Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 23)

อโรมา เหมียวเธอราพี บำบัดทั้งที บำบัดด้วยแมว

ท่ามกลางโลกที่พัฒนาและทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปด้วยความรวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกใจที่มนุษย์จะประสบกับสภาวะความตึงเครียด ทั้งจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อาจฝ่าฟันความเครียดที่ประสบได้ อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย การบำบัดความเครียดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้คนเลือกใช้ เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากสภาวการณ์ดังกล่าว การนวด การทำสปา เป็นตัวเลือกที่หลายคนให้ความนิยม นอกจากจะเป็นการผ่อนคลายจิตใจแล้ว ยังทำให้ร่างกายได้รับการดูแลอีกทาง แต่ใครจะรู้ นอกจากการบำบัดจากมนุษย์ด้วยกันแล้ว สัตว์เลี้ยงสี่ขาหน้าขน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะทำให้มนุษย์พ้นไปจากสภาวะความเครียดได้เช่นกัน แม้สุนัขจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่หลายคนให้คำนิยามว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ และเป็นนักบำบัดความเครียดชั้นดี แต่ใครจะคาดคิดว่า แมวเหมียวสัตว์ที่มีความเป็นตัวเองสูงจะเป็นนักบำบัดความเครียดของคนได้ดีไม่แพ้กัน Purr Purr เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนในลำคอของแมวยามที่เจ้าเหมียวผ่อนคลายอารมณ์ และเสียง Purr นี่เองที่มีผลให้จิตใจของเหล่าทาสแมวได้หายเครียดได้เช่นกัน นพ. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ให้ความเห็นเกี่ยวกับแมวบำบัดไว้ในเว็บไซต์ ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม ว่า การนำแมวมาช่วยในการบำบัด ดูเหมือนจะยิ่งไม่คุ้นหูเลย แต่มีการนำมาใช้ในการบำบัดเช่นกัน สามารถช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความอยากรู้อยากเห็นสูงมาก และยังเป็นสัตว์ที่มีจิตวิทยาสูงอีกด้วย รับรู้สัมผัสอารมณ์ความรู้สึกของคนได้ดี รู้ว่าเจ้าของต้องการความช่วยเหลือเมื่อไหร่ สามารถเตือนภัยแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติต่างๆ และกล่าวกันว่าสามารถเตือนภัยให้กับเจ้าของได้อีกด้วย แมวที่นำมาใช้บำบัดต้องคัดเลือกกันพอสมควร ควรเป็นแมวที่น่ารักขนสวย มีเสน่ห์ดึงดูดได้ดี เชื่อง เลี้ยงง่าย มีลักษณะนิสัยที่สงบไม่ตกใจง่าย ทนต่อสิ่งกระตุ้นที่ผิดแปลกได้ดีทั้งสิ่งที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน แต่ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนในเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยมาแล้วหลายครั้งจนได้ข้อสรุปที่น่าพอใจของเหล่าทาสแมวว่า เสียงครางของแมวหรือเสียง Purr

Read More

พินิจภาคส่งออก ฟันเฟืองแห่งความหวังของเศรษฐกิจไทย

อย่างที่ทราบกันดีว่า การส่งออกเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะระส่ำและกระทบต่อการส่งออก นั่นจะเป็นต้นเหตุแห่งปัจจัยลบของเศรษฐกิจไทย นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอุบัติขึ้น ไทยในฐานะประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบในทุกระนาบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่สร้างให้เกิดภาวะเฉื่อยในภาคการส่งออกของไทย ทั้งกรณีที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ หรือกรณีเขตการค้าเสรี FTA ที่ไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการเร่งเจรจา มูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างไม่อาจต้านทานได้ แม้จะมีปัจจัยบวกจากด้านอื่นอยู่บ้าง ทว่า ไม่อาจช่วยให้ตัวเลขของการส่งออกบวกขึ้นได้ เมื่อตัวเลขการส่งออกของปี พ.ศ. 2562 ติดลบ 2.7% สถานการณ์วิกฤตที่กำลังรายล้อมอยู่รอบด้าน รวมไปถึงการสรุปผลตัวเลขการส่งออกปีที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องปรับเป้าประมาณการการส่งออกในปี 2563 ว่าน่าจะมีโอกาสเติบโต 1-3% เท่านั้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินภาคการส่งออกของไทยว่า น่าจะยังมีโอกาสเติบโตท่ามกลางมรสุมที่หลายชาติกำลังเผชิญ เพราะมองเห็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกระแสธารเชิงบวก ได้แก่ การคาดการณ์จาก IMF (International Monetary Fund) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีในปีนี้ถึง 3.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2562 ขยายตัวได้เพียง 2.9

