Home > 2017 (Page 4)

ออกกำลังกายอย่างไม่ตั้งใจกันไหม

Column: Well – Being คุณเป็นคนหนึ่งใช่ไหมที่คิดหาข้ออ้างให้ตัวเองเสมอเวลาคิดถึงความปวดเมื่อย แล้วขี้เกียจออกไปเดินชอปปิ้งเสียเฉยๆ ขอให้คิดเสียใหม่ แล้วนับเอากิจกรรมนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายอย่างไม่ตั้งใจของคุณ การนับรวมเอากิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวทางกายภาพเข้าไปอยู่ในกิจวัตรประจำวันของคุณด้วยนั้น ไม่ทำให้คุณต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย ยกเว้นการสร้างโอกาสให้ร่างกายได้ใช้พลังงาน ซึ่งแม้มันอาจไม่เหมือนการออกกำลังกายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เมื่อนำกิจกรรมเหล่านี้มารวมเข้ากับการออกกำลังกายตามปกติของคุณ ผลที่ได้จะช่วยให้คุณรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ นิตยสาร GoodHealth จึงนำตัวเลขการเผาผลาญพลังงานที่คำนวณได้จากการออกกำลังกายอย่างไม่ตั้งใจมานำเสนอได้อย่างน่าสนใจ โดยอยู่บนพื้นฐานของกิจกรรมที่คุณทำเป็นเวลานาน 30 นาที สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัมดังนี้ จูงหมาเดิน = 395 กิโลจูลส์ การจูงหมาออกเดินเล่นในลักษณะที่บางครั้งมันอาจหยุดเดินและใช้จมูกดมกลิ่นไปตามประสา ซึ่งให้ความรู้สึกของการผ่อนคลายมากกว่าการออกกำลังกาย โดยเน้นการเดินให้ได้ 30 นาทีนั้น ทำให้ตัวเลขค่าดัชนีมวลกายของคุณดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้คุณมีชีวิตทางสังคมที่ดีขึ้น ถ้าคุณกับเจ้าหมาน้อยคู่ใจชอบเร่งฝีเท้าขึ้นถึงระดับวิ่งจ๊อกกิ้งได้จะยิ่งดีทีเดียว โดยตัวเลขเผาผลาญพลังงานจะขยับพุ่งขึ้นเป็น 933 กิโลจูลส์ เดินทางโดยรถสาธารณะ = 263 กิโลจูลส์ ถ้าคุณยอมจอดรถไว้ที่บ้าน แล้วหันมาเดินทางด้วยรถสาธารณะแทน เท่ากับเป็นการออกกำลังกายอย่างไม่ตั้งใจในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานโดยเฉลี่ยถึง 35 นาทีเลยทีเดียว ขณะที่การขับรถเผาผลาญพลังงานได้เพียง 8–10 กิโลจูลส์ การต้องวิ่งขึ้นรถเมล์หรือรถไฟเพื่อเดินทางไปทำงานนั้น ทำให้คุณมีแนวโน้มจะมีค่าดัชนีมวลกายลดลง การยืนโหนรถเมล์เพียงอย่างเดียว ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ 263 กิโลจูลส์

Read More

รัฐไทยในเวที APEC ยั่งยืนด้วยกรอบคิดเดิม?

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกครั้งที่ 25 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปกครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 8-11พฤศจิกายน 2560 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ปิดฉากลงไปแล้ว ขณะที่ผลสัมฤทธิ์ของการประชุมในครั้งนี้คงได้สะท้อนผ่านออกมาจากถ้อยแถลงของกลไกรัฐ ไม่ว่าจะตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏหรือไม่ก็ตาม ภายใต้กรอบการประชุมกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งมีผู้นำระดับสูงของแต่ละประเทศเข้าร่วมรวม 21 เขตเศรษฐกิจ การประชุมในครั้งนี้จึงได้รับการจับตามองจากนานาประเทศว่าผลสรุปของการประชุมจะนำพาหรือบ่งบอกทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตนับจากนี้อย่างไร ขณะเดียวกันบทบาทและภาพลักษณ์ของไทยในเวทีการประชุมแห่งนี้ จะสามารถสื่อแสดงศักยภาพของประเทศให้สามารถดึงดูดนักลงทุน หรือแม้กระทั่งเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติได้มากน้อยเพียงใด กำหนดการประชุมที่ประกอบด้วยการหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก หรือ ABAC : APEC Business Advisory Council และการหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ในประเด็นว่าด้วยการเติบโตอย่างมีนวัตกรรม การมีส่วนร่วม และการจ้างงานอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล (Innovative Growth, Inclusion and Sustainable Employment in the Digital Age) และพลังขับเคลื่อนใหม่ทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงในภูมิภาค (New Driver for Regional Trade,

