Home > environmental

กลุ่ม Eco-Actives เบ่งบาน ค้าปลีก-อาหาร เร่งปูพรมโกยเงิน

บริษัทวิจัยการตลาด Kantar เพิ่งเผยรายงาน Who Cares? Who Does? 2023 ซึ่งเป็นการสำรวจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมากกว่า 112,000 ราย เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการจับจ่ายเชิงลึกในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) เผยให้เห็นว่าแบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนา เพื่อจับเม็ดเงินการจับจ่ายที่มีมูลค่ามหาศาลถึง 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 17.5 ล้านล้านบาท Who Cares? Who Does? ระบุว่า กลุ่ม Eco-actives หรือผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในปี 2566 มีสัดส่วนราว 22% เพิ่มขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ระดับ 18% และคาดว่าผู้บริโภคเหล่านี้มีแนวโน้มการใช้จ่ายสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2570 ทว่า ประเด็นที่น่าสนใจ คือ  43% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุอุปสรรคสำคัญ คือ ข้อจำกัดทางการเงิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแบรนด์ต่างๆ ควรผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืนในราคาเอื้อมถึงได้ เพื่อฉกฉวยโอกาสดึงดูดผู้บริโภคหันไปใช้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ของตนเองได้

Read More

“เบทาโกร” ชู 5 ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050

“เบทาโกร” ชู 5 ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ตอกย้ำความมุ่งมั่นเพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน “บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของไทย จัดงาน “BETAGRO SD DAY 2023” ประกาศทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals – SDGs) และการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social, and Governance) ชู 5 ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน ครอบคลุม 1) การให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร 2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การพัฒนาชุมชน 4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และ

Read More

กลุ่มธุรกิจ TCP เผยผลสำรวจคนทำงานด้านความยั่งยืน เป้าหมาย Net Zero เป็นวาระเร่งด่วน ต้องลงมือทำทันที!

กลุ่มธุรกิจ TCP สำรวจความคิดเห็นคนทำงานด้านความยั่งยืนในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เห็นพ้องว่าการลงมือทำเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทำทันที! ผ่านกิจกรรมที่ลดใช้คาร์บอน การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ พร้อมชี้ “ขยะ”เป็นปัญหาใกล้ตัวที่ต้องแก้ไขเป็นอันดับแรก งานประชุม TCP Sustainability Forum 2023 ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition...From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” อีกหนึ่งความตั้งใจจริงในการปลุกพลังความร่วมมือของภาคธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าประชุมมากกว่า 200 คน ซึ่งนอกจากจะได้รับฟังความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนักวิชาการภาคสังคม นักธุรกิจ นักคิด นักปฏิบัติ และพันธมิตรในแวดวงธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแล้วนั้น ผู้ร่วมงานยังได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็น สะท้อนมุมมองต่อวาระที่เร่งด่วนในการทำงานด้านความยั่งยืน โดยมีผลสำรวจที่น่าสนใจ ดังนี้ การรับมือกับ Climate Change มีความสำคัญที่สุด ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดลงความเห็นว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่เป้าหมาย Net Zero เป็นเรื่องที่ต้องลงมือแก้ไขอย่างเร่งด่วน

Read More

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เดินหน้าร่วมรักษ์โลกกับโครงการ “Green Cinema” เปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นจีวรพระ

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เดินหน้าร่วมรักษ์โลกกับ “โครงการ Green Cinema” จากการรณรงค์แยกประเภทขยะ...สู่การเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นจีวรพระ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เดินหน้าต่อยอด “โครงการ Green Cinema” ที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าให้กับพนักงานและลูกค้า ตามแนวคิดทั้ง การใช้ซ้ำ (Reuse) การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และลดการใช้ (Reduce) เพื่อรบกวนโลกให้น้อยลงทั้งในส่วนของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวันซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับปี 2562 ที่ผ่านมา เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ชวนลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ตระหนักและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดวาง ถังขยะแยกประเภท ได้แก่ พลาสติก, กระดาษ และ ขยะทั่วไป เพื่อง่ายต่อการทิ้งและง่ายต่อการนำไปกำจัดขยะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะล้นเมืองและการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดภาวะก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ผิดประเภท ตลอดจน รณรงค์ขอความร่วมมือให้ ลด ละ เลิก การใช้หลอดพลาสติกซึ่งเป็นขยะฟุ่มเฟือยใช้ครั้งเดียวทิ้งและยากต่อการย่อยสลาย ให้หันมาใช้บริการหลอดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติอย่างน้ำตาลอ้อยที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติแทน ล่าสุด