Read More

แรงกดดันภาคอสังหาฯ ทำแบงก์ชาติผ่อนปรน LTV

มาตรการ LTV คือ ยาแรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้โดยมุ่งหวังว่า จะเป็นการป้องปรามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระบบ โดยเฉพาะปัญหาทางการเงินของภาคครัวเรือน เมื่อแบงก์ชาติเล็งเห็นว่าการเกิดใหม่ของโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งจำนวนยูนิตที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดยังไม่ถูกดูดซับออกไปเท่าที่ควร ทำให้ปริมาณที่อยู่อาศัยไทยเข้าสู่ภาวะล้นตลาด แม้การประกาศใช้หลักเกณฑ์ LTV (Loan-to-Value) ของแบงก์ชาติจะมีเหตุผลอันสมควรแล้วก็ตาม ทว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 เดือน อสังหาฯ ภาคเอกชนต่างโอดครวญและเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน ให้ภาครัฐผ่อนปรนหรือเลื่อนเวลาในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวออกไป โดยอ้างเหตุผลว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งภาคอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย และจะทำให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังแรกเป็นไปได้ยากขึ้น เสียงเรียกร้องและข้อเสนอถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้พิจารณาถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งน่าแปลกที่ภาคเอกชนไม่ได้เห็นหรือย้อนกลับมาพิจารณาความเป็นจริงที่ว่า จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดขณะนั้นมีปริมาณมากเกินความจำเป็นเพียงใด เพราะนักวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ จำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ในปัจจุบันว่า อสังหาฯ ไทยอยู่ในช่วงโอเวอร์ซัปพลายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และการที่แบงก์ชาติมีมาตรการยาแรงเช่นนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เคยเปิดเผยภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2562 พบว่า มีที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ 2.2 แสนหน่วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าภาครัฐจะทานต่อเสียงเรียกร้องของภาคเอกชนต่อไปอีกไม่ไหว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV ด้วยหวังว่าการอ่อนลงของแบงก์ชาติจะช่วยให้สถานการณ์ภาคอสังหาฯ ไทยฟื้นตัวได้ หลังจากที่มาตรการ LTV กลายเป็นตัวการสำคัญทำให้ธุรกิจอสังฯ หาซบเซาดังเช่นที่หลายฝ่ายเคยให้ความเห็น และแม้ว่าหลังจากใช้หลักเกณฑ์ LTV ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะไม่ใช่ประชาชนที่ซื้อบ้านหลังแรก