Read More

นวัตกรรมทางการเงิน กับสาขาธนาคารที่หายไป

ฉากชีวิตที่ดำเนินผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายใต้ผลสืบเนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินหลากหลายที่ได้รับการนำเสนออย่างพรั่งพรูของผู้ประกอบการธนาคารแต่ละราย ที่พยายามหยิบยื่นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและการมาถึงของเครื่องมือทางการเงินบนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เสนอเกี่ยวกับการปิดตัวลดลงของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่ามีธนาคารปิดสาขารวมทั้งสิ้น 126 แห่ง ขณะที่ในเดือนกันยายน หรืออีก 2 เดือนถัดมา ธปท. รายงานว่าสาขาของธนาคารที่ถูกปิดมีเพิ่มขึ้นเป็น 192 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นอีก 66 แห่งภายใน 2 เดือน หากพิจารณาตามตัวเลขที่รายงานความเป็นไปของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมถึงสิ้นเดือนกันยายน อาจอนุมานได้ว่ามีสาขาธนาคารปิดตัวลงไปเฉลี่ยอย่างน้อย 1.08 แห่งในแต่ละวัน ซึ่งถือเป็นอัตราเร่งที่น่าสนใจไม่น้อย ข้อสังเกตจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินว่าเป็นเพราะธนาคารบางแห่งต้องการปรับลดตัวเลขทางบัญชีให้เสร็จสิ้นก่อนการปิดงบทางบัญชีประจำปีงบประมาณในเดือนกันยายน หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การปิดสาขาของธนาคารย่อมมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพมิติในเชิงนโยบายการบริหารเพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการให้และรับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิเสธได้ยากว่าแนวโน้มของการปิดสาขาธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากประพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต่างต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา การย้ายสถานที่ การเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านโมบายแบงกิ้ง หรืออินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตลอดจนการนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง และมีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา หากพิจารณาจำแนกตามพื้นที่ที่มีการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมาจะยิ่งพบนัยสำคัญในมิติที่ว่านี้มากขึ้น เมื่อจำนวนสาขาที่ปิดทั่วประเทศซึ่งมีรวมทั้งสิ้นจำนวน 192 แห่งนั้น เป็นสาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มากถึง 81 แห่ง ขณะที่สาขาที่ปิดตัวลงในแต่ละภูมิภาค ลดหลั่นลงตามสภาพภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคกลางที่มีสาขาธนาคารปิดตัวลงไป 39 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28

Read More

BJC จัดหนัก ปรับทัพค้าปลีก ลุยแม็กเน็ตใหม่หนุน “บิ๊กซี”

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เตรียมประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2560 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเหล่ากูรูนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายสถาบันต่างคาดการณ์ผลกำไรจะเติบโตสูงมาก บางสถาบันประเมินกำไรปกติอยู่ที่ 1,356 ล้านบาท หรือพุ่งพรวดกว่า 200% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ตามอานิสงส์รายได้ที่กลับมาโตทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก “บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์” ที่สำคัญ ธุรกิจค้าปลีกกลายเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลักให้บีเจซี โดยโครงสร้างรายได้เมื่อปี 2559 จากยอดรวม 125,330 ล้านบาท มาจากบิ๊กซีและธุรกิจร้านหนังสือ “เอเชียบุ๊คส” ถึง 65% ตามด้วยกลุ่มธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง 15% ส่วนกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค สัดส่วนราว 13% ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เติบโตตามธุรกิจค้าปลีก มีทั้งสินค้ากลุ่มอาหาร เช่น กลุ่มขนมขบเคี้ยว ได้แก่ มันฝรั่งทอดกรอบเทสโต ปาร์ตี้