Read More

โคคา-โคล่า จับมือ กลุ่มเซ็นทรัลและพันธมิตร เปิดตัวโครงการ “โค้กขอคืน X Central Group Journey to Zero” ส่งเสริมการแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อแก้ไขปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

โคคา-โคล่า จับมือ กลุ่มเซ็นทรัลและพันธมิตร เปิดตัวโครงการ “โค้กขอคืน X Central Group Journey to Zero” ส่งเสริมการคัดแยกและจัดเก็บวัสดุรีไซเคิลเพื่อลดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พร้อมสร้างคุณค่าร่วมผ่านธุรกิจรีไซเคิลสมัยใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย จับมือ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และพันธมิตรลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “โค้กขอคืน x Central Group Journey to Zero” ในการสนับสนุนและจัดทำระบบส่งเสริมการแยกขยะที่ต้นทางในบริเวณศูนย์การค้าของเซ็นทรัล และนำส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ตลอดจนวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ที่จัดเก็บได้ให้กับบริษัทพันธมิตรเพื่อนำวัสดุเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง โดยขณะนี้ ได้มีการทดลองระบบการจัดเก็บนำร่องในร้านอาหารและภัตตาคารในกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ และเซ็นทรัลพลาซา บางนามาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีแผนจะร่วมกันขยายระบบการจัดเก็บนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล ตลอดจนหัวเมืองใหญ่ๆ ในอนาคต โครงการ ‘โค้กขอคืน’ เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ World Without Waste ของโคคา-โคล่า ที่มุ่งใช้และจัดการบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอย่างรับผิดชอบ เพื่อลดปัญหาขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Read More

รองเท้า KHYA คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้ง ลดขยะทางทะเล

“รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร”  ร่วมมือปลุกจิตสำนึกสังคมไทยลดขยะทางทะเล คืนชีวิตรองเท้าแตะถูกทิ้งริมหาด ให้กลายเป็น “รองเท้า KHYA (ขยะ)” นายจักรพล จันทวิมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของแนวคิดในการพัฒนารองเท้า KHYA (ขยะ) และเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ว่า เนื่องจากปัญหาขยะทะเลเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งพบว่านอกจากพลาสติกแล้ว รองเท้าโดยเฉพาะรองเท้าแตะ มักถูกพบเป็นขยะทะเลจำนวนมาก “นันยาง” ในฐานะผู้ผลิตรองเท้าได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาโปรเจคใหม่ “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ที่เกิดจากการ Upcycled ขยะทะเลที่เป็นรองเท้าแตะให้กลายเป็นรองเท้าแตะคู่ใหม่ขึ้นในครั้งนี้ “โปรเจค “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและแทนสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารกับผู้คนในสังคมพร้อมเชิญชวนให้ตระหนักถึงปัญหาขยะทะเล การมองเห็นคุณค่าของขยะ การนำขยะมาเพิ่มมูลค่า และเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการของตนเองได้ตามความถนัด โดยในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกันระหว่าง “รองเท้าแตะช้างดาว” จากนันยาง และ “ทะเลจร” แบรนด์ Upcycling วัสดุจากทะเลซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรโดย ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย

Read More

เทสโก้ โลตัส เดินหน้ายกระดับนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม ประกาศเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมทุกชนิดในทุกสาขา

เทสโก้ โลตัส ประกาศเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมทั้งหมด ทุกชนิดในทุกสาขา เดินหน้ายกระดับนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดตัวหลายโครงการลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ เทสโก้ โลตัส ประกาศยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป พร้อมเพิ่มความเข้มข้นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมด้วยโครงการแบบครบวงจรและมุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop packaging system) ใช้โอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน เปิดตัวหลายโครงการเพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียว (single-use packaging) และขยะพลาสติก พร้อมจับมือเอสซีจีขยายผล นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “ในฐานะผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีร้านค้ากว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ เทสโก้ โลตัส ตระหนักดีถึงบทบาทของเราในการช่วยบรรเทาปัญหาขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทสโก้ โลตัส จะยกเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ทำจากโฟมทุกชนิดในทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป โดยเราได้เริ่มทยอยเปลี่ยนจากโฟมมาใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะยกเลิกบรรจุภัณฑ์โฟมทุกรูปแบบได้ 100% ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้

