Home > การจัดการ่ขยะ

สยามพิวรรธน์ เดินหน้าส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์”

สยามพิวรรธน์ ตอกย้ำจุดยืนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เดินหน้าส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และ สยามพรีเมี่ยม เอาท์เล็ต ตอกย้ำจุดยืนการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เมื่อ “ชฎาทิพ จูตระกูล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ได้รับรางวัลในสาขา “Responsible Business Leadership” จากเวที “Asia Responsible Enterprise Awards 2020” หรือ AREA 2020 ในฐานะผู้นำวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน และคำนึงถึงการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับชุมชน สังคมตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยรางวัล “Green Leadership” ให้กับสยามพิวรรธน์ ในฐานะองค์กรที่มีนโยบายดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆพื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ และในการนี้สยามพิวรรธน์เดินหน้า Green Leadership ตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกรายแรกผู้ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” กับการจัดการขยะได้แบบ 360

Read More

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ: From Waste to Energy ทางออกของปัญหาขยะล้นเมือง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย และสัตว์น้อยใหญ่ที่ต้องจบชีวิตจากเศษซากพลาสติกอันเป็นผลผลิตจากมนุษย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากปัญหาขยะล้นเมืองแทบทั้งสิ้น “ขยะ” ยังคงเป็นปัญหาสากลที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงประเทศไทยเอง ที่ดีกรีความเข้มข้นของปัญหาดูยังไม่ลดน้อยถอยลงไปเลย และยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตร่วมโลก ปริมาณขยะนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเกิดการขยายตัว วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เกิดการบริโภคที่มากขึ้น รวมถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 1.64 แต่มีปริมาณขยะมากถึง 10 ล้านตันที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี การสร้างความตระหนักรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลาสติก ตลอดจนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่สังคมกำลังตื่นตัวและรณรงค์กันอยู่ในตอนนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ตรงจุดและยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการจัดการขยะที่เหมาะสม ทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนและขยะจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีวิธีการกำจัดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เดิมทีมีการใช้วิธีการเผาและเทกองเพื่อฝังกลบ (Landfill) ในการจัดการขยะ แต่วิธีดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบและปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งควันและกลิ่นจากการเผาขยะ

Read More

“SPI” จับมือพันธมิตร “GC” เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก ลดปริมาณขยะในประเทศ ยกระดับสิ่งทอไทยทัดเทียมต่างชาติ

“SPI” ลงนามเอ็มโอยูกับ “GC” เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก โดยนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมายยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยให้ทัดเทียมผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ นายวิชัย กุลสมภพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPI เปิดเผยว่า SPI ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในกลุ่ม ปตท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยให้ทัดเทียมผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาขยะในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน รวมถึงเป็นการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างมีระบบและครบวงจร ทั้งยังสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน “SPI ให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจสิ่งทอ และเล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ผลิตจากขยะพลาสติกเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจ เพราะกระแสรักษ์โลกกำลังเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญ ขณะที่ GC นับเป็นพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี และมีการผลิตเม็ดพลาสติกด้วยการใช้นวัตกรรมผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความร่วมมือกันในครั้งนี้ทำให้มั่นใจว่าจะก่อให้เกิดธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต และร่วมกันผลักดันศักยภาพธุรกิจไทยให้มีความแข็งแกร่ง อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจสีเขียวมากขึ้น” นายวิชัย กล่าว นอกจากความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขยะพลาสติก เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตแล้ว

Read More

ชวนชาวคอนโดลุมพินี ลด ละ เลิก สู่ “Lumpini Zero Waste”

“ขยะ” ภาระใคร!!??? ปัจจุบันปัญหาขยะคุกคามมากขึ้น ด้วยวิถีชีวิตคนเมืองที่มีปัจจัยหลายด้านมาเป็นตัวเร่งให้เกิดขยะเพิ่มขึ้น โดยมีคนเรานี่แหละที่ละเลย มองว่าไม่ใช่ปัญหาตัวเอง ประกอบกับพฤติกรรมที่มักง่าย ไม่คิดว่าจะกลายเป็นผลพวงที่ตามมาของปัญหาขยะล้นโลก ขณะที่อีกด้าน หน่วยงานต่างๆ มีการรณรงค์ และระดมคนร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยปลูกจิตสำนึกให้คนเรามีสติก่อนทิ้งขยะ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) บริษัทพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยในเมือง ภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี” ได้ร่วมรณรงค์กิจกรรม “คัดแยกขยะ” มาตั้งแต่ปี 2552 จนมาถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 9 ปี เนื่องจากอาคารชุดพักอาศัยเป็นอีกแหล่งที่สร้างปัญหาขยะให้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มต้นจากพนักงานในองค์กร และขยายผลไปผู้พักอาศัยในชุมชนลุมพินี นำร่องที่ชุมชนลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า เรียกกระแสให้ผู้อยู่อาศัยหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมากขึ้น โดยปูพื้นฐานความรู้ของการคัดแยกขยะ และประเภทขยะ โดยขอยกตัวอย่างด้วยหนึ่งในกิจกรรม “คัดแยกขยะ” ที่ประสบความสำเร็จในทุกครั้งที่จัดขึ้นมา นั่นคือ “ขอขวด แลก ข.ไข่” คือการนำขวดที่ไม่ใช้แล้วจนกลายเป็นขยะภายในห้อง แลกเป็นไข่กลับมา โดยภายหลังรายได้จากการนำขวดไปขาย แต่ละชุมชนจะนำมาทำประโยชน์ภายในชุมชนต่อไป แต่นั่นไม่ได้ทำให้การเติบโตของขยะหยุดนิ่ง ซึ่งสวนทางกับความสามารถในการจัดการขยะที่ยังไล่ตามปัญหาไม่ทัน ทำให้การรณรงค์ “คัดแยกขยะ” อาจยังไม่ตอบโจทย์ของการลดปริมาณขยะได้อย่างเพียงพอ บริษัทจึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว

Read More

โรงไฟฟ้าขยะ-วินัยคนไทย แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

“อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” ข้อความรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้คนไทยทิ้งขยะให้ถูกที่เพื่อลดปัญหาขยะเกลื่อนเมือง แม้ข้อความดังกล่าวจะถูกสร้างสรรค์เมื่อหลายสิบปีก่อน กระนั้นก็ยังพบว่าปัญหาขยะในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่หลายคนให้การยอมรับทั้งด้านความเจริญก้าวหน้าที่ดูจะรุดหน้าไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญด้านวัตถุ กระนั้นความเจริญดังกล่าวดูจะสวนทางกันกับความเจริญด้านจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และดูเหมือนว่าปัญหาที่เติบโตจนเกือบจะคู่ขนานกับความเจริญด้านวัตถุเทคโนโลยี คือปัญหาขยะ ที่ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง รายงานจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามรายงานที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 1,920,294.96 ตัน หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10,551.07 ตันต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวอาจจะค้านสายตาผู้คนทั่วไป หากมองเพียงตามถนนหนทางที่ต้องยอมรับว่าน่ามองขึ้น ในที่นี้หมายถึงสะอาดตากว่าแต่ก่อน แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีวิธีกำจัดขยะทั้งรูปแบบของโรงเผาขยะ และการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ โดยปัจจุบัน กทม. มีสถานที่รองรับปริมาณขยะด้วยกัน 3 แห่ง 1. อ่อนนุช สามารถรองรับขยะได้ 4 พันตันต่อวัน ซึ่งนำไปฝังกลบถึง 3,400 ตัน และที่เหลือนำไปทำปุ๋ย 2. หนองแขม

Read More