Read More

“สตาร์บัคส์” ยึดทุกช่องทาง สกัดคู่แข่ง เร่งยอดไฮซีซั่น

แม้ยักษ์ใหญ่ “สตาร์บัคส์” สามารถยึดครองตลาดร้านกาแฟระดับพรีเมียมอย่างยาวนานกว่า 20 ปี แต่สงครามธุรกิจที่มีเม็ดเงินสะพัดนับหมื่นล้านและมีจำนวนคู่แข่งรายใหญ่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งมากขึ้น ทำให้เจ้าตลาดต้องเร่งหากลยุทธ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่น 2 เดือนสุดท้ายของปี เทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งคริสต์มาสและปีใหม่ ที่สำคัญยังเป็นช่วงที่ธุรกิจตั้งเป้ากอบโกยยอดขายครั้งใหญ่ หลังจากเศรษฐกิจซบเซามาตลอดทั้งปี ล่าสุด บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์ วางแผนจะจัดงานแถลงข่าวประจำปีในเร็วๆ นี้ เพื่อดีเดย์งัดกลยุทธ์การตลาดรุกกลุ่มเป้าหมายและแผนการลงทุนในปี 2561 อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ตลอดปี 2560 สตาร์บัคส์สามารถสร้างกระแสความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เร่งขยายสาขาเจาะช่องทางที่หลากหลาย เพื่อครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายระดับ A พร้อมๆ กับสกัดคู่แข่งอย่างทรูคอฟฟี่ และร้านกาแฟแบรนด์ต่างชาติ โดยเฉพาะการผุดโมเดลร้านรูปแบบต่างๆ ที่สวยงามโดดเด่น มีเรื่องราวหรือ Story แตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไป ทั้งนี้ หากสำรวจรูปแบบร้านสตาร์บัคส์ จากข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2560 มีจำนวนสาขาทั้งหมด 312 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นร้านรูปแบบมาตรฐานในห้างสรรพสินค้า 114 สาขา และเปิดกระจายอยู่ตามพื้นที่ชุมชน ย่านธุรกิจ

Read More

ทีซีซี ดัน “ปากซองคอฟฟี่” เปิดศึกฮุบกาแฟหมื่นล้าน

หลังจากใช้เวลากว่า 10 ปี บุกเบิกธุรกิจไร่กาแฟ เนื้อที่ 19,000 ไร่ บนที่ราบสูงบอละเวน ในเมืองปากซอง ประเทศ สปป.ลาว ภายใต้สัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลาว ระยะเวลา 50 ปี ล่าสุด ทีซีซี กรุ๊ป ของเจริญ สิริวัฒนภักดี กำลังเร่งเปิดฉากรุกสมรภูมิร้านกาแฟครั้งใหญ่ เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดมากกว่า 17,000 ล้านบาท แหล่งข่าวจากบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในเครือทีซีซี กรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทได้ทดลองโครงการร้านกาแฟแบรนด์ใหม่ “กาแฟปากซอง” (Paksong Coffee) โดยเปิดร้านต้นแบบในอาคารสำนักงานใหญ่ของบีเจซี ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แทนร้านกาแฟ “สเปเชียลตี้ส์” ที่เคยเปิดทดลองตลาดช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประเมินว่า แบรนด์ “ปากซองคอฟฟี่” มีความชัดเจนในแง่แหล่งที่มาของกาแฟ ซึ่ง “ปากซอง” ถือเป็นเมืองหลวงกาแฟของประเทศลาว

Read More

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

เศรษฐศาสตร์แห่งเทศกาล แรงกระตุ้นเศรษฐกิจไทย?

ความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปลายปี ดูจะดำเนินไปท่ามกลางกระแสข่าวดีที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จากเหตุที่ในช่วงปลายปีเช่นว่านี้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นการจับจ่ายอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ออกพรรษา มาสู่ฤดูกฐิน เทศกาลกินเจ และไล่เรียงไปสู่ลอยกระทง ควบคู่กับกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมหนังสือระดับชาติ (Book Expo 2017) ในช่วง 18-29 ตุลาคม และมอเตอร์เอ็กซ์โป 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นสภาวะทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยเลย แม้ว่าบรรยากาศโดยทั่วไปของสังคมไทยจะยังอยู่ในความโศกเศร้าและโหยหาอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้กำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง คลื่นมหาชนที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่แผ่ซ่านครอบคลุมทุกแขนงธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่พักบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ที่มีอัตราการจองห้องพักล่วงหน้าเต็มตั้งแต่ช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันการเดินทางของมหาชนผู้ภักดีจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางเข้ามาถวายสักการะอาลัย ได้หนุนนำภาคการขนส่งให้ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี ยังไม่นับรวมผลต่อเนื่องจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยหนุนนำการสะพัดของเงินตราทั้งโดยทางตรงและโดยอ้อมอีกนับประเมินมูลค่ามิได้ การกระจายรายรับรายได้จากกิจกรรมทางสังคมที่ดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้กลไกภาครัฐประวิงเวลาในการนำเสนอมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเหตุที่เชื่อมั่นว่า กลไกและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอย่างเป็นธรรมชาตินี้จะมีแรงส่งที่มากเพียงพอให้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีบรรลุสู่เป้าหมายที่กำหนดวางไว้ได้ ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้ามาในช่วงนี้ ซึ่งต่างประเมินสถานการณ์เชิงบวกต่อเนื่องนำไปสู่ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน และกลายเป็นประกายความหวังให้รัฐเชื่อมั่นในทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ หากแต่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งในมิติของสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและการวางยุทธศาสตร์ระยะยาว ยังเป็นประเด็นที่สั่นคลอนและท้าทายศักยภาพการบริหารของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้ตัวเลขประมาณการที่มีแนวโน้มสดใส อาจไม่ปรากฏขึ้นจริงในระยะถัดไปจากนี้ ความคาดหมายที่เชื่อว่าภาคการส่งออกจะเติบโตและเป็นจักรกลที่ช่วยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ยังผูกพันอยู่กับธุรกิจอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ภาวะน้ำท่วมนาแล้งกลายเป็นวัฏจักรที่ไร้ทิศทางการบริหารที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สินค้าส่งออกในกลุ่มนี้ขาดเสถียรภาพในเชิงปริมาณแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงราคาสำหรับการแข่งขันกับต่างประเทศอีกด้วย การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลไกภาครัฐในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Read More

หวังส่งออกอาหาร ดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 กำลังได้รับความคาดหวังว่าจะดำเนินไปสู่ทิศทางที่สดใสจากปัจจัยแรงส่ง ว่าด้วยการส่งออก ที่ตลอดช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 (มกราคม-กันยายน) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทย ที่สามารถมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 9.4 จนเกือบแตะระดับ 8 แสนล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกอาหารไทยรวมตลอดทั้งปีในระดับที่เกินกว่า 1 ล้านล้านบาทด้วย ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม 2560 ว่ามีมูลค่า 21,224 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท ขยายตัว 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการส่งออกในระดับสูงสุดในรอบ 55 เดือน ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 19,134 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ขยายตัว 14.9% ส่งผลให้ไทยมีการค้าเกินดุล 2,090 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับคาดการณ์ว่าภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2560 ที่ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 น่าจะเป็นไปได้

Read More

กินเจเงินสะพัดหมื่นล้าน เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว?

ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เทศกาลกินเจ หรือการถือศีลกินผัก ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ธงสีเหลืองที่มีตัวอักษรจีนที่บรรดาห้างร้านมักจะนำมาปัก เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว แต่ละปีช่วงเทศกาลกินเจ หลายค่ายมักจะเผยผลวิเคราะห์ หรือผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้รายงานดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินที่จะถูกใช้จ่ายในช่วงเทศกาล โดยในแต่ละปีจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท และแน่นอนว่าปี 2560 หอการค้าไทยคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ราว 4.5 หมื่นล้านบาท โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจปี 2560 ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,177 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง 36.5 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินใจกินเจปีนี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังกินเจเป็นประจำทุกปี ขณะที่ 63.5 เปอร์เซ็นต์ให้เหตุผลในการไม่กินเจว่า ราคาอาหารและวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจปีนี้มีราคาสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่าง 23.6 เปอร์เซ็นต์บอกว่ากินเจปีนี้คงไม่คึกคัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงโศกเศร้า ขณะที่

Read More