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย นับหนึ่งไปได้ถึงไหน

ศตวรรษที่ 20 หลายสิ่งหลายอย่างถูกพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่บางครั้งหลายคนวิ่งตามแทบไม่ทัน แม้แต่ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยถูกเพิกเฉยมาอย่างยาวนานกลับได้รับการใส่ใจและค่อยๆ ถูกแก้ไขให้ดีขึ้น การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้เราได้มีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะการทำงานในระบบราชการไทย หลายกระทรวงเริ่มบูรณาการและเห็นผลลัพธ์ที่ดีภายใต้คำว่า “ปฏิรูป” แต่นั่นคงไม่ใช่กับกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงวันนี้ นโยบายด้านการศึกษาไทยที่ยังคงมีอยู่แทบจะทุกรัฐบาล คือความพยายามที่จะ “ปฏิรูปการศึกษา” แน่นอนว่า การศึกษาคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมในทุกมิติ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทยอาจทำให้หลายฝ่ายกุมขมับ ที่รัฐบาลทุกชุดเริ่มนับหนึ่งเมื่อก้าวเข้ามาบริหารประเทศ รอยต่อของแต่ละรัฐบาลสร้างให้เกิดความยากในการทำงานแทบจะทุกกระทรวง ทบวง กรม การขาดไร้ซึ่งความต่อเนื่องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางทางกั้นไม่ให้การศึกษาไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน น่าแปลกที่กระทรวงการศึกษามีนโยบายที่จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปศึกษาดูงานยังประเทศเหล่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาด้านการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันหลายคนยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการศึกษาไทยไม่เพียงแต่ยังไม่พัฒนา แต่ดูเหมือนจะมีโอกาสถอยหลังเข้าคลองอีกด้วย เห็นได้จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันจาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดโดย IMD (International Institute for Management Development) ซึ่งมักจะจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในหลายด้าน โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยอยู่ที่อันดับ 56 ทั้งปี 2561 และ 2562 ไม่ใช่เพียงผลการจัดอันดับความสามารถด้านการแข่งขันเท่านั้น ที่เป็นการชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการศึกษาที่อาจถึงขั้นวิกฤต แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ผลการสอบวัดผล มากกว่าจะสร้างรากฐานความรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน หากจะนำเอาแนวความคิดของสิงคโปร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีแนวความคิดที่น่าสนใจว่า

Read More

ความรุนแรงในโรงเรียน การกลั่นแกล้งไม่ใช่เรื่องปกติ

การวิวาทกันของนักศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษากลายเป็นภาพจำของปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวัยเรียน ไม่ว่ามูลเหตุของความขัดแย้งจะมาจากอะไรก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวดูเบาบางไปเลยเมื่อเทียบกับปัญหาความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในยุคดิจิทัล ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนดูเหมือนกำลังขยายวงกว้างและไร้ซึ่งการใส่ใจอย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่น่ากังวลที่สุดในห้วงยามนี้คือ กลุ่มเด็กที่มีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง มีอายุน้อยลงหรืออยู่ในช่วงปฐมวัย หลายสิบปีก่อนการกลั่นแกล้งกันระหว่างเด็กนักเรียนเห็นจะมีเพียงการนำชื่อบิดามารดาของอีกฝ่ายมาล้อเลียนกันเท่านั้น ซึ่งการกระทำนั้นแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ทว่าก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย และจบลงในเวลาสั้นๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การกลั่นแกล้งกันภายในรั้วโรงเรียนกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ผลสำรวจเมื่อปี 2560 พบว่าการกลั่นแกล้งภายในโรงเรียนของไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีอันดับ 3 คือประเทศอังกฤษ และตัวเลขของเด็กที่ถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 600,000 คนหรือคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด ภาพข่าวต่างๆ ที่ปรากฏบนสื่อในหลายช่องทางนำมาซึ่งคำถามที่ว่า สาเหตุที่แท้จริงของการใช้ความรุนแรง การกลั่นแกล้งกันในกลุ่มเด็กคืออะไร ความใสบริสุทธิ์ของผ้าขาวที่ควรจะซึมซับเอาสรรพวิทยาความรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งเรือจ้าง กลับกลายเป็นผ้าขาวที่ซ่อนงำหลุมดำที่ปกคลุมจิตใจจนอาจจะส่งผลต่ออนาคตของเด็กทั้งฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกระทำและฝ่ายที่กระทำ นักวิชาการการศึกษา นักจิตวิทยาเด็ก ต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกรังแกหรือกลั่นแกล้งในรั้วโรงเรียนนั้น คือเด็กที่มีความแตกต่างของลักษณะภายนอก เช่น สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ หรือเด็กที่มีพัฒนาการช้า ความแตกต่างทางเพศสภาพของเด็กที่ไม่ตรงกับเพศที่ถือกำเนิด ความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนา ในขณะที่เด็กที่เป็นฝ่ายรังแก มักเป็นเด็กที่มีปูมหลังทางครอบครัวที่เคยใช้ความรุนแรง หรือการมองว่าการทำร้ายกันไม่ว่าจะทางกายหรือทางวาจาไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มักจะถูกรังแก หรือเด็กที่เป็นผู้รังแก ล้วนแล้วแต่จะเกิดบาดแผลขึ้นภายในจิตใจและส่งผลต่ออารมณ์ด้วยกันทั้งสิ้น หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างถี่ถ้วนถึงมูลเหตุปัจจัยที่ทำให้เด็กสักคนรับบทเป็นเด็กที่ชอบแกล้งผู้อื่น ต้องยอมรับว่าพื้นฐานของครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเด็กจะซึมซับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบตัว และด้วยวัยวุฒิที่ยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องที่สมควรและไม่สมควรได้ จึงส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ผิด คิดว่าสิ่งที่พบเจอในสังคมของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ใครก็สามารถทำได้ ไม่ใช่เพียงแต่ครอบครัวเท่านั้นที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเด็ก ทว่าการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวของสังคมไทยก็เช่นกัน