Read More

มลภาวะในออฟฟิศ มลพิษทำร้ายคนทำงาน

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมไทยถูกกระตุ้นเตือนว่าด้วยกระแสรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันอย่างเอิกเกริก ในด้านหนึ่งจากผลของวันสิ่งแวดล้อมโลกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ต่อเนื่องด้วย วันทะเลโลก 8 มิถุนายน ซึ่งในปีนี้เรื่องราวของวันทั้งสองดังกล่าวดูจะเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อปรากฏว่าขยะพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายสภาพแวดล้อมทางทะเล หากยังเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างหนักอีกด้วย ความเป็นไปของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลให้เกิดความตื่นตัวและจุดประกายความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้พอสมควร หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ต่างแสดงออกถึงความห่วงกังวลในเรื่องดังกล่าวควบคู่กับกิจกรรมทางสังคมภายใต้ความมุ่งหวังที่ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยปลุกจิตสำนึกให้กับผู้คนได้พอสมควร หากแต่การรักษาสิ่งแวดล้อมย่อมไม่ใช่การเดินทางไกลไปปลูกป่าหรือเก็บขยะริมทะเล โดยที่สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการหรือสำนักงานของแต่ละหน่วยงาน ยังมีสภาพไม่ต่างจากการนั่งทำงานอยู่บนกองปฏิกูลที่ขาดระเบียบและการบริหารจัดการที่เหมาะสม ภาพสำนักงานของหน่วยงานในสังกัดของระบบราชการไทยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่อัดแน่นด้วยกองเอกสารจำนวนมหาศาล และวัสดุเหลือใช้จำนวนมากที่ถูกขึ้นบัญชีให้เป็นครุภัณฑ์ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายหรือขจัดออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นประเด็นที่สะท้อนระบบวิธีคิดของหน่วยราชการไทยมาช้านาน แม้ว่าขณะปัจจุบันจะมีการพูดถึงการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลก็ตาม ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยระบุคำกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 ความว่า “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย อันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน โดยที่ “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทำงานหรือการทำผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม ขณะที่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม และ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า

Read More

สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พร้อมฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง

ตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของปี 2561 ที่เติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ดูจะทำให้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พอใจและยินดีในผลงานไม่น้อย เพราะมันคือภาพสะท้อนว่าเศรษฐกิจในทุกๆ ด้านกำลังดำเนินไปข้างหน้าด้วยอัตราเร่งที่ดี ทั้งการลงทุนของภาคเอกชน ภาคการเกษตร การส่งออก การท่องเที่ยว และรวมไปถึงการลงทุนจากภาครัฐ และผลของภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นย่อมส่งผลให้ความมั่นใจจากนักลงทุนต่างชาติที่กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลือกไทยเป็นฐานการลงทุนดีหรือไม่ ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ทุกอย่างดูจะเหมาะเจาะลงตัวไปเสียทุกด้าน หลายคนอาจจะมองภาพไม่ออกนักว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจไทยจะเกี่ยวเนื่องหรือผสานกันได้อย่างไร การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไม่ว่าด้านใดก็ตาม รวมไปถึงตัวเลข GDP ที่ขยายตัวขึ้น นั่นหมายถึงความเสื่อมถอยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสิ่งแวดล้อม ภาพที่เห็นได้ชัดคือภาคอุตสาหกรรม หากมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แน่นอนว่าทั้งภาครัฐและเอกชนคงจะไม่นิ่งนอนใจ และมัวแต่เพิ่มอัตรากำลังเร่งเพื่อผลผลิตที่สร้างแต่กำไรเพียงอย่างเดียว “ไทยแลนด์ 4.0” คือการที่สังคมไทยจะต้องเดินหน้าก้าวสู่การนำเอานวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามา และทำให้ประเทศพัฒนามากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลข 4.0 จะต้องขนาบข้างไปกับทุกหน่วยงาน ทุกกรมกอง ข้อดีของการปรับเปลี่ยนให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศ 4.0 เหมือนเป็นการบังคับทางอ้อมว่า ทุกภาคส่วนต้องหยิบจับเอาเทคโนโลยี และรวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้งานให้มากกว่าที่ผ่านมา และดูจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ว่า บรรดาภาคอุตสาหกรรมจะไม่เพียงสักแต่ว่าเพิ่มอัตราความเร็วในการสร้างผลผลิต หากแต่จะหยิบเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ที่ภาครัฐมองจะเห็นเพียงความก้าวหน้าที่ชวนให้ปลื้มปริ่มกับผลที่ออกมาหลังจากลงทุนลงแรงไป

