ซึ่งองค์ประกอบที่ภาครัฐและเอกชนในไทยอาจจะสามารถเข้าไปจัดการได้มีอยู่ 2 ประการหลัก คือการสร้างโอกาสให้ไทยมีฐานตลาดรถยนต์ ZEV ทั้งในและต่างประเทศที่ใหญ่มากพอ และการสร้างโอกาสให้เกิดห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์ ZEV ที่ครบวงจรมากที่สุดในประเทศ ซึ่งเคยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมาไทยสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกมาแล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle: EV) ขยายตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด สวนทางกับยอดขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE (Internal combustion engine) ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

Read More

PTT Station – EVLOMO ร่วมนำร่องสร้างเครือข่าย EV Station

PTT Station - EVLOMO ร่วมนำร่องสร้างเครือข่าย EV Station ใน อีอีซี รองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในโครงการพัฒนา EV City บ้านฉาง นายบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และ นางสาวนิโคล หวู่ กรรมการบริษัท อีวีโลโม เทคโนโลยีส์ จำกัด หรือ EVLOMO ร่วมเยี่ยมชมการดำเนินงาน EV Station ณ PTT Station สาขาระยอง - บ้านฉาง กม.192 (ขาเข้า) โดยมี นายเรืองฤทธิ์ ประกอบธรรม นายอำเภอบ้านฉาง ร่วมงาน โดย EV Station

Read More

ฟังเสียงหัวใจตัวเองบ้าง แล้วจะมีความสุขขึ้น

โลกอินเทอร์เน็ตขยายอิทธิพลเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ตื่นลืมตา กระทั่งหลับตานอนอีกครั้งในยามราตรี จนทำให้เราแทบจะตัดขาดจากโลกโซเชียลไม่ได้ บางคนใช้เวลาอยู่กับโลกโซเชียลนานเกินไปจนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงได้ถูกครอบงำ หรือรูปแบบวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เดิมทีมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หาความรื่นรมย์ในชีวิตด้วยการดื่มด่ำกับกลิ่นกรุ่นของกาแฟยามเช้า เดินสำรวจต้นไม้ในสวนหลังบ้าน มือหนึ่งถือแก้วกาแฟที่ยังมีควันลอยฟุ้งส่งกลิ่นกาเฟอีนปลุกให้เราตื่นตัว อีกมือถือกรรไกรตัดกิ่ง คอยเล็ม ริด ใบไม้ที่แห้งเหี่ยวโรยราออกจากต้น ทว่า ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดด ความรื่นรมย์ในยามเช้าเปลี่ยนไปจากเดิม กาแฟแก้วโปรดถูกจับคู่กับโทรศัพท์มือถือที่ตอบรับสัญญาณของโลกออนไลน์ตัวแปรสำคัญที่นำพาให้เราหลุดจากโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างความบันเทิงจากเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดลงในโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งความขัดแย้ง ปมดราม่าของผู้คนจากหลากหลายวงการ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้ และแทบไม่เคยฟังเสียงตัวเอง เสียงหัวใจ หรือแม้แต่เสียงลมหายใจของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราปล่อยความคิดของตัวเองให้เอนเอียงไปกับมายาคติของโลกออนไลน์ ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงได้ง่ายขึ้น น่าแปลกที่คนแปลกหน้าเหล่านี้สร้างอิทธิพลต่อเราขึ้นมาจากตัวอักษรที่ลอยเคว้งอยู่กลางอากาศที่มีเพียงช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อเท่านั้น หลายคนแทบไม่รู้ตัวเองเลยว่า การปล่อยให้มายาภาพเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลในความคิดเรานั้น เราเหลือความสุขที่แท้จริงน้อยลง แต่เรากลับคิดเป็นจริงเป็นจังกับทัศนะที่เปิดเผยเพียงด้านเดียวบนโลกออนไลน์ แม้โลกคู่ขนานใบนี้จะมีความเป็นจริงอยู่บ้าง ทว่า อีกมิติของโลกใบดังกล่าวก็อัดแน่นไปด้วยมายาลวงเช่นกัน ความสุขของเราถูกลดทอนให้น้อยลง ความเครียดสะสมมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง พื้นที่ส่วนตัวลดลง แม้กระทั่งเราเห็นคุณค่าของตัวเอง และคนรอบข้าง คนในครอบครัวน้อยลง จะดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างสมดุลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และการใช้ประโยชน์จากโลกคู่ขนานที่เรียกว่า “โซเชียลมีเดีย” ให้เกิดขึ้น เริ่มจากการปิด เปิดโลกออนไลน์ให้เป็นเวลา เพื่อสร้างเวลาส่วนตัวอย่างแท้จริง ในเมื่อเราฟังเสียงจาก “คนอื่น” มามากมาย แล้วเพราะอะไรเราจะหยุดและฟังเสียงของตัวเองบ้างไม่ได้ ตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลากับการจิบกาแฟ ทอดสายตาไปกับต้นไม้ใบหญ้า สีเขียวของใบไม้ และสีสันของดอกไม้จะช่วยให้สายตาของเราได้พักผ่อน หลับตาลง ปล่อยให้สรรพเสียงเดินทางเข้าสู่โสตประสาทเราอย่างช้าๆ

Read More