Read More

บอกลาถุงพลาสติก และการปรับตัวของผู้บริโภค-ผู้ผลิต

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยเทรนด์การลดใช้ถุงพลาสติก ที่เริ่มดีเดย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา หากจะย้อนความไปถึงต้นสายปลายเหตุที่ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ย 5,300 ตันต่อวัน เป็นเพราะมีการรณรงค์ลดการใช้กระดาษ ถุงกระดาษ เพื่อไม่ให้เกิดการตัดต้นไม้ ด้วยเหตุนี้ถุงพลาสติกจึงถูกยกความสำคัญขึ้นมาในสังคม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการใช้พลาสติกในปริมาณมหาศาลต่อวัน แต่หากมีกระบวนการจัดเก็บ คัดแยก รวมไปถึงการกำจัดอย่างถูกวิธี ปัญหาขยะจากพลาสติกหรือถุงพลาสติกคงไม่เกิดขึ้น และเราคงไม่ต้องมูฟออนเป็นวงกลมกันอีกครั้งด้วยการรณรงค์ลดละเลิกใช้ถุงพลาสติก เมื่อพลาสติกกลายเป็นขยะที่สร้างปัญหาและส่งผลต่อระบบนิเวศ ทำลายสิ่งแวดล้อม คร่าชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมาก ข้อมูลจากกรีนพีซระบุว่า ปริมาณขยะพลาสติกทั่วโลกมีมากถึง 6,300 ล้านตัน และขยะพลาสติกในประเทศไทยมีประมาณ 2.7 ล้านตัน เฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน โดยเป็นถุงพลาสติก 80 เปอร์เซ็นต์ และโฟม 20 เปอร์เซ็นต์ การตายของวาฬนำร่องที่กินถุงพลาสติกไป 85 ชิ้น และพะยูนน้อยมาเรียมที่มีต้นเหตุการเสียชีวิตเพราะชิ้นส่วนพลาสติก ดูเหมือนสัตว์ทะเลทั้งสองชนิดที่จากโลกนี้ไปจะสามารถปลุกจิตสำนึกที่หลับใหลของคนไทยให้ตื่นรู้ได้ กระทั่งในที่สุดรัฐบาลประกาศเจตนารมณ์เรื่องการลดใช้พลาสติก นับเป็นก้าวสำคัญของการบริหารงานภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่เอาจริงเอาจังเรื่องสิ่งแวดล้อม ด้วยการตั้งเป้าลดการใช้พลาสติกภายในปี 2565 โดยมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมขับเคลื่อนนโยบายนี้ โดยโรดแมปของการแก้ปัญหาการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ซึ่งจะมีการยกเลิกการใช้พลาสติกทั้งหมด 7 ชนิด

Read More

เฮือกสุดท้ายของอสังหาฯ ตัวแปรพลิกเศรษฐกิจไทย?

