Home > ยานยนต์ไทย

อนาคตยานยนต์ไทย บนรอยทางของยุทธศาสตร์ EV

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความท้าทายแห่งอนาคตครั้งใหม่ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ออกมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 เพื่อเร่งผลักดันให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยวางเป้าหมายที่ท้าทายให้ไทยผลิตรถยนต์ ZEV ได้ 100% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2578 นั้น กรณีดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาจเกิดผลดีต่อการดึงดูดการลงทุนผลิตรถยนต์ ZEV เข้าประเทศในอนาคตไม่น้อย สร้างโอกาสให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV หลักแห่งหนึ่งของโลก แต่การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวเพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคของไทย ยังอาจต้องการองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญเพื่อผลักดันไปสู่จุดนั้นด้วย ซึ่งองค์ประกอบที่ภาครัฐและเอกชนในไทยอาจจะสามารถเข้าไปจัดการได้มีอยู่ 2 ประการหลัก คือการสร้างโอกาสให้ไทยมีฐานตลาดรถยนต์ ZEV ทั้งในและต่างประเทศที่ใหญ่มากพอ และการสร้างโอกาสให้เกิดห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์ ZEV ที่ครบวงจรมากที่สุดในประเทศ ซึ่งเคยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมาไทยสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกมาแล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle: EV) ขยายตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด สวนทางกับยอดขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE (Internal combustion engine) ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

Read More

มอเตอร์โชว์ 2020 ภาพสะท้อนความหวังยานยนต์ไทย

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายต้องปิดลงหรือเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมนับตั้งแต่เมื่อปลายเดือนมีนาคมก่อนที่จะมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในแต่ละระยะและการกำหนดวิถีใหม่ในการจัดกิจกรรมด้วยขั้นตอนปฏิบัติในการป้องกันและคัดกรอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งดูเหมือนว่างานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะผ่านเกณฑ์และเก็บรับความสำเร็จภายใต้สถานการณ์ยากลำบากของสังคมไทยไปได้ด้วยดี จำนวนยอดผู้เข้าชมงานรวมมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงเวลาสองสัปดาห์ของการจัดงาน ในด้านหนึ่งอาจสะท้อนภาพความสนใจของผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อยานพาหนะคันใหม่ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งบ่งชี้ว่าประชาชนซึ่งต้องห่างหายจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการตลาดจากผลของมาตรการควบคุมที่นำไปสู่การปิดเมือง มีความต้องการที่จะกลับไปใช้วิถีชีวิตที่เป็นปกติ แม้ว่าจะมีวิถีใหม่คอยกำกับก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจจากงาน มอเตอร์โชว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของยอดจองรวมที่มีสูงถึง 22,791 คัน ซึ่งแบ่งเป็นยอดจองรถยนต์รวม 18,381 คัน และรถจักรยานยนต์รวม 4,410 คัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคภายในประเทศยังพอจะมีกำลังซื้อเหลืออยู่บ้างท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผลกระทบที่กระจายอยู่ทั่วโลก ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายก็ตาม ข้อเท็จจริงในกรณีของประเทศไทย ซึ่งแม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นจำนวนมากเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ หากแต่ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังของรัฐตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว เนื่องมาจากรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ไม่สามารถส่งออกได้ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนต้องมีการปรับลดเป้าหมายการผลิตจากที่เคยกำหนดไว้ในระดับ 2 ล้านคันมาเป็น 1.4 ล้านคันในช่วงก่อนหน้านี้ และลดเหลือ 1 ล้านคันในเวลาต่อมา ภายใต้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในสภาวะไม่เอื้ออำนวยต่อการจับจ่ายของผู้บริโภคเช่นนี้ แม้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มาร่วมอยู่ในงานจะพยายามนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายที่ดีภายในงาน แต่ผู้บริโภคก็ยังคงชะลอการตัดสินใจในการซื้อรถออกไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ามีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภค ในการตัดสินใจใช้เงินในสภาวะดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ดี

Read More