Read More

ปลูกที่ดิน ปลูกที่ใจ น่านนคร ความหวังป่าต้นน้ำท่ามกลางระบบทุนนิยมเสรี

  ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมากระแสข่าวเรื่องเขาหัวโล้นในจังหวัดน่าน ถูกเผยแพร่และส่งต่ออย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดน แน่นอนว่าภาพที่ถูกแชร์ออกไปนำมาซึ่งความคิดเห็นในเชิงลบ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของคณะผู้บริหารของจังหวัด ทั้งในแง่มุมของการละเลยหรือไม่ใส่ใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการวิจารณ์ถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดน่านที่นิยมเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเสียเป็นส่วนใหญ่  อย่างไรก็ดี กระแสวิจารณ์ส่งถึงพ่อเมืองอย่างสุวัฒน์ พรมสุวรรณ อย่างรวดเร็ว  สุวัฒน์ พรมสุวรรณ เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เห็นได้ชัดว่าปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้ในจังหวัดนั้นยืดเยื้อและกินเวลามานานกว่า 10 ปี กระนั้นในฐานะผู้นำของจังหวัดทำให้ผู้ว่าฯ น่านตัดสินใจตอบโต้และโพสต์ท้าทายบรรดานักเลงคีย์บอร์ด ทั้งยังเชิญชวนให้มาร่วมกันปลูกป่าซึ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์มากกว่าจะนั่งเคาะแป้นคีย์บอร์ดเพื่อวิจารณ์กันเพียงสนุก ผลของการท้าทายจากผู้ว่าฯ และการตระหนักถึงปัญหาป่าไม้ส่งผลให้เกิดกระแสตอบรับอย่างทันท่วงที เมื่อบุคคลจากหลากหลายแวดวงร่วมแสดงออกถึงเจตจำนง อุดมการณ์ ความตั้งใจที่จะปลูกป่า กระทั่งเกิดการรวมตัวกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน จนเกิดเป็นกิจกรรมขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 นับเป็นวันดีเดย์ของการแสดงออกถึงพลังแห่งการอนุรักษ์ ซึ่งมีหมุดหมายอยู่ที่การพลิกฟื้นผืนป่าที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด ให้เขียวชอุ่มสมกับที่เป็นป่าต้นน้ำสำคัญของไทย ที่ไม่เพียงแต่ช่วยหล่อเลี้ยงประชาชน เกษตรกรในจังหวัดน่านและจังหวัดที่แม่น้ำน่านไหลผ่านเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลต่อแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นเลือดสำคัญของไทย ที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำน่านมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์  ปัญหาเขาหัวโล้นในจังหวัดน่านทำให้เกษตรกรที่ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัวด้วยการปลูกข้าวโพดถูกตีตราเป็นจำเลยของสังคมไปโดยปริยาย ซึ่งเดิมทีเกษตรกรในจังหวัดนิยมทำไร่เลื่อนลอย โดยจะหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปตามฤดูกาล กระทั่งการมาถึงของกลุ่มนายทุนที่มาพร้อมข้อเสนอ เชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเพื่อแลกกับผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้มาง่ายและรวดเร็ว แน่นอนว่าความง่ายสำหรับการดำเนินธุรกิจนี้อยู่ที่ กลุ่มนายทุนไม่ต้องลงแรงหว่านล้อมมากมายนักเพียงสร้างเคสตัวอย่างให้เห็นขึ้นมาเป็นรูปธรรม ความแพร่หลายของไร่ข้าวโพดที่สามารถสร้างรายได้ได้เร็วกว่าการปลูกพืชอื่นๆ จะกระจายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเหล่าเกษตรกรยังขาดความเข้าใจต่อปัญหาที่ตามมาอย่างแท้จริง และหลงเข้าไปอยู่ในวังวนของระบบทุนนิยมเสรีอย่างง่ายดาย  แม้จะมีบางมุมที่มองว่าปัญหาการปลูกไร่ข้าวโพดที่แพร่หลายนั้น

Read More