ต้องเรียกว่าสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในศักราชนี้ “หืดขึ้นคอ” กันเลยทีเดียวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่อาศัย เพราะผลกระทบแง่ลบจากเศรษฐกิจโลกที่แผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอุบัติ และไม่ใช่เพียงแค่อิทธิพลจากสงครามการค้าเท่านั้น ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ แม้จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม หลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและไม่ใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเท่าที่ควร ไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีจะเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย ความคึกคักที่มักปรากฏให้เห็นจนชินตา กลายเป็นภาพอดีตและถูกแทนที่ด้วยบรรยากาศความหงอยเหงาเศร้าซึม ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมยานยนต์ที่ปกติจะสร้างสีสันในช่วงปลายปี ทว่าปีนี้ทุกอย่างกลับแสดงผลในทางตรงกันข้าม จะมีก็เพียงธุรกิจ E-Commerce ที่สามารถจุดพลุฉลองยอดขายและความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Marketplace เจ้าตลาดอย่าง Lazada Shopee หรือ JD Central ที่สองเจ้าแรกมีนายทุนใหญ่จากต่างชาติเข้ามาสร้างอาณาจักรและกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าอย่างสนุกสนานด้วยแคมเปญลดราคาทุกๆ เดือน และ JD Central ที่เครือเซ็นทรัลจับมือกับ JD ที่มีบริษัทแม่อยู่ประเทศจีน ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ดูเหมือนจะไร้กระแสลมบวกที่จะส่งให้กราฟตัวเลขยอดขายพุ่งทะยาน แม้ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้รับนั้นจะมาจากการออกมาตรการ LTV ของแบงก์ชาติ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ลืมว่าโอเวอร์ซัปพลายที่เกิดขึ้นและล้นตลาดอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่เกิดจากการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการ โดยไม่ระวังสถานการณ์และความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจในอนาคต การมองเพียงแง่มุมเดียวของผู้ประกอบการทำให้หลายค่ายเรียกร้องภาครัฐให้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อให้ซัปพลายที่มีอยู่ถูกดูดออกไปบ้าง ซึ่งนี่ทำให้เห็นมาตรการความช่วยเหลือที่รัฐบาลประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำกล่าวอ้างของรัฐบาลที่มีต่อมาตรการเหล่านี้คือ ต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นเหตุผลที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อจะกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคือ “โครงการบ้านดีมีดาวน์” ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยประชาชนที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อและโอนบ้านตั้งแต่วันที่ 27

Read More

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More

เรื่องเล่าของเหรียญกษาปณ์และคุณค่าที่มากกว่ามูลค่า

น้อยคนนักที่จะสงสัยและหาคำตอบว่า เหรียญที่กระทบกันส่งเสียงกรุ๊งกริ๊งจากในกระเป๋าเรานั้น มีเรื่องราวการเดินทางมาอย่างไรบ้าง แต่เชื่อเถอะว่า เหรียญกษาปณ์ทุกเหรียญล้วนแล้วแต่มีที่มา และเรื่องราวมากมายแฝงเร้นอยู่ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้จัดการ 360 องศา เคยนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์เหรียญในบริบทที่ว่า “พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว” ในเวลานั้นการถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญเป็นเพียงแค่ปฐมบทเท่านั้น หาใช่บทสรุปของการเดินทาง จวบจนกระทั่งเวลานี้ที่พิพิธภัณฑ์เหรียญได้เปิดให้บริการแก่นักสะสม และผู้ที่สนใจอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้การบริหารงานของกรมธนารักษ์ บรรยากาศประชาชนเข้าคิวเพื่อจองและแลกซื้อเหรียญที่ระลึกเนื่องในวันสำคัญต่างๆ คงเป็นภาพที่คุ้นตาไม่น้อย ไม่ว่าผู้คนที่ต่อแถวจะมีความจำนงที่จะซื้อเหรียญเพื่อเก็บไว้เอง หรือเพื่อนำไปเก็งกำไรต่อก็ตามที ทว่า เหรียญที่ระลึกเหล่านั้นไม่ได้มีคุณค่าอยู่ที่ความสามารถในการจับจองจนได้มาเป็นเจ้าของเท่านั้น หากแต่เหรียญที่ระลึกเป็นเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับบุคคล วันหรือเหตุการณ์สำคัญ และนั่นทำให้เหรียญเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่บนเหรียญเท่านั้น ทว่า เรื่องราวมากมายที่ถูกถ่ายทอดลงบนเหรียญต่างหาก ที่บ่งบอกและแสดงให้เห็นคุณค่าของเหรียญนั้นๆ อย่างแท้จริง ท่ามกลางแดดร้อนระอุ ถือเป็นบททดสอบความมานะอุตสาหะของนักสะสมเหรียญและนักเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี แต่หลังจากที่เหรียญมาอยู่ในครอบครองแล้ว จะมีสักกี่คนที่ยังหมั่นหยิบเหรียญเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหวนรำลึกถึงและมองคุณค่าของมัน นี่อาจเป็นโจทย์สำคัญของกรมธนารักษ์ ที่นอกเหนือไปจากหน้าที่หลักในด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์ทั้งสองชนิด คือ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก โดยเหรียญทั้งสองชนิดทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต้นกำเนิดของเหรียญที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งน้อยคนนักจะได้รู้ และเช่นเคย บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ที่เคยออกแบบนิทรรศรัตนโกสินทร์ พิพิธบางลำพู และศูนย์การเรียนรู้อีกมากมาย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการย่อยสารและตีโจทย์ในครั้งนี้ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์เหรียญจะเปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 และเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญมาตั้งแต่ครั้งนั้น แต่เหรียญกษาปณ์ถูกประกอบส่วนขึ้นจากเรื่องราวอีกมากมาย และพิพิธภัณฑ์เหรียญยังคงทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ส่วนเติมเต็มของเรื่องที่ขาดหายไปบนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่

Read More

Experience อาวุธของไร้ท์แมน ในยุค Digital Disruption

ไม่ว่าโลกจะหมุนด้วยอัตราความเร็วเท่าไร แต่ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนผ่านจากยุคอะนาล็อกสู่ยุคดิจิทัลจะมีความเร็วกว่าหลายเท่าตัว แต่ด้วยเหตุผลเพียง 3 ประการ ความสะดวก ความรวดเร็ว ความทันสมัย กลับสร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนไม่น้อย แทบจะทุกสังคมและเกือบทุกช่วงเวลาของชีวิตมนุษย์ที่ดิจิทัลเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อชีวิต ไลฟ์สไตล์ของผู้คนถูกเปลี่ยนแปลงไปในทุกระนาบ ทุกมิติ เมื่อปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตถูกย่อส่วนให้สามารถเข้ามาอยู่ในอุปกรณ์สื่อสารขนาดมือจับได้ แม้ว่ายุคดิจิทัลจะทำให้สังคมเกิดการพัฒนา ทว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในแบบคู่ขนานคือรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน เช่น การจับจ่ายซื้อสินค้าเพื่อการดำรงชีพ การพบปะสังสรรค์กันน้อยลง พูดคุยแบบตัวต่อตัวกันน้อยลง ไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เปลี่ยนไป ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวตามให้ทัน เพื่อความอยู่รอดและหลุดพ้นจากกับดัก Digital Disruption เมื่อข้อมูลข่าวสารถูกเสิร์ฟถึงมือตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่นอน นักชอปสามารถเลือกซื้อสินค้าได้เพียงทัชบนหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเพียงไม่กี่ครั้ง หรือแม้กระทั่งอาหารที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ที่เราแทบไม่ต้องตะเกียกตะกายออกไปนอกบ้าน ก็สามารถสั่งอาหารระดับดาวมิชลินให้มาส่งถึงบ้านได้ ดิจิทัล ดิสรัปชันขยายวงและสร้างผลกระทบในทุกแวดวง ไม่แว้นแม้แต่นักย่อยสารมือฉมังอย่าง อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรังสรรค์ศูนย์การเรียนรู้จำนวนมากในประเทศไทย งานนิทรรศการ และงานอีเวนต์ ที่แม้ว่าผู้บริหารไร้ท์แมนจะยอมรับกลายๆ ว่า บริษัท ไร้ท์แมนได้รับผลกระทบจากดิจิทัลดิสรัปชันอยู่บ้าง แต่ไร้ท์แมนยังยืนหยัดภายใต้แนวคิดที่ว่า “Experience คือสิ่งที่ผู้คนโหยหา” “จริงๆ แล้ว ดิจิทัล ดิสรัปชันก็มีผลกระทบในทุกธุรกิจ แม้ว่าดิจิทัลจะสะท้อนความพัฒนาของเทคโนโลยีก็ตาม แต่สำหรับผมยังเชื่อว่า สิ่งที่ผู้คนโหยหายังคงเป็นประสบการณ์

Read More